Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
17 ธันวาคม 2564
 
All Blogs
 
เชียงใหม่ เมื่อปลายฝน 2564 - วัดพระเจ้าเม็งราย วัดพันแหวน วัดเจ็ดลิน วัดหมื่นตูม

เช้าวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ที่พักเรา กอดเชียงใหม่ 



ที่นี่ให้บริการแบบ Bed&Breakfast อาหารเช้าเป็นเซ็ตเมนู มีให้เลือก 6 เซ็ต มีมุมกาแฟ น้ำดื่ม น้ำส้ม นมสด บริการ
เราเลือกเซ็ต 1 พี่สาวเลือกเซ็ต 2 แล้วสั่งสลัดทูน่าเพิ่ม ที่นี่รับคนละครึ่งด้วยค่ะ





มีตู้ไปรษณีย์ใหญ่สีแดงด้านหน้า 



เสร็จสรรพจากมื้อเช้า วันนี้เราไม่ได้ใช้บริการเหมารถน้ายุ่ง เดินสำรวจใช้พลังงานกัน เดินแวะวนไปวนมาตามดาวสีเขียวค่ะ



มีวัดในใจที่อยากไป มีวัดที่เดินผ่าน...แวะหน่อยละกัน คิดว่าวัดทางเหนือแทบทุกวัด เดินเข้าเถอะ มีอะไรให้ถ่ายรูปได้ไม่มากก็น้อยล่ะ



วัดพระเจ้าเม็งราย 


 
วัดพระเจ้าเม็งราย ตั้งอยู่ที่ ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วัดพระเจ้าเม็งรายเดิมชื่อ "วัดคานคาด" คงจะเพี้ยนมาจากคำว่า กาละก้อด หรือได้มาจากไม้คานหามพระพุทธรูปมาคาด หรือ กร่อน จนเกือบจะนำมาใช้หามพระพุทธรูปต่อไปอีกไม่ได้ เลยสร้างวัดขึ้นตรงนั้น แล้วตั้งชื่อว่า วัดคาดคอด อดีตพระ อ.การกุย ทูลสนโย เจ้าอาวาส อธิบายว่า วัดพระเจ้าเม็งรายนี้ นอกจากจะเรียกชื่อวัดว่า วัดกาละก้อด แล้ว ยังเรียกชื่อ "วัดศรีสร้อยท้าเจ่ง"
 
วัดพระเจ้าเม็งราย ตามประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าเป็นพระอารามหลวงแห่งที่สาม ที่พญามังรายทรงสร้างขึ้น ปัจจุบันเหลือเพียง พระพุทธรูปยืนองค์เดียวเท่านั้น เรื่องราวของพระพุทธรูปองค์นี้ปรากฏในตำนานเมืองเชียงใหม่ และ ในพงศาวดารโยนก

โบราณวัตถุสถาน

1. พระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ มีชื่อเรียกว่า พระเจ้าค่าคิงพญามังราย สูงประมาณ 540 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปยืนสมัยต้นเชียงใหม่เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญองค์หนึ่ง

2. เจดีย์ทรงปราสาท มีซุ้มพระพุทธรูปยืนทั้ง 4 ด้าน

3. พระวิหารเก่า ที่เป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าค่าคิงพญามังราย







พระราชานุสาวรีย์ พระเจ้าเม็งรายมหาราช



พระเจ้าค่าคิงพญามังราย









มุมนี้มองเห็นทั้งเจดีย์ปราสาท วิหาร และอุโบสถ



















หอระฆัง



บ่อน้ำโบราณ อายุ 700 ปี ไม่ได้ไปชะโงกดูนะคะ





เดินผ่านรั้วบ้านชาวบ้านชาวช่องแถวนี้ - อัญชันสีขาว



ผ่านที่พักเรา



ผ่านร้านกาแฟใกล้ที่พัก มีแต่พนักงานต้อนรับหน้าร้าน 



09.16 น. วันที่ 20 ตุลาคม 2564 วัดพันแหวน


 
วัดพันแหวน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2040 โดยขุนนางยศ “พัน” ชื่อว่า “แหวน” จึงเรียกชื่อวัดว่า “พันแหวน” ตามผู้สร้างวัด แม้ไม่ได้มีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์อะไรมากมายนัก แต่ก็ถือว่าเป็นพระอารามที่เก่าแก่มากอีกแห่งหนึ่ง มีอายุกว่า 500 ปีแล้ว การตั้งชื่อวัดตามนามผู้สร้างนั้นถือเป็นธรรมเนียมนิยมในการสร้างวัดราษฎร์ของล้านนาในเมืองเชียงใหม่เองก็มีวัดหลายแห่งที่ตั้งชื่อลักษณะนี้ เช่น วัดพันอ้น วัดพันตอง วัดพันตาเกิ๋น (วัดชัยศรีภูมิ) เป็นต้น ตำแหน่ง “พัน” เป็นตำแหน่งขุนนางระดับล่าง คุมนายร้อย 10 คน และพลทหาร 100 คน

โบราณวัตถุสถาน

1. พระเจดีย์ขาววัดพันแหวน เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างเจดีย์ทรงระฆังอิทธิพลจากพม่า พัฒนาจนมีเอกลักษณ์เฉพาะแบบท้องถิ่น ฐานเขียงสี่เหลี่ยมรองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ย่อเก็จ รองรับเรือนธาตุทรงแปดเหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น เหนือขึ้นไปเป็นองค์ระฆัง แต่ไม่เหลือรูปลักษณ์ขององค์ระฆังให้เห็น เนื่องจากแกะสลักเป็นใบหน้า อาจเป็นพระอินทร์ (หรืออาจเป็นพระพรหม) ไม่ทราบแน่ชัด ถัดไปเป็นปล้องไฉนประดับด้วยฉัตรสีทองบนปลายยอด ที่ฐานเป็นลายสัตว์ประจำปีนักษัตรทั้ง 12 ฐานทั้งสี่มุมมีปูนปั้นช้างสามเศียร

2. พระวิหาร สถาปัตยกรรมแบบล้านนา ก่ออิฐถือปูน ทิศเหนือมีมุขยื่นออกไปคลุมบันไดนาคใช้เป็นทางเข้าออกของพระสงฆ์ ด้านหน้าพระวิหารมีบันไดนาค หน้าบันแบบม้าต่างไหม บานประตูลายรดน้ำสีทองรูป
 


















09.24 น. เราแวะถามทางไปวัดเจ็ดลิน จากคุณลุงค่ะ



ใกล้กันเป็นร้านขนมจีนน้องป้อม แต่มีของกินหลายอย่างเลยค่ะ



มีป้ายบอก คืออะไร ราคาเท่าไหร่



ถาดนี้ไม่มี เลยถามพี่เค้า พี่บอกว่า ข้าวกั๊นจิ๊น ข้าวเงี้ยว 



พี่แกะให้ดูด้วยค่ะ - 
ข้าวกั๊นจิ๊น ข้าวเงี้ยว หรือ จิ๊นส้มเงี้ยว เป็นอาหารไทยภาคเหนือ มีลักษณะเป็นข้าวสวยคลุกเลือดหมูสดห่อในใบตองในลักษณะเดียวกับแหนม บางสูตรไม่ใส่เนื้อสับ แต่ใส่เลือดคลุกเคล้ากับข้าวอย่างเดียว นำมารับประทานกับน้ำมันกระเทียม หอมแดง แตงกวา และพริกทอด อาหารประเภทนี้นิยมรับประทานเป็นอาหารกลางวัน หรือ ข้าวตอน ในสูตรดั้งเดิมมักใช้วัวทำ แต่ปัจจุบันผู้คนไม่ค่อยกินเนื้อวัวกันแล้ว จึงดัดแปลงมาใช้เนื้อหมูแทน



ขนมดอกจอก ตอนเราเด็ก ๆ เคยทำขายด้วยนะเออ



09.31 น. ถึงแล้วค่ะ วัดเจ็ดลิน






 
วัดเจ็ดลิน เดิมเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2060 จากเอกสารการค้นคว้าของคุณวัลลภ นามวงศ์พรหม คณะกรรมการประสานงานพัฒนาวัดเจ็ดลินและโคลงนิราศหริภุญไชย
ตามประวัติกล่าวว่า กษัตริย์ราชวงศ์มังรายก่อนจะขึ้นเสวยราชย์ทุกพระองค์ จะทรงผ้าชุดขาว (นุ่งขาวห่มขาว) ณ วัดผ้าขาว จากนั้นจะเสด็จ ไปสะเดาะเคราะห์ ณ วัดหมื่นตูม และจะเสด็จมาประกอบพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษก ณ หนองน้ำวัดเจ็ดลิน ซึ่งจะมีรางน้ำ เรียกว่า "ลิน" ทำด้วยทองคำ หลั่งน้ำพุทธาภิเษกจากสุวรรณหอยสังข์ หล่อลงรางลินทำด้วยคำทั้ง 7 เพื่อสรงพระวรกาย แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องทรงกษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ต่อไป
 ในสมัย เจ้าแม่ฟ้ากุ ก่อนขึ้นเสวยราชย์ได้ทำพิธีราชาภิเษก โดยเสด็จ ไปสรงน้ำพระที่ วัดเจ็ดลิน "คำเชิญกษัตริย์เจ้า ไปลอยเคราะห์นอนหั้นแล 3 วัน แล้วไปอุสสาราช หล่อน้ำพุทธาภิเษกสุคนธาด้วยสุวรรณหอยสังข์ที่วัด 7 ลินคำ หั้นแล….."
 ในอดีตวัดเจ็ดลินเคยรุ่งเรืองมาก ทราบได้จากหลักฐานโฉนดที่ดินในปี พ.ศ. 2482 ว่ามีเนื้อที่ 7 ไร่เศษ แต่ต่อมากลายเป็นวัดร้าง
ต่อมาได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2545 โดยพระเทพวรสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ภายในวัดมีหนองน้ำขนาดใหญ่สภาพสมบูรณ์อยู่กลางวัด

โบราณวัตถุสถาน

1. วิหาร
2. เจดีย์
3. พระพุทธรูปหลวงพ่อใหญ่
4. หลวงพ่อทันใจ
5. หนองน้ำเจ็ดริน





























09.46 น. วัดหมื่นตูม




 
วัดหมื่นตูม สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2021 สร้างในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว คำว่า หมื่นตูม เดิมเป็นขุนนางท่านหนึ่ง มียศบรรดาศักดิ์เป็น หมื่น ส่วนของท่านชื่อ ตูม นายทหารนี้มีความเลื่อมใสศรัทธา ต่าพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้นำญาติ บริวาร ศรัทธาประชาชน ร่วมกันช่วยสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อถวายเป็นพระพุทธบูชา เมื่อสร้างวัดนี้เสร็จ จึงเรียกชื่อว่า วัดหมื่นตูม ตามชื่อผู้นำสร้างถวาย
ตามประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่าเมื่อใดก็ตามที่กษัตริย์ราชวงศ์มังรายพระองค์ใหม่จะขึ้นครองราชย์ต้องผ่านการประกอบพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษกก่อน ซึ่งพิธีนี้จะจัดขึ้นที่วัดสำคัญ ๓ แห่งตามลำดับขั้นตอนของพิธี กล่าวคือ กษัตริย์จะต้องทรงชุดขาว ซึ่งกระทำที่วัดผ้าขาว จากนั้นจึงเข้าพิธีสะเดาะเคราะห์ที่วัดหมื่นตูมแห่งนี้ แล้วจึงสิ้นสุดด้วยพิธีสรงน้ำที่หนองน้ำวัดเจ็ดลิน

โบราณวัตถุสถาน

1.พระวิหาร สถาปัตยกรรมล้านนาดั้งเดิม คือ เป็นวิหารทรงเตี้ย หลังคาซ้อนชั้น โครงสร้างหลักเป็นไม้ แต่ส่วนผนังฉาบด้วยปูน ด้านหน้าพระวิหารตกแต่งลวดลายสีทองอ่อนช้อยสวยงาม หน้าบันแบบม้าต่างไหม ซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์อันเก่าแก่ของสถาปัตยกรรมล้านนา

2. พระเจดีย์ประธานของวัด เป็นเจดีย์สีขาวย่อมุมทั้งองค์ บริเวณฐานมีรูปปั้นสิงห์แบบล้านนาเฝ้าอยู่ทั้งสี่มุม ส่วนยอดของพระเจดีย์ประดับด้วยกระจกสีเป็นลายเลขาคณิต บัลลังก์ยอดห่มแผ่นทองคำ ปลียอดหุ้มทองคำยกฉัตร
 










เดินผ่านวัดเจ็ดลิน





วัดฟ่อนสร้อย ไม่ได้แวะเข้าไปค่ะ



ตลาดประตูเชียงใหม่



ประตูเชียงใหม่





เจดีย์วัดเชียงของ





 ความเดิม 

วัดเชียงมั่น - วัดดวงดี
วัดพันเตา วัดเจดีย์หลวง วัดชัยพระเกียรติ
วัดทุงยู - วัดพระสิงห์
พักที่เอื้องล้านนา
Travel Hub Mae Chaem, วัดพุทธเอ้น
วัดกองกาน, นาขั้นบันไดบ้านกองกาน
วัดป่าแดด แม่แจ่ม
นาขั้นบันไดระหว่างทาง วัดพระธาตุศรีจอมทอง
วัดอุโมงค์, กอดเชียงใหม่, ม่อนแจ่ม
สวนส้มยอดดอย, เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน
Rainbow Rice บ้านซาง



Create Date : 17 ธันวาคม 2564
Last Update : 17 ธันวาคม 2564 20:49:29 น. 0 comments
Counter : 1473 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณปรศุราม, คุณสองแผ่นดิน, คุณทนายอ้วน, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณhaiku, คุณtoor36, คุณKavanich96, คุณหอมกร, คุณเนินน้ำ, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณกิ่งฟ้า, คุณThe Kop Civil, คุณเริงฤดีนะ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณmcayenne94, คุณชีริว, คุณtuk-tuk@korat, คุณกะว่าก๋า, คุณอุ้มสี, คุณ**mp5**, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณkatoy, คุณตะลีกีปัส, คุณlovereason, คุณkae+aoe, คุณคนเคยผ่านมหาสมุทร


สายหมอกและก้อนเมฆ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




เป็นคุณแม่ของ 1 ลูกสาว และ 1 ลูกชายค่ะ

เป็นแม่บ้านฟูลทาม อาชีพ ขสมก.
(แปลว่า...ขอสามีกิน อ่านเจอที่ไหนไม่รู้ ชอบค่ะ เลยยืมมาใช้หน่อย)

เมื่อไหร่ที่พอจะจัดสรรเวลาได้...
จะไปเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัวเสมอค่ะ...

โลกนี้แสนกว้างใหญ่ มีอะไรให้เราเรียนรู้อีกมากมาย พบเจออะไรดี ๆ ที่พอจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ไม่มากก็น้อย เลยเอามาแบ่งปันกัน

ลิขสิทธิ์...เป็นของบุคคลที่อยู่ในภาพ
ขอบคุณค่ะ

Friends' blogs
[Add สายหมอกและก้อนเมฆ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.