DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
19 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
พิษพาราควอท (Paraquat)

พาราควอทเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicide) จัดอยู่ในกลุ่มไบพัยริดิล (bipyridyl Compound) สังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกในคริสศตวรรษที่ 19 ในครั้งนั้นมีนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้สารนี้วัดค่า Oxidation ซึ่งรู้จักดีในชื่อของ Methylviologen ในปีพ.ศ.2501 พาราควอทได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในทางเกษตรกรรมโดยบริษัทไอ.ซี.ไอ. แห่งประเทศอังกฤษ ใช้ชื่อทางการค้าว่า "กรัมม็อกโซน" (Gramoxone) รู้จักกันทั่วโลกว่าเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ต่อมาได้มีบริษัทอื่น ๆ ผลิตพาราควอทออกมาโดยใช้ชื่อทางการค้าต่าง ๆ กันมากมาย ปัจจุบันพาราควอทเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่แพร่หลายที่สุดชนิดหนึ่ง และเป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตเพราะได้รับพิษของพาราควอทหลายพันคน
คุณสมบัติ
เป็นของเหลวสีน้ำเงินเข้ม มีรสเผ็ด, ขม และมีกลิ่นฉุน สลายตัวที่ 300ซ. ไม่ระเหย ที่ความเข้มข้นสูงสามารถกัดกร่อนโลหะ, ดีบุก, สังกะสีและอะลูมิเนียมได้ ละลายได้ดีในน้ำ แต่ละลายได้น้อยในแอลกอฮอล์และไม่ละลายในตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์อื่น ๆ มีความคงทนดีในภาวะกรด หรือภาวะเป็นกลาง แต่จะสลายตัวได้ง่ายในภาวะด่าง ถูกทำลายให้เสื่อมฤทธิ์เมื่อถูกแสงอุลตร้าไวโอเล็ต, สารที่มีพื้นผิวเป็นประจุลบและดินเหนียว
ชื่อการค้ามักลงท้ายด้วย Xone เช่น Gramoxone
อาการพิษเฉียบพลัน
WHO จัดให้พาราควอทเป็นสารที่มีพิษปานกลาง โดยพิจารณาจาก LD50 ของมัน พาราควอทเป็นพิษอย่างร้ายแรงต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่ว่าจะได้รับพิษโดยทางใด
สารนี้ถูกดูดซึมได้น้อยมากทางผิวหนังที่ไม่มีแผล แต่ถ้าผิวหนังมีรอยขีดข่วนหรือเป็นแผล พาราควอทจะซึมผ่านได้ดี พาราควอทจะระคายเคืองต่อผิวหนังอย่างรุนแรง การได้รับพิษเข้มข้น อาจทำให้เล็บหลุดได้
เมื่อผู้ป่วยกินพาราควอทเข้มข้น จะมีอาการแสบร้อนในช่องปาก ทางเดินอาหารอักเสบ เนื่องจากฤทธิ์ในการกัดของพาราควอท คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย ท้องร่วงซึ่งบางครั้งอาจมีเลือดปนออกมา กระสับกระส่าย เลือดกำเดาไหล หายใจขัด เบื่ออาหาร หัวใจเต้นเร็ว ผิวหนังคล้ำ ระบบหายใจล้มเหลว เซลล์ตับและไตถูกทำลายและตายในที่สุด
อาการพิษเรื้อรัง
การสัมผัสพาราควอทติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เป็นแผลพุพอง ซึ่งยังผลให้สารนี้ซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นสาเหตุให้ได้รับพิษอย่างร้ายแรง การสูดดมพาราควอทติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เลือดกำเดาไหล ถ้าเข้าตาจะเป็นอันตรายแต่แก้วตา และทำให้ตาบอดได้ในเวลาต่อมา ถ้ากลืนกินพิษของมันจะเป็นอันตรายต่อกระเพาะ ไต ตับ หัวใจ และอวัยวะอื่น ๆ นอกจากนี้ พิษของพาราควอทยังสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของปอด กลายเป็นพังผืด ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อปอดอย่างรุนแรง
สารประกอบของสารนี้มักจะซึมลงไปปนเปื้อนในน้ำใต้ดิน
กลไกการเกิดพิษ
กลไกที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ สมมติฐานที่เชื่อว่าจะเป็นไปได้คือ พาราควอทถูก reduce โดยอ็อกซิเจน เกิด Superoxide radical (O2) หลังจากนั้นโดยเอ็นซัยม์ Superoxide dismutaseจะทำให้Superoxide radical ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิด H2O2(Hydrogen peroxide). Superoxide radical และ H2O2จะออกฤทธิ์ไปทำลายผนังเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
ผลต่อระบบของร่างกาย (Systemic Effects)
การได้รับพาราควอทปริมาณน้อยถึงปานกลาง 2-3 วัน หลังจากได้รับพาราควอท อาจมีอาการของไตและตับถูกทำลาย ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณของพาราควอทที่ได้รับเข้าไป การทำลายของอวัยวะทั้งสองนี้ สามารถกลับเป็นปกติได้ ประมาณ 5-10 วัน หรือในบางครั้งอาจถึง 14 วัน หลังจากได้รับพาราควอท ผู้ป่วยจะมีอาการปอดถูกทำลาย ซึ่งไม่สามารถจะกลับเป็นปกติได้ การหายใจไม่สะดวก และทรุดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏจากการเอกซเรย์ และในที่สุดผู้ป่วยจะเสียชีวิตเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว
การได้รับพาราควอทปริมาณสูง เมื่อผู้ป่วยได้รับพาราควอทในปริมาณที่สูง เช่น เกินกว่า 100 ซีซี ของพาราควอทเข้มข้น อวัยวะหลายอย่างจะถูกทำลายและล้มเหลว และผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง หรือ 1-2 วัน
สำหรับผู้ใหญ่ การกินพาราควอทเพียง 3 กรัม อาจทำให้ตายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา (พาราควอท 3 กรัม เท่ากับปริมาณพาราควอทเข้มข้น 15 ซีซีหรือ 1 ช้อนโต๊ะ)
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพที่อวัยวะต่าง ๆ มีดังนี้
- ปอดมี Diffuse cellular intravascular fibrosis โดยมี infiltration ของ profibroblast เข้าไปในถุงลม ทำให้เกิด pulmonary edema ได้
- ตับมี Centrilobular fatty infiltration ตับจะมีขนาดโตขึ้น มีการคั่งของเลือดและน้ำดี
- ไตมี Cortical necrosis และ tubular necrosis มีขนาดโตขึ้น
- กระเพาะอาหารมีเลือดออกได้
- ต่อมหมวกไตจะถูกทำลาย
- หัวใจมี focal myocardial necrosis
การวินิจฉัย
1. ประวัติ
ผู้ป่วยทั้งหมดจะให้ประวัติว่ากินพาราควอทโดยจงใจฆ่าตัวตายแทบทั้งสิ้น มีส่วนน้อยที่หยิบยาผิด แพทย์จะวินิจฉัยได้จากชื่อและฉลากที่ญาติหรือตัวผู้ป่วยนำมา ผู้ป่วยที่มีสติดีอยู่อาจให้ประวัติว่าสารพิษที่กินมีรสเผ็ดร้อนและขม มีสีน้ำตาลไหม้หรือสีฟ้าแก่ซึ่งพอช่วยการวินิจฉัยในเบื้องต้นถ้าผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่รู้สึกตัว ควรรีบซักประวัติจากผู้นำส่ง หรือญาติผู้ป่วย และให้นำฉลากหรือขวดยามาให้แพทย์ทำการักษาดูโดยด่วนในเรื่องของสี เมื่อหลายปีที่ผ่านมาพาราควอทที่ผลิตเป็นน้ำยาสีน้ำตาลเข้ม ปรากฏว่ามีผู้เข้าใจผิดกคิดว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน จึงเกิดพิษโดยอุบัติเหตุเพราะการหยิบยาผิดได้ ในปัจจุบันจึงเปลี่ยนจากสีน้ำตาลมาเป็นสีน้ำเงินและเติมสารที่ทำให้อาเจียนเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในการป้องกันไม่ให้พาราควอทถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ส่วนหนึ่ง ฉะนั้นจะพบว่าน้ำล้างกระเพาะอาหารของผู้ป่วยที่กินพาราควอทเป็นสีน้ำเงินหรือสีฟ้าแก่
ปริมาณพาราควอทที่ผู้ป่วยกินเข้าไปก็มีความสำคัญต่อพยากรณ์โรค เพราะกรัมม็อกโซนชนิดร้อยละ 20 จำนวน 10 - 15 มล. ก็เพียงพอทำให้ผู้ป่วยตายได้ ดังนั้นถ้าผู้ป่วยกินมาหนึ่งอึกใหญ่ประมาณคร่าว ๆ ว่า 30 มล. จะเป็นประมาณมากเกินพอที่ทำให้ตายได้ จำเป็นต้องให้การรักษาเร่งด่วน ผู้ป่วยที่ให้ประวัติกินพาราควอทเพียงหนึ่งอึก แม้ยังไม่ทันกลืน รีบบ้วนออกมาในที่สุดยังตายได้ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับพาราควอทเข้าไปในร่างกายก่อนนำส่งโรงพยาบาลก็มีความสำคัญ ช่วยพยากรณ์โรคได้กล่าวคือ ระยะยิ่งนานอัตราการตายก็ยิ่งสูง
2. การตรวจร่างกาย
ในชั่วโมงแรก ๆ มักไม่พบอาการผิดปกติ ยังคงมีสติดี พูดจารู้เรื่อง ให้ประวัติต่าง ๆ ได้ การตรวจร่างกายระบบต่าง ๆ ยังปกติ ผู้ป่วยที่กินพาราควอทจำนวนมาก อาจดิ้นทุรนทุรายมีฟองน้ำลายเป็นสีน้ำเงินออกมาทางปากและจมูก เนื่องจากภาวะ Pulmonary congestion หายใจหอบและหมดสติ
ผู้ป่วยที่กินพาราควอทมานาน 12 - 24 ชั่วโมง ตรวจพบมีลักษณะบวมพองที่บริเวณรินฝีปาก ลิ้น ช่องปาก ลำคอ และหลอดอาหาร ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแผล ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหอบจำเป็นต้องซักประวัติเกี่ยวกับพาราควอท เพราะเคยมีรายงานผู้ป่วยมาหาแพทย์ด้วยประวัติแบบนี้ เมื่อถ่ายภาพรังสีพบว่าพังผืดเกิดขึ้นทั่วไปในเนื้อปอด
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาชีพต้องทำงานสัมผัสกับพาราควอท เช่น ในโรงงานผลิตพาราควอท หรือเป็นเกษตรกร อาจพบผิวหนังมีลักษณะไหม้เป็นสีน้ำตาลตามบริเวณแขน ขา หน้าอก ส่วนที่สัมผัสกับพาราควอท และในที่สุดเกิดอาการผิดปรกติทางระบบหายใจ ฉะนั้น จำเป็นต้องตรวจร่างกาย รวมทั้งสมรรถภาพการทำงานของปอด ของบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหล่านี้เป็นระยะ ๆ
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ตรวจเคมีเลือดจะพบว่า BUN, Creatinine, Uric acid, Alkaline phosphatase, Bilirubin, SGOT สูงกว่าปรกติ แสดงถึงการมีพยาธิสภาพที่ตับและไต
- ตรวจBlood gas พบ O2 ต่ำ CO2สูงกว่าปรกติ
- ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด แสดงภาวะเนื้อเยื่อปอดเป็นพังผืด
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบลักษณะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (มี T - waveเปลี่ยนแปลงและมี U-waveเกิดขึ้น)
การตรวจหาสารพาราควอท การตรวจพบสารพาราควอทในปัสสาวะหรือของเหลวจากกระเพาะ จะช่วยยืนยันการวิเคราะห์โรคร่วมกับประวัติและอาการทางคลินิกปัสสาวะและน้ำที่ดูดจากกระเพาะ สามารถนำไปตรวจหาพาราควอทได้ โดยปฏิกิริยารีดักชั่นของพาราควอทที่มีประจุบวก เปลี่ยนเป็นอนุมูลสีน้ำเงินในสภาพที่เป็นด่าง และมี sodium dithionite อยู่ด้วย
วิธีการตรวจ
1. นำปัสสาวะหรือของเหลวที่ดูดจากกระเพาะปริมาณ 10 ซีซี ใส่ลงในหลอดทดลอง
2. เติมด่าง เช่น sodium hydroxide ลงไปจน pH สูงกว่า 9 (อาจใช้ sodium bicarbonate ประมาณ 2.5 - 5 ซีซี แทนได้)
3. เติม sodium dithionite ขนาดเท่าปลายช้อนชาลงในตัวอย่าง เขย่าเบาๆ
4. นำหลอดทดลองไปส่องดูกับพื้นสีขาว ถ้ามีสีน้ำเงินหรือสีเขียวเกิดขึ้น แสดงว่ามีพาราควอทอยู่ในตัวอย่างนั้น และเป็นการยืนยันการวินิจฉัยโรค หากในตัวอย่างมีพาราควอทอยู่ในความเข้มข้นสูง สีที่เกิดขึ้นอาจจะกลายเป็นสีดำ ให้ตรวจซ้ำอีกครั้งโดยเจือจางตัวอย่างลง พาราควอทเป็นสารพิษที่เรียกว่า hit and run poison เราไม่อาจตรวจพบสารพิษได้ในผู้ป่วยที่ปอดเป็นพังผืด และหายใจหอบขณะที่มาโรงพยาบาล หลังจากได้รับพาราควอทเข้าไปแล้ว นานหนึ่งสัปดาห์ถึงสองสัปดาห์
การรักษา
การปฏิบัติเบื้องต้น
พยายามให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาพาราควอทออกมามากที่สุดเช่น ล้วงคอ, ให้กินไข่ขาว, หรือให้ดื่มน้ำเกลือเข้มข้นอุ่น ๆ เป็นต้น แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
การปฏิบัติในโรงพยาบาล แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ
1. ป้องกันการดูดซึมทางลำไส้ ให้ดินเหนียว Fuller's Earth(ICI)60 กรัม/ขวด ปริมาณ 150 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ให้ทางปาก หรือให้ bentonite 100-150 กรัม และให้ร่วมกับยาระบาย MOM 30 มล. ทุก 6 ชั่วโมง จนผู้ป่วยถ่าย โดยทั่วไปถือว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดในการรักษาภาวะเป็นพิษ เพราะว่าดินสามารถ inactivate พาราควอทได้เป็นอย่างดี
2. เร่งการขับถ่ายออกจากเลือด ใช้วิธี forced diuresis โดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำด้วยอัตรา 250 มล./ชั่วโมง ร่วมกับฉีดยาขับปัสสาวะ furosemide จนปัสสาวะออกประมาณ 3 มล./นาที จะช่วยเพิ่มการกำจัดพาราควอททางไตได้ ข้อควรระวังคือ จะต้องแก้ภาวะเกลือแร่ผิดปกติและต้องระวังภาวะน้ำเกิน เพราะผู้ป่วยอาจเกิดไตวายจากพาราควอท ทำให้ขับน้ำออกจากร่างกายไม่ได้ ในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือพร้อม อาจใช้วิธ ีHaemodialysisหรือ Haemoperfusionได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับยามาภายใน 3 วัน และอาการไม่เป็นแบบ multiple organ failure ซึ่งมักจะรักษาไม่ได้ผล การทำ hemoperfusion อาจต้องทำซ้ำๆ กันวันละ 1-2 ครั้ง 3 วัน เพราะหลังจากนั้นแล้ว ยาอาจกระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อต่างๆ แม้จะทำ hemoperfusion ก็ไม่ได้ผล
3. ป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยงดให้อ๊อกซิเจน แม้รายที่มีอาการทางระบบหายใจแล้ว เพื่อยับยั้งกลไกลการเกิด Oxdation ของพาราควอท มีการป้องกันการเกิดพังผืดในปอดด้วย สเตียรอยด์ เช่น ให้ dexamethasone 5 มก. IV ทุก 6 ชั่วโมง และยา cytotoxic เช่น cyclophosphamide 5 มก./กก./วัน IV แบ่งให้ทุก 8 ชั่วโมง ผลการรักษาอาจจะดี แต่ยังไม่มี controlled trial พิสูจน์อย่างชัดเจน
จากการที่พาราควอทออกฤทธิ์แบบ oxidant จึงมีความพยายามใช้สาร antioxidants มาใช้ในการรักษา เช่น วิตามินซี วิตามินอี ไนอาซิน N-acetylcysteine แต่พบว่าได้ผลน้อย การพยากรณ์ความรุนแรงของอาการมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิเคราะห์หาปริมาณพาราควอท ถ้าพบว่าใน 24 ชั่วโมงแรกภายหลังการกินมีค่าพาราควอทในเลือดเกิน 0.2 ไมโครกรัม/มล. และกิน 0.1 ไมโครกรัม/มล.ใน 48 ชั่วโมงแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะตาย ถ้าพบว่าในปัสสาวะมีพาราควอทถูกขับถ่ายออกมามากกว่า 1 มก./ชั่วโมง ผู้ป่วยก็จะตายเช่นกัน
กรณีที่พาราควอทเข้มข้นกระเด็นเข้าตา อาจทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงของกระจกตา (cornea) และเยื่อตาขาว (conjunctiva) หากไม่ได้รับการรักษา การอักเสบจะค่อยๆ มากขึ้นในระยะเวลา 24 ชั่วโมง และอาจทำให้เกิดแผลที่เยื่อบุกระจกตาและเยื่อบุตาขาว ซึ่งอาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ แต่โดยปกติถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะหายเป็นปกติเหมือนเดิม แม้ในรายที่รุนแรงมาก
เมื่อพาราควอทกระเด็นเข้าตาให้รีบล้างทันทีด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากติดต่อกันนาน 10-15 นาที และปรึกษาจักษุแพทย์ ควรให้ยาหยอดตาที่มียาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน และให้ยาหยอดตาที่มี steroid ที่เหมาะสมจะช่วยลดการเกิด granulation tissue ได้ ในระยะ 3-4 สัปดาห์แรก อาจมีการบวมของกระจกตาซึ่งทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพไม่ชัดเป็นการชั่วคราว


Create Date : 19 มกราคม 2553
Last Update : 19 มกราคม 2553 0:06:35 น. 27 comments
Counter : 39930 Pageviews.

 
ดีครับรู้ใว้ จะได้หันมาใช้อินทรีเคมีแทน หรือไม่ก็กำจัดด้วยวิธีไถกลบเอา ให้ดินมีเวลาพักรักษาตัวบ้าง เอวัง.....


โดย: วิวัฏฏะวน IP: 125.26.165.211 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:19:39:42 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ


โดย: Lavinia วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:23:05:01 น.  

 
ดีค่ะ จะติดตามต่อไปค่ะ


โดย: ปุณอีม IP: 119.46.40.250 วันที่: 25 มกราคม 2553 เวลา:14:16:30 น.  

 
SmileySmileySmiley




Free TextEditor สู้ๆค่ะ เอากำลังใจมาช่วยเต็มที่ค่ะ


โดย: forenspug วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:37:53 น.  

 
เปิดมาเจอพอดี กำลังเครียด ด้วยเหตุว่ามีคนใกล้ชิดได้ทานพาราควอทมา ประมาณ 20 - 30 ซีซี ได้ dilute สไปรส์ เป็น ประมาณ 250 ซีซี ไอ้เราก็เครียดในบทบาทของคนสนิท และในบทบาทของคนดูแลรักษา เห็นอาการไม่ดี ออกซิเจนในร่างกายเริ่มต่ำ mild dypsnea จนลืมนีกไปว่า มันเป็นกลุ่มยาฆ่าหญ้า ห้ามให้ออกซิเจน เพราะมันยิ่งทำให้แย่ลง เผลอให้ในปริมาณต่ำๆ 2 LPM ได้ประมาณ 1ชม. ได้สติความคิด +ความรู้ ก็กลับมา แต่ไม่สบายใจเลย มันคาใจ จะเป็นไรและมีผลเสียต่อ Pt มากมั๊ยคะ เป็นห่วงมากๆ เพราะเป็นเพื่อนสนิทจริงๆ ไม่รู้ว่า หมอจะมาเปิดอ่านเจอเมื่อไหร่ แต่ยังไงก็อยากให้ตอบนะคะ จะรอ


โดย: นางฟ้า มิใช่ซาตาน IP: 222.123.153.38 วันที่: 26 เมษายน 2553 เวลา:2:23:21 น.  

 
เปิดมาเจอพอดี กำลังเครียด ด้วยเหตุว่ามีคนใกล้ชิดได้ทานพาราควอทมา ประมาณ 20 - 30 ซีซี ได้ dilute สไปรส์ เป็น ประมาณ 250 ซีซี ไอ้เราก็เครียดในบทบาทของคนสนิท และในบทบาทของคนดูแลรักษา เห็นอาการไม่ดี ออกซิเจนในร่างกายเริ่มต่ำ mild dypsnea จนลืมนีกไปว่า มันเป็นกลุ่มยาฆ่าหญ้า ห้ามให้ออกซิเจน เพราะมันยิ่งทำให้แย่ลง เผลอให้ในปริมาณต่ำๆ 2 LPM ได้ประมาณ 1ชม. ได้สติความคิด +ความรู้ ก็กลับมา แต่ไม่สบายใจเลย มันคาใจ จะเป็นไรและมีผลเสียต่อ Pt มากมั๊ยคะ เป็นห่วงมากๆ เพราะเป็นเพื่อนสนิทจริงๆ ไม่รู้ว่า หมอจะมาเปิดอ่านเจอเมื่อไหร่ แต่ยังไงก็อยากให้ตอบนะคะ จะรอ


โดย: นางฟ้า มิใช่ซาตาน IP: 222.123.153.38 วันที่: 26 เมษายน 2553 เวลา:2:23:52 น.  

 
ตอบคุณ นางฟ้า มิใช่ซาตาน ครับ
ผมเคยมีประสบการณ์เช่นนี้เหมือนกันครับตอนนั้นน้อง intern เป็นคนจัดการให้ออกซิเจน ต่อมาไหวตัวทัน เลยหยุดครับ ผลก็โชคดีครับ complication ตามมาเล็กน้อย รอด ไม่เสียชีวิต คิดว่าในรายของเพื่อนคุณคงเช่นกัน แต่อย่าลืมให้ dexamethasone 5 มก. IV ทุก 6 ชั่วโมง และยา cytotoxic เช่น cyclophosphamide 5 มก./กก./วัน IV แบ่งให้ทุก 8 ชั่วโมง นะครับ จะช่วยป้องกันการเกิดพังผืดในปอด


โดย: DR.MOO CAN DO วันที่: 26 เมษายน 2553 เวลา:2:38:10 น.  

 
ถ้าผมเป็นนายกจะสั่งห้ามใช้paraquoteในประเทศทุกชนิด เพราะที่เคยเจอตายหมดทุกราย เฮ้อเซ็งจิงๆ


โดย: FgK IP: 192.168.0.240, 118.173.224.17 วันที่: 11 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:47:37 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณหมอ รบกวนคุณหมอช่วยแนะนำหน่อยค่ะคือตอนนี้น้องหนูกินยาฆ่าหญ้าหรือพาราควอทนะค่ะแต่เป็นยาที่เปิดใช้แล้วของปีก่อนค่ะยังใช้ไม่หมดแม่เลยเก็บไว้ น้องกินยาไปประมาณวันที่25 เดือนที่แล้วค่ะโดยไม่มีใครรู้ว่าน้องกินยาน้องก็กินเหล้าเที่ยวเล่นปกติค่ะ อีกสาม-สี่วันต่อมาน้องก็แสบคอ คอพองค่ะ ที่บ้านก็คิดว่าน้องกินเหล้าเยอะเกินจึงทำให้แสบคอค่ะพาไปหาหมอที่คลีนิกค่ะที่คอเป็นหนองได้ยามาน้องก็ไม่กินอีกสองวันต่อมาน้องเริ่มเหนื่อยหายใจไม่ค่อยได้ แม่พาไปโรงพยาบาลหมอบอกว่าอาการน้องเป็นหนักมากปอดบวมอักเสบ เป็นเชื้อราปอดน้องก็ยังไม่บอกอีกว่ากินยามาพี่น้องถามก็เงียบ จนนอนในโรงพยาบาลแล้วสี่วันถึงพูดออกมาค่ะว่ากินยาพาราครอท หมอจึงพาเข้าห้องไอซียูค่ะล้างท้องแล้วก็นอนอยู่ในห้องไอซียูจนถึงเดี๋ยวนี้อาการตอนนี้หมอบอกว่าแย่ ปอดถูกทำลายไปเกือบหมดยาที่ซึมอยู่ในปอดต้องให้หายไปเองพึงผืดก็ขึ้นที่ปอด หมอคะอาการจริงๆของน้องหนูตอนนี้มีเปอเซ็นต์ขนาดไหนคะที่จะรอดค่ะ แล้วหมอที่โรงพยาบาลที่น้องรักษาตัวอยู่เค่าจะรักษาถูกไม๊คะ จะให้ยาเหมือนที่หมอเขียนไว้ข้างบนรึป่าว ขอความช่วยเหลือคุณหมอช่วยตอบด้วยค่ะ จริงๆแล้วหมอช่วยสอบถามอาการน้องหนูจากโรงพยาบาลได้ไม๊คะว่าควรรักษาอย่างไร น้องหนูอยู่โรงพยาบาลเชียงคำ ห้องไอซียู อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาค่ะ ชื่อนาย ชำนาญ วงษ์เษมไพร ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่หนูจะพยายามหามาให้คุณหมอค่ะ กรุณาช่วยน้องหนูด้วยค่ะ luckkylove_t.d@hotmail.comอีเมล์หนูค่ะ เบอร์โทร 0890490263 คุณหมอกรุณาช่วยด้วยค่ะถึงแพงแต่เพื่อช่วยน้องได้หนูจะหาหามาให้ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: น้ำทิพย์ วงษ์เกษมไพร IP: 121.183.98.223 วันที่: 13 มิถุนายน 2553 เวลา:10:27:08 น.  

 
ขอบคุณค่ะไม่รบกวนแล้วค่ะ ตอนนี่น้องเสียแล้วค่ะ ขอให้น้องไปสู่สุขคติเถิด


โดย: น้ำทิพย์ IP: 121.183.98.223 วันที่: 14 มิถุนายน 2553 เวลา:21:48:43 น.  

 
เสียใจด้วยนะครับ ที่เกิดเรื่องแบบนี้ในบ้านคุณน้ำทิพย์ ขอให้น้องคุณไปสู่สุคติเถิด


โดย: หมอเจ IP: 182.52.199.223 วันที่: 20 กรกฎาคม 2553 เวลา:0:13:19 น.  

 
ถ้าหากกินแล้ว ไม่เสียชีวิตในวันแรก วันต่อมาต้องให้ dexa,cyclophosphamide อยู่อีกหรือป่าวค่ะ ต้องให้ iv fluid อีกเท่าไหร
ขอบคุณค่ะ


โดย: 1234 IP: 172.16.6.199, 122.154.226.221 วันที่: 30 กรกฎาคม 2554 เวลา:22:45:21 น.  

 
สอบถามการรักษา และวินิจฉัยผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ และสารพาราควอทได้ที่ ศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ

HOTLINE 1367

//www.ra.mahidol.ac.th/poisoncenter/




โดย: Tui IP: 49.48.170.133 วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:0:28:54 น.  

 
เมื่อไม่นานมานี้มีผู้ป่วยหลังคลอดกินยามาการให้ผงถ่านหรือattivae cracoในปริมาน50กรัม/6ชม ช่วยได้หรือไม่คะเพราะ10ชม.ต่อมาผู้ป่วยเสียชีวิตเท่าที่เจอมาประมาณ5-7เคสไม่มีใครรอดสักคนและส่วนมาจะตั้งใจฆ่าตัวตายหรือไม่ก็เป็นคนไข้จิตเวชคะ


โดย: Nuaee IP: 1.46.186.108 วันที่: 3 กรกฎาคม 2555 เวลา:7:42:01 น.  

 
คนที่กิน พิษพาราควอท เข้าไป ให้ถึงโรงพยาบาล ให้เร็วที่สุด ก่อน 2 ชม. ยาที่มีรักษา คือ โรงพยาบาล บ้านเเพ้ว และโรงพยาบาล พญาไท แล้วการรักษาเบื้องต้น ขย้ำ น้ำว่านรางจืดสดๆๆ ให้กิน ประมาณ 1 ถ้วย ก่อนถึงโรงพยาบาล หรือไม่ เคาะ ไข่ดิบ ใส่ปากผู้ป่วย หรือ ละลาย น้ำโคนที่สะอาด(ดิน) เป็นการรักษาเบื้องต้น อย่าให้ผู้ป่วยกินน้ำ เด็ดขาด เพราะน้ำจะทำให้ยาละลาย แล้วเข้ากระเเสเลือดโดยเร็ว และก็จะหมดทางรักษาผู้ป่วย อาจจะ ตาย 2-3 วัน
ที่กล่าวมานี้ เพราะว่าได้สูญเสีย น้องไปแล้ว อย่างไม่มีวันกลับ
ที่น้องตายเนี่ย เพราะ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีความล่าช้าเกินไป จากหลายๆฝ่าย


โดย: จากผู้ให้ทานเพื่อนร่วมโลก IP: 125.25.116.2 วันที่: 13 กรกฎาคม 2555 เวลา:19:49:34 น.  

 
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นี้ ได้รับการยืนยันมาจากแพทย์ ทำตามที่บอก
วอนขออีกอย่างว่า เลิกผลิตยา ตัวนี้เถอะค่ะ ผู้คนในโลกนี้จะต้องตายไปอีกสักเท่าไร คุณควรจะมียาที่แก้ออกมาได้แล้ว.... มันเป็นแค่หญ้า ทำไมต้องใช้ยาแรงขนาดนี้ ใช้วิธีธรรมชาติเถอะค่ะ เช่น ถอน ดาย ฟัน อะไรแบบนี้ ไม่เห็นต้องใช้ ยาแรงขนาดนี้ กราบวอนขอร้องเลิกผลิตเถอะค่ะ ระวังคนผลิตจะกินซะเอง


โดย: จากผู้ให้ทานเพื่อนร่วมโลก IP: 125.25.116.2 วันที่: 13 กรกฎาคม 2555 เวลา:19:58:50 น.  

 
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นี้ ได้รับการยืนยันมาจากแพทย์ ทำตามที่บอก
วอนขออีกอย่างว่า เลิกผลิตยา ตัวนี้เถอะค่ะ ผู้คนในโลกนี้จะต้องตายไปอีกสักเท่าไร คุณควรจะมียาที่แก้ออกมาได้แล้ว.... มันเป็นแค่หญ้า ทำไมต้องใช้ยาแรงขนาดนี้ ใช้วิธีธรรมชาติเถอะค่ะ เช่น ถอน ดาย ฟัน อะไรแบบนี้ ไม่เห็นต้องใช้ ยาแรงขนาดนี้ กราบวอนขอร้องเลิกผลิตเถอะค่ะ ระวังคนผลิตจะกินซะเอง


โดย: จากผู้ให้ทานเพื่อนร่วมโลก IP: 125.25.116.2 วันที่: 13 กรกฎาคม 2555 เวลา:19:59:01 น.  

 
ถ้าแค่อมแล้วบ้วนทิ้ง ต้องทำไรไหมคะ มีอาการชาลิ้น


โดย: Sara IP: 110.77.182.128 วันที่: 2 สิงหาคม 2555 เวลา:13:15:31 น.  

 
สวัสดีคะคุณหมอพอดีคุณพ่อกินสารพาราครวทเข้าไปกินผสมเหล้าขาวตอนนี้อยู่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์คะคุณหมอที่นี่บอกว่าต้องดูอาการ5วันคะถ้าผ่าน5วันไปถือว่ารอดคะแต่ตามตัวคุณพ่อเขียวช้ำคะคุณพ่อจะรอดไหมคะแล้วทางโรงพยาบาลจะรักษาเหมือนที่คุณหมอบอกไหมคะเป็นห่วงคุณพ่อมากๆคะเครียดมากเลยคะคุณหมอช่วยตอบด้วยนะคะ


โดย: วรรณา IP: 171.98.67.107 วันที่: 3 กันยายน 2555 เวลา:15:21:45 น.  

 
กินแล้วไม่เห็นเป็นอะไรเลยตอนนี้หายแล้วเป็นปกตินอนร.พ.ไป2อาทิตย์ตอนแรกก็คิดว่าตายแต่ไม่ตาย


โดย: ซามู IP: 182.52.36.98 วันที่: 16 ตุลาคม 2555 เวลา:11:09:57 น.  

 
พ่อกินยาชนิดนี้เข้าไปนอนโรงพยาบาลวันครึ่งตอนนี้เสียแล้วเพิ่งเสียเมื่อตอนห้าโมงเย็นนี่เอง ก่อนพ่อเสียมีอาการทุรนทุรายมากน่าสงสารแต่ช่วยอะไรไม่ได้เลย


โดย: ลูกสาว IP: 115.67.103.237 วันที่: 5 มกราคม 2556 เวลา:18:51:07 น.  

 
หลงเข้ามาในนี้ วันนี้เจอคุณลุงคนนึงหยิบขวดผิดกินไปอึกนึง น่าสงสารมาก ไม่รู้จะเป็นไง เกลียดยานี้จริงๆ


โดย: drpp IP: 115.67.34.85 วันที่: 6 เมษายน 2556 เวลา:19:51:43 น.  

 
มีผู้ป่วยกินพาราควอทตอนตี 3 เสียชีวิตตอนเที่ยงครึ่ง ส่งตัวมาจาก รพช ตอน 10 โมงที่เจอผู้ป่วยซึ่งมีอาการอาเจียน ปวดท้องมาก มีอาการเกร็งกระตุกที่ร่างกายส่วนบนเห็นชัดที่แขน พูดสะดุดสั่นๆเหมือนคนเป็นไข้สูง ส่วนขาเหมือนเป็นอัมพาตไปแล้ว บอกว่ากินพาราควอทที่อยู่ในแกลลอนโดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นน้ำดื่มกินไป 3 แก้ว ตอนแรกไม่เชื่อคิดว่า 3 จิบ ลูกชายเอาแกลลอนสีขาวอันหนึ่งใส่น้ำดื่ม อันหนึ่้งใส่น้ำยาสีฟ้า คงจะไปวางใกล้กัน อาการทุรนทุรายจากพิษยาค่อยๆหายไปตอน 11 โมง พร้อมกับการลดลงของความดันเลือด ชีพจร จนเสียชีวิต


โดย: คนมีกรรม IP: 61.7.235.254 วันที่: 17 พฤษภาคม 2556 เวลา:18:54:35 น.  

 
อยากทราบว่า ถ้าเราฉีดยาฆ่าหญ้า ชนิด​นี้ ลงในไร่มัน เห็ดจะเกิดไหมคะ


โดย: อยากรู้ IP: 49.230.176.138 วันที่: 19 มิถุนายน 2557 เวลา:21:54:16 น.  

 
เมื่อปีที่แล้วมีหลานอายุ14ปีได้กินพาราควอตประมาณ1_2กลืนเบื้องต้นยังไม่แสดงอาการอะไรมากมีอาการแสบคอปวดท้องเราเลยแจ้งรถร.พแต่ประมาณ1ชั่วโมงหมอถึงมาก่อนรถร.พมาก็ได้มีการทำให้น้องอาเจียรยาก็ออกมาซึ่งมีกลิ่นเหม็นมากแล้วพอถึงร.พได้มีการล้างท้องน้องมีอาการปกติได้1วันหลังจากนั้นอวัยวะเเต่ละส่วนเริ่มมีปัญหาเริ่มจากไตมาตับมาปอดตลอดเวลาหมอให้ออ๊กซิเจนน้องตลอดเวลาน้องรู้สึกตัวตอบรับ1_2วันแรกพอวันที่3ร่างกายไม่ตอบสนองไม่ได้สติหมอก็รักษาตามอาการหมอบอกไม่เคยเจอเคสแบบนี้ได้แต่รักษาตามอาการหมอให้งดน้ำงดอาการให้น้ำเกลือแทนน้องมีอาการปากแห้งต้องคอยเอาน้ำแข็งทาปากตลอดน้องเริ่มขอกินอาหารหมอคงคิดว่าน้องคงไม่รอดเลยให้กินโจ๊กได้นิดหน่อยน้องพูดไม่ได้ในวันที่สองเริ่มเจ็บคอ...สงสารน้องมากวันที่สามน้องเริมกระตุกแล้วก็ชักหมดสติพาเข้าไอซียูหมอดูดอะไรไม่รู้จากปากน้องเหมือนๆน้ำเหลืองอยู่ไอซียูได้1คืนหัวใจเริ่มล้มเหลวแล้วก็เสียในที่สุด.....ยาตัวนี้อันตรายมากไม่รู้วิธีรักษา....แม้แต่หมอ....


โดย: ลภัสรดา IP: 223.204.248.109 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:9:51:53 น.  

 
น้องสาวของดิฉันก้อกินยาฆ่าหญ้าพาราครอตคะกินได้4เดือนแล้วคะเขายังจะรอดอยู่ใหมคะ


โดย: อ้อม IP: 1.46.137.4 วันที่: 7 เมษายน 2559 เวลา:21:08:11 น.  

 
พ่อของดิฉันกินยาฆ่าหญ่าเข้าไปในวันที่ 5 พค. 2559 ณ วันนี้ที่ 18 /05/2559 อาการกินอะไรไม่ได้ ไตวาย ตัวเหลือง แขนขาไม่มีแรง
หายใจปกติ ความดันปกติ แต่อยากทานน้ำเย็นๆมาก โอกาสรอดมีสูงป่าวคะ


โดย: ธํญชนก IP: 183.89.202.48 วันที่: 18 พฤษภาคม 2559 เวลา:19:25:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.