ความคิดเปลี่ยนชีวิต #84 สุขจากความเรียบง่าย
ในวันหยุดสุดสัปดาห์ผมมีโอกาสได้ขี่จักรยานไปตามละแวกหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ซึ่งผสมผสานระหว่างหมู่บ้านขนาดใหญ่และชุมชนขนาดใหญ่ ที่มีคนอยู่กันเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้านที่มีผู้อยู่อาศัยมานาน มองเข้าไปในบ้านแต่ละหลังจะมีข้าวของมากมายผมลองย้อนนึกจินตนาการไปตอนแรกเมื่อบ้านเหล่านี้สร้างเสร็จใหม่ ๆ คงเป็นบ้านโล่ง ๆ ไม่มีอะไรก่อนที่มีผู้เข้ามาอยู่อาศัย

เวลาผ่านไปกลายเป็นว่าแต่ละบ้านมีข้าวของมากมายเสียจนเก็บกันไม่ไหวดูแล้วรกสายตาไปหมดและบ้านไหนที่มีความมั่งคั่งกว่าบ้านอื่นหน่อยจะดูเรียบง่ายสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย

มันคงจะจริงที่ว่าความเรียบง่ายทำให้คนเราเกิดสมาธิและสามารถทำสิ่งที่เป็นเป้าหมายให้กับชีวิตไม่ไข้วเขวไปในเรื่องต่างๆ และความเรียบง่ายก็ไม่ทำให้คนเราไม่ดูเครียดเกินไป

แต่หลายคนส่วนใหญ่มักสะสมสมบัติ
โดยคาดว่า "สักวันหนึ่งจำเป็นต้องใช้"

ในแต่ละบ้าน คู่สามีภรรยา เราจะสังเกตุได้ว่าจะมีอยู่สองแบบเท่านั้นคือ "พวกช่างเก็บ"กับ "พวกช่างทิ้ง" ถ้าบ้านไหนช่างทิ้งมีอำนาจเหนือกว่าบ้านนั้นจะดูสะอาดเรียบร้อย

แม่ยายผมที่เป็นคนจีนพูดเสมอว่า
"บ้านไม่ต้องซื้อใหญ่ เพราะจะได้ทำความสะอาดง่าย ของถ้าไม่ใช้ก็เก็บไปบริจาคบ้างบ้านจะได้ดูสะอาดอยู่สบายตา"

ของอะไรถ้าไม่ได้ มาใช้ภายในหนึ่งปี
ส่วนใหญ่แล้วไม่สำคัญแล้วล่ะครับ
(บางคนรวนเลยว่าอย่างนี้เงินที่ฉันเก็บไว้หนึ่งปีฉันก็ต้องเอาไปทิ้งหละสิอันนี้ก็เป็นการตีความที่ออกจากสุดโต่งไปนิดหนึ่งนะครับ)

ก็คงจะจริงที่ว่าความสุขที่คนเรามักแสวงหานั้นเกิดจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสิ่งของที่เราพึงพอใจได้มาก็มีความสุขเวลาถึงพอเวลาผ่านไปเราก็รู้สึกเฉยเฉยและอยากได้มากขึ้นเรื่อยเรื่อยเราจึงกลายเป็นนักสะสมสิ่งต่างๆเอาไว้เต็มบ้านไปหมด

ผมเคยดูคลิปหนึ่ง (The Stories of Stuff)ที่พูดถึงขยะที่กำลังจะล้นโลก ไว้อย่างน่าสนใจว่า

"ข้าวของ กับขยะต่างกันแค่เพียงว่าเรายังเห็นว่ามันสำคัญอยู่หรือไม่"

หมายความว่าไม่ว่าคุณจะเห็นมันมีสภาพดีหรือเสียใช้การไม่ได้หากเห็นว่ามันยังมีคุณค่าก็ยังเป็นข้าวของที่เราต้องเก็บไว้แต่หากเราเห็นว่ามันหมดคุณค่าเราก็จะหาทางทิ้งหรือบริจาคมันไป

ในแต่ละปีช่วงก่อนสงกรานต์ ผมมักจะเอาเข้าของที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือของเหลือใช้ไปบริจาคที่วัดสวนแก้ว ซึ่งมีความพร้อมในการบริหารจัดการดีมากมีช่างที่มีความสามารถแยกชิ้นส่วนที่สามารถนำกลับมาใช้การได้มาประกอบเป็นของดีและนำมาขายในราคาถูกให้กับคนที่มีรายได้น้อย

หลังจากบริจาคแล้วผมไม่แคร์ว่าวัดจะเอาสิ่งนั้นไปทำอะไรเพราะผมเชื่อว่าบุญเกิดจากใจมันเกิดตั้งแต่ตอนที่เราตั้งใจจะนำของที่ไปบริจาคแล้วหากเราเป็นกังวลว่าเค้าจะนำไปทำสิ่งอะไรแล้วก็คอยจับผิดติดตามจะกลายเป็น ไม่สบายใจไปเสียอีก

สุขจากการมีข้าวของน้อยถือเป็นสุขที่เรียบง่าย
ข้าวของที่ว่าไม่จำเป็นต้องถึงกับอัตคัดขัดสน
แต่มีข้าวของเพียงพอที่จะทำให้เราใช้ชีวิต
ได้อย่างปกติสุขอาจจะเป็นข้าวของที่แพงใช้งานได้นานแต่มีน้อยชิ้นก็ถือว่าทำให้ชีวิตเรา มีความสุขได้

เพราะการใช้ชีวิตในแนวทางที่ถูกต้อง
คือคนเราควรเป็นคนที่

"สุขง่ายทุกข์ยาก"

(มีความสุขได้จากการมีข้าวของน้อย)



Create Date : 26 กรกฎาคม 2560
Last Update : 26 กรกฎาคม 2560 8:02:36 น.
Counter : 648 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2372514
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กรกฏาคม 2560

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
20
21
22
23
24
28
29
30
 
 
All Blog