ความเป็นมาของสภาการหนังสือพิมพ์


สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2540 ว่า มาตรา 40ที่ระบุรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญของพนักงานหรือลูกจ้างเอกชนที่ประกอบกิจการด้านสื่อมวลชน รวมทั้งเจ้าพนักงานของรัฐโดยไม่ต้องขัดต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพภายใต้การควบคุมของ “องค์กรอิสระตามที่กฎหมายบัญญัติ”นั้น เป็นหลักการที่ดี แต่องค์กรอิสระตามที่กฎหมายบัญญัติดังกล่าวจำเป็นต้องมีหลักประกันในความเป็นอิสระภายใต้หลักการควบคุมกันเองของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์หรือวิชาชีพสื่อมวลชนอื่นๆ ที่จำเป็นจะต้องมีการพิจารณากันโดยละเอียดรอบคอบในขั้นของการออกกฎหมายประกอบตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป

ในการประชุมสมาพันธ์ฯ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2540ที่ประชุมมีมติให้สภาร่างรัฐธรรมนูญตัดข้อความว่าองค์กรอิสระตามกฎหมายกำหนดออกจากมาตรา 40 แล้วนำไปบัญญัติไว้ในหมวด 5ว่าด้วยหลักการพื้นฐานในการกำหนดนโยบายของรัฐ และในการประชุมเจ้าของ บรรณาธิการและผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2540ที่ประชุมมีความเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงาน 7 คน ได้แก่ นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ นายวีระประทีปชัยกูร นายพนา จันทรวิโรจน์ นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายวิทูร พึงประเสริฐนายวันชัย วงศ์มีชัย และนายวรวิทย์ ศรีอนันตรักษา มีนายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์เป็นที่ปรึกษา คณะทำงานชุดนี้มีหน้าที่สอบถามความต้องการของเจ้าของ บรรณาธิการผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ ถึงเรื่องให้องค์กรอิสระโดยไม่ต้องให้กฎหมายบังคับ

สมาพันธ์ฯ ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540แต่งตั้งกรรมการยกร่างธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มีใจความว่าตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์มีเจตนารมณ์ที่จะจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อควบคุมกันเองโดยสมัครใจเจ้าของและบรรณาธิการผู้มีอำนาจเต็มของหนังสือพิมพ์และสมาคมฯผู้ประกอบวิชาชีพที่ชอบด้วยกฎหมายได้ให้ความเห็นชอบที่จะลงนามร่วมกันในวัน ที่ 4กรกฎาคม 2540เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบวิชาชีพทั้งมวลพร้อมที่จะดำเนินการควบคุมกัน เองเพื่อดำรงไว้ซึ่งหลักการพื้นฐานในเรื่องเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็น อันเป็นหลักประกันความรับผิดชอบในการเสนอข่าวสารและแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพนี้

ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2540เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาไทย อังกฤษ 25 ฉบับจากจำนวนทั้งสิ้น 32 ฉบับ รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์ 10 องค์กรได้ร่วมกันลงนามในบันทึกเจตนารมณ์จัดตั้ง “สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ” เพื่อเป็นองค์กรควบคุมกันเองและส่งเสริมเสรีภาพและความรับผิดชอบยกระดับผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์และกิจการหนังสือพิมพ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยมีตัวแทนสถานทูตสหรัฐอเมริกา อินเดีย รัสเซียและสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศร่วมเป็นสักขีพยานด้วย

ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม 2540ที่สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ศ.นายแพทย์ประเวศ วะสีประธานคณะกรรมการยกร่างธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติพร้อมด้วยคณะกรรมการยกร่างฯ แถลงผลสำเร็จการยกร่างธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติว่าคณะกรรมการยกร่างฯได้ดำเนินการยกร่างธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกตามเจตนารมณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ซึ่งได้ลงนามในบันทึกร่วมกันเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ณศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ในวันที่ 9 ตุลาคม 2540 นางบัญญัติ ทัศนียะเวชประธานคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติพร้อมด้วยกรรมการคือ ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ และนายสุวัฒน์ทองธนากุลได้จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติชุดแรกตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ข้อ 9ซึ่งคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติจะมีด้วยกันไม่เกิน 21 คนโดยจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการฯ ประเภท 1, 2, และ 3 ก่อน จำนวน14 คน เพื่อไปดำเนินการเลือกตั้งกรรมการในประเภทที่ 4 อีกจำนวน 7 คนให้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ โดยกรรมการทั้ง 3 ประเภทมาจากกลุ่มผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ไม่เกินกลุ่มละ1คน

ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2540ได้มีการประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2540โดยที่ประชุมได้มีการเลือกตั้งประธาน รองประธาน เลขาธิการและเหรัญญิกของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกให้นายมานิจสุขสมจิตร เป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นาย พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียรเป็นรองประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ คนที่ 1 ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์เป็นรองประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ คนที่ 2 นายสุวัฒน์ทองธนากุล เป็นเลขาธิการและนางผุสดี คีตวรนาฏ เป็นเหรัญญิก

ล่าสุด สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติได้อนุมัติข้อบังคับจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์จำนวน 30 ข้อ เมื่อวันที่ 1พฤษภาคม 2541และเริ่มเปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนและผู้เสียหายอย่างเป็นทางการและเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องร้องทุกข์จากประชาชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยมีนักวิชาการและผู้แทนองค์กรเอกชนทางด้านสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมเป็น กรรมการด้วย




Create Date : 23 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2558 0:53:45 น.
Counter : 670 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 2820500
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30