พฤษภาคม 2559

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
 
 
27 พฤษภาคม 2559
All Blog
กายกรรม



บทความ

เรื่อง กายกรรม

จุดกำเนิดการก่อเกิดแห่งกรรมคือ กรรมทางความคิด (มโนกรรม) กรรมทางจิตใจ ที่มักจะนึกโกรธแค้น ชิงชัง อาฆาตพยาบาท อยากเอาชนะ ฯลฯ ล้วนเป็นเหตุแห่งการทำกรรมต่างๆ ตามมา ทั้งกรรมทางวาจาการด่าทอ ด่าว่า ใส่ร้าย สาปแช่ง พูดจาส่อเสียด พูดเอาดีเข้าตัวเอาชั่วให้คนอื่น ฯลฯและ กรรมทางกายกรรม คือ กรรมที่เกิดจากการกระทำ เช่น ปล้น ฆ่า ตี ทำร้ายร่างกายการเบียดเบียนเอาชีวิตสัตว์ มนุษย์ ด้วยกันเอง ฯลฯซึ้งล้วนต่างเกิดจากการกรรมที่เริ่มต้นมาจากความคิด จิตใจ ทั้งสิ้นแล้วส่งผลต่อการกระทำต่างๆ ตามมา

* กายกรรม (กาย-ยะ-กำ) ในคำวัดหมายถึงการกระทำทางกายคือทำกรรมด้วยกาย ไม่ว่าจะทำกรรมชั่วหรือกรรมดี จัดเป็นกายกรรมเหมือนกัน

* กายกรรมทางชั่ว มี 3 อย่าง คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายทุจริต แปลว่า ประพฤติชั่วทางกาย

* กายกรรมทางดี มี 3 อย่างคือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ไม่ประพฤติผิดในกาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายสุจริต แปลว่า ประพฤติชอบทางกาย

กายกรรมกรรมชั่ว กรรมไม่ดี ที่ได้ก่อเกิดมานี้ ส่งผลบาป ต่างกัน หากว่าผู้ที่กระทำผิดนั้นเป็นการฆ่า เบียดเบียนเพื่อเอาชีวิตผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ หรือ สัตว์ย่อมกระทำผิดศีลข้อ ปาณาจิปาตาเวรมณีสิกขาประทังสมาทิยามิศีลข้อนี้นั้นยังจะรวมถึงการทำร้ายร่างกาย ทารุณกรรม ฯลฯ ไม่ว่าจะจงใจหรือไม่ก็ตามล้วนส่งผลต่อผู้กระทำกรรมทางด้านนี้อย่างร้ายแรงผู้ใดที่ได้กระทำกรรมข้อปาณา(เบญจศีลข้อที่1 ว่าด้วยการเบียดเบียนเอาชีวิตสัตว์) หรือ ทำกรรม ด้วย กายกรรมนั้นต้องหมั่นทำบุญและหยุด ละ เลิก กรรมไม่ดีทั้งปวง ให้เริ่มแต่การเจริญคำภาวนา ศีลสมาธิ และหมั่นทำบุญ ปล่อยสัตว์ ไถ่ชีวิตสัตว์ ให้อาหารปลาให้อาหารสัตว์ที่หิวโหยและหมั่นแผ่เมตตาให้กับเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ตนได้กระทำกรรมล่วงเกินเบียดเบียนเขามาทั้งเจตนาหรือไม่เจตนาก็ดี ล้วนเป็นกรรมหนักทั้งสิ้น

กายกรรมว่าด้วยการกระทำเบียดเบียนเอาชีวิตนี้ เช่น การฆ่า คือความตั้งใจฆ่าตั้งใจเบียดเบียนเอาชีวิตผู้อื่นทั้งมนุษย์และสัตว์ หรือการเบียดเบียนเอาชีวิตสัตว์มนุษย์ด้วยอำนาจของกิเลส ฆ่าด้วยอำนาจความโลภ เช่นรับจ้างฆ่าคน รับจ้างฆ่าสัตว์ หรือ ฆ่าด้วยอำนาจความพยาบาท เช่นความโกรธ แค้น อาฆาต ฯลฯ และการทำร้ายผู้อื่น โดยการทำให้พิการ เสียโฉม ทำให้เจ็บหรือลำบาก ประพฤติเหี้ยมโหดแก่สัตว์ใช้สัตว์ไม่มีปราณี ปล่อยให้อดอยากซูบผอม ไม่ให้กิน ไม่ให้นอน ไม่ให้หยุดพักผ่อน ขณะใช้งานก็ทำร้ายร่างกายทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน ส่งผลให้ผู้กระทำกรรมนั้น เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคร้ายแรงเจ็บป่วยบ่อย สูญเสียคนที่รัก คนใกล้ชิด คนสนิท ไม่มีบุตรหลาน ตาบอดเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตา ประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ ถูกสัตว์กัดต่อย ขัดสน อดมื้อกินมื้ออยู่อย่างโดดเดี่ยวไร้คนข้างกาย ร่างกายพิกลพิการ ไม่สมประกอบไร้ที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง มีคดีความ พบเจอแต่คนเอารัดเอาเปรียบตลอดชีวิต ฯลฯ ถึงกรรมนั้นไม่ได้ส่งผลทันทีแต่กรรมแบบนี้ ส่งผลเร็ว ไม่ช้าไม่นาน อาจจะไม่ต้องรอถึงชาติหน้า หรือบางทีกรรมนี้จะตามไปถึงชาติหน้า ทำให้บางคนเกิดมาแล้วพบเจออุปสรรค ปัญหาเช่นนี้อยู่ทุกวัน

การลดกรรมจากการกระทำผิดศีลข้อปาณา หรือ กายกรรมนั้น ทำได้ โดยการหมั่นทำบุญ แผ่เมตตา(แผ่บ่อยๆ เท่าที่จะทำได้) หมั่นสวดมนต์ ภาวนา ทำสมาธิ กรรมฐาน ทำไปเรื่อยๆจนใจเราเป็นหนึ่งเดียวกับ ไตรสรณคมน์ ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ขอให้ภาวนาไว้เป็นนิจจิตจะได้สงบ และแผ่เมตตาบ่อยๆ อุทิศบุญกุศลนั้นให้กับเจ้ากรรมนายเวรยกบุญนั้นให้เขาไปเลย ทำจนกว่าเจ้ากรรมนายเวรจะรับ ถึงเขาไม่รับเราก็อย่าได้ไปสนใจให้ทำไปเรื่อยๆ อย่าไปสงสัยว่าเขาจะได้รับหรือไม่ ให้ทำแบบนี้ไปบ่อยๆทำให้บาปที่หนานั้นเบาบางลง ค่อยๆ ทำ ทำอย่างนี้เรื่อยๆ ทำจนไม่มีแรงทำโน้นแหละเพื่อสะสมบุญไว้ในอนาคตข้างหน้าด้วยเช่นกันกรรมจะนี้จะเบาบางหรือลดลงไปเมื่อไหร่นั้น ไม่มีใครตอบได้นอกจากกรรมเวรที่ทำไว้แต่ในอดีต หากตั้งใจทำดี ทำกรรมดีทดแทนกรรมชั่วนั้นอย่าได้ไปสนใจอย่างอื่น ให้ตั้งใจทำ กรรมนั้นจะลดลงเอง ถึงวันนี้ยังไม่ดีขึ้น ต่อไปวันหนึ่งข้างหน้าต้องดีขึ้นแน่นอนทำบุญเพื่อลดหนี้กรรมนั้น ไม่ใช่ว่าจะทำกันวันเดียวได้ ต้องใช้ความอดทนและจิตที่ตั้งมั่น ย่อมส่งผลได้แน่นอน

( * อ้างอิงมาจาก พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548)


หมอนหัวทุย , พัดลม USB




Create Date : 27 พฤษภาคม 2559
Last Update : 27 พฤษภาคม 2559 22:59:49 น.
Counter : 764 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3067369
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments