Group Blog
 
All Blogs
 

ลูกจ้างพึงระวัง นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใด ๆ ได้ทันทีเมื่อ...............

ตามกฎหมายพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 ได้กำหนดเรื่องการที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 119 ซึ่งบทบัญญตินี้เป็นข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นบทบัญญัติที่สำคัญมากที่นายจ้างจะนำมาอ้างในการใช้สิทธิต่อสู้ในศาลแรงงาน ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดให้นายจ้างต้องระบุเหตุผลของการเลิกจ้างให้ชัดเจนในหนังสือเลิกจ้างหากไม่ระบุไว้หรือระบุคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง นายจ้างก็จะยกเอาเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น นายจ้างสืบทราบว่าลูกจ้างยักยอกเงินบริษัท แต่สามารถตกลงกับลูกจ้างได้โดยให้ลูกจ้างนำเงินมาคืน หลังจากลูกจ้างคืนเงินทั้งหมดแล้วนายจ้างออกหนังสือเลิกจ้างโดยอ้างเหตุว่า “ลูกจ้างบกพร่องต่อหน้าที่” โดยไม่ระบุถึงเหตุแห่งการทุจริตต่อหน้าที่หรือ การจงใจกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่นนี้แล้วลูกจ้างก็ฟ้องเรียกค่าชดเชยได้ ดังนั้นเราก็ควรจะมาศึกษาก่อนเลยครับว่าข้อยกเว้นนั้นมีกำหนดไว้อย่างไรบ้าง


กฎหมายพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 
มาตรา 119 “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้”
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ


มาตรา 119 (1) การกระทำทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง


                การกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หมายถึง การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยอาศัยโอกาสที่ได้จากการปฏิบัตงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ในลักษณะทรัพย์สินหรือนายจ้างได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกระทำเพื่อตนเองหรือเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลอื่น Smiley 


เช่น Smileyเบิกเบี้ยเลี้ยงทั้งที่ไม่ได้ไปทำงาน ตจว. จริง Smiley ,  Smileyเรียกรับเงินจากผู้สมัครงานเพื่อคัดลือกให้เข้ามาทำงานที่บริษัทSmiley, เอาทรัพยากรของนายจ้างไปใช้เพื่อการส่วนตัว


               กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หมายถึง ลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่ประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญาโดยเจตนากระทำต่อนายจ้าง หรือต่อกิจการของนายจ้าง ไม่ว่าจะทำด้วยตนเอง หรือ ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ หรือ แม้แต่จะสนับสนุนการกระทำความผิดนั้นก็ตามSmileySmileySmiley


เช่น Smileyลาป่วยแล้วทำใบรับรองแพทย์ปลอมมาให้นายจ้างSmiley, ลักทรัพย์หรือจงใจทำลายทรัพย์สินของนายจ้างนายจ้างSmiley, ดูหมิ่นหรือทำร้ายร่างกายนายจ้างหรือตัวแทนนายจ้างSmiley , ยักยอกเงินบริษัท


มาตรา 119 (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย



               หมายถึงการกระทำใด ๆ ที่ลูกจ้างประสงค์จะให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างโดยตรงไม่ว่าจะเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของนายจ้าง ซึ่งการกระทำโดยจงใจให้นายจ้างได้รับเสียหายนั้นมักจะเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดทางอาญาตามข้อ (1) ด้วย แม้ว่าบางครั้งลูกจ้างเองอาจไม่ทันคิดว่าการกระทำของตนเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแต่ก็มีหลายกรณีที่ศาลตัดสินให้ลูกจ้างไม่ได้รับค่าชดเชยเพราะเหตุที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย



เช่น สั่งให้ลูกน้องตัวเองละทิ้งงานหรือชะลองาน , ให้ลูกน้องตัวเองขายแอมเวย์ ขายประกัน ขายเครื่องสำอางค์ให้เพื่อการส่วนตัว, ทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ทำลายข้อมูลเอกสารของบริษัทโดยไม่มีอำนาจ, ทำลายชื่อเสียงของบริษัท


การกระทำพวกนี้ถือเป็นความผิดตาม ม.119 ซึ่งนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย  


 


 






Free TextEditor




 

Create Date : 01 มิถุนายน 2552    
Last Update : 1 มิถุนายน 2552 10:58:57 น.
Counter : 7107 Pageviews.  

FAQ Frequently Asked Questions ปัญหาทางกฎหมายที่พบบ่อย ๆ

 

Smiley จะให้เพื่อนพ้องน้องพี่ยืมเงินต้องทำยังไงถึงจะได้คืน Smiley


1. ต้องจัดทำสัญญากู้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตาม ม.653 คือ ทำเป็นหนังสือสัญญา ระบุชื่อผู้กู้-ผู้ให้กู้, จำนวนเงิน-ดอกเบี้ย และกำหนดชำระเงินคืนให้ชัดเจน และลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้ให้ถูกต้อง
2. โอนเงินให้ผู้กู้ผ่านบัญชีธนาคารเท่านั้น เพื่อเก็บบันทึกการโอนไว้เป็นหลักฐานว่าผู้กู้ได้เงินไปแล้ว
3. เก็บหลักฐานระบุตัวตนของผู้กู้ไว้ด้วย เช่น สำเนาบัตรประชาชน-ทะเบียนบ้าน
พอถึงกำหนดชำระแล้วเค้าเบี้ยวจะได้ฟ้องร้องเอาเงินคืนได้โดยง่าย



Smiley เพื่อนยืมเงินไปแล้วไม่ยอมคืนทำอย่างไรดี  Smiley


ถ้าได้ทำสัญญากู้ยืมเงินไว้ตามข้างบนก็เอาสัญญากู้ยืมเงินนั้นไปฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งได้ตามปกติ ถ้าไม่ได้ทำสัญญาไว้ก็ต้องไปทวงเอาเองครับกฎหมายช่วยอะไรไม่ได้



Smiley แจ้งความกับตำรวจได้ไหม??? Smiley


ไม่ได้นะครับ ตำรวจไม่รับแจ้งความเนื่องจากเป็นการผิดสัญญาในคดีแพ่ง ตำรวจไม่มีอำนาจทำคดี



Smiley ผู้ให้เช่า// ผู้เช่าอยากเลิกสัญญาเช่า ต้องทำยังไง Smiley



Smiley แต่งงานไปแล้ว เงินส่วนไหนเป็นของใคร แล้วจะจัดการยังไงดี Smiley




Smileyเก็บของตกได้ทำไงดี เก็บไว้อเองจะเป็นอะไรไหมSmiley



Smileyหนี้บัตรเครดิต ถือบัตรเสริมต้องรับผิดชอบหรือเปล่า Smiley


ตามปกติ ในสัญญาสมัครบัตรเครดิตของทุกธนาคารจะกำหนดให้ผู้ถือบัตรเสริมจะต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้ถือบัตรหลัก ดังนั้น หากบัตรหลักไปก่อหนี้ไว้ แล้วไม่จ่ายบัตรเสริมย่อมต้องรับผิดชอบในหนี้นั้นเสมือนหนึ่งเป็นหนี้ของตนเอง


Smileyหนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้ หนี้สินเชื่อเช่าซื้อ อายุความกี่ปีหรือSmiley


เรื่องของอายุความเกี่ยวกับหนี้ของธนาคารจะมีลักษณะดังนี้ครับ
1. หนี้บัตรเครดิตมีอายุความ 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
2. หนี้จากการเช่าซื้อ ลิสซิ่ง รถ บ้าน แบ่งเป็น
          2.1 กรณีที่เรียกเอาค่าเสียหายจากสภาพทรัพย์สินชำรุดบุบสลาย เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันและผู้ให้เช่าซื้อกลับเข้าครอบครองท
รัพย์สินที่ได้ให้เช่าซื้อไปแล้ว หากพบว่ามีการชำรุดบุบสลายผู้ให้เช่าซื้อต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ตนได้รับทรัพย์นั้นคืน(การเรียกค่าเสียหายในรูปของความเสียหายที่เกิดจากการเช่า-ยืมใช้คงรูป อายุความ 6 เดือนนับแต่ได้รับทรัพย์นั้นคืน)
            2.2 ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้ภายในอายุความ 2 ปี
               ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความได้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้นหากผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่จึงจ้องฟ้องเสียภายในอายุความ 2 ปี ตาม ปพพ. ม. 193/34 (6)
          2.3 อายุความฟ้องเรียกค่าติดตามยึดทรัพย์คืน, เรียกค่าเสียหายหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อ, เรียกค่าเสียหายให้ผู้เช่าซื้อชดใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อแทน, เรียกค่าเสียหายหลังจากเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อ เหล่านี้ต้องฟ้องภายในอายุความ 10 ปี
               เนื่องจาก ไม่มีกำหนดเรื่องอายุความในปพพ. หรือกฎหมายอื่นต่อกรณีค่าเสียหายไว้อย่างชัดแจ้ง จึงให้ให้มีกำหนด อายุความ สิบปี ตาม ปพพ. 193/30
         2.4 ค่าเสียหายที่ศาลสั่งให้ผู้เช่าซื้อชำระคืนแก่ ผู้ให้เช่าซื้อ มีอายุความ 10ปี ตาม ปพพ. 193/32

3. กรณีหนี้เงินกู้ต้องฟ้องภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
Smiley พ่อตาตายแม่ยายเสียเมียสิ้นใจ มรดกแบ่งยังไงครับSmiley
การแบ่งทรัพย์มรดกของผู้เสียชีวิต (เจ้ามรดก) ต้องแบ่งตามลำดับต่อไปนี้
      1. กรณีผู้เสียชีวิตมี คู่สมรส(ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย) ให้แยกสินสมรสออกจากสินส่วนตัวก่อน แล้ว แบ่งสินสมรสออกครึ่งหนึ่ง แบ่งให้ คู่สมรส อีกครึ่งเอาเข้ากองมรดกรวมกับสินส่วนตัวของผู้เสียชีวิต
      2.นำทรัพย์มรดกของผู้เสียชีวิต มาแบ่งตามลำดับ ดังนี้ (ในกรณีที่ไม่มีใครในลำดับนั้นเหลืออยู่เลยจึงจะข้ามไปให้ลำดับต่อไป)
            2.1 บิดามารดา บุตรตามกฎหมาย บุตรบุญธรรม และ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ของเจ้ามรดก ได้คนละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน
            2.2 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับกับเจ้ามรดก
            2.3 พี่น้องร่วมบิดา หรือ มารดาเดียวกับกับเจ้ามรดก
            2.4 ปู่ย่าตายาย ของเจ้ามรดก
            2.5 ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก







ใครมีคำถามอะไรที่พบบ่อย ๆ แล้วอยากเพิ่มใน FAQ นี้ก็โพสไว้นะครับ ว่าง ๆ จะมาอับเดทให้

Free TextEditor




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 23 มิถุนายน 2552 13:50:54 น.
Counter : 631 Pageviews.  

สิ่งที่ต้องเจอ หนทางแก้ไข และวิธีปฏิบัติเมื่อมีปัญหากับนายจ้าง

ปัญหานายจ้าง-ลูกจ้าง  เป็นปัญหาที่บางคนอาจต้องประสบอยู่ไม่ว่ากับนายจ้างที่ทำงานเก่า หรือแม้แต่กับนายจ้างที่กำลังทำงานอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ก็ตาม แต่ผมเชื่อว่าหากเป็นไปได้ เราทุกคนคงไม่มีใครอยากมีปัญหากับนายจ้างของตนเองอย่างแน่นอน


แต่เมื่อปัญหาเกิดขึ้นมาแล้วเราก็ต้องหาทางแก้ไขจะตีโพยตีพายไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมา เมื่อเราถูกลงโทษจากนายจ้าง ไม่ว่าจะด้วยการ ตักเตือนด้วยวาจา, การออกหนังสือเตือน, การหักเงินเดือน, พักงาน หรือ เลิกจ้าง(ไล่ออก) เราต้องดูว่า ผลของการลงโทษนั้น ๆ เป็นอย่างไร และ มีอะไรที่เราพอจะทำได้บ้าง 


การเตือนด้วยวาจา
การตักเตือนด้วยวาจา หากเป็นการว่ากล่าวตักเตือนตามปกติของการทำงาน ก็เป็นเพียงการว่ากล่าวธรรมดาไม่มีผลบังคับใด ๆ ในทางกฎหมายแรงงาน แต่นายจ้างอาจมีความผิดถึงขั้นติดคุกติดตารางได้ หากการว่ากล่าวตักเตือนนั้นเกินกว่าเหตุจนกลายเป็นการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท ในทางอาญา เช่น นายจ้างด่าลูกจ้างว่า “โง่เป็นควาย” ต่อหน้าพนักงานคนอื่น แบบนี้ถือว่าเป็นการกระทำหมิ่นประมาทอย่างชัดเจน หากเรามีพยานหลักฐานเพียงพอก็สามารถฟ้องร้องได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา


หนังสือเตือน (Warning Letter)
การออกหนังสือเตือน เป็นการลงโทษของนายจ้าง ซึ่งมีผลในทางกฎหมายแรงงานด้วย หลายต่อหลายคนเคยถามผมว่า หากเราถูกนายจ้างออกหนังสือเตือน แล้วเราไม่เซ็นต์รับทราบจะได้ไหม?
ผมตอบให้ได้เลยครับว่า ได้
คุณจะเซ็นต์ชื่อรับทราบหรือไม่ก็สุดแล้วแต่คุณ  แต่ไม่ว่าคุณจะเซ็นต์หรือไม่เซ็นต์รับทราบ ผลของหนังสือเตือนมันเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติทันทีครับ ซึ่งผลตามกฎหมายของหนังสือเตือน คือ หากลูกจ้างกระทำความผิดระเบียบข้อบังคับในการทำงาน  หรือ คำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างที่นายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วซ้ำอีก ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเตือน ให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
สิ่งที่คุณทำได้เพียงอย่างเดียวคือ ทำหนังสือปฏิเสธ และ ชี้แจงข้อเท็จจริงให้นายจ้างทราบ ซึ่งแม้ว่าจะผลของหนังสือเตือนยังคงอยู่ แต่ หนังสือชี้แจงที่เราชี้แจ้งแก่นายจ้างไปสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ว่าเราไม่ได้กระทำผิดตามหนังสือเตือน


การหักเงินเดือน
 ตามปกตินายจ้างจะหักเงินค่าจ้างอันเป็รค่าตอบแทนการทำงาน(เงินเดือน)ของพนักงานได้แต่เฉพาะกรณีหักเพื่อชำระภาษี , กองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่าง ๆ , หักเพื่อบำรุงสหภาพแรงงาน หรือ ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือระบุข้อตกลงไว้อย่างชัดเจนจากลูกจ้างเท่านั้น การหักเงินเดือนเพื่อการลงโทษไม่มีระบุไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จะเข้าลักษณะเป็นระเบียบบริษัท ซึ่งจะต้องไม่เกินกว่าเหตุ และต้องประกาศให้ทราบโดยทั่วกันภายในระยะเวลาอันสมควรก่อนจะใช้บังคับจริง เช่นบริษัท ประกาศหักค่าจ้างพนักงานที่มาทำงานสาย 1 นาที หัก 100 บาท แบบนี้เรียกว่าเกินกว่าเหตุแน่นอนครับกรณีเจอนายจ้างหน้าเลือดแบบนี้ ลองติดต่อที่พนักงานตรวจแรงงานให้เข้าไปตรวจสอบได้ครับ
 


การพักงาน
 คือการสั่งให้ลูกจ้างไม่ให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว เพื่อทำการสอบสวนข้อเท็จจริง หรือลงโทษลูกจ้างซึ่งตามปกติจะกระทำการพักงานลูกจ้างได้ต่อเมื่อมีการระบุโทษนี้ไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้อย่างชัดเจน ที่สำคัญคือ การสั่งพักงานดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือระบุความผิด และ กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนแต่ต้องไม่เกินกว่า 7 วัน ทั้งนี้ระหว่างที่มีการพักงานนายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างแก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในอัตราสุดท้าย
 เราจึงต้องตรวจสอบให้ดีว่า การสั่งพักงานถูกต้องตามระเบียบบริษัทหรือไม่ มีการระบุความผิดและระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ที่สำคัญ คือเราต้องได้รับค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
 
 การเลิกจ้าง (ให้ออกจากงาน) 
 การเลิกจ้างนั้นคือ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามดังนั้นหากนายจ้างไม่ให้เราเข้าทำงานแต่ยังคงจ่ายเงินเดือนให้เราตามปกติแบบนี้แล้ว ยังไม่ถือว่ามีการเลิกจ้างเกิดขึ้นนะครับ
  ตามปกติ การเลิกจ้างนั้นคือสิ่งสุดท้ายที่นายจ้างอยากจะทำ เพราะเมื่อนายจ้างเลิกจ้างไปแล้ว จะมีผลกระทบที่ตามมามากมาย ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า เมื่อนายจ้างเลิกจ้างเราไปแล้วผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร
 ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเงินได้ดังต่อไปนี้
1. ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน 
2. ค่าชดเชยการเลิกจ้าง ตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน ม.118 ซึ่งขออธิบายคร่าว  ๆ ดังนี้
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300วัน
3. ค่าชดเชยการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม  คือ ค่าชดเชยกรณีที่เราถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่เราก็ไม่ได้กระทำผิดกฎระเบียบใด ๆ ของบริษัท หรือ เรามีการกระทำผิดระเบียบบริษัทจริงแต่ ไม่ถึงขนาดที่เป็นเหตุอันสมควรให้เลิกจ้าง ค่าชดเชยนี้ไม่มีขั้นไม่มีอัตราใด ๆ กำหนดไว้ เป็นเรื่องของดุลยพินิจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาให้แก่ลูกจ้างเท่าไรก็ได้โดยพิเคราะห์ จากอายุของลูกจ้าง, อายุการทำงาน, ความเดือดร้อนของลูกจ้าง, มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และ เงินค่าชดเชยอื่น ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ
4. เงินอื่น ๆ  ที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับ เช่น เงินทดแทนวันหยุดประจำปี, เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ค่าล่วงเวลา
5. เงินโบนัส ที่ เราสมควรจะได้ เทียบเคียงกับการจ่ายโบนัสประจำปีของนายจ้างต่อลูกจ้างคนอื่น


ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการทำงานนะครับ อย่าได้มีปัญหากับนายจ้างเลย






Free TextEditor




 

Create Date : 11 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 15 กรกฎาคม 2551 13:12:10 น.
Counter : 4117 Pageviews.  

ยามรักใช้เงินร่วมกัน ยามเลิกแบ่งกันยังไง ทรัพย์สินไหนสินส่วนตัว-สินสมรส

ยามรักน้ำต้มผักยังว่าหวาน ยามหน่ายแค่เห็นหน้าก็หงุดหงิด

เมื่อรักไม่เป็นดังหวัง หนทางสุดท้ายคือหย่ากัน ทรัพย์สินระหว่างสามี-ภรรยา แบ่งกันยังไงให้ลงตัว

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนเลยนะครับว่า หากคุณมิได้จดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย คุณก็ไม่ใช่สามี-ภรรยา ตามที่กฎหมายจะบังคับได้ดังนั้นจะไม่นำความในกฎหมายครอบครัวมาใช้เลย การแบ่งสินส่วนตัว - สินสมรส จะไม่เกิดขึ้นทั้งสิ้น

ถามว่าแล้วถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย จะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลยหรือ ทรัพย์สินที่มีแบ่งกันอย่างไร
เรื่องนี้มีคำตอบครับซึ่งผมจะมาเฉลยตอนจบ

เข้าเรื่องดีกว่า ทรัพย์สิน ระหว่างคู่สมรส จะแบ่งออกเป็น 2ประเภทคือ สินส่วนตัวและสินสมรส ตามความในมาตรา 1471
มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

และสินสมรสได้แก่
มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

ทั้งนี้ คำว่า ได้มา ตามความในมาตรา 1471 และ 1474 ให้ถือเอาวันที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์เป็นสำคัญ คือไม่ว่าจะซื้อมาตั้งแต่วันใด ก็ตามหากได้รับโอนกรรมสิทธิ์หลังจากวันที่จดทะเบียนก็จะเป็นสินสมรสครับ

จากที่เคยพบปัญหาบ่อย ๆ มักจะมีคนสอบถามว่า หากเราได้ซื้อบ้าน หรือ รถไว้ โดยกู้เงินจากธนาคารหรือไฟแนนซ์ ก่อนสมรสโดยมีชื่อเราเป็นผู้กู้คนเดียว ได้ผ่อนค่างวดจนครบและโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อเราคนเดียว แต่วันที่โอนนั้นอยู่ในระหว่างที่สมรสกันอยู่ ทรัพย์สินดังกล่าวถือเป็นสินสมรสครับ


ส่วนกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันที่ได้เกริ่นไว้ก่อนหน้านั้น ทรัพย์สินที่ฝ่ายชาย และ หญิงลงทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างที่อยู่กินด้วยกันระหว่างนั้นเป็นทรัพย์สินรวม ซึ่งทั้งคู่เป็นเจ้าของทรัพย์นั้นร่วมกันในลักษณ์เจ้าของร่วมหรือหุ้นส่วน
โดยหลักหมายถึงการที่ ชายและหญิงร่วมกันทำการค้าหรือดำเนินกิจการอันเฉพาะเจาะจงแล้วได้ทรัพย์สินมา เช่น เปิดร้านขายของด้วยกันขายได้กำไรเก็บไว้ร่วมกัน หรือ ร่วมกันซื้อทองเก็บไว้ หรือ ช่วยกันผ่อนบ้าน
ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมซึ่งต้องพิสูจน์ในชั้นศาลถึงการมีส่วนร่วมนั้น แต่ในทางกลับกันถ้าทรัพย์สินต่างคนต่างทำมาหาได้แยกกันเช่นต่างคนต่างทำงาน รถคนละคันต่างคนต่างผ่อน อีกฝ่ายไม่มีส่วนร่วม ก็ถือว่าเป็นสินส่วนตัวครับ ไม่สามารถฟ้องขอแบ่งทรัพย์ได้

หวังว่าคงพอจะเข้าใจนะครับ หากมีข้อสงสัยลองสอบถามใน Blog นี้ไว้ได้นะครับถ้ามีเวลาจะมาตอบให้




 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 29 พฤษภาคม 2551 12:53:05 น.
Counter : 594 Pageviews.  

พินัยกรรม เตรียมไว้แต่เนิ่น ๆ เกิดเหตุไม่คาดฝัน ลูกหลานจะได้ไม่ตีกันนะครับ

เนื่องด้วยมีคนตั้งคำถามเกี่ยวกับ การทำพินัยกรรมมาหลายครั้ง ผมเลยขออนุญาตรวบรวมรายละเอียดการทำพินัยกรรมประเภทต่าง ๆ มาไว้ในที่นี้เพื่อว่าเพื่อน ๆ จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นครับ

พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้าย ซึ่งแสดงถึงเจตนากำหนดเรื่องการจัดการทรัพย์สิน หรือ กิจการต่าง ๆ ของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย
โดยทำแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ (ป.พ.พ. มาตรา 1646 – 1648)

แบบของพินัยกรรม มี 5 แบบ คือ

พินัยกรรมแบบธรรมดา (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ (ป.พ.พ. มาตรา 1657)
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (ป.พ.พ. มาตรา 1658)
พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ (ป.พ.พ. มาตรา 1660)
พินัยกรรมทำด้วยวาจา (ป.พ.พ. มาตรา 1663)
พินัยกรรมทั้ง 5 แบบนี้
แบบที่ง่ายที่สุดคือ แบบที่ 2 แบบเขียนเองทั้งฉบับ สามารถเขียนเองและเก็บไว้ที่คนที่ไว้ใจได้เลยโดยไม่ต้องมีพยานก็ได้ แต่จะมีปัญหาถกเถียงกันมากมาย สำหรับพินัยกรรมประเภทนี้
แบบที่นิยมที่สุดคือแบบที่ 1 แบบธรรมดา โดยอาจจะพิมพ์ หรือเขียนปะปนกันได้ แต่จุดสำคัญคือต้องมีพยาน 2 คนลงลายมือชื่อครับ
แบบที่ 3, 4 และ 5 จะต้องไปทำที่อำเภอหรือที่ว่าการเขต หรือ กิ่งอำเภอครับเพราะต้องมีการจดบันทึกของเจ้าพนักงาน


[1] พินัยกรรมแบบธรรมดา
หลักเกณฑ์การทำ
1. ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ (จะเขียนหรือพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้)
2. ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำ
3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน จะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตราประทับแทนการลงชื่อหรือเครื่องหมายแกงไดไม่ได้ และพยานที่จะลงลายมือชื่อ
ในพินัยกรรมจะพิมพ์ลายนิ้วมือหรือใช้ตราประทับ หรือลงแกงได หรือลงเครื่องหมายอย่างอื่นแทนการลงชื่อไม่ได้ จะต้องลงลายมือชื่ออย่างเดียว
4. การขูด ลบ ตกเติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ในขณะที่ขูด ลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น ได้ลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานอย่างน้อยสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้น (ต้องเป็นพินัยกรรมแล้ว)


[2] พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
หลักเกณฑ์การทำ

1. ต้องทำเป็นเอกสาร คือ ทำเป็นหนังสือ โดยจะใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
2. ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับจะพิมพ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้เขียนหนังสือไม่ได้ไม่สามารถจะทำพินัยกรรมแบบนี้ได้ พินัยกรรมแบบนี้จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามไว้
3. ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำลงเพื่อพิสูจน์ความสามารถ และการทำก่อนหลังฉบับอื่น
4. ต้องลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ หรือแกงได หรือเครื่องหมายอย่างอื่นไม่ได้
5. การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำ
พินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้
- การขูด ลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่มิได้ทำด้วยตนเอง หรือลงลายมือชื่อกำกับไว้เท่านั้นที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนข้อความเดิมหรือพินัยกรรมยังคงใช้บังคับได้ตามเดิม ไม่ทำให้โมฆะทั้งฉบับ


[3] พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
การขอทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ อำเภอใดก็ได้ ดำเนินการให้ตามความประสงค์ ดังนี้

คำอธิบายขั้นตอนการทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง

1. ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่นายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
2. นายอำเภอจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบแล้วนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้น ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
3. เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่นายอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
4. ข้อความที่นายอำเภอจดไว้นั้น ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี จดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ข้างต้น แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ

- การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ไม่จำเป็นต้องทำในที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอเสมอไป ถ้าผู้ทำร้องขอจะทำนอกที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอก็ได้ เมื่อทำพินัยกรรมเสร็จแล้ว ถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่มีความประสงค์จะขอรับเอาไปเก็บรักษาเองโดยทันทีแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอจัดเก็บรักษาพินัยกรรมนั้นไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอก็ได้

- เมื่อความปรากฏว่า ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายแล้ว ผู้จัดการมรดก หรือผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด หรือผู้ซึ่งทำพินัยกรรมให้ จะขอรับพินัยกรรมไปไว้ โดยแสดงหลักฐานการตายของผู้ทำพินัยกรรม เมื่อสอบสวนเป็นที่พอใจแล้ว ให้นายอำเภอมอบพินัยกรรมนั้นให้ไป

[4] พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ

คำอธิบายขั้นตอนการทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ

เมื่อมีผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับ ให้ผู้นั้นแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงานยื่นต่อกรมการอำเภอ (นายอำเภอ) ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอแล้วปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1. ต้องมีข้อความเป็นพินัยกรรมและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม
2. ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรม แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึก
3. ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คนและให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดนั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมเขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย
4. เมื่อนายอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับและประทับตราประจำตำแหน่ง แล้วนายอำเภอผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น

- บุคคลผู้เป็นทั้งใบ้ และหูหนวก หรือผู้ที่พูดไม่ได้ มีความประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นเอกสารลับก็ได้ โดยให้ผู้นั้นเขียนด้วยตนเองบนซองพินัยกรรมต่อหน้านายอำเภอ และพยานอย่างน้อย 2 คน ว่าพินัยกรรมที่ผนึกนั้นเป็นของตน แทนการให้ถ้อยคำ
- ถ้าผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับประสงค์ขอรับไปทันที ก็ให้นายอำเภอมอบให้ไปได้ โดยให้ผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ประสงค์ขอรับไปทันที ก็ให้นายอำเภอมอบให้ไปได้ โดยให้ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อรับในสมุดทะเบียน


[5] พินัยกรรมทำด้วยวาจา

คำอธิบายขั้นตอนการทำพินัยกรรมด้วยวาจา

เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ซึ่งในพฤติการณ์เช่นนี้ ผู้ทำพินัยกรรมไม่อาจหาเครื่องมือเครื่องเขียนได้ทันท่วงที หรือกว่าจะหาได้ก็ถึงตายเสียก่อน ผู้ทำพินัยกรรมสามารถทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ ดังนี้

1. ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกันณ ที่นั้น
2. พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอโดยมิชักช้า และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความเหล่านี้
- ข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา
- วัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม
- พฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นด้วย
3.ให้นายอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานทั้งหมดนั้นต้องลงลายมือชื่อ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้จะลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คนก็ได้ และความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมนี้ย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลาผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้

ส่วนนี้แถมให้นะครับ

การตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก
ให้ผู้ประสงค์จะตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ให้ผู้นั้นยื่นคำร้องแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงานต่อนายอำเภอ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ การตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกนั้นอาจทำได้ 2 วิธี
1 โดยพินัยกรรม
2 โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
การตัดทายาทโดยธรรมตามข้อ 1 จะทำตามแบบพินัยกรรมแบบใด ๆ ก็ได้ โดยระบุตัดทายาทที่ถูกตัดไว้ให้ชัดแจ้ง
การตัดทายาทโดยธรรมตามข้อ 2 นั้น ผู้ทำพินัยกรรมจะทำเป็นหนังสือด้วยตนเอง แล้วนำไปมอบแก่นายอำเภอ หรือจะให้นายอำเภอจัดทำไว้ให้ก็ได้


การถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก

ผู้ประสงค์จะถอนการตัดทายาทโดยธรรมของตนมิให้รับมรดก ซึ่งได้แสดงเจตนาไว้แล้วสามารถกระทำได้ดังนี้

1. ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น
2. ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทำโดยพินัยกรรม หรือทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้

การสละมรดก
ทายาทอาจจะขอสละมรดกเองได้ด้วยความสมัครใจของตนเองโดยให้ทำคำร้องแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงานต่อนายอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ การแสดงเจตนาสละมรดกทำได้ 2 วิธี คือ

1. ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจทำเอง หรือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้ก็ได้
2. ทำเป็นสัญญา

การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมีเงื่อนไข หรือมีเงื่อนเวลาไม่ได้ และเมื่อสละแล้วจะถอนไม่ได้


ถ้าจะให้แนะนำการทำพินัยกรรมที่ดีที่สุด ควรจะทำแบบที่ 3 พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองเพราะจะถูกเก้บรักษาไว้โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่สามารถโต้แย้งถึงความปลอมของพินัยกรรมได้เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้จดบันทึกพินัยกรรมให้อีกทั้งอัตราค่าธรรมเนียมยังมีราคาถูกด้วยดังนี้

อัตราค่าธรรมเนียม

1. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองในที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต ฉบับละ 50 บาท ถ้าทำเป็นคู่ฉบับ ฉบับละ 10 บาท
2. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต ฉบับละ 100 บาท ถ้าทำเป็นคู่ฉบับ ฉบับละ 20 บาท
3. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ฉบับละ 20 บาท
4. ทำหนังสือตัดทายาทหรือถอนการตัดทายาทโดยธรรม มิให้ได้รับมรดก ฉบับละ 20 บาท หรือสละมรดก
5. ค่ารับมอบเก็บรักษาเอกสารที่ระบุไว้ใน (4) ฉบับละ 20 บาท
6. ค่าคัดและรับรองสำเนาพินัยกรรมหรือเอกสารที่ระบุไว้ใน (4) ฉบับละ 10 บาท
7. ค่าป่วยการพยานและล่าม ให้ได้แก่พยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้
โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม ซึ่งสมควรได้รับ
ค่าป่วยการในการมาอำเภอ ไม่เกินวันละ 50 บาท

ทั้งนี้ขอได้รับความขอบคุณจาก สำนักบริหารการทะเบียนทีให้ข้อมูลดังกล่าวมาทั้งสิ้น




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2551 13:20:47 น.
Counter : 1251 Pageviews.  

1  2  

Natelo
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ทดสอบทำBlog ของตัวเองครับ จะเน้นเรื่องภาพยนต์และ Serie USA เป็นหลัก เพราะชอบดูหนัง

Blog ที่จะนำมาเสริมจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายน่ารู้สำหรับบุคคลทั่วไป หรือ ปัญหาที่เจอบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน

หมายเหตุ ผู้เขียนทำงานด้านการร่างสัญญาอยู่หากใครต้องการให้ช่วยก็แจ้งความจำนงไว้ได้นะครับ

Update
เพิ่มเติมหัวข้อ การเมืองเรื่องใกล้ตัว อีก 1 Blog ครับหลังจากทนไม่ไหวกับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
Friends' blogs
[Add Natelo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.