พฤศจิกายน 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
25
26
28
29
30
 
 
ชีวิตใหม่ในฮังการีอีกครั้ง 2558






  สวัสดีค่ะค่ะ เรื่องนี้ต่อจากบล๊อกบันทึกรักแฟนฟรั่งนะคะ อินขอมาเขียนแบบปกติแล้วนะคะ หลังจากเดินทางมาถึงฮังการีเรียบร้อยแล้ว

เรานั่งเครื่องบินมาลงที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรียค่ะ ฮังการีกับ ออสเตรียติดกันเลยแล้วปู่ย่ามารับที่สนามบินตอนนี้ก็อิรุงตุงตังมากเหมือนเคยนะคะแต่ในใจอิน กลับรู้สึกโล่งค่ะเพราะเราถึงบ้านแล้ว (เป็นคนกลัวความสูงไม่ชอบนั่งเครื่องบินเท่าไร่ค่ะ )ลูกๆ ก็วิ่งเล่นกันใหญ่ระหว่างรอปู่กับย่า แต่ก็เหนื่อยกันพอสมควร ระหว่างทางนั่งรถกลับบ้านเด็กๆก็หลับกันเพราะคงเหนื่อยมาก ถึงบ้านก็เล่นกันใหญ่เราก็สบายใจขึ้นมากเห็นลูกกับปู่ย่ามีความสุขกันทุกคนก็ดีใจ ปู่ย่ารอวันนี้มานานมากเลย เกือบ 6 ปีที่เราอยู่เมืองไทยนะ ปู่กับย่าอยากให้เรามาอยู่กับท่านมากวันนี้ก็มาถึงแล้ว แล้วอินก็คิดในใจขอสู้สักตั้งครั้งนี้เตรียมการมาดี แต่มันไม่ง่ายเลยค่ะมาดูกัน...................

หลังจากถึงบ้าน เก็บข้าวของเข้าที่เข้าทางให้เรียบร้อย เรายังไม่มีบ้านเป็นของตัวเองนะคะ อยู่กับปู่ย่าไปก่อนคาดการณ์ว่า คงปี 2560 ค่ะ ถึงจะได้ย้ายไปอยู่บ้านตัวเอง เครื่องปรุงอาหารทุกอย่างอิฉันขนมาเยอะมากด้วยค่ะ คือ เตรียมการมาดีมากคิดว่าฉันจะกินอาหารไทยทุกวัน ยกเว้นปลาร้าไม่ได้ขนมา SmileySmiley (หาปลาร้าอร่อยๆไม่ได้กินเลย ณ ตอนนี้ เศร้าแปป) 

หลังจากนั้นก็ต้องเดินเอกสารสิคะ ให้ลูก ให้เราด้วยเพราะใบอนุญาตอยู่ฮังการีหมดพอดี อันดับแรกก็ทำให้ลูกก่อนทำใบชนชาติฮังการีให้ลูก เราก็เอาไบเกิดไปแปลเป็นภาษาฮังการีก่อน แล้วไปที่อำเภอทำเหมือนแจ้งเกิดเลยค่ะ ของลูกไม่ค่อยยากเท่าไร่ หลังจากยื่นเอกสารเสร็จก็รอรับ บัตรประชากรได้เลย ต่อไปก็ทำของอินค่ะ เราสองคนก็ต้องที่เมืองหลวงค่ะ และคิดว่าแค่ต่ออย่างเดียวได้เลย ไม่ใช่ค่ะ เพราะของอินตอนทำครั้งแรก เขาให้ 5 ปี แล้วเราไม่ได้อยู่เรากลับไปอยู่เมืองไทย มันก็เลยเหมือนขัดแย้งกันว่า เอ๊ะ เขาให้ 5 ปี อยู่ที่ฮังการี แล้วเราออกนอกประเทศ จนถึง 2558 ก็กลับมาไปอยู่ที่ใหนมา ก็เลยทำให้มีปัญหาเขาไม่ต่อ แบบ 10 ปีให้ เราต้องทำเอกสารเหมือนสมัครใหม่หมดเลยค่ะ เขาจะให้แค่ 5 ปีก่อนเหมือนเดิม แล้วอินจะออกนอกยุโรปเกิน 6 เดือนไม่ได้ โหกว่าจะได้มาก็นานเหมือนกัน ประมาณ 3 เดือนได้เลย แฟนก็อารมณ์เสียบ้างเรื่องเอกสาร เพราะเขาต้องเดินเรื่องอยู่คนเดียวโดยมีเรานั่งเป็นเพื่อน Smiley (ช่วยไรไม่ได้เลย) กลับกันนะคะ เพราะที่เมืองไทยเราทำคนเดียวหมดเลยเรื่องเอกสาร 

แล้วเราก็พาลูกไปสมัครเรียนค่ะเป็นเหมือนอนุบาล บ้านเรา แต่ที่นี่ เขาเรียกก่อนปฐม(ก่อนวัยเรียน) ในดาบาส(Dabas) มีอยู่ 3 แห่งนะคะ เป็นเมืองที่ใหญ่พอสมควร อยู่ห่างจากเมืองบูดาเปสไม่ใกลเท่าไร นั่งรถประมาณ 1 ชั่วโมง ลูกอินได้โรงเรียนขนาดเล็กใกล้บ้านที่สุดเดินไม่ถึง 15 นาทีก็ถึงแล้ว น้องธิดากับมีร่าได้อยู่ห้องเดียวกัน....เขาจะไม่แยกกันจนกว่าคนใดคนหนึ่งอายุ 6 ขวบก็ต้องไปโรงเรียนใหญ่ค่ะ .............ช่วงนั้นเป็นหน้าร้อน วันแรกที่ไปโรงเรียน ธิดาชอบมากมีร่าก็ไม่งอแงคุณครูเป็นกันเองเดินมาจับมือทั้งสองไปเล่นกับเพื่อนเด็กคนอืนๆ ทำให้เด็กๆรู้สึ่ไม่กลัว กับสถานที่และคนแปลกหน้าเลยค่ะ พลอยทำให้เราสบายใจด้วยเลย นั่งมองเด็กๆ เล่นกับเพื่อนและคุณครูอย่างมีความสุข (นี่คือสิ่งที่อยากเห็น) โรงเรียนที่นี่ไม่ใหญ่มาก มีแค่ 3 ห้องเองค่ะ แต่ละห้องจะมีชื่อเป็น ของตัวเอง ธิดากับมีร่า ได้อยู่ห้องปลา ค่ะ น่ารักเนอะ โรงเรียนที่นี่จะเน้นสอนการเล่น การช่วยเหลือตัวเองของเด็กๆ เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทีบ้านด้วย ไม่ได้เน้นสอนวิชาการเลย ส่วนมากจะเป็นการเล่นด้วยกันกับเพื่อนในห้อง ทานข้าวด้วยตัวเอง นอนกลางวัน แล้วก็ทานอาหารว่าง เล่นที่สนามตอนเย็น มีห้องออกกำลังกาย เด็กๆ ไม่เครียดเลยค่ะสบายๆ 


งานที่โรงเรียน

เด็กๆ ได้ไปทดลองอยู่โรงเรียนช่วงซัมเมอร์ก่อนโรงเรียนยังไม่ได้เปิดเรียนอย่างเป็นทางการจะเปิดเดือนกันยายน ทุกอย่างเรียบร้อยเด็กๆอยากไปโรงเรียนทุกวันเลย งงมากกับเด็กๆ และช่วงหน้าร้อนอากาศที่นี่ก็ดีค่ะ ร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ ไม่มีเหนียวตัวเหมือนบ้านเราทำให้เด็กๆ วิ่งเล่นได้สบายเลย และทุกวันอาทิตย์ก็จะเป็นการรวมญาติทานข้าวกลางวันด้วยกันก็มีปู่ย่า ครอบครัวเรา และครอบครัวน้องแฟน เด็กๆ ก็ได้เล่นด้วยกัน 4 คนสนุกเลยค่ะเป็นการฝึกให้เขาเข้ากับสัมคมด้วยในตัว 


กับคุณครูที่โรงเรียนค่ะ

เดี่ยวมาเขียนต่อนะคะ ขอไปทำงานแปป 

มาแล้วมาแล้วค่ะ ไปทำงาน 1 ชั่วโมงมา นวดไทยค่ะ เดี๋ยววันหลังจะเล่าเรื่องการทำงานให้ฟังนะคะ 

เด็กๆ เรียนที่นี่ ณ ตอนนี้ก็ได้ 1 ปีแล้ว น้องธิดาพัฒนาการดีมาก เรียน พูด อ่าน สนใจการเรียนดีมาก แต่น้องมีร่า ฮิฮิ ยังเป็นคนเก็บตัวเงียบเหมือนเดิม คือ เขาจะเป็นคนขี้อายค่ะ ขนาดอยู่ที่โรงเรียนมีร่าก็ไม่ค่อยพูด แต่พอกลับมาบ้าน เท่านั้นแหละ เธอเสียงดังมาก ก็พยายามเขี่ยวเข็ญกันตอนนี้( ตอนนี้ดีขึ้นนิดหน่อยค่ะ) และพ่อแม่ส่วนใหญ่ที่นี่หลังโรงเรียน เขาจะมีกิจกรรมให้เด็กๆได้ทำกัน คือ เรียนพิเศษนั่นเอง แต่ไม่ใช่ ภาษา ใม่ใช่ คิดเลข ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ ไรงี้นะคะ เป็นการเรียนที่เด็กๆ ชอบ และไม่เครียดกับเด็กจนเกินไป เป็นการสอนการเข้าสังคม และ เสริมความคิดสร้างสรรให้เด็กๆเป็นอย่างดี และทำให้เขาเป็นคนกล้าแสดงออกอีกด้วยค่ะ เช่น การเรียน ร้อง เต้น โยคะ ออกกำลังกาย เทนนิส วาดรูป บัลเล่ ดนตรีต่างๆ เด็กๆก็ ชอบนะคะ เขาจะไม่เครียด ตอนนี้น้องธิดา ก็เรียนเทนนิสกับคุณพ่อ เรียนเต้น มีร่าก็เรียนเต้น เทนนิสยังเพราะ ยังไม่โตเท่าไรติดพ่อกับแม่อยู่ สรุปโรงเรียนที่นี่ผ่านค่ะ เด็กๆ มีความสุขดีมาก ได้อยู่กับปู่กับย่า ตอนเช้าก็เดินไปโรงเรียน (ถ้าไม่หนาวนะ) 

ชีวิตดำเนินไปเรื่อยๆ แฟนก็ทำเทนนิสเริ่มทำโฆษณา เริ่มมีเด็ก มีชั่วโมงบ้าง เราก็ยังไม่ได้ทำไรมากเพราะพูดภาษาฮังการียังไม่ได้ ก็อยู่บ้านรับส่งลูก ทำกับข้าวบ้าง ย่าทำบ้าง สลับกันไป อินไม่ค่อยได้ทำอาหารเท่าไร เพราะเรามาอยู่บ้านปู่ย่า ไม่กล้าที่จะ ทำมากเกรงใจท่านค่ะ เพราะอินเป็นคนทานเผ็ด คือ ทำที กลิ่นฉุนมากๆ กลัวอยู่กันไม่ได้ ก็เลยไม่ค่อยได้ทำให้เขาทานเท่าไร่ (แต่ก็คิดถึงอาหารไทย ส้มตำปลาร้า ใช้มือจก ข้าวเหนียว ไก่ย่าง โอยหิวนะคะเนีย แค่คิดก็หิวแล้ว) ก็เลยว่างมากแต่ก็ไม่เหมือนการว่างตอนที่เรามาอยู่ครั้งแรกนะคะ ณ ตอนนั้นกับตอนนี้มันต่างกันมาก ตอนนี้เรามีลูกให้ดูแล ถึงว่างก็แค่บางช่วง หลังเลิกเรียนก็ต้องดูลูกทั้งหมด ปู่ย่าช่วยด้วยก็บางครั้ง คนที่นี่เขาจะดูลูกกันเอง แม่มีลูกเล็กก็พักงานมาเลี้ยงดูลูกจนครบ 3 ปีก็กลับไปทำงานได้ ช่วงพักงานก็ได้เงินจากรัฐบาลให้ขึ้นอยู่กับเงินเดือน เยอะน้อย ค่ะ และก็มีของลูกเขาก็จะให้ด้วยต่อเดือน อินยังไม่ได้ทำงานก็ได้เฉพาะจากลูกสองคนค่ะ แต่เราก็วางแผนจะทำร้านอาหารไทยกันแล้วนะคะ ช่วงนั้น มาดูกันว่า อินทำยังไง การเปิดร้าน ที่ฮังการีดีใหม ง่ายหรือ ยาก โอย เยอะ ค่ะ งานนี้ เดี่ยวมาต่อกันนะคะ ช่วงหน้า วันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ



Create Date : 22 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2559 21:04:02 น.
Counter : 944 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3520464
Location :
Dabas  Hungary

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







New Comments