รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2558
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
23 พฤษภาคม 2558
 
All Blogs
 
กลไกการเกิดดับของจิตผู้รู้ เมื่อพบจิตผู้รู้ควรทำอย่างไรต่อไป

บทความนี้ ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ภาวนา แต่เหมาะสำหรับผู้ทีพบจิตผู้รู้ได้แล้ว

1..จิตผู้รู้ คืออะไร

จิตผู้รู้ คือ ธาตุรู้ทีเป็นธรรมชาติในตัวคนเรานี่เองทีมีอยู่กันทุกคนแล้ว แต่เมื่อมีอวิชชาห่อหุ่มไว้ ธาตุรู้ทีเป็นธรรมชาติปกติทีว่างเปล่า จะกลับมาเป็นเม็ด เป็นดวง เป็นก้อนขึ้นมาได้

เมื่อนักภาวนาได้ฝีกฝน ภาวนามาถีงจุดหนี่ง ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร นักภาวนาจะได้พบกับจิตผู้รู้ ทีจะปรากฏให้พบได้ในลักษณะทีเป็นเม็ด หรือ เป็นดวง หรือ เป็นก้อน ทีอยู่บริเวณใบหน้า หรือ ศรีษะ

จิตผู้รู้เป็นจิตอวิชชา เกิดขึ้นเมื่อมีการจงใจหรือมีความตั้งใจในการกระทำอะไรก็ตามขึ้นมา ยิ่งจงใจมาก จิตผู้รู้ยิ่งปรากฏตัวเด่นให้สัมผัสได้ แต่เมื่อความจงใจลดน้อยลงไป จิตผู้รู้ก็จะจางลงไปตามความจงใจทีลดน้อยลง ถ้าไม่มีความจงใจเลย จิตผู้รู้ก็จะหายไปกลายเป็นความว่างเปล่า นีคือ กลไกการเกิดขึ้นหรือดับลงไปของจิตผู้รู้

2..เมื่อพบจิตผู้รู้ได้แล้ว ควรภาวนาอย่างไรต่อไป

เมื่อนักภาวนาได้พบกับจิตผู้รู้ได้แล้ว นักภาวนาก็เฝ้าสังเกตความเป็นไตรลักษณ์ของจิตผู้รู้ต่อไป ให้สังเกตว่า
** จิตผู้รู้ตอนทีเด่นชัดขึ้นเกิด เพราะอะไร
** จิตผู้รู้ตอนทีจางลงไป เพราะเหตุใด
** จิตผู้รู้ทีหายไป เพราะเหตุใด
นักภาวนาเพียงเฝ้าสังเกตอาการความเป็นไตรลักษณ์แห่งจิตผู้รู้นี้ไปเรื่อย ๆ
นักภาวนาจะเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ของเขาได้ และนี่คือ ปัญญาในการภาวนา

3..ข้อควรระวังเกี่ยวกับจิตผู้รู้

นักภาวนาควรศีกษาให้เข้าใจว่า จิตผู้รู้นี้เป็นจิตอวิชชา ไม่ใช่ของดี แต่พบได้ก็คือ ปัญญาของนักภาวนาเอง แต่ถ้านักภาวนาพบจิตผู้รู้แล้ว พยายามไปทำอะไรให้จิตผู้รู้เด่นชัดอยู่เสมอ หรือ ให้จิตผู้รู้จางหายไปอยู่เสมอ หรือ พยายามไปจ้องดูมันอยู่เสมอ
จะส่งผลให้นักภาวนาเกิดอาการป่วยทางกาย กล่าวคือ ปวดหัว มึนงง นอนไม่หลับ ลำไส้ผิดปกติ ความดันโลหิตสูงขึ้น อาหารไม่ย่อย
นี่คือ สิ่งทีนักภาวนาควรใส่ใจระวังในเรื่องนี้ไว้ให้ดี

นักภาวนาอาจมีคำถามว่า ถ้าไม่ให้จ้องดู แล้วจะไปสังเกตอาการของจิตผู้รู้ได้อย่างไรทีเขียนไว้ในข้อ 2
ตอบว่า ...นักภาวนาต้องหัดสังเกตจิตผู้รู้ด้วยการชำเลืองมอง ดังทีมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
ข้อที ๘. โกสัมพิยสูตร ที link นี้
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=9992&Z=10133

หมายเหตุ ในบางอาจารย์ผู้สอนภาวนา จะใช้คำว่า *รู้สีกได้* แทนคำว่า *ชำเลืองมอง*
ในแง่การปฏิบัติ ก็คือ สิ่งเดียวกัน แต่เรียกต่างกัน

นักภาวนาต้องหัดชำเลืองมองจิตดัง **วัวแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้าแล้วชำเลืองดูลูกน้อย**ดังทีกล่าวไว้ในพระไตรปิฏก นักภาวนาทีหัดชำเลืองมองจิตผู้รู้ได้จนเก่งกล้า ก็จะสามารถเข้าสู่องค์มรรคในระดับทีสูงขึ้นต่อไปได้

แต่ถ้านักภาวนาไม่สามารถชำเลืองมองจิตผู้รู้ได้ดังวัวแม่ลูกอ่อนเล็มหญ้าแล้วชำเลืองดูลูกน้อย ได้แต่การจ้องมอง จะส่งผลให้นักภาวนาเกิดการเจ็บป่วยทางกายดังทีกล่าวไว้ข้างต้น และยิ่งจ้องมาก ยิ่งเจ็บป่วย จนอาจถีงขั้นเสียชีวิตได้ นี่คือข้อควรระวังในการฝีกจิตเมื่อได้พบกับจิตผู้รู้ได้แล้ว

4..การพบไตรลักษณ์แห่งจิตผู้รู้ คือ การสิ้นสุดการภาวนาหรือไม่
คำตอบก็คือ ไม่
นักภาวนายังต้องเดินทางในองค์มรรคต่อไป การพบจิตผู้รู้และการฝีกการชำเลืองมองจิตผู้รู้ให้ชำนาญ คือทางผ่านทีนักภาวนาต้องเดินทางต่อไป แต่นักภาวนาทีผ่านการชำเลืองมองได้แล้ว ก็นับว่า ได้เดินทางเข้าใกล้จุดหมายปลายทางเข้าไปมากขึ้นทุกที ๆ แล้ว

หนทางการภาวนานั้น ยังคงเหมือนเดิมก็คือ การพบกับทุกข์ การรู้ทุกข์ และการรู้จักการดับทุกข์ จะมีทุกข์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาให้นักภาวนาพบได้ และ นักภาวนาเฝ้าเรียนรู้ทุกข์นั้นไป จนพบกับวิธีการดับทุกข์ได้ไปเรื่อยๆ นักภาวนาจะมีปัญญาในการดับทุกข์เพิ่มขึ้น และ การปล่อยวางต่อทุกข์มากขึ้นไปตามลำดับ ต่อเมื่อนักภาวนาปล่อยวางทุกข์ได้อย่างเต็มที จิตก็จะเป็นอิสระจากการยึดติดทั้งปวง และนั่นคือ การสิ้นสุดแห่งทุกข์

ขออนุโมทนาต่อนักภาวนาทุกท่านทีได้พากเพียรฝีกฝนเดินทางตามองค์มรรค
จนได้พบกับตัวจิตผู้รู้ได้ ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม จนพบกับการสิ้นสุดแห่งทุกข์ในทีสุด



Create Date : 23 พฤษภาคม 2558
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2560 11:45:32 น. 2 comments
Counter : 2786 Pageviews.

 
1211 pageviews 19 FEB 2017 9AM


โดย: นมสิการ วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:8:59:57 น.  

 
หมายเหตุ ในบางอาจารย์ผู้สอนภาวนา จะใช้คำว่า *รู้สีกได้* แทนคำว่า *ชำเลืองมอง* ทีใช้ในพระไตรปิฏก
ในแง่การปฏิบัติ ก็คือ สิ่งเดียวกัน แต่เรียกต่างกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:11:46:25 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.