เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
25 เมษายน 2557
 

เวทนานุปัสสนา 3

  เป็นการถอดคำบรรยายของพระอาจารย์สมบัติ นันทิโก เรื่องเวทนานุปัสสนา ไม่ได้ถอดมาแบบคำต่อคำ

หลักวิปัสสนาไม่ได้ให้หยุดที่ผัสสะกับเวทนา ปัญญาที่เป็นวิปัสสนาต้องต่อไปจนจบตัณหา อุปาทาน ภพ ฯลฯ เป็นไปตามวัฏฏะก็ต้องไปตามวิวัฏฏะ “สำรอกตัณหาโดยไม่มีส่วนเหลือ” ตัณหาดับอุปาทานดับ อุปทานดับภพดับ ภพดับชาติดับ ถ้าเป็นมรรคก็คือทั้งสมาธิพร้อมกับวิปัสสนาในเบื้องแรกก็เป็นสมาธิสลับกับวิปัสสนา

ดังนั้นวิเคราะห์จักขุอย่างละเอียด เช่นตาเป็นรูปก็ไม่พอ ก็ให้ได้ไปถึงเช่นความดันตาก็คือวาโย ไปวิเคราะห์สีต่อ มีตา มีสี เกิดจักขุวิญญาณเป็นวิบาก ต่อจากนั้นพิจารณาความไม่เที่ยง เช่นจักขุนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยงนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะยึดถือไว้ว่าอันเป็นของเรา เพื่อให้เบื่อหน่ายเมื่อเบื่อเหนื่อยแล้วก็คลายกำหนัด จนลืมตาเห็นก็ไม่เกิดกิเลส นั่นไม่ใช่ของเรา (ทุกขัง) เราไม่เป็นนั่น (อนิจจัง) นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา (อนัตตา) เห็นโทษภัยของปิยรูปสาตรูป (ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมทุกอย่างที่เป็นที่ยินดีพอใจ สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ เป็นทีเกิดและเป็นที่ดับของตัณหา มีรูปที่เป็นอดีตแม้นในปัจจุบันก็ไม่ใช่ธรรมารมณ์ (พิจารณากาล ๓) หากพิจารณาได้ตามที่ว่าข้างต้นก็เป็นไปเพื่อวิวัฏฏะ (วิ-วัฎฎะ ออกจากวัฏฏะ) เป็นต้น

กลุ่มปัญญากถา (ตรงข้ามกับเดรฉานกถา) มีขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ สัจจะ ปฏิจจสมุปบาท โดยขันธ์คือเวทนาขันธ์ โดยอายตนะคือธรรมายตนะ โดยธาตุคือธรรมธาตุ โดยอินทรีย์คืออินทรีย์ 5 (สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์) โดยสัจจะคือทุกขสัจจะ โดยปฏิจจสมุปบาทคือเวทนาที่มีผัสสะเป็นปัจจัย ในเวทนานุปัสสนาก็คือพูดเรื่องเวทนานั่นแหละ พิจารณาเวทนาเป็นอารัมมณปัจจัย (ปัจจัยให้เกิดโดยเป็นอารมณ์ของจิต) ของปัญญา ถ้าเอาที่ศึกษาไปเจริญจริงก็เป็นภาวนามยปัญญา การเจริญภาวนามยปัญญาเป็นโพธิปักขยธรรม

อีกกลุ่มคือสัมมปทานเมื่อทำกุศลก็ละอกุศล เจริญความรู้ละสิ่งที่ไม่รู้ กลุ่มต่อไปคืออินทรีย์ คือปัญญิณทรีย์ กลุ่มพละก็เน้นปัญญาพละ ในโพชฌงค์คือสติสัมโพชฌงค์ กับธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ มรรคก็สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกะปะ และสัมมาสติ ธรรมะกลุ่มขันธ์ อายตะ ธาตุคือปริญญยธรรม (ธรรมที่ควรกำหนดรู้) ส่วนในกลุ่มโพธิปักขยธรรมคือการเจริญภาวนา ถ้าไม่เจริญธรรมะที่ควรเจริญและอยู่ในกลุ่มเวทนาก็จะเป็นอกุศล การเจริญกุศลที่ว่าเต็มเปี่ยมอย่างบริบูรณ์คือแทงตลอดไปจนถึงโสดาปัตติมรรคเป็นต้นไป

มโนกับธรรมเกิดมโนวิญญาณ สามอย่างนี้คือผัสสะ ถามว่าผัสสะเกิดกับตรงไหนนัยหนึ่งคือผัสสะเกิดร่วมกับมโน เวทนาที่เกิดทางใจ (สุข ทุกข์ อุเบกขา) ในขณะนั้นปรารถถึงธรรมะ (อารมณ์อะไร เว้นปัญทวาร (สี เสียง กลิ่น รส สัมผัสเพราะเลยมาถึงมโนทวารแล้ว))

มโนไม่ใช่ปัจจัยของธรรมะ โดยปัจจัยธรรมะเป็นปัจจัยของมโน มโนทั่วไปไม่ใช่เป็นปัจจัยแก่อารมณ์ เช่นดูทีวี สี (เรื่องราวของละคร หนังที่ดู) เป็นปัจจัยแก่มโนบุคคลผู้เจริญเวทนาให้ดูไปที่เวทนามีอามิส (อกุศล) หรือไม่มีอามิส

มโนวิญญาณที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็เช่นพรหมวิหาร เมตตาเกิดในความคิดต้องมีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่ใช่ปรมัตถ์ บัญญัติที่เป็นอารมณ์ได้ต้องเป็นสัตว์ที่น่าพอใจเห็นแล้วเกิดสุข (สุขิตสัตว์) เช่น ลูกเมื่อเจริญเมตตาก็ให้คิดเหมือนกับเป็นบุตรของตน (เป็นอารมณ์ของมุติทาเมื่อสัตว์นั้นมีความสุข มีการประสบความสำเร็จต่าง ๆ) ถ้าเป็นด้านทุกขิตสัตว์ก็คือผู้ที่กำลังได้รับความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเช่นถ้าเขาเจ็บป่วยก็เป็นอารมณ์ของเมตตา ถ้าใส่ใจแบบเขามาอย่างไรก็จะไปเช่นนั้นก็เป็นอุเบกขาพรหมวิหารโดยที่ในวิสุทธิมรรคแนะให้เจริญอุเบกขาหลังจากได้เมตตา กรุณา มุทิตามาก่อนแล้ว

การเจริญเวทนานุปัสสนาต้องรู้จักอารมณ์ของมโนวิญญาณ ไม่ใช่รู้แบบสัญชาติญาณเพราะถ้าแบบนี้ใครก็ทำได้ การเจริญกำหนดที่วัตถุอันเป็นที่ตั้งของเวทนา เช่นฟังดนตรีคิดถึงแค่เสียงหรือวัตถุที่ตั้งแห่งเสียง หรือพ่อค้าระฆังคิดแต่เสียง หรือเสียงมาจากระฆังชนิดไหน

ถ้าเทียบโดยขันธ์ เวทนากำหนดยากกว่ารูปขันธ์ เช่นทางทวารตา ถ้าพิจารณารูปขันธ์ สีคิดง่ายกว่า เช่นสีอย่างนี้เป็นสมุฐานอะไร กรรม จิต อุตุ อาหาร ถ้าเป็น เป็นอย่างไร ถ้าเวทนาขันธ์ ต้องรู้นอกจากวัตถุก็คืออารมณ์และวิญญาณ เป็นต้น ตัวอย่างอื่นเช่น เห็นคนที่รู้จัก ตกลงรู้เรื่องของคนรู้จักนั้นหรือว่าไปดูเวทนาของตนเอง เช่นพิจารณาว่ารูปารมณ์ที่เห็นนั้นว่าเวทนาที่เห็นนั้นเป็นที่ตั้งอารมณ์ของสุขทุกข์ อุเบกขา (มีอามิส ไม่มีอามิส) ตัดเรื่องสัญชาติญาณที่รู้แต่ว่าชอบหรือไม่ชอบ การพิจารณาเวทนาก็พิจารณาให้ครบกาล ๓ ภายในภายนอก ไกลใกล้ หยาบละเอียด เลวประณีต (พิจารณาขันธ์ 11)

ธรรมะก็คล้ายเรื่องการเรียนเรียนชั้นสูงแล้วก็จะเข้าใจเรื่องขั้นต้นได้ดียิ่งขึ้นกว่าเมื่อตอนเรียนขั้นต้นครั้งแรก ๆ การทำตีรณปริญญาจะทำให้เข้าใจชัดยิ่งขึ้น ทำให้ความสำคัญว่าเวทนานั้นเป็นเราเป็นของเราก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จะเข้าใจเวทนาก็ต้องเข้าใจผัสสะ เพราะผัสสะ (การประจวบของสามสิ่ง) เป็นวัตถุแห่งเวทนา


Create Date : 25 เมษายน 2557
Last Update : 25 เมษายน 2557 16:41:38 น. 0 comments
Counter : 607 Pageviews.  
 

elenote
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




เป็นพุทธเถรวาท เป็นผู้ศึกษาและปฏิบัติในศาสนา
[Add elenote's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com