...ส บ า ย ๆ ส ไ ต ล์ มื อ ไ ม่ PRO แ ถ ม ยั ง... LOWFESSIONAL ...

<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
18 สิงหาคม 2550
 

ไอ้ปากบิ่น...! (ขออภัย...เป็นชื่อเฉพาะ ที่อาจไม่สุภาพเล็กน้อย)


|"ลุงไม้..."|123it.co.nr|เรื่องทั้งหมด|เรื่องที่แล้ว |เรื่องต่อไป|

ต้องขออภัยอีกทีครับ แต่ผมเรียกอย่างนั้นจริงๆ เพราะอยู่กันมาด้วยความคุ้นเคย เกินกว่า 5 ปีไปโน่นแล้ว!



นั่นไงครับ ไอ้ปากบิ่นที่ผมพูดถึง จำไม่ได้เหมือนกัน ว่าเอาไปไขอะไรมา ถึงได้บิ่นไปซะเสี้ยวนึง แต่ก็กลับเป็นการเพิ่มความสามารถไปอีกส่วนหนึ่งซะนี่ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง...

จากบล็อกก่อนหน้านี้ มีเพื่อนสมาชิกท่านนึงชวนให้นึกถึงไอ้ปากบิ่น เลยขอรวบรวมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาฝากกันเหมือนเคย ตามประสาคนชอบเขียนชอบเล่าครับ อันที่จริง เรื่องที่หยิบยกมาในวันนี้ คือเรื่อง "ไขควงเทสต์ไฟ" นั่นเองครับ จั่วหัวให้ชวนสงสัยไปหยั่งงั้นเอง

คนที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างเราๆท่านๆ ไม่ว่าคิดจะซ่อม หรือไม่คิดจะซ่อม ผมว่า มาทำความรู้จัก และซื้อติดบ้านติดโต๊ะไว้สักตัวก็ดี ผมเอง ในฐานะที่ต้องดูแลเครื่องคอม ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน พ่วงไปถึงการดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เลยต้องพกติดกระเป๋าเสื้อแทนปากกาไปเลย

การใช้งาน
หน้าที่หลักๆของไขควงเทสต์ไฟก็คือ การเอาไว้ตรวจสอบสายไฟ ปลั๊กไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ว่า ณ จุดที่เราเอาปลายไขควงเทสต์ไฟเข้าไปแตะนั้น มีไฟฟ้าอยู่หรือเปล่า

หากมีไฟฟ้าอยู่ ก็จะส่งแสงเรืองๆอยู่ภายในไขควงให้ได้เห็นทันที โดยมีข้อแม้ว่า มือต้องจับให้ถูกกับส่วนที่เป็นโลหะด้านบน เช่น ฝาจุกโลหะ หรือโลหะที่ใช้เหน็บกระเป๋าเสื้อ และที่สำคัญ เท้าต้องสัมผัสพื้น อาจจะสวมถุงเท้า หรือรองเท้าแตะที่เป็นผ้าก็ยังได้

กระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่ปลายไขควงแตะ ผ่านอุปกรณ์ลดแรงดันไฟฟ้าที่เรียกว่า Resister ผ่านหลอด Neon แล้วไหลผ่านตัวเรา วิ่งลงไปยังพื้น เป็นการครบวงจร ทำให้หลอด Neon เรืองแสงขึ้นมาได้ เหตุที่เราไม่ได้รับอันตราย ทั้งๆที่มีกระแสไฟไหลผ่านตัวเรา ก็เพราะมันถูกลดแรงดันลงมาแล้วอย่างมากนั่นเอง

ระวังว่า หากสวมรองเท้าหนังพื้นหนาๆ หรือยืนอยู่บนพื้นไม้ นั่งห้อยขาบนเก้าอี้ เหล่านี้ เวลาเทสต์ไฟ ไฟฟ้าจะไม่ครบวงจร ทำให้ไขควงไม่เรืองแสงออกมา แต่จริงๆแล้ว จุดที่เราจี้ลงไปอาจจะมีไฟอยู่ก็ได้ อันนี้ต้องระวังให้ดีนะครับ (โดนมานักต่อนักแล้ว) หรือเผลอเรอ จับไขควงโดยที่มือไม่สัมผัสโลหะบนตัวไขควงเลย ไฟฟ้าก็ไม่ครบวงจรเช่นกัน

คำว่า "ส่วนโลหะ" ที่บอก เน้นว่า ไม่ใช่ส่วนปลายของไขควงนะครับ ส่วนนั้นห้ามโดนเด็ดขาด โดนไฟดูดแน่ๆ จะเห็นว่า เขาได้หุ้มพลาสติคเอาไว้ส่วนหนึ่งด้วยแล้ว

ส่วนหน้าที่รองลงมา (แต่บางทีก็ได้ใช้แบบนี้มากกว่า) ก็คือการนำไปไขน้อต ไขสกรูต่างๆ ซึ่งถ้าเป็นกับเครื่องคอมละก็ ไขได้แทบทุกส่วนเลยละ นอกจากนั้นก็ยังเข้ากันได้ดีกับน็อตของสเตอริโอ วิทยุ โทรทัศน์ พัดลม เตารีด ตู้เย็น ลามไปถึงรถมอเตอร์ไซค์ รถเก๋ง รถกะบะ ฯลฯ จะเห็นว่าสาระพัดจริงๆ

ส่วนความเป็นมาที่ "ไอ้ปากบิ่น" ยังอยู่กับผมได้ ทั้งๆที่ปากบิ่นขนาดนั้น ก็เพราะว่า ด้วยขนาดที่บิ่นออกไปเล็กน้อยนี่เอง ทำให้สามารถนำไปไขได้กับ น็อตของโทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นMP3 กล้องดิจิตอล แฟลชไดรฟ์ นาฬิกาปลุก นาฬิกาแขวน ซีดีรอม ตลัปเทปคาสเซ็ต ฯลฯ แหม...ได้อีกสาระพัดจริงๆครับท่าน

ส่วนประกอบ
มาล้วงลึกกันสักนิด จะได้รู้จักกันมากขึ้น

เมื่อหมุนฝาจุกโลหะด้านบนออกมา ก็จะสามารถเทของภายในออกมาวางเรียงกันได้ดังรูปบน แกนไขควงที่เป็นโลหะนั้น นับจากส่วนปลายยาวเข้าไปโผล่ภายในส่วนด้ามเล็กน้อย จะไปสัมผัสกับด้านล่างของกระบอกพลาสติคใสๆ โดยจะไปโดนขาด้านล่างของตัว Resister ที่โผล่ออกมา ขาอีกด้านหนึ่งของตัว Resister ก็จะต่อเข้ากับหลอด Neon และขาของหลอด Neon อีกด้านหนึ่งก็จะมาโผล่ที่ด้านบนของกระบอกพลาสติค เพื่อไปสัมผัสกับสปริงตัวขาวๆ เพื่อมา "ยัน" สัมผัสกับฝาจุกโลหะ ที่จะต้องหมุนปิดฝาลงไป โดยจะต้องสวมปลอกโลหะ ที่ใช้หนีบกระเป๋าเสื้อลงไปก่อน

ไขควงเทสต์ไฟแบบอื่น
ไขควงที่นิยมใช้กันอีกแบบหนึ่ง ที่นักเรียนปวช.หรือปวส.อิเล็คโทรนิคส์มักมีกันทุกคน ก็คือไขควงชุดที่บรรจุอยู่ในซองพลาสติค มีปลายที่หมุนเปลี่ยนได้ 5-6 อัน แต่ของผมหายหมด เหลือปลายเดียวติดตัวดังรูป ภายในด้ามจับก็มีตัว Resister และหลอด Neon เหมือนไอ้ปากบิ่นนั่นละ

ดูจากสภาพ คงจะพอเดาได้ว่าสมบุกสมบัน มากับเจ้าของขนาดใหน แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ดี โดยส่วนมากจะรับงานที่ เกินความสามารถของไอ้ปากบิ่นมานั่นเอง อันนี้เหมาะมากกับงานซ่อมแซมรอบๆบ้าน เช่น ท่อประปา มาตรวัดน้ำ ฝาครอบคอมแอร์นอกบ้าน ลูกบิดประตู รวมทั้งปลั๊กไฟ แผงฟิวส์ คัทเอ๊าท์

แต่ต้องขอคอมเม้นท์ว่า ไขควงแบบหลังนี่ หากจะใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จะค่อนข้างเหมาะกับผู้ที่เป็นช่างตัวจริงเท่านั้น เพราะตั้งแต่ส่วนปลายจนถึงส่วนด้ามจับ มักจะไม่มียางหรือพลาสติค สำหรับกันมือไปสัมผัสมาให้ ซึ่งส่วนนั้นมันก็ยาวมาก ทำให้พลาดไปโดนได้ง่ายๆเหมือนกัน ถึงแม้แต่ช่างตัวจริงก็เถอะ พลาดโดนมาบ่อยๆเหมือนกัน

ก็อย่างที่เคยบอกไว้นั่นละ หากใครยังไม่มีใช้ ก็ควรจะหาติดตัวไว้สักอัน ตามตลาดนัดก็พอใช้ได้ ตัวละประมาณ 20 บาท แต่แบบนั้นปลายจะไม่แข็งแรงนัก ซึ่งถ้าใช้งานกับการเปิดเคสคอม หรือไขน็อตการ์ดจอ อย่างนี้สบายๆ

ทีนี้เวลาจะต้องไปรื้อคอมที่บ้านใคร ก็เอาไขควงมาแตะๆส่วนที่เป็นโลหะดูสักหน่อย ถึงแม้ว่าไฟที่ดูดจากคอม จะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็จะได้ไม่ต้องหน้าแตก เพราะการสะดุ้งตัวโก่ง หรือบางที อาจตกอกตกใจ จนปัดแก้วกาแฟร่วงโต๊ะ(มาแล้ว)

น่าจะอยู่ด้วยกันได้อีกนานครับ กับไอ้ปากบิ่นคู่ยากอันนี้ สวัสดีก่อนครับผม


Create Date : 18 สิงหาคม 2550
Last Update : 29 สิงหาคม 2550 21:45:18 น. 6 comments
Counter : 2789 Pageviews.  
 
 
 
 
แจ่มไปเลยครับ ผมเองก็เคยเทสแบบจิ้มเข้าไปในปลั๊กไฟเลยอะครับ
เสียว ๆ อยู่เหมือนกันแต่ก็ปลอดภัยดีครับ (รู้เลยว่ามีไฟ) อิอิ
 
 

โดย: ใสซื่อดื้อตาใส วันที่: 19 สิงหาคม 2550 เวลา:23:31:20 น.  

 
 
 
เราก็กลัวไฟจะดูดหาผ้ามาพันด้ามก่อนจะเสียบซะอีก ฮ่าๆ
 
 

โดย: vince_utd@hotmail.com IP: 125.25.225.209 วันที่: 20 สิงหาคม 2550 เวลา:10:17:45 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ ได้ความรู้ดีจังเลย
สงสัยว่า ... ทำไมพวกอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่นคอมพิวเตอร์
มันถึงได้มีไฟรั่วตลอดเลยล่ะ แก้ไขได้ไหมครับ
 
 

โดย: สะเทื้อน วันที่: 25 สิงหาคม 2550 เวลา:19:11:17 น.  

 
 
 
แนะนำลิ้งก์ที่มีประโยชน์เพิ่มเติมครับผม

//www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=42746

เดี๋ยวจะค้นมาเพิ่มอีกนะครับ
 
 

โดย: mitrapap วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:12:42:33 น.  

 
 
 
//www.expert2you.com/view_article.php?art_id=1193

เอาไปดูในเครื่อง
//www.pea.co.th/pean1/chiangmai/3line.pdf

เข้าดูในเว็บ
//www.mea.or.th/apd/4/main.htm

//www.pea.co.th/peane2/ground.htm

เรื่องเล็กๆแต่เรื่องเยอะเหมือนกันนะครับนี่ ผมหาเหตุผลเกี่ยวกะเครื่องคอมทำไมต้องไฟดูด ยังหาไม่เจอครับ ไว้เจอเมื่อไรจะนำมาฝากกันอีกที

วิธีแก้คอมไฟดูดก็คือ หากไม่สามารถต่อสายดินได้ ก็ให้ต่อจากเคส ไปมัดกับโครงมุ้งลวด โครงเหล็กดัด หรือโครงประตูหน้า่ต่างที่เป็นโลหะก็ได้ครับ แต่พวกที่ว่าจะต้องมีการยึดน็อต สกรู หรือตีตะปูคอนกรีตลงปูนด้วยนะครับ หรืออาจจะตอกตะปูคอนกรีตลงบนพื้นปูนแถวๆมุมห้อง ก็ใช้แทนจุดกราวด์ได้เหมือนกัน ทั้งที่ทำงานและที่บ้านผมก็ไม่ได้ใช้กราวด์จริงหรอกครับ กราวด์มุมห้องทั้งนั้น
 
 

โดย: Mitrapap IP: 61.7.140.203 วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:13:23:21 น.  

 
 
 
เรื่องสวิทชิ่งเพาเวอร์ซพพลาย แบบเน้นๆครับ ขอขอบคุณผู้จัดทำมา ณ ที่นี้ด้วยครับผม

//www.cpe.ku.ac.th/~yuen/204471/power/switching_regulator/
 
 

โดย: Mitrapap IP: 125.27.220.220 วันที่: 28 สิงหาคม 2550 เวลา:13:47:35 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

mitrapap
 
Location :
สระบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




Free Domain Names @ .co.nr!
[Add mitrapap's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com