มาผลิตเครื่องสำอางสมุนไพรกันเถอะ



มาผลิตเครื่องสำอางสมุนไพรกันเถอะ

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้ให้คำจำกัดความ “เครื่องสําอาง” ว่า


(๑) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบหรือกระทําด้วยวิธีอื่นใด

กับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปากโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาด ความสวยงามหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏ หรือระงับกลิ่นกาย

หรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ นั้น ให้อยู่ในสภาพดีและรวมตลอดทั้งเครื่องประทิ่นต่างๆ สําหรับผิวด้วย

แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกายม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย

(๒)วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอางโดยเฉพาะ หรือ

(๓) วัตถุอื่นที่กําหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสําอาง

ติดตามอ่านฉบับเต็มได้ตามลิ้งค์นี้ได้เลย


เดิม พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๓๕ได้จัดแบ่งประเภทเครื่องสำอาง โดยอาศัยหลักการจัดกลุ่มตามความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคเป็น เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ 

เครื่องสำอางควบคุม และ เครื่องสำอางทั่วไปแต่ในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง ฉบับใหม่กำหนดให้เครื่องสำอางทุกชนิดเป็นเครื่องสำอางควบคุม

(รายละเอียดในเชิงกฎหมาย ซึ่งได้อธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายอ่านได้จากบล็อกนี้

//rparun.blogspot.com/2015/01/cosmeticact2535.html


สำหรับบล็อกนี้ จะแนะนำการทำเครื่องสำอางที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก ได้แก่ผลิตภัณฑ์ประเภท สบู่เหลว แชมพู เกลือขัดผิว น้ำตาลขัดผิว ฯลฯ

เรามาทำความรู้จักผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทในเชิงของส่วนประกอบกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหน้าที่ของส่วนประกอบเหล่านั้น

ขอเริ่มจากเรื่องของสบู่ก่อน เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันเป็นกิจวัตรประจำวัน

สบู่ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดผิว มนุษย์เรารู้จักสบู่ก้อนก่อนสบู่ประเภทอื่น  สบู่ก้อนเกิดจากการค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อเห็นก้อนขาวๆ ที่เกิดจากไขสัตว์ถูกเผาร่วมกับขี้เถ้าที่ได้จากการเผาไม้    

สามารถนำไปใช้ทำความสะอาดได้  ต่อมาจึงผลิตสบู่ก้อนในเชิงพาณิชย์ โดยเอาไขมันสัตว์มาต้มกับขี้เถ้า  ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า saponification ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีของไขมันกับด่าง 

ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาไปใช้ไขมัน และด่างอื่นๆ ทำให้เกิดสบู่ก้อนที่มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ส่วนสบู่เหลว เกิดขึ้นในภายหลัง เท่าที่ปรากฏหลักฐาน สบู่เหลวถูกผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 19 

โดยจดสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกในรูปของเหลว ซี่งผลิตจากน้ำมันปาล์ม (palm) และน้ำมันมะกอก (olive oil) ได้ตั้งชื่อยี่ห้อของสบู่ว่า “Palmolive” สบู่นี้ได้รับความนิยมมาก

จนบริษัทผู้ผลิตต้องเปลี่ยนชื่อบริษัทตามชื่อผลิตภัณฑ์ เป็น บริษัทปาล์มโอลีฟ จากนั้นได้มีผู้ผลิตรายอื่นได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นของเหลวอื่นๆ 

นอกเหนือจากทำความสะอาดผิวหนัง เช่นผลิตภัณฑ์ซักผ้า ล้างห้องน้ำ ล้างจาน ต่อมา มีการนำ สารชำระล้างสังเคราะห์ (synthetic detergent) มาใช้เป็นส่วนประกอบหลักในสบู่เหลว

แทนการใช้ ไข/ น้ำมันที่ถูกซาโปนิไฟด์ (หมายถึง ไขมันที่ถูกทำปฏิกิริยาด้วยด่างดังกล่าวมาแล้วข้างต้น) สบู่เหลวยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสบู่เหลวแบบใหม่นี้ ไม่ทิ้งคราบไขมันไว้บนผิวหนังหรือวัตถุ

ในที่นี้ จะแนะนำการทำสบู่เหลวที่ใช้สารชำระล้างสังเคราะห์ เนื่องจากทำได้ง่าย  ใช้อุปกรณ์น้อย ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ดังนั้น มารู้จักกับสบู่เหลวกันก่อน

สบู่เหลว หรือ liquid soap , shower gels ฯลฯ เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังในรูปแบบของเหลว มักมีฟอง มีสารชำระล้างเป็นส่วนผสมสำคัญ

ดังนั้น สารสำคัญที่ต้องมีหลักๆเลย ก็คือ สารที่ใช้ชำระล้าง (detergent) แต่หากเราใส่สารนี้แต่เพียงอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์ของเราก็คงไม่น่าใช้ เพราะจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ใส 

ฟองน้อย และไม่มีกลิ่นหอมน่าใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเติมสารอื่นๆเพื่อแต่งให้ผลิตภัณฑ์ของเราน่าใช้ขึ้น เช่น สารเพิ่มฟอง สารกันบูด สารแต่งกลิ่น – สี เป็นต้น

สำหรับสารชำระล้างนั้น เป็นสารลดแรงตึงผิว (surfactant) โดยกลไกคือ ทำให้แรงตึงผิวของสิ่งปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง สิ่งสกปรกต่างๆ ลดลง ไม่ยึดเกาะกับผิว 

เมื่อล้างด้วยน้ำก็จะหลุดออกผิวไปได้ง่ายๆ และไม่ย้อนกลับมาเกาะผิว

สารลดแรงตึงผิว ที่นิยมนำมาใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทสบู่เหลวที่พบมากที่สุดในท้องตลาดปัจจุบัน ได้แก่ โซเดียม ลอริล อีเทอร์ ซัลเฟต (sodium lauryl ether sulfate) 

หรือเรียกย่อๆว่า โซเดียม ลอเร็ท ซัลเฟต (sodium laureth sulfate) และย่อลงไปอีก ก็ขอเรียกว่า SLES เนื่องจากคุณสมบัติที่เกือบจะครบถ้วนสำหรับการเป็นสบู่คือ 

สามารถชำระล้างได้ดี ให้ความหนืด และฟองพอสมควร

สารเพิ่มฟอง เป็นสารลดแรงตึงผิวเช่นกัน แต่มีคุณสมบัติชำระล้างน้อยกว่า แต่มีคุณสมบัติเพิ่มฟองได้ดี ที่นิยมใช้ได้แก่ coconut acid diethnolamide หรือ coconut acid monoethnolamide

สารเพิ่มความหนืด นิยมใช้เกลือแกง โดยเกลือแกงนี้มีผลต่อการจัดเรียงตัวของสารลดแรงตึงผิว ทำให้ความหนืดเพิ่มขึ้น  

สารปรับสภาพ ทำให้ลดหรือปรับประจุของผลิตภัณฑ์ให้มีความสมดุลย์ขึ้น คือ สารประเภทที่มีประจุบวก และประจุลบในโมเลกุลเดียวกัน

สารให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม เช่น glycerin , PEG-7 Glyceryl Cocoate, 

สารที่มีคุณสมบัติพิเศษ ได้แก่ พวกสารสกัดสมุนไพรต่างๆ ที่เราต้องการพัฒนาเพื่อใส่ลงในผลิตภัณฑ์ของเรา

นอกจากนี้ อาจใส่สารกันบูด แต่งสี แต่งกลิ่น ตามแต่ที่ผู้ผลิตต้องการ

สูตรสบู่เหลวพื้นฐาน ปริมาณที่เตรียม 100 กรัม




ทีนี้ หากเราเดินไปร้านเคมีภัณฑ์แล้วบอกเขาว่า ขอซื้อ SLES หรือ coconut acid diethanolamide  พนักงานที่ร้านก็คงจะงง เพราะเขาคุ้นกับชื่อการค้า (นอกจากบางคนที่ทราบชื่อเคมี)  

สำหรับ SLES นั้น ชื่อการค้าที่คุ้นกันมากที่สุดก็คือ  texapon ส่วนชื่ออื่นที่นิยมรองลงมาก็คือ emal โดยต้องมีโค้ดต่อท้ายด้วย เช่น N 70 ,  N 8000 , N 28 โค้ดข้างหลังนี้ หมายถึง 

ความเข้มข้นของ sodium laureth sulfate ใน ผลิตภัณฑ์ เช่น texapon N 70 มี sodium laureth sulfate 70% (นอกนั้นเป็นน้ำ และสารอื่นๆอีกเล็กน้อย) N 8000 และ N 28 มี SLES 28 %

สรุป


แต่อย่างไรก็ตาม หากไปบอกร้านที่ขาย emal ว่าจะซื้อ N 70 หรือ

N 8000 เขาก็เข้าใจ

สำหรับสารเพิ่มฟองนั้น นิยมใช้ coconut diethanolamide  หรือ cocomide DEA ตัวอย่างชื่อการค้า ได้แก่ comperland KDaminon C02S

สารกันบูดที่ใช้ใน สบู่เหลว นิยมใช้ DMDM hydantoin 0.2 %

สี หรือกลิ่น อาจใส่หรือไม่ก็ได้ อาจใช้สีและกลิ่นสำหรับอาหารได้ หรือจะซื้อจากร้านเคมีภัณฑ์ก็ได้

สมุนไพรที่ใส่ในสบู่เหลว ต้องสามารถละลายหรือ ผสมเข้ากับน้ำได้ เช่น ว่านหางจระเข้ หรือสารสกัดจากสมุนไพรที่ใช้ตัวทำละลายเข้ากับน้ำได้เช่น alcohol , propylene glycol ,

glycerin ตัวทำละลายเหล่านี้ ใช้สกัดสมุนไพร เช่นขมิ้นชัน แล้วนำมาผสมกับสบู่เหลวของเรา จะทำให้เข้ากันได้

การเตรียมสมุนไพรเพื่อใช้ในเครื่องสำอางจะกล่าวถึงในบล็อกต่อไป

เนื่องจาก ผู้เขียนเป็นนักวิชาการ บทความอาจจะยากเกินไปสำหรับบุคคลทั่วไป แต่หากมีข้อสงสัย ผู้เขียนยินดีตอบ และหากต้องการให้ผู้เขียน เขียนบทความเรื่องใด สามารถแนะนำได้ค่ะ




























Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 9 มีนาคม 2559 10:11:50 น. 1 comments
Counter : 3846 Pageviews.

 
รออ่านค่ะ


โดย: nid IP: 110.168.230.38 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:21:45:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

beppo
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ศรัณยา ธาราแสวง
เภสัชกรชำนาญการพิเศษ
สถาบันวิจัยสมุนไพร
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
2 กุมภาพันธ์ 2559
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add beppo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.