ที่ 8 ไร่ ทำเกษตรผสมผสาน มีกินมีใช้เหลือเก็บกว่า 180,000 บาท ต่อปี -เกษตรทั่วไทย
ที่ 8 ไร่ ทำเกษตรผสมผสาน มีกินมีใช้เหลือเก็บกว่า 180,000 บาท ต่อปี -เกษตรทั่วไทย

นายชรินทร์ กลั่นแฮม เกษตรกรตัวอย่าง ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จ.กาญจนบุรี แม่แบบการขยายผลของโครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.กาญจนบุรี ที่ยึดอาชีพทำการเกษตรแบบเกษตรผสมผสาน โดยปลูกทุกอย่างที่กินได้ และกินทุกอย่างที่ปลูก เหลือกินเอาออกขาย ปัจจุบันเป็นหนึ่งของเกษตรกรที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคง ด้วยมีกินและมีรายได้เหลือเก็บทุกวัน และสามารถส่งเสียลูกได้เล่าเรียนอย่างไม่ขัดสน

นายชรินทร์ เล่าว่า ตนเป็นหนึ่งของราษฎรที่ได้รับการจัดสรรพื้นที่สำหรับทำกิน จากโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 8 ไร่ นำมาแบ่งสันปันส่วน เป็นที่อยู่อาศัยส่วนหนึ่ง ที่เหลือใช้ทำกินเป็นแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ แบบผสมผสาน โดยขุดสระน้ำไว้ 1 สระเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับบำรุงต้นพืช ในสระปล่อยปลา ขอบสระปลูกพืชผักสวนครัวสลับกับไม้ผล อาทิ กระท้อน ขนุน ละมุด มะม่วง และมะนาวในวงบ่อด้วยระบบน้ำหยด โดยปลูก พริก มะเขือ ผักกวางตุ้ง มะละกอ และกล้วยแซม เลี้ยงไก่เพื่อกินไข่และเนื้อ ควบคู่กับการปลูกฝรั่งพันธุ์กิมจู ในพื้นที่ 5 ไร่ ระหว่างที่ฝั่งยังไม่ให้ผลผลิตก็อาศัยผักสวนครัว และกล้วยเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งกล้วยช่วงที่ออกลูกพร้อมๆ กันกินและขายไม่ทันก็จะนำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบขาย เมื่อฝรั่งกิมจูให้ผลผลิตก็สามารถเก็บขายได้วันละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท โดยมีพ่อค้าจากตลาดมารับซื้อถึงบ้าน

“ในพื้นที่ 5 ไร่ผมปลูกฝรั่งใช้เวลาประมาณ 7-8 เดือน จึงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ระหว่างรอฝรั่งก็ปลูกพริกตามร่องแปลงฝรั่ง ประมาณ 2-3 เดือนพริกก็ให้ผลผลิต ระหว่างรอพริก ก็ลงผักกวางตุ้งในร่องพริกประมาณ 1 เดือนเก็บกินได้ ปลูกกล้วยเสริมระหว่างร่องฝรั่ง ซึ่งกล้วยเป็นรายได้ทั้งต้น หน่อกล้วย ปลี ผล ใบ ขายได้ทั้งหมด อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการเป็นแนวบังลมให้แก่ฝรั่งและผัก เพราะยามที่ลมแรงจะเป็นผลต่อผลฝรั่งลูกเล็กอาจจะหลุดร่วงได้ ปัจจุบันมีรายได้เหลือเก็บไม่น้อยกว่า 180,000 บาทต่อปี” นายชรินทร์ กลั่นแฮม กล่าว

ส่วนแรงงานทำกันเองสองสามีภรรยาไม่ต้องจ้างแรงงานจากภายนอก ปุ๋ยบำรุงต้นพืชทำเอง จากความรู้ที่ได้ไปอบรมมาจากโครงการห้วยองคตฯ ใช้ไส้เดือนเป็นตัวช่วยในการพรวนดิน ใช้ปุ๋ยมูลหมูจากการเลี้ยงหมูหลุมในบ้าน และนำกิ้งไม้ที่ตัดแต่งทรงพุ่มมาเผาถ่าน พร้อมทำน้ำส้มควันไม้นำมาฉีดพ่นในแปลงไล่แมลง และเป็นปุ๋ยทางใบ และปลอดภัยต่อสุขภาพแถมทำให้ฝรั่งมีรสชาติที่หวานและกรอบตรงตามความต้องการของตลาดอีกด้วย ทั้งนี้โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการจัดแบ่งแปลงที่ดินทำกินให่ราษฎรครอบครัวละ 8 ไร่ ครอบครัวใหญ่ 16 ไร่ รวม 907 แปลง และแปลงที่อยู่อาศัยครอบครัวละ 1 ไร่ รวม 780 แปลง โดยมีหลักเกณฑ์ห้ามซื้อขายและให้เป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลานเท่านั้น

และเพื่อสร้างความมั่นคงในที่ทำกินให้แก่ราษฎรในพื้นที่ และเพื่อให้การจัดการระเบียบชุมชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักงาน กปร. กรมป่าไม้ และจังหวัดกาญจนบุรี จึงได้ร่วมกันดำเนินการจัดทำข้อมูลและสำรวจพื้นที่เพื่อจัดทำเอกสารสิทธิ์ทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (สทก.) ให้แก่ราษฎรโดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเดิมหรือทายาท และกลุ่มเปลี่ยนมือผู้ครอบครองสิทธิ์
โดยนายชรินทร์ กลั่นแฮม และครอบครัวเป็นหนึ่งของราษฎร ที่ได้รับเอกสารสิทธิ์ ทำกินและอยู่อาศัยในพื้นที่ ปัจจุบันมีชีวิตมีกินมีรายได้อย่างสมบูรณ์

ที่มา: เดลินิวส์

ขอบคุณ ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ //www.kokomax.com/

**โรคพืช คิดถึง โคโค-แมกซ์ KOKO-MAX




Create Date : 05 ธันวาคม 2557
Last Update : 5 ธันวาคม 2557 10:50:53 น.
Counter : 1038 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tanatporn_ts
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com เทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพ
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ ในนามเว็บไซต์ http://www.kokomax.com ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรในแนวทางชีวภาพ ก่อตั้งเมื่อตั้งแต่ปี 2549 ดำเนินงานด้านการส่งเสริมการทำเกษตรชีวภาพ ลดสารเคมี มีความยินดีที่ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้ในหน่วยงาน ฟาร์ม และบ้านเรือน เป็นอย่างดี และจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น