kruaun
Location :
สุรินทร์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




“อาจารย์ของพระอรหันต์ ยังไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์เลย ดังนั้น อย่ากังวลเลย หากเราคิดว่าเราเก่งไม่พอที่สร้างลูกศิษย์เก่งๆ ขอเพียงแต่เรามีกระบวนการพัฒนา ส่งเสริม และให้โอกาสเขาอย่างเหมาะสม และถูกวิธี ให้เขาเติบโตเต็มศักยภาพที่ดี”---รศ. ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากหนังสือแด่เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต

****************************

No one can make you feel inferior without your consent. by Eleanor Roosevelt.

ไม่มีใครสามารถทำให้คุณรู้สึกต้อยต่ำได้...
ถ้าคุณไม่ยินยอม (เอลานอร์ รูสเวลต์)

**************************

ครูอั๋น สอนคณิตศาสตร์ จังหวัดสุรินทร์
--------------------------------

"ชีวิตนี้ลูกยกให้พวกเขา...แต่ชีวิตหน้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาและพวกมันทำไว้กับลูก ลูกขอเอาคืน!"
---วรดา/ด้วยแรงอธิษฐาน/กิ่งฉัตร

รู้นะว่าถ้าเอาความแค้นนำทางมันไม่ดี...
แต่บางทีถ้าตั้งใจว่าจะต้องดีกว่า ดีกว่า...
มันก็เหมือนเป็นแรงขับให้เราก้าวหน้าได้เช่นกัน

แค่ตั้งใจทำดีก็แล้วกัน

+++++++++++++++++++++++++++++

มีคนเคยถามว่า "ทำไมมาเป็นครู"
คำตอบที่ผมภูมิใจและตอบได้อย่างเต็มปากที่สุด คือ
"ผมอยากเป็นครู เลยเลือกมาเป็นครู"


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

"เจ้าเป็นคนพูดเองนะว่า อำนาจมันมาแล้วมันก็ไป แล้วเจ้ายังจะแสวงหามันทำไมเล่า"
---เศกขรเทวี เพลิงพระนาง

๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗๗

สัจธรรมง่ายๆ ที่ใครๆ ก็พากันทำไม่ได้

ถ้าอยากมีชีวิตที่เลวลงอย่างคิดไม่ถึง
คุณแค่หมั่นทำเลวที่ไม่เคยแม้จะอยู่ใรความคิด

หากปรารถนาชีวิตที่ดีขึ้นอย่างคิดไม่ถึง
คุณต้องทำดีมากกว่าที่คิดว่าตัวเองจะทำได้

มีชีวิตที่คิดไม่ถึง/ดังตฤณ
----------------เริ่มนับ 30 เม.ย.53----------------- free counters ===== Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kruaun's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 
เหยื่อของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

พงศธร มหาวิจิตร
ครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี



เทศกาล แห่งการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Testing : O-NET) เวียนมาถึงอีกครั้ง หลายโรงเรียนคงกำลังสาละวนวางแผนการติวข้อสอบกันวุ่นวาย โดยหวังว่าทำอย่างไรระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจะไม่นำความขายหน้ามาสู่ โรงเรียน (โดยเฉพาะผู้บริหาร) ยิ่งปีนี้สำนักมัธยมฯ ประกาศกร้าวไว้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะต้องสูงขึ้นอย่างน้อย 4% ยิ่งลำบากใหญ่ โรงเรียนจะสั่งให้ครูพากันปล่อยเกรดให้เฟ้อแข่งกับค่าเงินบาทหรือก็คงจะไม่ ได้ ประเดี๋ยวผลเกรดเฉลี่ยไปค้านกับผลคะแนนระดับชาติแล้วจะตอบข้อสงสัยกันว่ายังไง...
ย้อนกลับไปเมื่อครั้งปฏิรูปการศึกษา ครั้งที่ 1 ที่รัฐเริ่มกระจายอำนาจทางการศึกษา มีการวางระบบการตรวจสอบประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาโดย สมศ. ตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนด้วยข้อสอบวัดผลระดับชาติโดย สทศ. และปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจากการเอ็นทรานซ์พร้อมกันทั้ง ประเทศครั้งเดียว มาเป็นการสอบ O-NET / A-NET จนถึง GAT/PAT ซึ่งสามารถสอบได้หลายครั้ง โดยหวังว่าจะลดความเครียดให้กับนักเรียน เกิดผลอย่างไรกับนักเรียน และโรงเรียนบ้างในวันนี้

นักเรียนยังคงต้องวิ่งกวดวิชากันเหมือนเดิม เสียเงินค่าสมัครสอบกันหนักขึ้น หนำซ้ำโรงเรียนซึ่งถูกบีบบังคับด้วยโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ซัดกันลงมาเป็นทอด ๆ จำเป็นที่จะต้องทำให้นักเรียนของตนทำข้อสอบได้คะแนนสูง ๆ เพื่อรักษาหน้าตาของโรงเรียน เขตพื้นที่ สพฐ. และกระทรวง (เพราะเรื่องหน้าตาเป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติของประเทศไทยอยู่แล้ว) เลยหันมาจัดการติวข้อสอบ O-NET กันอย่างเอิกเกริก ทั้ง ม.3 และ ม.6 ระบบกวดวิชาที่กระทรวงศึกษาธิการเคยประณามมาตลอดว่า เป็นตัวบ่อนทำลายกระบวนการเรียนรู้ที่ดี และเป็นระบบในห้องเรียน กลับกลายมาเป็นสิ่งที่ยอมรับกันอย่างหน้าชื่น หลายโรงเรียนเลิกสอนหนังสือเลยในเดือนกุมภาพันธ์ และหันมาติวข้อสอบกันอย่างเดียว โรงเรียนไหนที่ทุนทรัพย์น้อยหน่อย ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนนั่นแหละเป็นผู้ติว โรงเรียนไหนทุนทรัพย์หนาหน่อย ก็ว่าจ้างทีมกวดวิชาอาชีพมาสอนกันเลย สนนราคาตามจำนวนผู้เรียน จำนวนชั่วโมง ระดับชื่อเสียงของทีมงาน รวมทั้งศักยภาพในการจ่ายของโรงเรียน หากโรงเรียนสามารถหางบประมาณอื่นมาใช้ดำเนินการจ้างก็พอทำเนา แต่หากต้องมาเบียดบังเอาจากงบรายหัวของนักเรียนก็น่าสงสารเป็นที่สุด ปรากฏการณ์เหล่านี้ สะท้อนอะไรหรือ...

ผู้เขียนไม่ได้ต่อต้านระบบการสอบวัดผลระดับชาติ (National Test) เพราะเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว สำหรับระบบการศึกษาแบบอิงมาตรฐาน (Standard-based Education) ซึ่งต้องมีการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการคิด และแนวดำเนินงานของหน่วยงานการศึกษาของ สพฐ. ที่แก้ปัญหากับเยาวชนของชาติแบบศรีธนญชัย ทั้งที่ทุกคนก็รู้ และยอมรับว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่แท้จริงคือ การตั้งใจ เอาใจใส่ มุ่งมั่นพัฒนาการสอนอย่างจริงจังเป็นระบบ แต่กลับมามุ่งหลอกลวงกันที่ค่าคะแนนสอบ (เพียงเพื่อจะกลบซ่อนความผิดพลาด)


สาเหตุที่การศึกษาไทยมีปัญหาส่วนใหญ่มาจากการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ทำทีละชิ้นส่วนแยกย่อย ขาดการประสานสัมพันธ์กัน ทำให้หมดเงิน แต่ไม่เกิดมรรคผลเป็นชิ้นเป็นอัน หากต้องการจะยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้ได้ผลจริง และยั่งยืน ก็ต้องเริ่มต้นที่สาเหตุของปัญหา มิใช่มามองแต่ตรงผลลัพธ์ที่อยากให้เป็น ผู้เขียนเป็นครูระดับปฏิบัติการ ซึ่งได้สัมผัส และมองเห็นประเด็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่รัฐยังไม่ได้ ดำเนินการแก้ไข (ให้สิ้นซาก) จึงขอนำเสนอมุมมองแนวทางจัดการกับปัญหา ดังนี้
1.ต้องทำโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน โรงเรียนต้องให้ความสำคัญกับ “การเรียนการสอน” เหนือสิ่งอื่นใด มิใช่ว่าพอหน่วยงานใดคิดโครงการอะไรขึ้นมา ก็มาลงที่โรงเรียน โรงเรียนกลายเป็นบ่อเกอะที่คอยรองรับทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องตอบสนองความต้องการจากทุกหน่วยงานที่ร้องขอมา
- สาธารณสุขอยากจัดอบรมเรื่อง โรคเอดส์ โรงเรียนก็ส่งนักเรียนเข้าอบรม...
- อบต./อบจ.อยากจัดกีฬาต้านยาเสพติด โรงเรียนก็ส่งนักเรียนเข้าแข่งขัน...
- วัดอยากจัดโครงการค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต โรงเรียนก็ส่งนักเรียนเข้าค่าย...
- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอยากให้ความรู้เรื่องสารพัดสารเพ โรงเรียนก็ส่งนักเรียนเข้าฟัง...
- ไม่เว้นแม้แต่บางโครงการของ สพฐ.เอง ที่สั่งให้ครูทิ้งห้องเรียน เพื่อไปประชุม อบรม สัมมนา ประกวด นำเสนอผลงาน หรือเตรียมรับการประเมินสารพัดอีก
นักเรียนต้องอุทิศเวลาเรียนจำนวนมาก เพื่อสนองความต้องการของผู้หลักผู้ใหญ่ ประเด็นนี้ก็คงต้องมองระบบใหญ่ในแง่การบริหารงานราชการแผ่นดินว่าควรทำอย่างไร หน่วยงานต่างๆ จะไม่เข้าไปวุ่นวายกับโรงเรียนมากเกินไป เลิกเห็นนักเรียนเป็นกลุ่มลูกค้า (เหยื่อ) ในการทำงานของตนเอง แต่ควรให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนในสิ่งที่โรงเรียนร้องขอเท่านั้น อีกทั้ง ผู้บริหารโรงเรียนเอง ก็ต้องต้องตระหนัก และมีจุดยืนในบทบาทหน้าที่ของตนเสียก่อน นั่นคือ “มุ่งจัดการเรียนการสอน”

2.คืนครูสู่ห้องเรียน รัฐอ้างว่ามีโครงการคืนครูสู่ห้องเรียนแล้ว โดยจัดสรรพนักงานธุรการให้โรงเรียนละครึ่งค่อนคน สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก (1 คน ให้วิ่งรอก 2-3 โรงเรียน) และ 1 คน สำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่ แต่เนื่องด้วยสถานะลูกจ้างชั่วคราวที่ไม่อาจรับผิดชอบทางการเงิน และพัสดุได้ คนลงนามรับผิด (ซึ่งมักไม่ค่อยมีโอกาสได้รับชอบ) ก็ยังคงต้องเป็นครูประจำการอยู่ดี ครูหลายคนก็เลยเลือกที่จะทำงานนั้นเสียเองดีกว่าที่จะต้องไปลงชื่อรับผิด (ชอบ) ในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้รู้ ไม่ได้ทำมาเอง สุดท้ายพนักงานธุรการเหล่านั้น ก็เป็นได้เพียงเสมียนพิมพ์ดีด เด็กชงกาแฟ เด็กเดินเอกสาร และโอเปอเรเตอร์หน้าห้องผู้อำนวยการเท่านั้น ครูก็ยังไม่ได้ถูกคืนสู่ห้องเรียนตามจุดมุ่งหมายสักที ประเด็นนี้ผู้เขียนขอเสนอแนะทางออก (แบบไม่ต้องจ้างใครเพิ่ม และไม่ต้องไล่ใครออก) ว่า ให้ยุบสำนักงานเขตพื้นที่ ทั้งประถม และมัธยม ให้เหลือสภาพเพียงสำนักงานเล็ก ๆ แบบต่างประเทศ สพฐ.ทำการโอนเงินงบประมาณ และสั่งการถึงโรงเรียนโดยตรง แล้วกระจายให้เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่อยู่บนเขตกว่า 200 เขตเหล่านั้น ลงมาทำหน้าที่เบิกจ่าย / ทำงานด้านเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่โรงเรียนเสีย เพื่อให้สามารถรับผิดชอบงานได้เต็มที่ และครูจะได้กลับไปสอนหนังสือให้เต็มที่ ตามหน้าที่หลัก

3.ยุบขนาดห้องเรียนให้เล็กลง เพื่อครูจะได้ดูแลได้ทั่วถึง ไม่มีห้องเรียนประเทศใดจะใหญ่โตเท่าห้องเรียนไทย ครู 1 คน ต้องควบคุมดูแลนักเรียนถึง 50 คน หรือมากกว่านั้น สอนสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง แถมยังถูกสั่งให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เยี่ยมบ้านนักเรียนครบ 100% โดยไม่ผูกพันเรื่องงบประมาณ (หรือไม่รับผิดชอบนั่นเอง) ผู้เขียนว่า อย่างเก่งครูก็คงทำได้แค่สร้างหลักฐานเท็จมาหลอกกันเท่านั้น หากรัฐยังสั่งการโดยไม่มองโลกแห่งความเป็นไปได้จริง ก็ป่วยการจะไปดิ้นรนหานวัตกรรมต่าง ๆ ที่ว่าดีเลิศของชาติไหน ๆ มาใช้ เพราะบริบทห้องเรียนเราต่างกับเขาลิบลับ นวัตกรรมที่มีคุณค่าหลายอย่างที่ไทยนำเข้ามาแล้ว กลับเป็นได้เพียงแนวคิดสวยหรูของห้องเรียนในอุดมคติที่ใช้ไม่ได้จริง เพราะด้วยจำนวนผู้เรียนในห้องที่มีมาก วิธีสอนที่ได้ผล และสามารถบริหารจัดการห้องเรียนให้เป็นระเบียบได้ดีที่สุด ก็คือ “การบรรยาย (lecture)” และจะเอาเวลาตรงไหนไปเน้นผู้เรียนเป็นรายบุคคล หากครูยังต้องแบกภาระหนัก และทำงานสารพัด ด้วยค่าตอบแทนต่ำราวกับชนชั้นกรรมาชีพเช่นนี้ รัฐจะไปหวังเอาคุณภาพมาจากไหน พูดแบบแนวคิดทุนนิยม ก็คือ “ลงทุนแค่ไหนก็ได้ผลแค่นั้นแหละ”

รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ มาได้ถูกทางแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปหลักสูตร การปรับปรุงกระบวนการผลิตครู การพัฒนาส่งเสริมศักยภาพครู การส่งเสริมวิทยฐานะ และค่าตอบแทนวิชาชีพ (แม้เรื่องหลังนี้ จะต้องไปปรับกระบวนการประเมินให้โปร่งใส ชัดเจน และเป็นระบบกว่านี้อีก) หากรัฐสามารถจัดการกับอุปสรรคใหญ่ที่เหลืออยู่ข้างต้นได้จริง การศึกษาไทยก็คงเข้ารูปเข้ารอยได้ในไม่ช้า แต่ตราบใดที่ยังแก้ปัญหา 3 ข้อนี้ไม่ได้ คุณภาพการศึกษาก็คงพัฒนาขึ้นได้ยาก ยิ่งไปพยายามคิดโครงการปลีกย่อยอื่นขึ้นมา ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มภาระให้ครู และดึงครูออกห่างนักเรียนมากขึ้น กลายเป็นยิ่งแก้ยิ่งยุ่งเหมือน “ลิงแก้แห”

ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นเพียงภาพสะท้อนของปัญหาเท่านั้น ถ้าทุกฝ่ายยังมุ่งแก้ภาพมากกว่าแก้ปัญหา ผู้ที่ต้องตกเป็นเหยื่อ ก็คือ นักเรียนตาดำ ๆ ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อันใด วันใดที่รัฐสามารถบริหารจัดการให้ครูได้ใช้เวลาทุ่มเทกับการสอนในห้องเรียน อย่างเต็มที่ วันนั้นโรงเรียนก็ไม่จำเป็นต้องกลัวการถูกตรวจสอบอีกต่อไป ไม่ว่าจะด้วยข้อสอบ NT, O-NET, LAS, PISA หรือสารพัดข้อสอบใดๆ.

ที่มา: //www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=
656&contentId=118093



Create Date : 10 เมษายน 2554
Last Update : 10 เมษายน 2554 22:35:26 น. 5 comments
Counter : 2464 Pageviews.

 
แล้วท่าน รมต. ก็พูดอย่างนี้ (ตามข่าว)

เมื่อวันที่ 6 เมษายน นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าผลคะแนนการสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.6 ต่ำกว่า 50% และน้อยกว่าปี 2552 หลายวิชา ซึ่งตนได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำผลคะแนนโอเน็ตและนโยบายที่ผ่านมา วิเคราะห์ว่ามีจุดอ่อนหรือจุดแข็งอย่างไร และสาเหตุอะไรที่ทำให้ผลคะแนนเฉลี่ยของโอเน็ตไม่ถึง 50% ทั้งนี้ ผลการสอบโอเน็ตในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ลดลงและไม่น่าพอใจมาตลอดเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ โดยส่วนตัวมองว่าปัจจัยที่ทำให้ผลคะแนนสอบโอเน็ตลดลงมาจากเหตุผลต่างๆ อาทิ ครูส่วนใหญ่ยังไม่ปรับวิธีการสอนยังคงเน้นการท่องจำมากกว่ากระบวนการเรียน รู้ ทำให้เด็กไม่สามารถคิดวิเคราะห์ได้ ซึ่งเป้าหมายของการสอบโอเน็ตเน้นความเข้าใจมากกว่าท่องจำ ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าผลคะแนนโอเน็ตที่ลดลงทุกปีเพราะความล้มเหลวของหลัก สูตรและนโยบายนั้นอย่าโทษว่าเป็นความล้มเหลว แต่ควรที่จะช่วยกันคิดว่าจะนำผลจากการสอบโอเน็ตมาพัฒนาหลักสูตรและการเรียน การสอนให้ผลสอบโอเน็ตเพิ่มสูงขึ้น

รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวต่อว่า ขอย้ำว่าที่ผ่านมา ศธ.ไม่ได้นิ่งเฉยพยายามดำเนินการเรื่องดังกล่าวในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษ ที่สอง อาทิ การพัฒนาครูสมรรถภาพครูให้มีคุณภาพ หลักสูตร และผลิตครูพันธุ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นสุดการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองในปี 2561 ตั้งเป้าไว้ว่าผลคะแนนเฉลี่ยในการสอบโอเน็ตของนักเรียนในทุกวิชาจะได้เกิน 50 เปอร์เซ็นต์


ที่มา - มติชนออนไลน์
//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302085649&grpid=&catid=19&subcatid=1903


โดย: อั๋นครับผม (kruaun ) วันที่: 10 เมษายน 2554 เวลา:22:39:43 น.  

 
ครูส่วนใหญ่ยังไม่ปรับวิธีการสอนยังคงเน้นการท่องจำมากกว่ากระบวนการเรียน....เป็นอย่างนั้นจริงหรือ...อุอุ


โดย: krumeow (Kitten ConCerto ) วันที่: 10 เมษายน 2554 เวลา:22:57:41 น.  

 
อาจจะจริงก็ได้ อิอิ


โดย: อั๋นครับผม (kruaun ) วันที่: 10 เมษายน 2554 เวลา:23:27:37 น.  

 
อยากให้ครููไม่ต้องเหนื่อยมาก มีความสุขในการสอนเด็กๆ ในแต่ละวันๆ มีเวลาไปคิดไอเดียในการสอนเด็กใหม่ๆ สนุกกับการสอนเด็กๆ ภาระหน้าที่ครูปัจจุบันนี้เยอะเหลือเกิน ขอให้กระทรวงศึกษาธิการลดภาระหน้าที่ครูให้น้อยลง เหลือแค่มุ่งไปที่การสอนเด็กอย่างเดียวอย่างที่ครูอั๋นบอกจะดีมากครับ ครูทั้งประเทศไทยคงจะดีใจ และไม่อยากให้มุ่งสอนเด็กเพื่อให้ได้คะแนนสอบเยอะๆตั้งแต่เล็กๆนะครับ แต่อยากให้มุ่งสอนเด็กให้เข้าใจชีวิต รู้จักการใช้ชีวิตมากกว่าครับ เหมือนอย่างการสอนในประเทศอื่นๆ ครับ


โดย: นายพรานน้อย วันที่: 21 เมษายน 2554 เวลา:5:38:15 น.  

 
สอนนักเรียนแต่ละวันมีความสุขมาก มาก สนุกกับการตรวจการบ้านนักเรียนเห้นความก้าวหน้าหรือการเข้าใจที่ผิดพลาด เราก็หากลุยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนแก้ไขกันไป...สนุกสนานกับการจัดการเรียนการสอนแต่ให้ครูทำงานอื่นนอกเหนือจากงานสอนมากมายเหลือเกิน....ไม่ไหวจะทำ...


โดย: จิ๊บ จิ๊บ IP: 1.20.175.215 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:19:51:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.