คนเสื้อแดงไม่เอาอำนาจนอกรัฐธรรมนูน
Group Blog
 
All blogs
 
เปิดขุมทรัพย์"ประชาธิปัตย์"กะจั๊วการเมืองไทย

ทุน"กับ"การเมือง"แยกกันไม่ออก" นี่เป็นคำเปรียบเปรยของบิ๊กทุนใหญ่ของเมืองไทย ยอมรับกันกลายๆ ว่าไม่ว่ายุคไหนสมัยไหน กลุ่มทุนก็มีบทบาทในระบบการเมืองแบบไทยๆ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ลมเปลี่ยนทิศ ทุนเปลี่ยนขั้ว

ล่ำซำ-สารสิน ฯลฯ ผงาด

หลัง เหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 ตามมาด้วยการวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์พ้นข้อกล่าวหา

ถือเป็นจุดเปลี่ยน “โฉมหน้า” ทางการเมืองครั้งสำคัญ

เพราะเป็นเหมือนอวสาน "กลุ่มทุน" ไทยรักไทย จากที่เคย "เอ็นจอย" การเกาะกุมผลประโยชน์จากนโยบายต่างๆ

คงไม่น่าแปลกใจถ้าจะเห็น "การตีจาก" การเคลื่อนย้ายของกลุ่มทุน

จากขั้วการเมืองเก่าสู่ขั้วการเมืองใหม่

เพราะธรรมชาติของนักธุรกิจนั้น..."ลื่นไหล" ไม่แพ้นักการเมือง

"ไม่มีมิตรแท้ และศัตรูที่ถาวร"

...ผลประโยชน์สิแน่กว่า !!!

ก่อน หน้าที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เป็นที่ทราบกันดีว่า เงินบริจาคเข้าพรรคไทยรักไทยจัดอยู่ในระดับ “อู้ฟู่” กว่าพรรคประชาธิปัตย์

แต่ภายหลังเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ สถานะเงินบริจาคของพรรคไทยรักไทยออกอาการง่อนแง่นทันที สังเกตได้จากยอดเงินบริจาคของพรรคที่ลดฮวบ "สวนทาง" กับยอดเงินบริจาคของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เริ่มงอกเงย

ย้อนดูตัวเลข ก่อนหน้าที่จะมีความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เดือนเมษายน 2549 ยอดบริจาคเข้าพรรคไทยรักไทยพุ่งสูงระดับ 80 ล้านบาท ขณะที่เงินบริจาคเข้าประชาธิปัตย์มีล้านกว่าบาท หรือเดือนกรกฎาคม ยอดบริจาคไทยรักไทยอยู่ที่ 50 ล้านบาท ส่วนเงินบริจาคเข้าพรรคประชาธิปัตย์ยังอยู่ที่หลัก 1 ล้านบาทเหมือนเดิม

แม้ วงเงินบริจาคหลักๆ ของพรรคไทยรักไทยในช่วงนั้น จะมาจากคุณหญิงพจมาน ชินวัตร และบรรณพจน์ ดามาพงศ์ แต่ก็มีผู้บริจาครายอื่นๆ หลายหน้าสมทบด้วย

ทว่า เมื่อพรรคไทยรักไทยเผชิญวิกฤติทางการเมือง ในเดือนกันยายน พบว่า ยอดเงินบริจาคให้พรรคไทยรักไทยจากหลักล้านลดลงเหลือแสนกว่าบาท (123,340 บาท) ขณะที่ยอดเงินบริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์ เพิ่มขึ้นเป็นยี่สิบเอ็ดกว่าล้านบาท ( 21,118,800 บาท) ทันที

ยิ่ง 1 เดือนให้หลังการปฏิวัติ ปรากฏว่าเงินบริจาคเข้าไทยรักไทยประจำเดือนตุลาคม 2549 เหลือเพียง “รายเดียว” โดยเป็นการบริจาคของนายไชยยศ สะสมทรัพย์ ที่มีลักษณะตัดบัญชีทุกเดือนๆ ละ 23,340 บาท

ขณะที่ตัวเลขเงินบริจาคเข้าประชาธิปัตย์แม้จะอยู่ที่หลัก 1.8 ล้านบาท แต่จำนวนผู้บริจาคก็เพิ่มขึ้นอย่างคึกคัก

ใน จำนวนนั้น ผู้บริจาคเงินหลักๆ ของประชาธิปัตย์ ก็เช่น กรณ์ จาติกวณิช 5 ล้านบาท, ประกอบ จีรกิติ (น้องเขยบุญชัย เบญจรงคกุล) 5 ล้านบาท และพี่เบิ้ม โพธิพงษ์ ล่ำซำ บริจาคคนเดียว 10 ล้านบาท ตามด้วยเจ้าเก่า "ศรีสุบรรณฟาร์ม" ธุรกิจของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (เลขาธิการพรรค) วงเงิน 1 ล้านบาท

เป็นการบริจาคที่สะท้อนถึง "แต้มต่อ" ของประชาธิปัตย์ที่อยู่เหนือพรรคไทยรักไทย

การ เลือกตั้งที่ (อาจจะ) มีขึ้น จึงไม่เพียงพลิกโฉมหน้าการเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดการพลิกโฉมหน้า “กลุ่มทุน” ทางการเมือง ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง (ผ่านการบริจาคเงินให้กับพรรคการเมือง)

ทั้งในแง่ของ “ตัวบุคคล” และ “รูปแบบ” ของการเข้ามาสนับสนุนพรรคการเมือง

นัก ธุรกิจในคราบนักการเมืองที่เห็นกันอย่างโจ่งแจ้งอาจจะน้อยลง เพราะนั่นคือบทเรียนอันเจ็บปวด นำไปสู่จุดจบของพรรคไทยรักไทย และอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ทว่ามองกันว่า การแฝงตัวในลักษณะนอมินี (ตัวแทน) จะมีมากขึ้น !!!

อาจ จะไม่ได้เห็นชื่อของคนในตระกูล จึงรุ่งเรืองกิจ, มหากิจศิริ, วงศ์สวัสดิ์, เกยุราพันธุ์, สะสมทรัพย์, ชินวัตร ฯลฯ ที่เคยให้การสนับสนุนทางการเงินกับพรรคไทยรักไทยอย่างออกนอกหน้า หรือการส่งคนในตระกูลมายึดกุมนโยบายของรัฐบาลอย่างเปิดเผยอีกต่อไป

แต่ ด้วยระบบการเมืองของไทย “ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์" นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ให้ความเห็นถึงบทบาทของกลุ่มทุนการเมืองว่า เนื่องจากระบอบการเมืองไทยยังคงมีลักษณะความเป็น Money Politics คือเป็นการเมืองที่มีการสนับสนุนโดยกลุ่มทุน ขณะที่นักการเมืองยังจะต้องพึ่งพิงกับกลุ่มทุนเพื่อสนับสนุนพรรค ทำให้กลุ่มทุนยังคงมีบทบาทต่อพรรคการเมืองอยู่

กระแสเม็ดเงินที่ เริ่มไหลเข้าประชาธิปัตย์ย่อมจะ “คอนเฟิร์ม” ได้ระดับหนึ่งว่า เกิดจากการเก็งกันว่า…การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคต พรรคประชาธิปัตย์ จะได้เป็น “แกนนำ” ในการจัดตั้งรัฐบาล

แม้กลุ่มทุนใหญ่จะยังคงรีรอ ไม่ปรากฏชื่อ ไม่ปรากฏกายในขณะนี้ แต่จากข้อมูลสรุปยอดเงินบริจาคพรรคการเมืองของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำให้เห็นว่า “ใคร” คือถุงเงินของพรรคประชาธิปัตย์บ้าง

ล่ำซำ สังขะทรัพย์ เทือกสุบรรณ แก้วทอง พร้อมพันธุ์ ฯลฯ เหล่านี้คือ “ถุงเงิน” หลักๆ ให้กับพรรคประชาธิปัตย์

ราย ชื่อแรก เขาคือถุงเงิน (ตลอดกาล) ตัวจริงเสียงจริง “โพธิพงษ์ ล่ำซำ” เจ้าของธุรกิจเมืองไทยประกันชีวิต ที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์มาอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะการทุ่มเงิน บริจาคมากถึง 10 ล้านบาท ในเดือนกันยายน 2549 เดือนที่เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร (19 กันยายน) หัวเลี้ยวหัวต่อการเมืองไทย

โพธิ พงษ์คงรู้ว่าประชาธิปัตย์ต้องการใช้เงินมาใช้ในกิจกรรมทางการเมืองเพียงไร และปัจจุบันโพธิพงษ์ ยังนั่งเป็นกรรมการในสภาที่ปรึกษาพรรค และยังเป็นหนึ่งในคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์

แม้เขา มีท่าทีวางมืออยู่เบื้องหลังการเมือง แต่ก็ได้ส่งลูกสาว “นวลพรรณ ล่ำซำ” หนึ่งในผู้บริหารเมืองไทยประกันชีวิต และทำธุรกิจนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องหนังแบรนด์ดังจากต่างประเทศ อาทิเช่น แอร์เมส จากฝรั่งเศส, เอ็มโพลิโอ อาร์มานี จากฝรั่งเศส, ทอดส์ โรโด จากอิตาลี เข้าสู่แวดวงการเมือง โดยมีสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพี่เลี้ยง

ล่ำซำสายนี้ยังอาจจะ เชื่อมโยงไปถึง “บัณฑูร ล่ำซำ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย หลานชาย ที่อยู่ "คนละขั้ว" ความคิดกับอดีตนายกรัฐมนตรีอย่างสุดโต่งก็ได้

แม้ บัณฑูรจะไม่เคยแสดงท่าทีใดๆ กับพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็มีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างบัณฑูร กับ “ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์” แคนดิเดทตำแหน่งรัฐมนตรีสายประชาธิปัตย์ในสมัยหน้า

เพราะบัณฑูร คือ คนที่ชักชวนให้ปิยสวัสดิ์มานั่งเก้าอี้ประธานกรรมการบริษัทจัดการกองทุนรวม กสิกรไทย เป็นแหล่งหลบเลียแผลใจในช่วงที่เขาลาออกจากตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จากความเห็นที่ขัดแย้งด้านนโยบายพลังงานกับรัฐบาลทักษิณ

ทั้ง ปิยสวัสดิ์เองก็เคยทำงาน “เข้าขา” กับประชาธิปัตย์เป็นอย่างดีสมัยที่ทำงานเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ และภรรยาของเขา (อานิก วิเชียรเจริญ) ยังเข้าไปช่วยงานเป็นที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการให้กับพรรคประชาธิปัตย์มาระยะ หนึ่งแล้ว

จะว่าไปแล้ว ปิยสวัสดิ์ คือญาติห่างๆ ของบัณฑูร เนื่องจากมารดาของบัณฑูร ม.ร.ว.สำอางวรรณ ล่ำซำ (เทวกุล) และมารดาของปิยสวัสดิ์ ม.ร.ว.ปิ่มสาย อัมระนันทน์ สืบเชื้อสายต้นตระกูลมาจากรัชกาลที่ 4 เช่นกัน

ถุงเงินที่มีบทบาท ในพรรคประชาธิปัตย์อีกคน คือ “เกียรติ สิทธีอมร” ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พรรคประชาธิปัตย์ เขาถือเป็นนักธุรกิจที่ประกาศตัวเองเข้ามาสวมเสื้อสูทนักการเมืองอย่างไม่ ปิดบังอำพราง

ในฐานะหนึ่งในคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ และกลุ่มงานยุทธศาสตร์ของพรรค เขายังทำตัวเป็น “กระบอกเสียง” ของพรรค ในการเปิดโปงประเด็นความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรณีเครื่องตรวจจับระเบิด ซีทีเอ็กซ์ รวมไปถึงคดีประวัติศาสตร์การซื้อขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น ฯลฯ

ปัจจุบัน เกียรติ ยังเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย และอดีตประธานหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย ทำให้มีสายสัมพันธ์ที่กว้างขวางกับนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

ใน แง่ธุรกิจส่วนตัว ในเดือนตุลาคม 2549 เขาได้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผ่านบริษัทโปร เอ็น โฮลดิ้งส์ ในการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ อย่างปราณบุรี และหัวหิน ด้วยทุนจดทะเบียนเบื้องต้นที่ 20 ล้านบาท

เกียรติยัง นั่งอยู่ในตำแหน่งประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัทโปร เอ็น คอนซัลแทนซ์ ดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้สายสัมพันธ์ค่อนข้างมาก ดูเหมือนจะเป็นงานถนัดของเขา

ไม่กล่าวถึงไม่ได้ สำหรับตระกูล “เทือกสุบรรณ” เพราะเป็นนามสกุลของเลขาธิการพรรค “สุเทพ เทือกสุบรรณ” นอกจากเขาจะเป็นแฟนพันธุ์แท้ที่อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์มายาวนานแล้ว ในอีกฟากหนึ่ง เขายังเป็นเจ้าของบริษัทศรีสุบรรณฟาร์ม ธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรายใหญ่ ใน จ.นครศรีธรรมราช บริษัทดังกล่าวบริจาคเงินสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์อย่างเป็นกอบเป็นกำและต่อ เนื่อง

จากการสรุปยอดเงินบริจาคพรรคการเมืองที่เผยแพร่โดย กกต.พบว่า ตามข้อมูลที่สืบค้น ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548-เมษายน 2549 ศรีสุบรรณฟาร์มได้บริจาคเงินจำนวน 1 ล้านบาท ให้กับพรรคประชาธิปัตย์ทุกเดือน เว้นก็แต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550

ไม่นับการบริจาคเงินในชื่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทุกเดือน

นอก จากเงินส่วนตัวจากการประกอบธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว ในฐานะเลขาธิการพรรค เชื่อแน่ว่ายังมีท่อน้ำเลี้ยงจากนักธุรกิจหลายคนที่ไม่ประสงค์ออกนาม บริจาคเงินให้กับพรรคประชาธิปัตย์ผ่านมายังนายสุเทพ

เลือดใหม่ที่ มาแรงของประชาธิปัตย์ คือ “กรณ์ จาติกวณิช” รองเลขาธิการพรรค ผู้ผ่านประสบการณ์ด้านตลาดเงิน ตลาดทุนมาพอตัว ตำแหน่งสุดท้ายของเขา ก่อนจะผันมาเล่นการเมือง คือซีอีโอ เจ.พี.มอร์แกน (ประเทศไทย)

ด้วย คุณสมบัติและทรัพย์สมบัติ ทำให้กรณ์มิใช่แค่หนึ่งใน “ทีมเศรษฐกิจ” ที่สร้างจุดขายให้กับพรรค หรือเป็นผู้เกาะติดวิพากษ์นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะการชำแหละการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของกลุ่มตระกูลชินวัตร แต่เขาเป็นผู้บริจาคเงินรายหนักให้กับพรรครายหนึ่ง โดยเมื่อเดือนกันยายน 2549 กรณ์บริจาคให้กับพรรค 5 ล้านบาท

ถึงแม้จะทิ้งบทบาทนักธุรกิจ เป็นนักการเมืองเต็มตัว ทว่าศิษย์เก่าจากสำนักออกซ์ฟอร์ด ซึ่งกำลังจับจองบทบาทสำคัญในพรรคก็มี “คอนเนคชั่น” ในแวดวงธุรกิจจากสายสัมพันธ์ของตระกูล อาทิเช่น กลุ่มล็อกซเล่ย์ ของคุณหญิงชัชนี จาติกวณิช ภรรยาของเกษม จาติกวณิช ที่เป็นลุงของกรณ์

ขณะ ที่ตระกูล “โสภณพนิช” กลุ่มทุนจากธนาคารกรุงเทพ ยังอาจจะสอดแทรกเข้ามายังพรรคประชาธิปัตย์ได้ผ่านคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ที่นั่งตำแหน่งกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบันได้ เช่นเดียวกับ “พรวุฒิ สารสิน” ผู้บริหารบริษัทไทยน้ำทิพย์ ที่ปรากฏชื่อเขาบริจาคเงินให้กับพรรคประชาธิปัตย์อยู่เป็นระยะๆ

“บุญ ชัย เบญจรงคกุล” อดีตผู้บริหารดีแทค ที่ประกาศขายหุ้นตระกูลเบญจรงคกุลทั้งหมดในบริษัทยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น จำกัด (มหาชน) หรือยูคอม ให้กับบริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย "เทเลนอร์" ถือเป็นกลุ่มทุนที่ใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ผ่าน “ประกอบ จีรกิติ” น้องเขย ปาร์ตี้ลิสต์อันดับที่ 39

“จิตติมา สังขะทรัพย์” ยังเป็นอีกหนึ่งตระกูลที่เป็นกลุ่มทุนของพรรคประชาธิปัตย์ ฐานที่เป็นภรรยาอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ "บัญญัติ บรรทัดฐาน" ที่ปัจจุบันบัญญัตินั่งอยู่ในตำแหน่ง กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

นอกจากเป็นภรรยาอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว จิตติมา ยังเป็นกรรมการบริษัทโรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม ผู้ผลิต นำเข้า และจัดจำหน่ายกระเบื้องเซรามิค ทั้งปูพื้นและบุผนัง ภายใต้เครื่องหมายการค้า “RCI” “MODENA” และเครื่องหมายการค้าอื่นๆ ที่บริษัทนำเข้าจากต่างประเทศ ทุนจดทะเบียน 314,285,710 บาท ในปี 2549 นี้มียอดขายรวม 1,644 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายในประเทศ 1,606 ล้านบาท และส่งออก 38 ล้านบาท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 จิตติมายังติดอันดับผู้ถือหุ้น 20 อันดับแรก ที่ 2,179,630 หุ้น สัดส่วนถือหุ้น 0.69% เธอยังเป็นกรรมการหรือผู้บริหารร่วม ในบริษัท โรแยลเอเซียบริคแอนด์ไทล์ จำกัด, บริษัท จ๊อบเมคเคลนิเคิล ซัพพลาย (1992) จำกัด, บริษัท สังขะทรัพย์ จำกัด, บริษัท แมนน่า จำกัด และบริษัท บ้านสมถวิล จำกัด

“ไพฑูรย์ แก้วทอง” ปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 4 เจ้าของธุรกิจรับเหมา อาทิเช่น บริษัทสระหลวง ก่อสร้าง, บริษัทชาละวัน เทรดดิ้ง, บริษัท ก.นราพัฒน์ และ “นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ปาร์ตี้ลิสต์ อันดับ 8 เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และโรงเลื่อย เช่น โรงเลื่อยจักรไทยพูนสิน บริษัทไทยประสิทธิ์ทำไม้ บริษัทชนาพันธ์ ก็เป็นแหล่งทุนของประชาธิปัตย์มานาน

นอกจากนี้ในคณะกรรมการและคณะ ทำงานชุดต่างๆ ในพรรคประชาธิปัตย์ ยังมีตระกูลเก่า-ใหม่ ที่เดินสู่ถนนธุรกิจ เช่น คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ ซึ่งปรากฏชื่อ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล, ลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ, กันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส่วนในคณะกรรมการกลุ่มงานยุทธศาสตร์ ปรากฏชื่อ นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ, ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร, จุติ ไกรฤกษ์

ในคณะกรรมการบริหารพรรค ปรากฏชื่อ อัญชลี วานิช เทพบุตร, พินิจ กาญจนชูศักดิ์, สุกิจ ก้องธรนินทร์, พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล และในคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค ปรากฏชื่อ เล็ก นานา, อนันต์ อนันตกูล, อาทิตย์ อุไรรัตน์, ธารินทร์ นิมมานเหมินท์, ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์

คนเหล่านี้ แม้จะไม่ใช่ทุนใหญ่ฉูดฉาด แต่ก็มี "ศักยภาพ" ในการสนับสนุนกิจกรรมการขับเคลื่อนทางการเมืองของประชาธิปัตย์เช่นกัน

ทีมข่าว BizWeek


Create Date : 17 ธันวาคม 2551
Last Update : 17 ธันวาคม 2551 18:54:47 น. 0 comments
Counter : 2857 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

รักนะแต่ไม่บอก
Location :
ปทุมธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เขยเองแหละ อิอิ
: Users Online
Friends' blogs
[Add รักนะแต่ไม่บอก's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.