วันวานในสยาม...ยามนั้นและยามนี้

InSiam : From Time to Time



Group Blog
 
All blogs
 
จิตรกรรมฝาผนัง มรดกแผ่นดินสยาม

เรียบเรียงโดย รักสยาม หนังสือเก่า
//www.lovesiamoldbook.com


“งานศิลปะจิตรกรรมระดับเขียนประดับบนฝาผนังของพุทธสถานของไทย จำเป็นจะต้องใช้ช่าง หรือนายช่างจิตรกรที่ผ่านมาฝึกฝนมาอย่างจัดเจนแล้วเท่านั้น ด้วยงานจิตรกรรมฝาผนัง (Mural Painting) เป็นงานที่ใช้เนื้อที่ของฝาผนังอย่างใหญ่โตมโหฬาร โดยเฉพาะภาพระดับครูคือต้องใช้ฝีมือครูช่างโดยแท้ เช่นภาพมารผจญ ภาพเทพชุมนุม ภาพทวารบาล และภาพปางสำคัญต่างๆ ในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา หรือทศชาติชาดกนั้น ถือเป็นระเบียบเลยทีเดียวว่าต้องใช้ฝีมือครูโดยแท้ หาปล่อยให้ศิษย์ทำงานกันเองไม่”


****จาก น. ณ ปากน้ำ จิตรกรรมฝาผนังหนึ่งในสยาม*****


              จิตกรรมฝาผนังไทย ของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ ถือว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าชุดหนึ่ง ที่ได้รวบรวมเรื่องราว พร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังไทยในยุคต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ หนังสือแต่ละเล่มจะนำพาผู้อ่านสู่การค้นพบเรื่องราวต่าง ๆ มากมายจากภาพจิตรกรรมไทย ทั้งเทคนิควิธีการและลักษณะเฉพาะของภาพจิตรกรรมไทยในยุคต่าง ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ



                การศึกษาและได้เรียนอดีตจากจิตรกรรมฝาผนังไทย เปรียบเสมือนเป็น กุญแจไขสู่ ประวัติศาสตร์ โดยไม่ต้องใช้ คำบรรยายใดๆ เลย นอกจากนี้เทคนิคการวาดภาพ ก็เป็นศาสตร์ อีกแขนงหนึ่ที่คนทั่วไป โดยเฉพาะจิตรกรในปัจจุบัน ไม่ควรมองข้าม เพราะจิตรกรรม ฝาผนัง เหล่านี้ เป็นเสมือนตำรา ที่สามารถค้นคว้าได้ อย่างไม่มีวันสิ้นสุด


                ความงดงามของลวดลายเส้น สีสัน หรือแม้แต่องค์ประกอบ ในการจัดวางภาพแต่ละภาพ ล้วนถ่ายทอดมาจาก ฝีมือของจิตรกรชั้นครูทั้งสิ้น ปัจจุบันความงดงามเหล่านี้ กำลังเสื่อมสลาย ไปตามกาลเวลา อีกไม่นาน ชนรุ่นหลัง คงได้ศึกษา ภาพจิตรกรรมเหล่านี้ ได้จากหนังสือเท่านั้น 



                 ผลงานจิตรกรรมฝาผนังไทย ของเมืองโบราณชุดนี้ ปัจจุบันจัดเป็นหนังสือหายากไม่ค่อยมีให้เห็นในตลาดหนังสือเก่า เนื่องจากได้พิมพ์มาเป็นเวลานานแล้ว อีกทั้งผลงานแต่ละเล่มอยู่ในช่วงเวลาที่ ปราชญ์ศิลปิน ที่รู้จักในนาม    น. ณ ปากน้ำ  ศิลปินแห่งชาติ ได้เป็นผู้ถ่ายทอดความงดงามและคำบรรยายประกอบทุกเล่ม 



                หนังสือชุดนี้ให้ความรู้เบื้องต้นที่ดี โดยบอกเทคนิคการวาดภาพฝาผนัง บอกแบบการเขียนภาพเหล่านี้ และเล่าถึงพัฒนาการของภาพเขียนในแต่ละยุคสมัย  อีกทั้งผู้เขียนเล่าความรู้เรื่องภาพเขียนฝาผนังของไทยโดยสังเขป แล้วยกภาพงดงามต่างๆ พร้อมบทบรรยายภาพ ที่ชวนให้เราเห็นชีวิตชีวาในภาพเหล่านั้น บอกการจัดวางภาพและการใช้สี ความงดงามและอ่อนช้อยในภาพได้อย่างน่าทึ่ง



ขอคัดบางบทบางตอนของหนังสือกล่าวว่า


"งานศิลปะจิตรกรรมระดับเขียนประดับฝาผนังของพุทธสถานของไทยจำเป็นจะต้องใช้ช่าง หรือนายช่างจิตรกรที่ผ่านการฝึกฝนมาอย่างจัดเจนแล้วเท่านั้น ด้วยงานจิตรกรรมฝาผนัง (Mural Painting) เป็นงานที่ใช้เนื้อที่ของผนังอย่างใหญ่โตมโหฬาร โดยเฉพาะภาพระดับครูคือต้องใช้ฝีมือครูช่างโดยแท้"



นอกจากนั้น ยังได้เล่าถึงครูเขียนภาพคนดังเช่น ครูคงแป๊ะ และครูทองอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ชื่อของสองท่านนี้คงว่างเปล่าสำหรับคนอ่าน แต่เมื่อได้อ่าน ท่องทศชาติผ่านจิตรกรรม แล้วก็ทำให้ยินดี ว่าได้ยินชื่อของผู้คนที่เคยได้ยินมาก่อน และได้เห็นฝีมือนักเขียนชั้นครูของท่านทั้งสองได้น่าชื่นใจ (ยามที่เราท่องไปในดินแดนที่ไม่รู้จัก สิ่งเล็กน้อยที่ทำให้สำเหนียกว่าคุ้นเคยมาก่อน ย่อมเป็นความอุ่นใจอย่างยิ่ง) ในเล่มได้แสดงฝีมือวาดของจิตรกรเอกชั้นครู คือ ครูคงแป๊ะ ซึ่ง "ขึ้นชื่อลือชาในการเขียนภาพผู้คนจำนวนมาก มีท่าทางลูกเล่นแพรวพราวหาคนเทียบได้ยาก" และ ครูทองอยู่ ที่ "เขียนภาพวิมาน ขบวนราชรถอันโอ่อ่าได้สง่างามโอฬารวิเศษยิ่งหาคนเทียบไม่ได้"


อ่านอย่างนี้แล้วน่าจะทำให้ผู้อ่านอยากไปชมฝีมือครูทั้งสองท่าน ซึ่ง "ทั้งคู่เคยเขียนชาดกตอนถนัดของตนเช่นนี้ อันเคยมีปรากฏที่ผนังพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามมาแล้ว (พระอุโบสถที่มีภาพเขียนลือชื่อนี้ ต่อมาไฟไหม้เสียหายหมด ปัจจุบันเป็นภาพเขียนของฝีมือช่างในสมัยรัชการที่ ๖)" แต่ผู้เขียนบอกว่าเรายังสามารถชมภาพชั้นครูของทั้งสองได้จาก "อุโบสถวัดบางยี่ขัน กับวัดดาวดึงษาราม อีกเป็นต้น"



น่าแปลกใจว่าอ่านหนังสือชุดนี้แล้วอยากไปวัดที่มีงานเขียนสวยๆ ด้วยอยากชมภาพเหล่านี้ด้วยตา หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่เตือนใจว่าการอ่านนั้นเป็นความรื่นรมย์และสนุกสนานเพียงใด เป็นความรู้ที่งอกงามเติบโตจากเรื่องนี้ไปเรื่องนั้น และต่อๆ กันไปไม่รู้จบสิ้น จากแรงบันดาลใจหนึ่งไปสู่อีกแรงบันดาลใจหนึ่ง  การชมภาพงดงามโดยมีผู้รู้มาบอกเล่าให้ฟังนั้น นับเป็นสิ่งที่หาค่ามิได้  โปรดติตามผลงานจิตรกรรมฝาผนังไทย ที่ร้านรักสยามหนังสือจะนำมาให้ทุกท่านได้เป็นเจ้า ของเพื่อร่วมชื่นชมความงามและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเรา



ประวัติ ผู้เขียน น. ณ ปากน้ำ (๒๔๗๑-๒๕๔๔) นามปากกาของ ประยูร อุลุชาฎะ เกิดที่สมุทรปราการ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนงานวิจารณ์ศิลปะใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ชาวกรุง ใช้นามปากกา น. ณ ปากน้ำ เขียนเรื่องศิลปะวรรณคดี และนามปากกา พลูหลวง เพื่อเขียนเรื่องโหราศาสตร์ ได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕






Free TextEditor


Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2554 21:47:52 น. 5 comments
Counter : 7256 Pageviews.

 
ดีมาก


โดย: ann IP: 118.174.189.148 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:17:58:27 น.  

 
สวยมากค่ะ


โดย: ตัวเล็ก IP: 1.46.66.237 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:20:19 น.  

 
สวยมากเลยค่ะ


โดย: หมูบิน IP: 27.130.124.196 วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:21:38:55 น.  

 
ทำไมถึงสวยขนาดนี้ฟ้ะ


โดย: สาระไม่มี ปากดีไปวันๆ IP: 101.109.154.196 วันที่: 14 มกราคม 2555 เวลา:13:32:05 น.  

 
ได้ประโยชน์มากครับ


โดย: อภิชาติ IP: 183.89.104.151 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:10:56:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nuttavong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Blog รักสยาม : เกิดขึ้นจากผู้เขียนเป็นนักอ่านและมีความหลงไหลในเสน่ห์ของหนังสือเก่า ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาในอดีตตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษของเรา ที่ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ผ่านตัวอักษร และทุก ๆ ตัวอักษรได้บอกเล่าเรื่องราวของสยามบ้านเมืองของเราเมื่อครั้งอดีต และมีความเชื่อว่า "อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน" หนังสือเก่าจึงเต็มไปด้วยคุณค่าและความหมายแตกต่างกันไป เมื่อเกิดชำรุดเสียหายมีหลายคนไม่เห็นคุณค่าปล่อยให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลาเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากปล่อยให้เป็นอย่างนั้น ลูกหลานของเราในวันข้างหน้าอาจลืมเลือนความเป็นชาติของเรา และอาจหลงลืมความดีงามของบรรพบุรุษที่ได้สร้างรากฐานที่มั่นคงไว้

ผู้เขียนยอมรับว่าการเขียนบทความ ณ ที่นี้ได้เรียบเรียงจากหนังสือเก่าอันทรงคุณค่าหลายเล่ม ด้วยภูมิรู้ของตนเองเท่าที่มีอยู่น้อยนิด หากผิดพลาดประการใด
ผู้เขียนขอน้อมรับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ทั้งหลายด้วยความยินดี และหากท่านจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอดความรู้ก็จะเป็นประโยชน์สืบต่อไปในภายหน้า
Friends' blogs
[Add nuttavong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.