All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
3 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
Concept และ หลักการ ของงาน (หนัง)ทดลองเรื่อง Thaumatrope


เนื่องจากมีหลายคนมาถามผมบ่อยๆ เกี่ยวกับ Concept ของหนังทดลองเรื่องนี้ จึงคิดว่าคงมีอีกหลายคนที่ยังไม่กระจ่างนัก และหลายคนไม่มีโอกาสถามกับตัวผม

งั้นผมขอให้ความกระจ่างถึง Concept และ หลักการของงาน(หนัง)ทดลองเรื่อง Thaumatrope ที่ Blog นี้เลยครับ









- Thaumatrope คืออะไร ?


ท้าวความสักนิด

ภาพยนตร์ เป็นประดิษฐกรรมที่เกิดขึ้นในทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 (ยุคบุกเบิกภาพยนตร์ ค.ศ. 1815–1895) ซึ่งเป็นผลมาจากสิ่งประดิษฐ์พื้นฐานที่ได้เกิดขึ้นแล้วก่อนหน้านั้นสามประการด้วยกัน คือ


1.ของเล่นตามทฤษฎีว่าด้วยการเห็น "ภาพติดตา"

2.การถ่ายภาพนิ่ง

3.เครื่องบันเทิงที่มีกลไก




หลักการเห็น "ภาพติดตา" นั้น ทำให้เกิดของเล่นที่สามารถสาธิตให้เห็นหลักการดังกล่าวหลายชิ้นด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ



"Thaumatrope"

แผ่นกระดาษวงกลมที่ผูกเชือกสองด้าน ภาพบนแผ่นกระดาษด้านหนึ่งเป็นรูปกรง อีกด้านเป็นรูปนก เมื่อหมุนเชือกให้ภาพพลิกไปมาเร็วๆ จะเห็นเป็นภาพนกอยู่ในกรงได้








( หรือดูตัวอย่างที่ Link นี้เลยครับ //assassindrake.com/tt.php )


โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า "ภาพติดตา" (Persistence of Vision) หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นมาโดย Dr. John Ayrton Paris นักทฤษฎี และ แพทย์ ชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1824




John Ayrton Paris




เนื้อหาของทฤษฎีดังกล่าว อธิบายหลัก ธรรมชาติของสายตามนุษย์ในการมองเห็นภาพใดภาพหนึ่งแล้ว หากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1/15 วินาที (ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงนี้)

ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของมนุษย์จะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฎในเวลาใกล้เคียงกัน




Thaumatrope




ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพที่เห็นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว




ภาพม้า 12 ภาพต่อวินาที




ซึ่ง Thaumatrope เป็นหนึ่งในต้นแบบ ของการทำอนิเมชั่น และ ภาพยนตร์ในปัจจุบัน
โดยในปัจจุบัน ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ ใช้ความเร็วที่ 24 ภาพ ต่อ วินาที










- Concept ของงานทดลองชิ้นนี้คืออะไร ?



Concept ของงานทดลองชิ้นนี้คือนำ วิธีประดิษฐ์ Thaumatrope มาประยุกต์ใช้


ซึ่งแตกต่างกับการนำหลักการของ “ภาพติดตา” มาประยุกต์ใช้ เพราะจะว่าไปแล้ว "ภาพเคลื่อนไหว" ทุกชนิดรวมถึงงานนี้ ก็ใช้หลักการนี้อยู่แล้ว





*** วิธีประดิษฐ์ Thaumatrope แบบง่ายๆ ***



1.นำแผ่นกระดาษมาหนึ่งแผ่น เขียนรูปลงบนทั้งสองด้านของกระดาษ (เช่น ด้านหนึ่งรูปนก ด้านหนึ่งรูปกรง)

2.หาวิธีที่ทำให้ตาเห็นรูปทั้งสอง สลับกันอย่างรวดเร็ว ในกรณีนี้ เราจะร้อยด้ายไว้ 2 ด้าน แล้วหมุนอย่างเร็ว




ดูตัวอย่างนี้เลยครับ








*** และนี่คือวิธีในการผลิต "งานทดลองชิ้นนี้" ด้วยวิธีประดิษฐ์คล้ายๆกัน ***



1.บันทึก “ภาพเคลื่อนไหว” 2 ชุด

2.หาวิธีที่ทำให้ตาเห็น “ภาพเคลื่อนไหว” ทั้งสอง สลับกันอย่างรวดเร็ว (ในกรณีนี้ผมอาศัยการตัดต่อ)





ลองพิจารณาแล้วจะพบว่า นี่คือ การทำ Thaumatrope

โดยใช้ "ภาพเคลื่อนไหว" 2 ชุด "แทนที่" การใช้ รูป หรือ "ภาพนิ่ง" 2 ภาพ





นั่นก็คือ งานทดลองชิ้นนี้ คือการทำ "ภาพเคลื่อนไหว" ซ้อน "ภาพเคลื่อนไหว" นั่นเอง










*** Thaumatrope ***






เข้าชิงรางวัล Artistic Contribution จากงาน Movie Mania ครั้งที่ 7
จัดโดย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2550


ได้รับคัดเลือกเข้าร่วม ใน เทศกาลหนังทดลองกรุงเทพ ครั้งที่ 5 (BEFF 5) ปี พ.ศ. 2551
โดยเข้าฉายในโปรแกรม Fluid Dynamic หัวข้อ สื่อดัดแปลง (Test Patterns) ร่วมกับหนังจากหลากหลายประเทศ


สร้างสรรค์ ถ่ายภาพ และตัดต่อ โดย นวกานต์ ราชานาค

ผลิตเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2549








อ้างอิง
//pirun.ku.ac.th/~b4807346/page2.html
//www.thaigoodview.com/library/teachershow/utaradit/yuwadee/eye.html
//a-is-a.diaryis.com/?20071014
//www.cp.eng.chula.ac.th/service/journals/animationENG.pdf
//en.wikipedia.org/wiki/Thaumatrope
//en.wikipedia.org/wiki/Persistence_of_vision
//animatedcartoons.blogspot.com/




Create Date : 03 ตุลาคม 2551
Last Update : 22 กันยายน 2556 17:17:19 น. 8 comments
Counter : 10734 Pageviews.

 
งานนี้เกิดจาก วันหนึ่งผมไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ที่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร (สนามจันทร์)

และได้รู้จักกับอุปกรณ์สร้างภาพเคลื่อนไหวในยุคแรกๆ หลายๆแบบ

หนึ่งในนั้นก็คือ Thaumatrope


คืนนั้น ผมก็ได้ไอเดียในงานสร้างชิ้นนี้ ตอนเช้าผมเลยจัดการออกมาถ่ายทำ เพียงคนเดียว

ได้ video มาแล้วก็ไม่ว่างตัดต่อ ผมดองไว้อีกหลายเดือนจึงเริ่มตัดต่อ
ซึ่งการตัดต่อนี่กินเวลาผม ไป 3 วัน (เหมือนนาน แต่คิดเป็นชั่วโมง แค่เกือบๆ 10 ชั่วโมงเท่านั้น)


นี่เป็นอีกงานที่ผมภูมิใจครับ

เพราะ คิดเร็ว ถ่ายเร็ว ดิบมากๆ แถมทำเองคนเดียวอีกต่างหาก



****
หวังว่าคงเข้าใจ Concept และหลักการ
ร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้นะครับ


โดย: เจ้าของ Blog (navagan ) วันที่: 3 ตุลาคม 2551 เวลา:5:29:59 น.  

 
เล่าซะมองเห็นภาพเลยฮะ ขอบคุงคร้าฟ :P


โดย: haro_haro วันที่: 3 ตุลาคม 2551 เวลา:11:34:33 น.  

 
จากบล็อกที่แล้ว ที่เอาหนังสั้นเรื่องนี้มาให้ดู ผมเพิ่งจะได้นั่งดุจบ ตอนนี้เองฮะ เจ๋งมากๆ ตัดต่อได้เนียบเจิงๆ ถ้าหากทำให้ยาวขึ้นไปอีก สงสัยผมต้องนั่งดู กลับไป-มาไม่มีเบื่อแน่ๆ 555

- ชอบครับ


โดย: haro_haro วันที่: 3 ตุลาคม 2551 เวลา:11:43:21 น.  

 
โอ้ เยี่ยมครับ ไม่ได้เจาะลึกลงไปหาข้อมูลเรื่องนี้เลย ดีที่เอามาอธิบายให้อ่านกันครับ ^^

สำหรับผมแล้ว การลุกขึ้นมาถ่ายหนังนี้คงยากพอๆกับฟุตบอลไทยได้แชมป์โลก หรืออะไรประมาณนั้นครับ 55+



โดย: BloodyMonday วันที่: 3 ตุลาคม 2551 เวลา:16:37:06 น.  

 
เป็นงานที่น่าสนใจค่ะ
เคยดูที่เวปไทยชอร์ตฟิล์ม


โดย: renton_renton วันที่: 4 ตุลาคม 2551 เวลา:12:32:09 น.  

 
อยากดูเป็น quicktime format (*.mov) น่ะค่ะ จะได้ดูทีละเฟรม และเห็นชัดว่า มีการลำดับภาพยังไง


โดย: S.S. วันที่: 4 ตุลาคม 2551 เวลา:14:24:58 น.  

 
ยังมีของเล่นอีกนะคะเช่น
พัดโดยที่ด้านหนึ่งเป็นรูปกรงส่วนอีกด้าน
เป็นรูปสัตว์พอหมุนพัดเร็วๆ
ก็จะเห็นเป็นรูปสัตว์อยู่ในกรง


โดย: jang IP: 203.156.27.79 วันที่: 2 ธันวาคม 2551 เวลา:20:10:57 น.  

 
ไอเดียแจ่มมากครับ ชื่ินชมเจ้าของบล็อกที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ


โดย: A-Bellamy วันที่: 22 เมษายน 2555 เวลา:13:11:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.