... Simplicity is Happiness ♥ ...
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 ธันวาคม 2559
 
All Blogs
 
Ways Love Affects the Brain ♥ สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสมองในเวลาที่คุณมีความรัก

"ความรักเป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วยหัวใจมิใช่ดวงตา"

ความรักนั้นอยู่ในสมองดังที่เฮเลน่าจากเช็คสเปียร์กล่าวไว้ใน "ความฝันกลางคืนในฤดูร้อน"
และนักประสาทวิทยาก็อาจจะเห็นด้วยกับเรื่องนี้ อาจดูเหมือนว่าความรักเป็นสิ่งที่ลึกลับ
แต่อันที่จริงนักวิทยาศาสตร์ก็มีข้อมูลเรื่องของความรักว่าส่งผลต่อสมองอย่างไรบ้าง?
เมื่อตกอยู่ในห้วงแห่งรักสมองจะเต็มไปด้วยสารเคมีกับฮอร์โมนที่ผลิตความรู้สึกพึงพอใจ
ความหลงใหล และความผูกพัน และนี่คือ 5 วิธีที่ความรักส่งผลต่อสมอง



ฮอร์โมนจะวุ่นวาย 

นักประสาทวิทยาจะแบ่งความรักออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงลุ่มหลง ช่วงดึงดูด และช่วงผูกพัน
ในช่วงลุ่มหลงร่างกายจะท่วมท้นไปด้วยฮอร์โมนแห่งความปรารถนารุนแรง อะดรีนาลิน
กับนอร์อีปิเนฟรินจะทำให้หัวใจเต้นเร็วและฝ่ามือมีเหงื่อออก ขณะที่สมองจะหลั่งสารโดปามีน
ที่สร้างความรู้สึกเคลิบเคลิ้มและตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ให้ความเพลิดเพลินอื่นๆด้วย

ทำงานราวกับเสพติดยา 

การเห็นใบหน้าที่ดึงดูดจะกระตุ้นสมองส่วนเดียวกับที่ทำหน้าที่เป็นยาแก้ปวดอย่างมอร์ฟีน
ซึ่งได้แก่ระบบโอปิออยด์ โดยสมองส่วนนี้จะรับผิดชอบความรู้สึก "ชอบ"
การศึกษาล่าสุดชี้ว่าผู้ชายที่ได้รับมอร์ฟีนปริมาณเล็กน้อยจะมองว่าใบหน้าของผู้หญิง
มีเสน่ห์มากกว่าผู้ชายที่ไม่ได้รับมอร์ฟีนใดๆ ซึ่งบ่งบอกว่าระบบโอปิออยด์
จะถูกกระตุ้นเมื่อได้เห็นใบหน้าที่ถูกใจ

ทำให้เลือดสูบฉีด 

การมีความรักจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังศูนย์กลางความสุขของสมอง
หรือนิวเคลียส แอคคัมเบนส์นั่นเอง ภาพสแกน MRI แสดงให้เห็นว่าสมองส่วนนี้
จะสว่างขึ้นเมื่อผู้คนตกอยู่ในความรัก โดยปกติการไหลเวียนเลือดเข้าสู่สมองอย่างฉับพลัน
มักจะเกิดขึ้นในช่วงดึงดูดเมื่อคู่รักมีความผูกพันกันทั้งสองฝ่าย

เป็น 'โรคย้ำคิดย้ำทำ' 

ความรักจะลดระดับของสารเซโรโทนินในสมองซึ่งเป็นคุณลักษณะทั่วไปของโรคย้ำคิดย้ำทำ
การลดลงของเซโรโทนินสามารถอธิบายได้ดีถึงเหตุผลที่คู่รักมุ่งความสนใจทั้งหมดไป
ที่ความรักของตัวเอง นอกจากนี้ความรู้สึกดังกล่าวยังอาจทำให้คู่รักยอมมองข้าม
พฤติกรรมที่ไม่ดีของอีกฝ่ายในช่วงเริ่มแรกของความสัมพันธ์โดยจะเลือกสนใจแต่ด้านดีๆเท่านั้น

ฮอร์โมนสร้างความผูกพัน 

เมื่อคนเราเคยผ่านความรักมาบ้างแล้ว ร่างกายก็จะพัฒนาความอดทน
ไปยังสารเคมีแห่งความพึงพอใจ ขณะเดียวกันช่วงดึงดูดก็จะหลีกทางให้กับ
ช่วงผูกพันเมื่อฮอร์โมนออกซิโทซินกับวาโซเพรสซินซึมผ่านสมอง
และสร้างความรู้สึกแห่งความสุขกับความปลอดภัยขึ้นมา



Blogger : Tanya Lewis, Staff Writer
Source : livescience.com
(https://www.livescience.com/43395-ways-love-affects-the-brain.html)
https://issue247.com/relationship/ways-love-affects-the-brain/

 




Create Date : 17 ธันวาคม 2559
Last Update : 5 เมษายน 2561 22:00:26 น. 0 comments
Counter : 1100 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดอกไม้บานริมรั้ว
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]






▼ ห้อง SHOP 1 ▼

เสื้อ
แขนกุด สายเดี่ยว
แขนสั้น
แขน 3-5 ส่วน
แขนยาว กันหนาว
-------------------------
กางเกง
กระโปรง
เดรส
รองเท้า
ชุดผ้าไหม ชุดไทยๆ
ผ้าคลุมไหล่ / ผ้าพันคอ / หมวก
ตุ๊กตา

[ วิธีสั่งซื้อ ]
[ อัตราค่าส่ง & ข้อชี้แจง ]

▼ ห้อง SHOP 2 ▼

!! Clearance SALE !!
ล็อต : (A) - (O)


ล็อต : (P)
ล็อต : (Q)
ล็อต : (R)

Friends' blogs
[Add ดอกไม้บานริมรั้ว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.