space
space
space
<<
กันยายน 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
space
space
11 กันยายน 2558
space
space
space

กระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 7



เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ไปสู่พัฒนาการของสมองด้านสติปัญญา จิตใจ ภาษา อารมณ์ และสังคม


การบูรณาการประสาทสัมผัสทั้ง7 (Sensory Integration) มีอะไรบ้าง

และจะส่งเสริมประสาทสัมผัสทุกด้านได้อย่างไรมาดูกันเลยคะ


=============================================


1. การมองเห็น (Visual sense)


วัยทารก : จะสนใจมองตามแสงไฟ (สังเกตได้ตั้งแต่2-3 เดือน ว่าลูกมองตามหน้าพ่อแม่หรือไม่)

การกระตุ้น : ห้องนอนสว่าง ของเล่นสีสันสดมองตามไฟฉาย กระจกเงา ซ่อนหาของเล่น เล่นจ๊ะเอ๋


วัยเรียน : ต้องมองการเล่น การอ่าน-เขียน การสังเกต จดจ่อกับการเรียน

การกระตุ้น : แยกแยะรูปร่าง รูปทรง จับคู่ภาพเงาภาพแฟรชการ์ด (ปิดครึ่งหนึ่งแล้วทายว่าคือรูปอะไร)


2. การได้ยิน (Auditory sense)


วัยทารก : ได้ยินเสียงตัวเอง จำแนกเสียงพ่อ แม่ ฟังเพลงสนใจของเล่นมีเสียง

การกระตุ้น : หมั่นพูดคุยกับลูกหันตามเสียงกรุ๋งกริ๋ง ฟังเสียงธรรมชาติ เพลงเสียงสูง-ต่ำแต่เวลานอนต้องเงียบ


วัยเรียน : ฟังเพื่อ ประมวลผลการเรียนรู้ฟังคำสั่งครูหลายขั้นตอน ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงอื่นรอบตัว

การกระตุ้น : จำแนกเสียงสัตว์ทำตามคำสั่งที่มีขั้นตอนซับซ้อน การเล่นดนตรี

เด็กที่มีทักษะการฟังดีนั้นจะมีสมาธิจดจ่อกับการเรียนรู้ที่ดี


3. การรับรส (Gustatory sense)


วัยทารก : เด็กเรียนรู้การเติมความสุข โดยการรับรสเป็นอันดับแรกจากน้ำนมแม่

การกระตุ้น : ดื่มนมแม่ อาหารที่มีรสชาติอ่อนนิ่ม


วัยเรียน : เรียนรู้ รสชาติหวาน เค็ม เปรี้ยว เผ็ด ขม เริ่มคิด แยกแยะ จำแนกประเภทอาหารโปรด

การกระตุ้น : ทานอาหารที่มีอุณหภูมิร้อน-เย็น ประเภทอาหาร รสชาติหลากหลาย


4. การดมกลิ่น (Olfactory sense)


วัยทารก : เด็กสามารถแยกกลิ่นหอม-เหม็นได้ตั้งแต่แรกเกิด

การกระตุ้น : สร้างความผูกพันระหว่างแม่-ลูก คือการที่ลูกจำกลิ่นแม่และพ่อได้


วัยเรียน : มีประสบการณ์รับกลิ่นที่หลากหลายเริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ได้ เช่น กลิ่นฝนตก กลิ่นอาหาร

การกระตุ้น : ดมกลิ่นต่างๆรอบตัวแล้วทายว่าคือกลิ่นอะไร เช่น กลิ่นอาหาร ดอกไม้ ตะไคร้ มะนาว


5. การสัมผัส (Tactile sense)


วัยทารก : ได้รับการแสดงวามรักโดยการกอด อุ้มจะทำให้เด็กรู้สึกว่าปลอดภัย ไว้ใจและมีความสุข

การกระตุ้น : สัมผัสลูกผ่านการอุ้ม โอบกอดนวดตัวกระตุ้นสัมผัส ใช้ฟองน้ำ ใยบวบถูตัวขณะอาบน้ำ


วัยเรียน : รับสัมผัสหลากหลายมั่นใจที่จะสัมผัส ลองทำสิ่งใหม่ๆ ในสถานการณ์ต่างๆ

การกระตุ้น : วิ่ง เล่น สัมผัสพื้นหญ้า พื้นทรายกระตุ้นให้เล่น หยิบจับสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว


6. การรับรู้ตำแหน่งกล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive sense)


วัยทารก : การรับรู้อวัยวะ ลงน้ำหนักข้อต่อ เช่น ชันคอการกลิ้ง คืบ คลาน เดิน

การกระตุ้น : กระตุ้นการเคลื่อนไหว แขนขาคว้าเอื้อมหยับของเล่นที่บีบ เขย่า กดแล้วเกิดเสียง


วัยเรียน : ร่างกายและสมองทั้งสองซีกประสานกันเด็กมีกล้ามเนื้อแข็งแรง มั่นใจในการเคลื่อนไหว กล้าลองผิดลองถูก

การกระตุ้น : เล่นปีนป่าย ห้อยโหน เดินมือท่าไถนา เพื่อเรียนรู้ใช้กล้ามเนื้ออย่างอิสระ กล้าล้ม กล้าลุก กล้าเรียนรู้


7. การเคลื่อนไหวและทรงตัว (Vestibular sense)


วัยทารก : พัฒนาความสมดุลของร่างกายในการเคลื่อนไหว(การทำงานของหูชั้นใน) ทำงานประสานกับการได้ยิน

การกระตุ้น : นั่งทรงตัว โยกซ้าย-ขวา หน้า-หลังบนพื้น หรือบนบอลลูกใหญ่ นอนในเปลญวณ


วัยเรียน : การทรงตัวร่วมกับการเคลื่อนไหวอย่างซับซ้อนคล่องแคล่วอย่างมีเป้าหมาย

การกระตุ้น : นั่งชิงช้า เต้น หมุนรอบตัวเดินทรงตัวบนทางแคบ เล่นกับกระดานโยก กลิ้ง ตีลังกา ปั่นจักยาน


=============================================


ช่วงแรกเกิด - 6 ขวบแรกเป็นช่วงสำคัญที่สุดที่สมองจะพัฒนาอย่างรวดเร็วถึง80%


มากระตุ้นการเรียนรู้ด้วยระบบการรับสัมผัสให้เหมาะสมกับลูกน้อยกันค่ะ


หากเราไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยอย่างเหมาะสม

นับว่าเป็นการพลาดโอกาสสำคัญที่สุดในชีวิตเลยทีเดียว



ติดตามครูแนนได้ที่ >> https://www.facebook.com/KrunanOT

#นักกิจกรรมบำบัด





Create Date : 11 กันยายน 2558
Last Update : 11 ตุลาคม 2558 16:24:21 น. 0 comments
Counter : 2186 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 2575046
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




น.ส.ปวีณา พัวประเสริฐ(ครูแนน)
ใบประกอบโรคศิลปะ สาขากิจกรรมบำบัด ก.บ.778

ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขากิจกรรมบำบัด เกียรตินิยมอันดับสอง มหาวิทยาลัยมหิดล

นักกิจกรรมบำบัด เป็นวิชาชีพที่รักษา ฟื้นฟูอาการที่เกี่ยวกับความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ และพัฒนาการเด็ก


space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2575046's blog to your web]
space
space
space
space
space