มิถุนายน 2558

 
1
4
6
7
10
11
12
13
14
16
18
19
20
21
27
28
 
 
All Blog
การผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด
พลังงานเชื้อเพลิงที่ยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก โดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับหุงต้ม ปิ้ง ย่าง ในครัวเรือน และร้านอาหารต่างๆ แต่ปัจจุบันมีให้เหลือใช้ไม่มากนัก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงทดแทน



อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แหล่งใหญ่ของจังหวัด ผลผลิตที่ได้หลังจากแกะเมล็ดแล้ว ซังข้าวโพดจึงเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีจำนวนมากที่ถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์และมีการเผาทำลายเพิ่มมากขึ้น

ในงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา” เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2555 ที่ ต.นาส่วง อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยกับกลุ่มเกษตรกรต้นแบบที่นำเอาซังข้าวโพดเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่าและนำผลงานมาจัดแสดงภายในงานด้วย

คุณจุมพล หอมชาติ ประธานกลุ่มถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดบ้านเหล็ก ม.10 ต.ศรีรัตนะ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดเพื่อแปรสภาพสิ่งของเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแทนการเผาทำลาย หรือปล่อยทิ้งไว้ให้เปล่าประโยชน์ ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิกทั้งหมด 70 คน ชุมชนมีพลังงานเชื้อเพลิงใช้เอง สามารถลดรายจ่ายในเรื่องของพลังงานเชื้อเพลิง ในขณะเดียวกันเกษตรกรในกลุ่มยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตถ่านอัดแท่งจำหน่ายอีกด้วย และชุมชนสามารถได้พึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุดิบหลัก :

1. ซังข้าวโพดเผาบดละเอียด 10 ส่วน

2. แป้งมันสำปะหลัง 1 ส่วน

3. น้ำ 7 ส่วน

วัสดุ/อุปกรณ์อื่นๆ :

1. เครื่องบดถ่าน

2. เครื่องผสมวัตถุดิบ

3. เครื่องอัดแท่ง

ขั้นตอนการผลิต :

1.นำซังข้าวโพดที่แกะเมล็ดออกแล้ว (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดหวาน) มาเผาให้เป็นถ่าน นำไปบดให้ละเอียดด้วยเครื่องบด

2. ผสมซังข้าวโพดเผาบดละเอียด กับ แป้งมันสำปะหลังและน้ำ ตามอัตราส่วนที่กำหนด (10:1:7)

3. นำส่วนผสมทั้งหมดเข้าเครื่องอัดถ่าน ความยาวของก้อน 20-25 ซม. เสร็จแล้วนำไปตากแดดประมาณ 3-4 แดด เพื่อไล่ความชื้นออกไปให้หมด จากนั้นก็นำไปใช้งานหรือบรรจุถุงจำหน่ายได้

** หมายเหตุ **

- กรณีไม่มีเครื่องบดถ่าน เกษตรกรสามารถนำซังข้าวโพดมาตำด้วยครกได้

- กรณีไม่มีเครื่องผสมวัตถุดิบ เกษตรกรสามารถผสมวัตถุดิบในวัสดุอุปกรณ์อื่นๆได้

- กรณีไม่มีเครื่องอัด เกษตรกรสามารถใช้ท่อ PVC เหนียว หรือ ท่อเหล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์
กลางตามความเหมาะสม ความยาวประมาณ 20-25 ซม. โดยนำเอาวัตถุดิบที่ผสมกันแล้วอัดหรือตำให้แน่น แล้วดันก้อนถ่านที่ได้นำไปตากแดด 3-4 แดด เพื่อไล่ความชื้นอีกครั้ง

จุดเด่นของถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด :

- ให้ความร้อนสม่ำเสมอ ไม่แตกประกายไฟ ไร้ควัน

เรียบเรียงโดย : อภัย นามเพ็ง จนท. Farmer Info สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.อุบลราชธานี

------------ ^ ^ --------------

แหล่งอ้างอิง :

จุมพล หอมชาติ. ประธานกลุ่มถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดบ้านเหล็ก. สัมภาษณ์, 28 มีนาคม 2555



Create Date : 26 มิถุนายน 2558
Last Update : 26 มิถุนายน 2558 15:29:22 น.
Counter : 1912 Pageviews.

1 comments
  
ผมอยาทราบว่า ให้ความร้อนเท่าไหร่ครับ ขอบคุณครับ
โดย: ์ณัฐ IP: 171.4.246.52 วันที่: 3 มกราคม 2561 เวลา:9:20:11 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2344345
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]