เมษายน 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
24
25
26
27
28
29
30
 
All Blog
ไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า กำจัดโรคพืช





ไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า กำจัดโรคพืช 

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าคืออะไร

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า  คือเชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน  อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหารโดยไม่มีอันตราย

กับพืช คน สัตว์และแมลง  เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า หลายชนิดมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืช

ทางดิน  จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์  แข็งแรง  หาอาหารได้มากต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี

กลไกในการควบคุมเชื้อราโรคพืช

1. เจริญแข่งขัน แก่งแย่งอาหาร น้ำ แร่ธาตุ อากาศ และแหล่งที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช  จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณ จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว เจริญแข่งขัน แก่งแย่งอาหาร น้ำ แร่ธาตุ อากาศ และแหล่งที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช  จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณ จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว

2. เป็นปรสิต สร้างเส้นใยพันรัดและแทงดูดกินน้ำเลี้ยง  จากเชื้อราสาเหตุโรคพืช  ทำให้เส้นใยสลายลดการขยายลงอย่างรวดเร็ว

3. สร้างสารพิษ  น้ำย่อย  ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย  และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา  โรคพืชเหี่ยวสลายและตายในที่สุด สร้างสารพิษ  น้ำย่อย  ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย  และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา  โรคพืชเหี่ยวสลาย

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช ดังนี้

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดินได้มากกว่า 10 ชนิด ที่สำคัญได้แก่

1. เชื้อราพิเทียม  สาเหตุโรคกล้าเน่า  เมล็ดเน่า  เน่ายุบ  และเน่าคอดิน

2. เชื้อราไฟทอปธอร่า  สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า  โรคเลทไบลท์ เน่ายุบ  และเน่าคอดิน

3. เชื้อราสเคลอโรเทียม  สาเหตุโรคโคนเน่า โรครากเน่า (ราเมล็ดผักกาดขาว) เน่ายุบ  และเน่าคอดิน

4. เชื้อราไรช็อคดทเนีย  สาเหตุโรคกล้าเน่า  โคนเน่าขาว  รากเน่าและเน่าคอดิน

5. เชื้อราฟิวซาเรียม  สาเหตุโรคเหี่ยวและเน่าคอดิน

วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไปใช้

1. การคลุกเมล็ด  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) 1-2 ช้อนแกง (10-20 กรัม) ต่อเมล็ดพืช 1 กก.  โดยคลุกเคล้าให้เข้ากันในถุงอาจเติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้สปอร์ของเชื้อราเคลือบติดบนผิวของเมล็ดพืชได้ดียิ่งขึ้น
2. การรองก้นหลุมและการหว่าน  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. บวกลำละเอียด 5 กก. บวกปุ๋ยหมัก 40 กก. รองก้นหลุมปลูกในพืชผัก  พืชสวน 10-20 กรัม/ต้น  หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร  และในพืชสวนหว่านใต้ทรงพุ่มในอัตรา 5 กก. บวกปุ๋ยหมัก 40 กก. รองก้นหลุม3-5 กก./ต้น ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย  และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา  โรคพืชเหี่ยวสลาย
3. การผสมกับวัสดุปลูก  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด)ที่ผสมแล้วกับวัสดุผสม 1 ส่วน กับวัสดุปลูก 4 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนบรรจุลงในภาชนะเพาะเมล็ด  เพาะกล้า
ขอบคุณ ศูนย์บริหารศัตรูพืช จ.เชียงใหม่
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
ติดตามข้อมูลข่าวสารวงการเกษตรที่ไลน์ เพิ่มเพื่อนเลย  @KOKOMAX



Create Date : 23 เมษายน 2559
Last Update : 13 พฤษภาคม 2559 21:23:20 น.
Counter : 1095 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้องปุ๋ย
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments