พัฒนาชีวิตด้วยปัญญา และความดี
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2560
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
22 สิงหาคม 2560
 
All Blogs
 
#จับหุ้นทำเงิน … “เล่นหุ้นต่ำ Book ยังใช้ได้ในตลาดหุ้นยุคนี้หรือไม่?”



“เล่นหุ้นต่ำ Book ยังใช้ได้ในตลาดหุ้นยุคนี้หรือไม่?”

ถ้าเป็นนักลงทุนแนวเน้นคุณค่ารุ่นเก่า ที่เน้นการลงทุนเชิงรับ หรือ Passive Investment มากกว่าการลงทุนเชิงรุก หรือ Active Investment โดยเฉพาะอย่างยิ่งบิดาแห่งการลงทุนแนวเน้นคุณค่า นั่นคือ เบนจามิน เกรแฮม (ben graham) ที่เน้นการลงทุนเชิงรับมากกว่าการลงทุนเชิงรุก โดยมีกฎง่ายๆ ก็คือ หุ้นที่จะลงทุนต้องมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี หรือ PBV (Prize per Book Value) < 1 เท่า ถือเป็นหุ้นที่น่าลงทุน (ที่จริงแล้วกฎของปรมาจารย์เกรแฮมมีมากมายกว่านี้ แต่ผมขอยกหนึ่ง “กฎการลงทุน” หรือแนวคิดเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหานะครับ)

ผมลองพิจารณาดูว่าหากเราลงทุนโดยยึดแนวทางการลงทุนของอาจารย์เกรแฮมแล้วผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรบ้าง โดยเริ่มต้นจากการ “กรองหุ้น” ที่มีมูลค่าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของหุ้น และผมก็พบว่าหุ้นแต่ละตัวที่กรองมาส่วนใหญ่จะอยู่ในธุรกิจตะวันตกดิน หรือธุรกิจที่อิ่มตัวไปแล้วแทบทั้งนั้น หรือว่าการลงทุนแนวนี้จะใช้ไม่ได้แล้วในยุคปัจจุบัน?

มองหาหุ้นต่ำบุ๊กส์สไตล์เกรแฮม

แต่อย่างไรก็ตามผมก็ได้ทดลองมองหาหุ้นที่มี PBV ต่ำกว่า 1 เท่า และคัดกรองออกมาโดยผมจะไม่ลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง แต่จะใช้วิธี Focusing หรือ เจาะจงในหุ้นที่ผมพอจะรู้จัก และลงทุนเพียงตัวเดียวไปเลย หุ้นที่ผมคัดเลือกมาเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฟิลม์พลาสติกที่ใช้ห่ออาหาร และฟิลม์พลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยหน้าตาของหุ้นตัวนี้เป็นดังต่อไปนี้

หุ้นผลิตฟิลม์พลาสติกที่ผมกรองมาจากแนวคิดของเกรแฮมตัวนี้ (หุ้นตัวนี้คือ AJ นั่นเองครับ) ถ้าเราเข้าซื้อตอนที่ราคาต่ำ Book Value ในช่วงปี 2558 ที่ราคาเพียง 6 บาทต่อหุ้น ทิ้งไว้ไม่เกินสองปีราคาหุ้นขึ้นไป 13.20 บาท หรือเกือบสามเด้งเลยทีเดียว แสดงว่าสูตรของเกรแฮมยังคงใช้ได้กับตลาดหุ้นในยุคปัจจุบัน?

ข้อเท็จจริงก็คือ หุ้นตัวนี้เป็นหุ้นโภคภัณฑ์ ที่ผลิตสินค้าประเภท Commodity คือ ต้องอ้างอิง Demand และ Supply ในตลาดโลก หุ้นตัวนี้เคยดีมากๆ เมื่อราว 5-6 ปีที่แล้ว ในตอนนั้นราคาพลาสติกประเภท PET หรือ Polyethylene terephthalate และ PP (Polypropylene) ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจาก stock สินค้าได้ในปริมาณมหาศาล หากเราคิดจะซื้อหุ้นตัวนี้เพราะว่ามันมี PBV < 1 เท่า อาจไม่ใช่ความคิดทีถูกต้อง ถ้าเราซื้อมันก่อนหน้านี้ในช่วงที่ตลาดฟิลม์ถล่มลงมาแล้วหุ้นตกจนราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท เราจะติดดอยหุ้นทันที และยาวนานกว่า 5-6 ปีเลยทีเดียว แต่ถ้าเราเป็นคนอึดมากๆ สามารถถือทนจนพ้นวัฏจักรขาลงของธุรกิจ จนราคาฟิลม์พลาสติกกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง เราก็จะสามารถทำกำไรจากหุ้นตัวนี้ได้เช่นกัน เพียงแค่ใช้กลยุทธ์ “ซื้อต่ำ PBV < 1 และถือทิ้งไว้เฉยๆ” เท่านั้นเอง

การลงทุนสไตล์หุ้นก้นบุหรี่

ที่จริงแล้วการลงทุนเลือกซื้อหุ้นราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีนั้น เรียกเป็นภาษาง่ายๆ ว่า “หุ้นก้นบุหรี่” คือ หุ้นที่ราคาถูกมาก ซื้อแล้วเหมือนได้ฟรี เพราะในราคาหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีนั้นถือว่าเราซื้อได้ถูกกว่าเจ้าของกิจการผู้ก่อตั้งบริษัทเสียอีก ผู้คิดค้นวิธีนี้คือ ปรมาจารย์ด้านการลงทุนแนวเน้นคุณค่า “เบนจามิน เกรแฮม” … โดยเปรียบเหมือนกับเราเห็นบุหรี่ตกตามพื้นถนน แต่ยังสามารถสูบได้อีกซักเฮือกสองเฮือกแบบฟรีๆ เมื่อสูบเสร็จก็ทิ้งไปได้ (อันที่จริงผมไม่สนับสนุนการสูบบุหรี่นะครับ แต่เป็นเพียงการเปรียบเปรยให้เห็นภาพเท่านั้น)

การลงทุนในหุ้นกุ้นบุหรี่โดยเนื้อแท้ก็คือการหาหุ้นราคาถูกสุดๆ เพื่อปกป้องความเสี่ยงขาลง เพราะหุ้นที่ถูกมากๆ แล้ว แต่ยังพอมีพื้นฐานที่ดี แม้จะเป็นธุรกิจที่อิ่มตัวไปแล้วก็ตาม แต่ยังสามารถทำเงิน ทำกำไรได้ แค่ซื้อและถือเอาไว้ก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้เช่นกัน

ดังนั้นผมขอสรุปจากประสบการณ์ส่วนตัวว่า การลงทุนหุ้นก้นบุหรี่ยังคงใช้ได้นะครับ แต่คุณต้องคัดเลือกหุ้นให้ดีก่อน ถ้าเป็นหุ้นตะวันตกดิน กิจการแย่ลงเรื่อยๆ อันนี้เป็นผมจะหลีกเลี่ยงครับ ไม่อยากซื้อแล้วจมทุน หรือกิจการไม่ขยาย แต่ถ้าเป็นหุ้นวัฏจักรการซื้อหุ้นตอนที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีเป็นทางเลือกที่ไม่เลว ถ้าคุณซื้อผิดจังหวะไปหน่อย ก็แค่อดทนถือทิ้งไว้มันก็สามารถทำกำไรได้เหมือนกัน แต่ถ้าไม่อยากติดเกาะ หรือจมทุนนานๆ เรารู้ตัวว่าซื้อผิดจังหวะ การตัดขาดทุน เก็บเงินไปหมุนหุ้นตัวอื่นถือเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกันครับ

#นายแว่นลงทุน

เพื่อนๆ ใครมีบ้าน คอนโด ที่ดินเปล่า มาโพสขายได้ที่นี่ฟรีนะครับ//www.topofliving.com/property-exchange/

#หนังสือเสียง … “กลยุทธ์ลงทุนหุ้นโตเร็ว”
หนังสือ นายแว่นฯ มี audio book ด้วยนะครับ … คลิ๊กหนังสือเสียงที่นี่เลยครับ

แนะนำหนังสือ

เก็บหุ้นสร้างพอร์ต สไตล์ VI – โต 10 เท่าในสิบปี

หนังสือเล่มนี้ “เก็บหุ้นสร้างพอร์ตสไตล์วีไอ” ผมเขียนขึ้นมาในช่วงที่ยากลำบากช่วงหนึ่งของตลาดหุ้นไทย คือเป็นช่วงตลาดไม่ไปไหนเลย หรือ Sideway นั่นเอง การลงทุนในภาวะตลาดแบบนี้ย่อมทำให้หลายคนรู้สึก “อึดอัด” ได้ไม่ยาก … แต่ในภาวะแบบนี้ก็มีข้อดีของมัน … ข้อดีดังกล่าวก็คือ … การที่ตลาดไม่ไปไหน แต่แรงเก็งกำไรยังคงมีอยู่ มันเปิดโอกาสให้นักลงทุนระยะยาวเก็บหุ้นกอดเอาไว้ กินปันผลไปเรื่อยๆ อย่างสบายใจ หรือแม้แต่นักลงทุนระยะสั้นๆ ก็สามารถทำกำไรได้หากเรามองพื้นฐานออก และมองแนวโน้มของราคาเป็น ซึ่งเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีทั้งสองเรื่องราวดังกล่าวอย่าง “ครบถ้วน”#NaiwaenInvestment

อ่านเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ How to การบริหารจัดการเงิน อสังหา “คลิ๊กอ่านที่นี่เลยครับ”

[เกี่ยวกับผู้เขียน]

นายแว่นธรรมดา stand top of living“นายแว่นธรรมดา” หนึ่งในกูรูหุ้น FINOMENA และผู้ก่อตั้ง //www.topofliving.com ผู้เขียนหนังสือ “ลงทุนหุ้นโตเร็ว” และหนังสือขายดี “กลยุทธุ์จับจังหวะลงทุนหุ้น” ปัจจุบันเป็นนักลงทุนอิสระ นักเขียนอิสระ ขอถ่ายทอดความรู้ด้านการลงทุน เผื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ติดต่อนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับ  naiwaentammada@gmail.com

Top Banner




Create Date : 22 สิงหาคม 2560
Last Update : 22 สิงหาคม 2560 12:11:03 น. 0 comments
Counter : 1158 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตี๋2555
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




สวัสดีครับผม "นายแว่นธรรมดา" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" หนังสือ "หุ้น 5 พารวย" และเป็นผู้ก่อตั้ง http://www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย
และ http://www.topofliving.com เว็บไซค์เกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
หากต้องการข้อมูลข่าวสารการลงทุนอย่างรวดเร็ว และเชื่อถือได้ แวะไปกด LIKE ที่นี่นะครับ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada

ผมยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
Free counters!
New Comments
Friends' blogs
[Add ตี๋2555's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.