พัฒนาชีวิตด้วยปัญญา และความดี
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2559
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
7 มิถุนายน 2559
 
All Blogs
 
วีไอซื้อหุ้นเริ่มต้นอย่างไร?



วิเคราะห์หุ้นสไตล์วีไอทำอย่างไร?

การวิเคราะห์หุ้นสไตล์วีไอนั้นผมขอแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพของกิจการ

สำหรับการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเราได้กล่าวไว้แล้วในตอนก่อนๆ มาตอนนี้เราจะมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพกัน หากเราจะวิเคราะห์เชิงคุณภาพสำหรับหุ้นตัวหนึ่งเราต้อง “เจาะลึก” เข้าไปในสิ่งที่เรียกว่า 5 Forces Model Analysis ดังต่อไปนี้ครับ

five-forces-analysis

  1. Potential Entrants การเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่

จุดแรกที่เราจะวิเคราะห์ก็คือ ความยากง่ายของการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ โดยจะขึ้นอยู่กับ barrier to entry เช่น เงินทุน เทคโนโลยี know-how brand สัมปทาน Economy of scale หากเป็นธุรกิจที่เข้ามาง่าย คนอยากเข้ามาก เช่นธุรกิจที่ทำแล้วมี owner value มีความสุขทางใจ มีความภาคภูมิใจที่ได้ใช้สินค้าและบริการ โดยที่อาจไม่สนใจเรื่อง return มากนัก เช่น โรงแรม สนามกอล์ฟ ร้านกาแฟ สปา ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มักเป็นคนรวยแล้วมาทำ

สำหรับธุรกิจที่ทำแล้วปวดหัว เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ บริหารคนจำนวนมาก หรือ ธุรกิจที่สภาพแวดล้อมแย่ๆ อาจไม่ค่อยมีคนสนใจทำ แต่ return ดี เช่น โรงพยาบาล ค้าปลีก ธุรกิจโรงศพ รับซื้อขยะ แปรรูปเนื้อสัตว์ หากเราวิเคราะห์แล้วพบว่ามี barrier to entry ต่ำ คู่แข่งเข้าง่าย ตลาดจะเป็น red ocean มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่มีมาร์จิ้นสูงๆ จะดึงดูดให้คนอยากมาทำต้องระวังเป็นพิเศษ

ปัจจัยที่จะทำให้เกิด barrier to entry สูงๆ ได้แก่

- การมี Brand Value มีความสำคัญ ธุรกิจบางอย่าง สร้างแบรนด์ใช้เงินสูงกว่าสร้างโรงงาน

- มี Economy of scale (EOS) หรือการประหยัดต่อขนาด หากธุรกิจเติบโตจนมี EOS ก็คือ barrier อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้คู่แข่งเข้ามาได้ยาก

- และสุดท้ายหุ้นที่ตลาดมีการเติบโตปานกลางถึงสูง และมี barrier to entry สูง มีโอกาสเป็น super stock สูง นักลงทุนต้องจับตามอง และรีบเข้าไปซื้อก่อนที่คนอื่นจะเห็น

investor

  1. Bargaining Power of Buyer อำนาจต่อรองของลูกค้า

เราต้องวิเคราะห์ให้ออกว่า... ลูกค้ามีอำนาจต่อรองมากแค่ไหน ตัวอย่างของอำนาจต่อรองต่ำ ได้แก่ ผู้ผลิต OEM ชิ้นส่วนประกอบ packaging จะมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ และผู้ผลิตสินค้าที่เป็นโภคภัณฑ์ หรือ commodity แทบไม่มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าเลย เนื่องจากสินค้าเหมือนกันหมด ลูกค้าไปซื้อกับคนอื่นได้ แต่ commodity บางอย่าง อาจมีการสร้างแบรนด์ขึ้นมาเช่น น้ำตาล เกลือ

โดยทั่วไปแล้วธุรกิจที่ลูกค้ามีอำนาจต่อรอง มักเป็นธุรกิจที่ขายคุณภาพ brand name หรือ ขายความสะดวก เช่น LV (Gross margin 80%) ยกตัวอย่างเช่น ร้านขนมเชนบางเจ้าที่ลูกค้าต้องต่อแถวกันซื้อ และถ้าต้นทุนเพิ่มสามารถขึ้นราคาได้ทันที นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่ลูกค้าไม่รู้ราคาล่วงหน้า และลูกค้าไม่สามารถต่อรองราคาได้ เช่น โรงพยาบาล จุดสังเกตก็คือ ธุรกิจที่ ลูกค้ามีอำนาจต่อรองมากๆ มักจะมีระยะเวลาของลูกหนี้การค้าค่อนข้างนาน เช่น ลูกค้า คือห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก ทำให้ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูง (working cap สูง) สำหรับธุรกิจค้าขายสินค้าที่รับเงินสด มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูงมาก เช่น ค้าปลีก

โดยหุ้นที่มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง จะมีความสามารถในการปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ดีกว่า เช่น ร้านอาหาร (แต่เมื่อต้นทุนลง ก็ไม่ลดราคาขาย)

  1. Bargaining Power of Supplier

บริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับ supplier สูง จะมี credit term ยาว ทำให้การเติบโตของยอดขายไม่ต้องใช้ working cap มาก และเมื่อต้นทุนสูงขึ้น supplier มักช่วยรับภาระให้ด้วย เช่น ค้าปลีก บริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับ supplier ต่ำ จะมี credit term สั้น เช่น บริษัทนำเข้าสินค้าต่างๆ

สำหรับการดู bargaining power of supplier & customer บริษัทไหนมี A/R มากกว่า A/P มากๆ bargainingไม่ดี บริษัทที่ A/R น้อยกว่า A/P มากๆ แสดงว่า bargaining สูง (A/R = Account Receivable บัญขีลูกหนี้ ของบริษัท และ A/P = Account Payable บัญชีเจ้าหนี้ของบริษัท)

ธุรกิจประเภท BUY COMMODITY, SELL BRAND (Warren Buffet) ซื้อวัตถุดิบ commodity แต่ขายเป็นสินค้าแบรนด์ เช่น S&P Oishi แบบนี้ดีมาก จะทำให้มี margin สูง

หุ้นประเภท specialty store (ค้าปลีกสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง) เช่น BGT JMART JUBILE SE-ED S&P เช่าพื้นที่ห้าง มีอำนาจต่อรองต่ำ ค่าเช่าปรับสูงกว่าเงินเฟ้อทุกปี ทำให้ต้องมี same store sale สูงกว่าการขึ้นค่าเช่า HMPRO ROBINS BIGC MAJOR เป็น magnet ให้กับศูนย์การค้า ทำให้ค่าเช่าต่ำ และมีส่วนที่สร้างเองบนที่ดินเอง ทำให้ค่าเช่าเพิ่มไม่มากเท่าในห้าง CPALL เช่าตึกแถว ค่าเช่าเพิ่มน้อยกว่าในห้าง เป็นต้น

Hospital Stock

  1. Substitutes สินค้าทดแทน

เป็นการวิเคราะห์จากปัจจัยภายนอก ว่า หุ้นที่เราลงทุน จะมีสินค้าอะไรมาทดแทนได้ในอนาคต หุ้นสินค้าเทคโนโลยี จะมีความเสี่ยงในเรื่องนี้สูง เช่น โทรศัพท์มือถือแทนโทรศัพท์บ้าน, Tablet แทนnotebook , download เพลงหนัง แทน CD VCD, กล้องดิจิตอลแทนกล้องฟิล์ม, Community mall แทนตึกแถว

การจะดูเทรนด์ว่า อะไรจะมาทดแทน อาจจะใช้การไปเที่ยวต่างประเทศ โดยสังเกตประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเป็นผู้นำเทรนด์การเปลี่ยนแปลง และประเทศที่กำลังพัฒนาจะเป็นผู้ตาม บางครั้งเป็นการทดแทนกันเนื่องจาก behavior หรือ life style change เช่น ร้านสะดวกซื้อแทนโชว์ห่วย, hypermarket แทนตลาดสด, ทานอาหารนอกบ้านแทนทำทานเองที่บ้าน(เกิดจากสังคมรีบเร่ง ครอบครัวเล็กลง), ผ้าอ้อมกระดาษแทนผ้าอ้อมผ้า(ครอบครัวเล็ก ไม่มีคนดูแล ไปนอกบ้านบ่อย สะดวก), ทานอาหารในห้างแทนอาหารห้องแถว(หาที่จอดรถยาก), รถไฟฟ้าแทนรถยนต์ taxi

ตัวอย่างเช่น หุ้น SF มาทดแทนตึกแถวเช่า เติบโตได้มาก Barrier to entry หลักคือ เงินทุน จึงทำให้ barrier ต่ำ, ใครมีเงินทุนก็เข้ามาได้ สถาปนิกที่ออกแบบ ใครก็จ้างได้ถ้ามีเงิน, Bargaining power of supplier ในระยะหลัง ราคาที่ดินแพงขึ้นมาก หาพื้นที่ยาก Landlord บางรายสนใจทำเอง, Bargaining power of buyer ต้องให้ค่าเช่าต่ำกับ anchor เพื่อดึงดูดคนเข้าศูนย์ (CPN สูงกว่า SF)

  1. Industry Rivalry การแข่งขันของคู่แข่งปัจจุบัน

เราต้องวิเคราะห์ว่าการแข่งขันรุนแรงหรือไม่ขึ้นกับจำนวนผู้เล่น เช่น ค่ายมือถือ แข่งขันรุนแรงน้อยลง โปรโมชั่นไม่ดุเดือดเหมือนเมื่อก่อน โดยจำนวนผู้เล่นขึ้นอยู่กับ barrier to entry หากเป็นอุตสาหกรรมที่เข้ามาง่าย ใครๆ ก็ทำได้ให้ระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มี price sensitive สูงมักจะมีการแข่งขันด้านราคามาก ทำให้ profit margin ไม่สม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตามสินค้าที่ลูกค้าใช้ปัจจัยคุณภาพในการตัดสินใจ จะแข่งขันน้อยกว่า ทำให้มีการแข่งขันต่ำ ถ้าเราพบธุรกิจที่มีความเป็นเฉพาะเจาะจง มาร์จิ้นสูงๆ มีคู่แข่งน้อย ให้รีบเข้าไปซื้อโดยเร็วก่อนราคาจะปรับตัวสูงขึ้น

การวิเคราะห์แรงทั้ง 5 นั้นเป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่สำคัญยิ่งสำหรับนักลงทุนระยะยาว ฝึกคิดวิเคราะห์บ่อยๆ เราจะเห็นภาพชัดขึ้น และจงหาเหตุผลการซื้อหุ้นที่เป็นของตัวเองให้เจอไม่ใช่ลอกการบ้านเซียน หรือฟังหุ้นจากคนอื่นเพียงอย่างเดียว ก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยากเกินไปนะครับ

อ่านทุกเรื่องราวของหุ้นอสังหา คลิ๊กอ่านต่อที่นี่เลยครับ

[เกี่ยวกับผู้เขียน]

promotion naiwaenนายแว่นธรรมดา ผู้แต่งหนังสือขายดี  "รวยหุ้นวีไอไม่เสี่ยง" และหนังสือ "ลงทุนคอนโดไม่ยาก" และผู้ก่อตั้งเว็บ //www.naiwaen.com และ //www.topofliving.com ผมขออาสาถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการลงทุนในหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ให้เพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่านได้อ่านแบบเข้าใจง่าย ติดตามกันให้ได้นะครับ

#ลงทุนหุ้นให้โตเร็ว : ปัญหาของนักลงทุนหุ้นโตเร็วก็คือ มองหุ้นโตเร็วไม่ออก มองภาพใหญ่ไม่ชัดเจน และจัดพอร์ตไม่เป็น ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณได้อ่านหนังสือเล่มนี้ "ลงทุนหุ้นให้โตเร็ว" ติดตามได้ที่นี่เลยครับ

#ช่องทางการติดตามข้อมูล #นายแว่นธรรมดา

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการติดตามข้อมูล โดยเฉพาะสมาชิกเว็บ www.naiwaen.com ท่านสามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ naiwaentammada@gmail.com

หรือเข้าไปติดตามบทความในรูปแบบคลิ๊ปเสียงที่ https://www.youtube.com/channel/UCcQxvgiObaaA2DI3UOqrXZw

เพื่อนๆ ยังสามารถเข้าไปติดตามความเคลื่อนไหวใหม่ล่าสุดที่บล็อกพันทิป //www.bloggang.com/mainblog.php?id=naiwaentammada(ปัจจุบันมียอดเพจวิวกว่า 3.1 ล้านวิว)

หรือยังไม่จุใจท่านยังสามารถเข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกันที่นี่ครับ https://plus.google.com/u/0/118319315169248364407

สำหรับเรื่องราวของอสังหาริมทรัพย์... เพื่อนๆ สามารถเข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการได้ที่นี่ www.topofliving.com

และเตรียมพบกับเว็บบอร์ดคุยเรื่องหุ้นเร็วๆ นี้นะครับ

ยินดีต้อนรับทุกท่าน อีโมติคอน grin
สำหรับ "นายแว่นธรรมดา" แล้วเราจะทำให้เพื่อนๆ ทุกท่าน

"มีชีวิตที่ง่าย และดี"





Create Date : 07 มิถุนายน 2559
Last Update : 7 มิถุนายน 2559 10:23:14 น. 0 comments
Counter : 1448 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตี๋2555
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




สวัสดีครับผม "นายแว่นธรรมดา" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" หนังสือ "หุ้น 5 พารวย" และเป็นผู้ก่อตั้ง http://www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย
และ http://www.topofliving.com เว็บไซค์เกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
หากต้องการข้อมูลข่าวสารการลงทุนอย่างรวดเร็ว และเชื่อถือได้ แวะไปกด LIKE ที่นี่นะครับ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada

ผมยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
Free counters!
New Comments
Friends' blogs
[Add ตี๋2555's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.