เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

ชู 3 นิ้ว รำกระตั้ว คั่วป๊อปคอร์น นอนโรงพัก ปรับทัศนคติ!!?

ชู 3 นิ้ว รำกระตั้ว คั่วป๊อปคอร์น นอนโรงพัก ปรับทัศนคติ!!?
"ชูสามนิ้ว หิ้วป๊อปคอร์น เข้าโรงหนัง" "รำกระตั้ว คั่วป๊อปคอร์น นอนดูหนัง" กลายเป็นแคมเปญเดือดแฝงประเด็นการเมืองอันร้อนฉ่าเสียแล้ว เมื่อ “กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย” ถือโอกาสใช้ภาพยนตร์เรื่อง “The Hunger Games: Mockingjay Part1” เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองจนวุ่นวายไปทั่วบริเวณโรงหนังสกาลา ลามไปจนถึงสยามพารากอน แม้ทางโรงหนังจะยอมเสียรายได้หลายแสน!! ยกเลิกฉายหนังเรื่องนี้ทุกรอบเพื่อตัดปัญหา แต่ดูเหมือนว่าปัญหาจะยังไม่ยอมจบลงเพียงเท่านั้น...




ขอถอนตัว... “เอเพ็กซ์” บอบช้ำเกินพอแล้ว!!
"ชูสามนิ้ว หิ้วป๊อบคอร์น เข้าโรงหนัง... งานนี้มีตั๋วภาพยนตร์เรื่อง The Hunger Games: Mockingjay Part1 วันที่ 20 พฤศจิกายน รอบ 12.00น. ที่โรงภาพยนตร์สกาลา แจกฟรี! เพียงคอมเมนต์ลงในโพสต์นี้ว่า The Capitol ในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว เหมือนกับ Bangkok ในประเทศไทยอย่างไรบ้าง?"

รายละเอียดดังกล่าวคือแคมเปญที่ทาง “กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย” ประกาศเอาไว้ผ่านหน้าแฟนเพจ “กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD)” ก่อนกิจกรรมดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียง 4 วัน ซึ่งมีผู้คนร่วมสนุกกันจำนวนไม่น้อยเข้ามาคอมเมนต์เปรียบเทียบสถานการณ์ในบ้านเมืองเราว่าสอดคล้องกับความโกลาหลที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์มากน้อยแค่ไหน


(โพสต์แคมเปญแฝงการเมือง ต้นเหตุของเรื่องทั้งหมด)



ที่น่าสนใจคือ หลังจากเกิดเหตุการณ์นักศึกษากลุ่ม “ดาวดิน” บุกหน้าเวทีที่ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ และชู 3 นิ้วแสดงอาการต่อต้าน พร้อมโชว์เสื้อที่มีตัวอักษรเขียนว่า “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นที่มาของวลีฮิตที่นายกฯ ออกมาเปรียบเทียบพฤติกรรมของกลุ่มนักศึกษากลุ่มดังกล่าวว่า "...นึกว่ามาเต้นกระตั้วแทงเสือ..." คนต้นคิดกิจกรรมจึงประกาศบนเฟซบุ๊กอีกครั้งเกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว ด้วยชื่อแคมเปญที่เปลี่ยนไป โดยเปลี่ยนจาก “ชูสามนิ้ว หิ้วป๊อบคอร์น เข้าโรงหนัง” เป็น "รำกระตั้ว คั่วป๊อบคอร์น นอนดูหนัง" แทน


(กลุ่มดาวดิน เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหาร)


ถึงแม้ว่าทางโรงหนังสกาลา เจ้าของพื้นที่การจัดกิจกรรมดังกล่าวจะไหวตัวทันในภายหลังว่า กิจกรรมของกลุ่มนักศึกษากลุ่มนี้อาจเป็นเกมการเมือง จึงออกมาประกาศขอยกเลิกการฉายภาพยนตร์ The Hunger Games ในโรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์ทันที แต่ก็ดูเหมือนว่าจะรู้ตัวช้าไปเสียแล้ว เจ้าหน้าที่โรงหนังในเครือดังกล่าวบอกเล่าความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งหมดผ่านหนังสือพิมพ์หัวสีฉบับหนึ่งเอาไว้ดังนี้

แท้จริงแล้ว แคมเปญที่ทางกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยจัดขึ้นนั้น ไม่ได้มีการติดต่อทางโรงภาพยนตร์สกาลาเอาไว้ก่อนล่วงหน้า และไม่มีการจัดเสวนาหรือเหมารอบเพื่อดูหนังใดๆ ทั้งนั้น คือปกติแล้วโรงหนังแห่งนี้มี 800 ที่นั่ง แต่มีคนกลุ่มหนึ่งซื้อแบบเหมาไป 200 ที่นั่ง ซึ่งทางโรงมองว่าเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากมีการเหมาซื้อแบบนี้เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว แต่หลังจากเห็นโพสต์หน้าแฟนเพจของกลุ่มนักศึกษากลุ่มดังกล่าว ทางโรงจึงตัดสินใจถอด The Hunger Games ออกในทันที และจะคืนเงินค่าตั๋วหนังของกลุ่มนักศึกษาดังกล่าวเป็นการตอบแทนที่ยกเลิกรอบหนังดังกล่าว

ถึงแม้ว่าจะต้องสูญรายได้กว่าวันละหลายแสนบาท เนื่องจากภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นโปรแกรมยักษ์ ลูกค้าสนใจเยอะ แต่ทางโรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์ก็พิจารณาเด็ดขาดแล้วว่า ถ้าปล่อยให้ฉายเรื่องนี้ต่อไป ผลที่ได้อาจไม่คุ้มกับการเข้าไปพัวพันเรื่องการเมือง เนื่องจากที่ผ่านมา ทางโรงภาพยนตร์ก็บอบช้ำจากผลกระทบด้านการเมืองมากเกินพอแล้ว



(กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย บุกชูแคมเปญที่สกาลา)

อย่างไรก็ตาม ทาง “รัฐพล ศุภโสภณ” สมาชิกกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย เจ้าของแคมเปญ “รำกระตั้ว คั่วป๊อบคอร์น นอนดูหนัง” ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนบริเวณหน้าโรงภาพยนตร์สกาลาในวันนัดรวมพลว่า ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงเรื่องการเมืองแต่อย่างใด ทั้งยังฝากบอกไปยังรัฐบาลอีกว่าถ้าคิดจะสร้างความปรองดองก็ต้องเชื่อใจอีกฝ่ายก่อน ต้องคุยกันด้วยเหตุและผล พวกเราก็แค่คนธรรมดาที่จัดกิจกรรมดูหนังเท่านั้นเอง อีกทั้งยังได้แสดงความเป็นห่วงกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น (กลุ่มดาวดิน) หลังถูกนำตัวไปที่ค่ายศรีพัชรินทร และมีข่าวว่าอาจถูกปลดจากสถานภาพนักศึกษาด้วย และได้เตรียมใจไว้บ้างแล้วหากจะถูกดำเนินการในแบบเดียวกัน




“ชู 3 นิ้ว” แฝงการเมือง ลามพารากอน
นอกจากความโกลาหลที่เกิดขึ้นทั่วบริเวณโรงภาพยนตร์สกาลา เครือเอเพ็กซ์แล้ว ยังมีความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมที่โรงภาพยนตร์พารากอนอีกด้วย โดย “นัชชชา กองอุดม” นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เดินทางจากบริเวณโรงภาพยนตร์สกาลาไปยังโรงภาพยนตร์ภายในห้างสรรพสินค้าของทางสยามพารากอน ไปยืนที่บริเวณหน้าป้ายภาพยนตร์เรื่อง The Hunger Games ซึ่งกำลังเป็นประเด็นร้อน จากนั้นโพสท่าถ่ายรูปต่อหน้าสื่อมวลชนด้วยสัญลักษณ์ “ชู 3 นิ้ว” จึงถูกเจ้าหน้าที่ทหารเรียกตัวเพื่อไปปรับทัศนคติในที่สุด


(ความวุ่นวายลามไปถึงพารากอน)

หากใครได้ติดตามข่าวคราวด้านการเมืองอยู่บ้าง จะพอเข้าใจว่าสัญลักษณ์ “ชู 3 นิ้ว” ในบ้านเมืองเรามีนัยความหมายอะไร? เป็นสัญลักษณ์ที่ครั้งหนึ่งมวลชนคนเสื้อแดงเคยเอามาใช้เพื่อต่อต้านเรื่องการเมืองเพื่อแทนความหมายว่า “ชู 3 นิ้ว ต้านรัฐประหาร” โดยระบุว่านิ้วทั้ง 3 ที่ชูขึ้นเป็นตัวแทนเพื่อ “เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ” จนกลายเป็นกระแสแพร่เต็มโลกออนไลน์อยู่พักใหญ่ๆ

กระทั่งฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมเหล่านี้ได้ออกมาให้นิยาม “ชู 3 นิ้ว” ในมุมกลับเพื่อแก้เกมโดยระบุว่า นิ้วทั้ง 3 ที่ชูขึ้นจากกลุ่มคนเหล่านี้ เป็นสัญลักษณ์เพื่อประกาศพฤติกรรมฟอนเฟะทั้ง 3 ประการคือ “โกงข้าว ล้มเจ้า เผาเมือง” และวลีเด็ดที่ว่า “Thank You 3 Times”


(ชู 3 นิ้ว กับนัยทางการเมือง)

ลองตัดเรื่องการเมืองทิ้งไปสักครู่แล้วหันมามองความหมายของการ “ชู 3 นิ้ว” ในภาพยนตร์เรื่อง The Hunger Games ว่าจริงๆ แล้วเจ้าของบทประพันธ์ต้องการสื่อสารเรื่องใดเอาไว้กันแน่? การชู 3 นิ้วด้วยมือข้างซ้าย ได้แก่ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ในความหมายของตัวเอกในเรื่องอย่าง “ม็อกกิ้งเจย์” หมายถึง “การขอบคุณ การชื่นชม และการบอกลาคนที่รัก” และภายหลังสัญลักษณ์นี้ก็กลายมาเป็นนัยแห่งการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้นี่เอง


(ความหมายที่แท้จริงของการ "ชู 3 นิ้ว" จากหนัง)



เมื่อเรื่องของความบันเทิงกลายมาเป็นประเด็นร้อนแรงพัวพันการเมืองแบบนี้ ทางทีมข่าว ASTVผู้จัดการ Live จึงขอให้ผู้คร่ำหวอดในวงการภาพยนตร์ช่วยวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เสียหน่อย “อ.ประวิทย์ แต่งอักษร” นักวิจารณ์ภาพยนตร์ระดับแถวหน้าของเมืองไทย จึงเริ่มแสดงความคิดเห็นผ่านมุมมองของเขาอย่างตรงไปตรงมา

“พูดกันจริงๆ เรื่องหนังมันเป็นเรื่องการเมืองอยู่แล้วครับ มันเป็นเรื่องการเมืองมาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว เหมือนกับงานศิลปะหลายๆ อย่างที่สะท้อนด้านการเมืองในมุมมองของศิลปินออกมา อย่างเรื่อง “The Hunger Games” ถ้าเอาไปฉายในประเทศที่ไม่มีบาดแผลอย่างที่เรามีอยู่ ผมว่ามันก็จะเป็นแค่หนังที่พูดถึงเรื่องเสรีภาพ พูดถึงเรื่องที่หนังฮอลลีวูดพูดมาตลอด คือความเป็นอเมริกา เรื่องเสรีภาพ ความเป็นประชาธิปไตย

ถ้าเอาหนังเรื่อง The Hunger Games มาฉายในสภาวะบ้านเมืองปกติ มันก็จะเป็นหนังที่สะท้อนอุดมการณ์เสรีภาพเหมือนกับหนังเรื่องอื่นๆ ที่เคยมีมา นับตั้งแต่เรื่อง Titanic, บัญญัติ 10 ประการ ฯลฯ พูดถึงการเชิดชูเรื่องเสรีภาพ เพียงแต่พอมาฉายในบ้านเรา ในช่วงเวลาที่คำว่า “เสรีภาพ” กลายเป็นประเด็นอ่อนไหวหรือบอบบาง คำนี้เลยกลายเป็นประเด็นร้อนแรงขึ้นมา

และอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเกิดได้ดูเรื่อง The Hunger Games ทั้ง 2 ภาคนี้ ซึ่งผมได้ดูแล้ว ก็จะรู้ว่าเนื้อเรื่องมันสามารถเทียบเคียงได้กับสถานการณ์ในปัจจุบัน ระบบเผด็จการในโลกนี้เวลามันเกิดขึ้น มันเหมือนกันไปหมดแหละครับ มันมีวิธีคิด วิธีการปฏิบัติต่อประชาชนคล้ายคลึงกันไปหมด

จากกรณีที่เกิดขึ้นพอจะเป็นภาพสะท้อนเรื่องวงการหนังไทยได้บางส่วนเหมือนกัน ถ้าพูดถึงหนังไทยเอง ตอนนี้เราจะไม่พยายามแตะต้องเรื่องการเมืองโดยตรง คือไม่นำเสนอหนังที่มีประเด็นทางการเมือง แม้ว่าจริงๆ แล้วการไม่เสนอประเด็นทางการเมืองของเขาก็เป็นการแสดงออกทางการเมืองในอีกแง่มุมหนึ่งได้เหมือนกัน”




เห็นใจสกาลา กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

(โรงหนังสกาลา เผชิญความวุ่นวายไปด้วยแบบ กลืนไม่เข้าคายไม่ออก)

ประเด็นเดือดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ฝ่ายที่ตกอยู่ในที่นั่งลำบากมากที่สุดโดยไม่ได้ทำอะไรผิด คงหนีไม่พ้นโรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์ที่ต้องแบกรับผลกระทบทั้งขึ้นทั้งล่องไปเต็มๆ ลองให้นักวิจารณ์ภาพยนตร์ชื่อดังผู้คร่ำหวอดในวงการแผ่นฟิล์มแนะนำว่าทางโรงหนังจะตัดสินใจอย่างไรจึงจะเกิดผลกระทบน้อยที่สุด อาจารย์ประวิทย์บอกเลยว่า ไม่อยู่ในฐานะที่จะบังอาจแนะนำทางโรงหนังได้ เพราะมองอย่างไรก็มีแต่เสียกับเสีย จึงมีเพียงมุมมองจากความ “เข้าใจ” และ “เห็นใจ” ฝากเอาไว้เท่านั้น

“ผมว่ามันเป็นภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก ในกรณีนี้ ผมชื่นชมโรงหนังในเครือเอเพ็กซ์ในการตัดสินใจในครั้งนี้นะครับ และผมก็ชื่นชมที่เขาเป็นที่พึ่งของคนดูหนังที่ไม่ต้องการดูหนังในเครือมัลติเพล็กซ์ และราคาค่าตั๋วของที่นี่ก็ราคาถูก อย่างน้อยก็ถูกกว่าที่อื่นๆ แถมยังไม่มีความยุ่งยาก ไม่มี Hidden Cost หรือค่าใช้จ่ายซ่อนเร้นเหมือนกับโรงหนังมัลติเพล็กซ์ทั้งหลาย

ส่วนหนึ่งที่คนไปทำกิจกรรมทางการเมืองที่โรงของเอเพ็กซ์ ผมคิดว่าเป็นเพราะทางโรงเขาไม่ยุ่งยากครับ และการที่เขาถูกเลือก ทางโรงหนังก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธโดยไม่ฉายไปเลยก็ได้ มันเป็นสิทธิของโรงหนังน่ะครับ แล้วก็เป็นสิทธิของคนดูหนังและคนทำกิจกรรมทางการเมืองด้วยเหมือนกันในการที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการกระทำของโรงหนัง ต่างคนก็ต่างมีจุดยืนเป็นของตัวเอง

จะบอกว่าผมก็เข้าใจคนที่จัดกิจกรรมทางการเมืองนะ เขาอาจจะมองว่ามันประจวบเหมาะพอดี เพราะคนที่ทำกิจกรรมทางการเมืองก็จำเป็นต้องมีอะไรบางอย่างในสถานการณ์ที่มันอ่อนไหวแบบนี้เพื่อเรียกร้องความสนใจ มาสะกิดให้คนหันมามอง และเผอิญว่าหนังเรื่อง The Hunger Games มันมีเนื้อหาที่สะกิดประเด็นที่เกี่ยวโยง เพราะฉะนั้น ก็พอจะเข้าใจได้ครับว่าทำไมถึงดึงเรื่องหนังเข้ามาชู ส่วนเรื่องโรงหนังจะมีวิธีการระวังหรือรับมือยังไง บอกยากครับ แต่ผมแค่รู้สึกว่าถ้าคนจัดกิจกรรมกำลังมองหาประเด็นอะไรบางอย่าง นี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะขยายความคิดเห็นของตัวเองไปสู่ผู้คน




กรณีที่เกิดขึ้นกับโรงหนังเครือเอเพ็กซ์ครั้งนี้ ผมอยากให้มองอย่างเข้าใจครับ อย่างที่ทราบว่า เขาเป็นคู่กรณีเกี่ยวกับเรื่องการเมืองมาก่อน โรงหนังสยามก็ถูกเผาไปเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว เจ้าของโรงหนังหรือผู้ดำเนินกิจการเขาก็มีสิทธิที่จะเลือกไม่ฉายหนังที่จะดึงให้โรงหนังเข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองอีก เพราะในขณะที่คนไม่ได้ดู The Hunger Games ที่โรงในเครือของเอเพ็กซ์ มันก็ไม่ได้แปลว่าจะทำให้คนดูที่อื่นไม่ได้ด้วยนี่ครับ โรงอื่นเขาก็ยังฉายกันตามปกติ ฉะนั้น ผมว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องซีเรียสอะไร แต่ถ้าเกิดมันไม่ได้ฉายเพราะรัฐบาลเป็นคนสั่งห้าม นั่นถึงน่าจะมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่เข้าท่า


(ความเจ็บปวดเมื่อครั้งก่อน ยังฝังจำ ไม่ขอแลกคืน)




ถ้าหากเป็นโรงหนังปกติทั่วไปทั้งหลาย ไม่มีประวัติอันเลวร้าย ไม่เคยโดนเผาก็คงไม่เป็นไร แต่โรงหนังเครือเอเพ็กซ์เราก็ทราบอยู่ว่ามันมีเหตุการณ์ตรงนี้อยู่ ฉะนั้น ถ้าคนจะไปต่อว่าเขาที่ขอยกเลิกฉายเพราะกลัวเข้าไปพัวพันในประเด็นทางการเมือง มันก็เป็นสิทธิของแต่ละคนครับ แต่ถ้าลองมองอย่างเข้าใจและรอบด้าน ก็จะเห็นว่าเขาอาจไม่อยู่ในภาวะต้องการเผชิญหน้าแบบไม่ยอมลดราวาศอกให้เป็นปัญหา

ส่วนคนที่มองว่าเขาเลือกที่จะไม่ฉายหนังเพราะเลือกข้างอะไรบางอย่างไปแล้ว อันนี้ผมมองว่ามันเป็นสิทธิที่คนจะตีความได้ครับ การทำอะไรสักอย่างหนึ่งมันต้องติดตามมาพร้อมกับนัยทางการเมืองของตัวเองอยู่แล้ว มันแสดงออกผ่านการกระทำว่าเขาใส่เสื้อสีอะไร ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่เป็นอะไรนี่ครับ ไม่ว่าจะใส่เสื้อสีอะไร ถ้าเกิดเขาไม่ลุกขึ้นมาทำร้ายร่างกายหรือแสดงออกรุนแรงอย่างที่อารยชนไม่ควรทำ”

(แคมเปญต้นเหตุที่ทำให้สกาลาต้องยอมถอดหนัง ขาดทุนวันละแสน)




ข่าวโดย ASTVผู้จัดการ Live


Create Date : 21 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2557 8:07:30 น. 0 comments
Counter : 3787 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]