Mr.Talon
<<
กันยายน 2560
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
6 กันยายน 2560

ชาเมี่ยงอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ สร้างรายได้คนท้องถิ่น




ป็นยามเช้าที่ท้องฟ้าแจ่มใสระหว่างสองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยที่ขึ้นปกคลุมเขียวขจี ผมรู้สึกตื่นเต้นเล็กน้อยระหว่างการเดินทางด้วยรถกระบะมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" กับฝ่ายจัดการความรู้และสื่อสารสังคม ร่วมกับฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ลงพื้นที่เยี่ยมชมป่าต้นน้ำ และการอนุรักษ์ป่าชาอัสสัม หรือชาเมี่ยง ที่ปลูกแซมป่าในพื้นที่ต.มะลิกา อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
ซึ่งฝ่ายเกษตรสกว.เล็งเห็นว่า "ชาอัสสัม" หรือชาวบ้านเรียกว่า "ชาเมี่ยง" เป็นพืชที่สามารถสร้างเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน และรักษาป่าต้นน้ำ จึงได้สนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวกับชาเมี่ยงมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบันได้สนับสนุนโครงการ "การพัฒนากระบวนการผลิตเมี่ยงปลอดภัย" เพื่ออนุรักษ์ และส่งเสริมเกษตรกรที่ผลิตเมี่ยงทั่วประเทศประมาณ 3,235 ครอบครัว
นอกจากนี้ การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลยั่งยืน ยังถือเป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาล โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ ทั้งทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงกับการพัฒนาเพื่อความสุขที่เกิดจาก ความสมดุล ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี สามารถพึ่งตนเองชุมชนสามารถบริหารจัดการใช้ประโยชน์จากทุนต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมีดุลยภาพ

หลังจากเดินทางด้วยรถกระบะเข้ามาในบริเวณป่าต้นน้ำระยะหนึ่งจากนั้นผมจึงเดินเท้าพร้อมคณะที่มาด้วยกันเข้าไปที่บริเวณป่าชาเมี่ยงภาพที่เห็นชาวบ้านกำลังเก็บใบชาเมี่ยงอย่างขะมักเขม้น เพื่อแข่งกับเวลาที่กำลังหมุนเร็ว เนื่องจากชาวบ้านจะเก็บใบชาเมี่ยงกันในช่วงเช้าๆประมาณเที่ยงๆก็จะเลิกและนำใบชาเมี่ยงไปขายที่โรงงานรับซื้อในพื้นที่อ.แม่อาย
"ดร.สายลม สัมพันธ์เวชโสภา"  อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่รับทุนจากสกว.และเป็นหัวหน้าคณะการทำวิจัยในประเด็น "การพัฒนากระบวนการผลิตเมี่ยงปลอดภัย" เพื่ออนุรักษ์ และส่งเสริมเกษตรกรที่ผลิตเมี่ยง" และร่วมเดินทางมาด้วยบอกว่า ใบชาที่ชาวบ้านกำลังเก็บอยู่ คือ "ชาอัสสัม" ที่นำไปทำ"เมี่ยง" เป็นอาหารท้องถิ่นภาคเหนือนานกว่า 100 ปี"เมี่ยง" เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือหมายถึง "ใบชาหมัก"  และหากจะนำไปทำ "ชา" ชาวบ้านก็จะเก็บยอดอ่อนๆ แต่ถ้านำไปทำ "เมี่ยง" ก็จะเก็บใบที่แก่ขึ้นนิดนึงไม่ถึงกับ

แก่มาก ซึ่งข้อดีของต้นชาอัสสัม คือไม่ต้องดูแล ไม่ต้องใส่ปุ๋ย ปล่อยตามธรรมชาติ ต้นชาเหล่านี้ก็สามารถเจริญงอกงามอยู่ได้ ที่สำคัญชาวบ้านที่เก็บใบชาจะใช้ใบมีดโกรนทำเป็นแหวนใส่นิ้วเพื่อง่ายต่อการทำงาน แล้วตัดใบชาครึ่งใบ หรือเก็บแค่ครึ่งใบ ไม่เก็บทั้งใบเพื่อให้ต้นชาสามารถเจริญงอกงามอยู่ต่อไปได้ และวันหน้าจะได้มีใบชาไว้ให้เก็บอีก
"การเก็บใบชาจะเก็บในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม ชาวบ้านก็จะหยุดเก็บเพื่อให้ต้นชาหยุดพักพอเดือนพฤษาคมก็จะเริ่มเก็บใหม่โดยใบชาที่เก็บระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม จะเรียกว่าเมี่ยงหัวปลี เนื่องจากใบชาช่วงนี้จะอ่อนมาก ก็จะนำไปทำเมี่ยงฝาด" ดร.สายลม กล่าว
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" "ชาอัสสัม" นอกจากเป็นทรัพยากรธรรมชาติในการอนุรักษ์ดินป่าต้นน้ำยับยั้งการพังทลายของดินที่สำคัญของภาคเหนือแล้ว ยังช่วยสร้างรายได้ให้ท้องถิ่น ชาวบ้านในชุมชนมีงานทำ มีอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่สืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลานอีกด้วย...
                                "นายตะลอน"



Create Date : 06 กันยายน 2560
Last Update : 6 กันยายน 2560 21:51:27 น. 0 comments
Counter : 2184 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตะลอน ตามอำเภอใจ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ตะลอน ตามอำเภอใจ's blog to your web]