การสอบ CU-TEP คืออะไรและการเตรียมตัวสำหรับการสอบ CU-TEP

CU-TEP (Chulalongkorn University Test ofEnglish Proficiency) เป็นการสอบวัดผลความรู้ภาษาอังกฤษในสามทักษะคือการฟัง

การอ่านและการเขียนซึ่งนำผลไปใช้ในการสมัครเรียนในหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรี, หลักสูตรในระดับปริญญาโท, และปริญญาเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ต้องการผลคะแนน CU-TEP ต่ำกว่า 550 คะแนน ข้อสอบ CU-TEP

การทดสอบทักษะการฟังโดยที่ผู้เข้าสอบที่เข้ามาให้ห้องประชุมใหญ่จะได้ยินเสียงจากลำโพงจากเจ้าของภาษาเป็นประโยคออกมาและมีเวลาให้ตอบคำถามจำนวน30 ข้อ ซึ่งเป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เข้าสอบเข้าใจสิ่งที่ได้ยินหรือไม่อย่างไร โดยให้เวลา 30 นาทีในการสอบทักษะนี้

การทดสอบการอ่านจะมีการวัดความเข้าใจในการตอบคำถาม 60 ข้อ โดยให้เวลาสอบ 70 นาที

การทดสอบการเขียนเป็นการทดสอบวัดความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจะมีการหาข้อบกพร่องของประโยคที่ให้มา จำนวน 30 ข้อโดยให้เวลา 30 นาที

การเตรียมตัวดูจากแนวข้อสอบที่มา ย่อมต้องฝึกฝน ให้คุ้นเคยกับสำเนียงของเจ้าของภาษายิ่งต้องเข้าไปในห้องประชุมใหญ่ ไม่ได้มีหูฟังของแต่ละคน ยิ่งต้องการสมาชิกและเดาในกรณีที่ฟังไม่ชัดเจน 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นควรฝึกฟังเพื่อให้จับใจความ จากบทสนทนาการบรรยายในเรื่องต่าง ๆ จากข่าวสาร เศรษฐกิจ การเมือง เรื่องใกล้ตัว

ในด้านการอ่านควรฝึกอ่านเนื้อหาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์การเมือง ข่าวสารต่างๆ สังคม ควรฝึกให้อ่านอย่างรวดเร็ว อาจจะฝึกจากการอ่านตำราวารสารภาษา ยิ่งเรารู้คำศัพท์มากก็จะคุ้นเคยกับเสียงที่ออกมาเช่นกัน โดยแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ Cloze Test มี 15 ข้อโดยเติมช่องว่างไว้ให้เติม การอ่านจับใจความหรือประเด็นหลักมักจะเป็นประโยคแรก ซึ่งต้องรู้ทั้งคำศัพท์และ ไวยากรณ์ และ ปริบทของบทความนั้น ส่วนที่สองเรียกว่า Passsage มีคำถามอีก 45 ข้ออาจจะมีความายาว 300-600 คำ โดยแต่ละpassage จะมีคำถามประมาณ 5-10 ข้อ     ส่วนรายละเอียดของการถามก็คิดว่าไม่ยากแต่ระวังตัวหลอกในเรื่องจำนวนวันเดือนปี  และ เรื่องที่เรียกว่าต้องตีความเอา หรือ inference ซึ่งต้องใช้เวลาในส่วนนี้เพราะถือว่ายากที่สุด

การเตรียมตัวในการสอบทางด้านการเขียนซึ่งเน้นความรู้ทางด้านไวยากรณ์ ซึ่งข้อสอบมักจะเป็นการให้ประโยคมาแล้ว ก็หาสิ่งที่ผิดบกพร่องหาคำผิด หาคำศัพท์ คำเหมือน รวมถึงไวยากรณ์โดยรวม ในเรื่องการจับผิด ( error identification) จากประสบการณ์ของคนที่เคยไปสอบแบ่งปันมาในลักษณะข้อสอบที่ออกมา เช่น เรื่องAdjective & Adverbs, เรื่อง Voice และ Passive Voice และประธานกับกริยาไปด้วยกันหรือไม่ ซึ่งต้องแม่นกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ก็จะช่วยเก็บคะแนนส่วนนี้ได้ไม่ยาก ในยุคปัจจุบันที่มีอินเตอร์เน็ทเราอาจจะหาแนวทาง หรือแบบทดสอบออนไลน์โดยเฉพาะในการฝึกทำไว้ก่อนเพื่อให้เกิดความเคยชิน และมีความพร้อม

หัวข้อ CU-TEP ที่เราสอนใน LanguageExpress ถือเป็นผู้นำในโรงเรียนสอนภาษาที่มีการเตรียมสอบCU-TEP ในกรุงเทพให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่สุดในการสอบ CU-TEP




Create Date : 14 กรกฎาคม 2558
Last Update : 14 กรกฎาคม 2558 10:25:51 น.
Counter : 946 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2420173
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กรกฏาคม 2558

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31