อาณาจักรของคนรักบ้าน รอบรู้เรื่องบ้าน - เคล็ด(ไม่)ลับ กับการแต่งบ้าน - คู่มือซื้อขายบ้าน
<<
มกราคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
14 มกราคม 2556

จัดห้องเก็บของให้ไม่รก

เทคนิคจัดห้องเก็บของให้ดูสวยงามเป็นระเบียบ  ป้องกันบ้านมิให้รกรุงรังหรือเป็นแหล่งของเหล่าสัตว์ไม่พึงประสงค์

การที่คุณจะเลือกห้องใดห้องหนึ่งมาจัดเป็นห้องเก็บของนั้น  ควรคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย  โดยคัดเลือกตามหลักการพิจารณาว่า  ตำแหน่งใดจะจัดวางสิ่งใดให้เป็นประโยชน์ และหยิบใช้สอยได้ง่ายที่สุด  ซึ่งใต้บันได, ใต้เตียง และบริเวณที่เป็นแแง่มุม  ก็มักถูกนำมาใช้ในแง่ของเนื้อที่ที่จัดวางให้สิ่งของเข้าที่อย่างมีระเบียบ

ห้องเก็บของโดยเฉพาะ เรามักเห็นห้องเก็บของแบบนี้ในบ้านที่มีขนาดใหญ่สักหน่อย หรือบ้านที่มีบริเวณ โดยเจ้าของบ้านและสถาปนิกมักจะเตรียม หรือแบ่งพื้นที่ของห้องเก็บของนี้ไว้ตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบเลยทีเดียว ห้องเก็บของแบบนี้ จะถูกออกแบบให้ใช้งานได้เต็มที่ และมีประโยชน์ใช้ สอยครบถ้วน อย่างไรก็ดี ห้องเก็บของแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่มาก หากไม่มีการเก็บของชิ้นใหญ่จริงๆ เนื่องจากประโยชน์ของห้องเก็บของ มักจะอยู่ที่ชั้นเก็บของที่ผนังมากกว่า ดังนั้น ห้องเก็บของที่มีขนาดประมาณ 3 คูณ 3 ตารางเมตร จำนวน 2 ห้อง มักจะมีประโยชน์กว่าห้องเก็บของ ขนาด 3 คูณ 6 ตารางเมตร เพียงห้องเดียว

ห้องเก็บของที่แฝงอยู่ตามโครงสร้างของอาคาร เช่น ห้องเก็บของที่อยู่ใต้บันได หรือห้องเก็บของซ่อนอยู่ในพื้นยกระดับของบ้านแบบญี่ปุ่นเป็นต้น ห้องเก็บของชนิดนี้ มักจะมีพื้นที่น้อยกว่าห้องเก็บของแบบแรก แต่หากได้รับการออกแบบอย่างดีแล้วจะมีพื้นที่ใช้สอยไม่แพ้กันเลยทีเดียว

ห้องเก็บของที่ซ่อนอยู่ในเฟอร์นิเจอร์ เฟอร์นิเจอร์ที่มีการออกแบบที่ดี มักจะมีการเตรียมพื้นที่สำหรับเก็บของไว้เป็นจำนวนมากพอสมควร และเฟอร์นิเจอร์บางชิ้น อาจจะถูกออกแบบมาเพื่อทำให้ห้องนอนธรรมดา กลายเป็นห้องนอนที่มีที่เก็บของที่สมบูรณ์เลยทีเดียว

ประเภทการจัดวางมี 2 ประเภท

การจัดวางชั้นโชว์และวางของใช้

วิธีนี้จะต้องคำนึงถึงประเภทของ ของที่วางให้สามารถมองเห็นได้ง่าย เรียกว่ามองเห็นของโชว์และของใช้ก็ได้ในขณะเดียวกัน เช่น ตู้มีลิ้นชักไว้เก็บของพร้อมทั้งวางของโชว์ของที่ใช้สอยได้ในเวลาจำ เป็นอาจจะวางโทรศัพท์ วางกล่องเย็บปักถักร้อย เป็นต้น  การจัดเก็บ รักษาอุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้

การเก็บของบางอย่างต้องเก็บรักษาให้ปลอดภัยไว้ก่อนที่จะเกิดอันตรายขึ้นแก่คนและสัตว์ และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยที่สามารถหยิบฉววยใช้งานได้สะดวกในทันใด

การจัดวางและติดตั้งอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ

ในแต่ละห้องจะมีการออกแบบ ซึ่งจำแนกได้ดังนี้

การติดตั้งชั้นวางของ

ชั้นวางของเป็นสิ่งที่สามารถติดตั้งได้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการอันเหมาะสมของผู้ใช้สอย ตั้งแต่การทำชั้นติดผนัง บริเวณช่องว่างเหนือศรีษะ และบริเวณอื่น ๆ ที่มีที่ว่างพอเพียง หลักการพิจารราติดตั้งชั้นวางของในบริเวณที่มีเนือที่จำกัดอาจใช้วิธีการติด ตั้งแบบ BUILT = IN คือการติดตั้งกับผนังจะเหมาะสมกว่าการวางบนพื้นแบบอิสระ

ชั้นแบบกล่องแยกชิ้นได้ระบบโมดูลา

การใช้ประโยชน์บริเวณเนื้อที่ ที่อยู่ใต้บันได หรือห้องทำงานก็สามารถเลือกใช้อุปกรณ์เก็บของ ที่มีลักษณะเป็นกล่องหรือเป็นบล็อค ๆ ที่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งเรียกว่า " คิวคิท " หรือ " ลูกบาศก์ " จะมีขนาดกว้างยาวประมาณ 15 นิ้ว

ช่องเก็บของแบบนี้ สะดวกต่อการติดตั้ง และสามารถติดตั้งได้ ตั้งแต่พื้นจรดเพดาน หรือแม้แต่ช่องว่างใต้บันไดก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีก เช่น เป็นฉนวนกันความร้อน หรือกันเสียงรบกวนได้อีกด้วย

คุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งคือ สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความเหมาะสม จะสังเกตได้ว่าการใช้เก็บของแบบนี้ จะมีเนื้อที่ใช้สอยประโยชน์ได้แทบทุกด้านของกล่อง

นอกจากนี้  เราสามารถใช้ หลักการเดียวกันนี้กับวัสดุอื่น ๆ ได้ เช่น วางหนังสือ ตะกร้าสาน หรือใช้เก็บของพวกของเล่นในห้องนอน

ห้องเก็บของที่ดี  ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

-  ขนาดเหมาะสมกับบ้าน คือประมาณ 3-5% ของพื้นที่บ้าน เช่นบ้านที่มีขนาด 100 ตารางเมตร ควรมีห้องเก็บของขนาดประมาณ 3-5 ตารางเมตร ซึ่งหากไม่มี พื้นที่ขนาดดังกล่าว ก็สามารถแยกออกเป็น 2 หรือ 3 ห้องก็ได้

-  อยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ควรจะลึกลับซับซ้อนมาก รวมทั้งทางเข้าออก หน้าห้องเก็บของควรจะโล่ง ไม่มีของวางเกะกะ เพื่อให้การนำของเข้าไปเก็บและนำออกมา ทำได้โดยง่าย

-  มีแสงสว่างที่พอเหมาะ บ่อยครั้งที่เรามักจะจัดห้องเก็บของให้เป็นห้องที่แย่ที่สุดของบ้าน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ห้องเก็บของไม่จำเป็นต้องมีหน้าต่าง เพื่อชมทิวทัศน์รอบข้าง หรือบรรยากาศที่ดีก็ได้ แต่จำเป็นต้องมีแสงสว่างที่ส่องทั่วถึง เพื่อให้การจัดเก็บและหยิบของ สามารถทำได้โดยง่าย ห้องเก็บของที่มีแสงสว่างที่น้อยเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัว ผู้เข้าไปใช้ห้องเก็บของก็ได้ เนื่องจากห้องเก็บของมักมีการเก็บของมีคม เช่น กรรไกรตัดหญ้าหรือเครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมแซมบ้าน เช่น ค้อน เลื่อย เป็นต้น ซึ่งหากเรามองไม่เห็นว่ามีอะไรอยู่ในห้องนั้นบ้างเพราะแสงสว่างน้อยเกินไป หรือส่องไปไม่ถึง อาจทำให้เราเกิดอันตรายได้

-  ระบบการจัดเก็บที่ดี ห้องเก็บของที่ดีควรมีการจัดทำเป็นชั้นๆ เพื่อจัดวางของ และมีการแบ่งพื้นที่เก็บของเป็นสัดส่วน เช่น ของหรือเครื่องมือที่ใช้ในสวน ควรอยู่ด้านซ้าย และของที่ใช้ในบ้านควรอยู่ด้านขวา ส่วนตรงกลางใช้เก็บของ ประดับทั่วไป ที่ยังไม่ได้ใช้ เป็นต้น นอกจากนี้ ของที่มีน้ำหนักมาก หรือชิ้นใหญ่ ควรจะอยู่ด้านล่าง ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เพื่อป้องกันมิให้ของเหล่านั้น ตกหล่นลงมาทับผู้ที่เข้าไปใช้ห้องเก็บของ รวมทั้งของที่มีขนาดเล็กควรมีการ รวบรวมให้อยู่ในกล่องเดียวกัน และมีการระบุที่หน้ากล่องว่าเป็นของประเภทใดบ้าง จะทำให้การค้นหาและการหยิบมาใช้เป็นไปได้อย่างสะดวก และปลอดภัยยิ่งขึ้น

ขอของคุณ
ไทยโฮมออนไลน์



Create Date : 14 มกราคม 2556
Last Update : 14 มกราคม 2556 10:06:34 น. 0 comments
Counter : 1694 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mobikiss
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add Mobikiss's blog to your web]