เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
บรรยากาศงานประเพณี “แห่นาคช้าง”
       ประเทศไทยของเรานั้น เป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมและประเพณี ที่มีอยู่อย่างมากมายและหลากหลาย โดยแต่ละประเพณีนั้นก็ต่างมีความงดงามของขนบธรรมเนียมและพิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป และบางประเพณีก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะและไม่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ประเพณีบวชนาคช้าง” ประเพณีพื้นบ้านของจังหวัดสุรินทร์
“ประเพณีบวชนาคช้าง” นับเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีเอกลักษณ์ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นที่ บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ประเพณีบวชนาคช้างนั้นเป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวกูย หรือ ชาวกวย ซึ่งเป็นชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตระหว่างคนกับช้าง ที่ได้สืบทอดวิถีชีวิตจากบรรพบุรุษ มาอย่างยาวนานหลายร้อยปี และที่บ้านตากลางแห่งนี้ก็ได้เป็นที่รู้จักของผู้คนในชื่อ “หมู่บ้านช้าง” นั้นเอง

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
นาคเจ้าภาพและนาคเพื่อน เข้าสู่พิธีสู่ขวัญนาค
       การบวชนาคช้างนั้นไม่ได้เป็นการนำช้างมาบวช แต่เป็นการบวชของผู้ชายในหมู่บ้าน เพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่ และเข้าไปศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนา โดยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการมีช้างเข้ามาร่วมในพิธีปฏิบัติด้วย ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาวกูย ที่ได้มีความเกี่ยวข้องกับช้างมาตั้งแต่โบราณ อีกทั้งยังมีขึ้นตอนในการดำเนินพิธีที่แตกต่าง ซึ่งสามารถเห็นได้แค่ที่บ้านตากลางแห่งเดียวเท่านั้น

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
พิธีทำขวัญที่ “ปะรำทำขวัญนาค” เพียบพร้อมด้วยเครื่องบวงสรวง
       ประเพณีบวชนาคช้างจะถูกจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 13-15 ค่ำเดือนหกของทุกๆ ปี เมื่อหนุ่มชาวกูยทุกๆ คนที่ได้ออกไปทำงานต่างถิ่นต่างแดนได้มีอายุครบบวช ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็จะต้องเดินทางกลับมาบ้านเกิดเพื่อมาเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เพราะตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวกูยแล้ว หากลูกหลานคนใดต้องการจะบวชเพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่ ก็จะต้องกลับมาบวชที่บ้านตากลางแห่งนี้เท่านั้น หากบวชในที่อื่นก็ไม่ถือว่าการบวชนั้นสำเร็จ ประเพณีนี้จึงเป็นประเพณีสำคัญของทุกๆ คนในหมู่บ้าน เป็นพิธีอุปสมบทหมู่ที่งดงามอย่างมีเอกลักษณ์

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
ควาญช้างกำลังตกแต่งช้าง ด้วยปูนขาวและขมิ้น
       ในวันแรกนั้นจะมีการทำพิธีปลงผมนาค หลังจากนั้นก็จะเป็นการทำพิธีทำขวัญ โดยนาคแต่ละคนนั้นก็จะเข้าร่วมพิธีด้วยเครื่องแต่งกายตามแบบโบราณของบรรพบุรุษ โดยนาคต้องแต่งหน้า นุ่งโสร่งสวมเสื้อขาวสว่าง คลุมผ้าสี และสวมกระโจมนาคหรือชฎานาค ซึ่งแต่ละชิ้นนั้นก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป อาทิ “ผ้าหลากสี” เปรียบดังแสงรุ้ง 7 สีของผู้มีบุญวาสนา “เสื้อสีขาวสว่าง” คือการไม่หมกมุ่นในที่มืด

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
“พลายทองใบ” พรีเซ็นเตอร์โฆษณาเบียร์ช้าง ก็เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย
       และ “กระโจมนาค” หรือ “ชฎานาค” ที่ทำจากไม้ไผ่และตกแต่งด้วยกระดาษสี ห้อยนุ่นไว้ด้านข้างนั้น มีความหมายว่า ยอดที่แหลมเปรียบดั่งสมองอันหลักแหลมในการศึกษาพระธรรม กระดาษสีเปรียบดั่ง ความเปลี่ยนแปลงของแสงสี ไม่ให้เราหลงระเริงไปกับมันเพราะทุกอย่างมีทั้งดีและไม่ดี มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และ “นุ่น” ที่ห้อยไว้ด้านข้างของกระโจมนาค ถูกใช้แทนต่างหูเปรียบได้ว่า อย่าได้เป็นคนหูเบา อีกทั้งยังมีเครื่องประดับอื่นๆ อีกเช่น สังวาล,ตรึม,กำไล(เครื่องประดับโบราณ) ซึ่งปัจจุบันสิ่งเหล่านั้นได้สูญหายไปหมดแล้ว จึงได้มีการใส่สร้อยทองแทน

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
นาคทำพิธีคารวะช้าง ก่อนขึ้นสู่ช้าง
       เสร็จจากแต่งกายเสร็จนาคก็จะเข้าสู่ “ปะรำทำขวัญนาค” ซึ่งนาคแต่ละคนนั้นก็จะต้องมีนาคเพื่อนที่เข้าจะอุปสมบทพร้อมกันมาเข้าพิธีทำขวัญด้วย และจะมีแต่นาคเจ้าภาพเท่านั้นที่สวมกระโจมนาคเข้าพิธีทำขวัญ หลังจากเสร็จพิธีสู่ขวัญนาค นาคเจ้าภาพก็จะต้องไปเข้าพิธีสู่ขวัญนาค ของเพื่อนนาคด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณของชาวกูย

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
นาคขึ้นสู่หลังช้าง
       ในส่วนของปะรำทำขวัญนาค ก็จะมีบายศรี กรวยบวงสรวงเจ้าที่ เครื่องบวงสรวงสรวงต่างๆ เช่น ข้าวต้มมัด 8คู่ ไก่ต้ม เหล้า เป็นต้น ซึ่งในขณะประกอบพิธีทำขวัญนาคนั้น นาคเจ้าภาพและนาคเพื่อน จะต้องถือเคียวและเต้าปูนไว้ตลอดพิธีสู่ขวัญด้วย ซึ่งเคียวมีความหมายคือ การเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และเต้าปูน คือความหนักแน่น อีกทั้ง บาตรก็จะมีการตกแต่งให้เป็นรูปม้า ซึ่งจะหมายถึง ม้ากัณฐกะ พาหนะที่สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ทรงใช้เดินทางไปแม่น้ำอโนมานและทรงปลงผมที่แม่น้ำแห่งนี้

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
ขบวนแห่นาคจากบ้าน มาร่วมฉันเพลที่วัดแจ้งสว่าง
       หลังจากเสร็จสิ้นพิธีทำขวัญนาคแล้ว ก็จะเข้าสู่พิธีการที่มีความเกี่ยวข้องกับช้างในวันที่ 2 โดยช้างแต่ละเชือกนั้นก็จะถูกควาญช้างตกแต่งลวดลายลงบนผิวหนังอย่างสวยงามด้วยปูนขาวและขมิ้น แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการนำชอล์คสีมาวาดลวดลายด้วยเช่นกัน หลังจากถูกแต่งแต้มจนออกมาสวยงามจนแล้วเสร็จ ควาญช้างก็จะนำช้างไปรับนาคที่บ้าน

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
เด็กๆ สนุกสนาน รอเก็บเหรียญโปรยทาน
       ก่อนนาคขึ้นสู่หลังช้างนั้นก็ต้องมีการทำพิธีคารวะพ่อแม่และช้าง ซึ่งในการขึ้นช้างไปประกอบพิธีนั้นชาวกูยมีความเชื่อว่า การบวชนั้นถือเป็นการเดินทางเข้าสู่ทางธรรม ก็จะมีเหล่ามารมาผจญอาจก็ให้เกิดอันตรายได้ขณะเดินทางไปทำพิธีอุปสมบท ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัตว์มงคลและเป็นสัตว์ใหญ่หากขึ้นหลังช้างแล้วก็จะไม่มีอันตรายใดๆ มากล้ำกราย

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
หมอช้างทำพิธีบวงสรวงที่ “ศาลปะกำ” ศูนย์คชศึกษา
       เมื่อครั้งอดีต ชาวกูยทั้งหมู่บ้านจะพร้อมใจกันแห่นาคช้าง ไปประกอบพิธีอุปสมบทที่ดอนบวชอันเป็นเกาะกลางแม่น้ำ ซึ่งเป็นบริเวณที่เรียกว่าวังทะลุ เป็นจุดที่แม่น้ำมูลและแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกัน โดยจะใช้พื้นที่ในจุดนี้ทำพิธีอุปสมบทนาคแทนโบสถ์ เพราะในสมัยก่อนยังไม่มีโบสถ์ จึงพื้นที่นี้ว่าเรียกว่า ”สิมน้ำ” แต่ในปัจจุบันจะประกอบพิธีอุปสมบทเป็นภิกษุ ที่พระอุโบสถวัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
นาคและช้างมารวมกันที่ศูนย์คชศึกษา เพื่อร่วมขบวนแห่
       โดยนาคแต่ละคนนั้นจะขึ้นช้างที่บ้าน และแห่นาคไปพร้อมขบวนแห่ของครอบครัว และไปฉันเพลร่วมกันที่วัดแจ้งสว่าง หลังเสร็จจากการฉันเพลก็จะไปรวมกันที่ศูนย์คชศึกษา อันเป็นที่ตั้งของ "ศาลปะกำ" ศาลศักดิ์สิทธิ์ของชาวกูย เพื่อที่จะประกอบพิธีบวงสรวงบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยจะมีหมอช้างเป็นผู้นำในการประกอบพิธี ตามความชื่อที่มีมาแต่โบราณ ที่ได้เล่าไว้ว่าหากชาวกูยจะประกอบพิธีใดๆ ก็จะต้องมาบวงสรวงศาลปะกำให้พิธีดังกล่าวสำเร็จลุล่วง หากไม่บวงสรวงก็จะเกิดอาเพศ

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
ผู้คนให้ความสนใจขบวนแห่ ตลอดสองข้างทาง
       เสร็จจากการบวงสรวงศาลประกำแล้ว ก็จะเป็นการจัดขบวนแห่นาคช้างไปประกอบพิธีที่ดอนบวช โดยจะมีหมอช้างเป็นผู้นำในการบวงสรวงศาลปู่ตา ซึ่งพ่อแม่นาค นาค ช้าง และชาวบ้านจะไปรวมกันที่ดอนบวชแห่งนี้ โดยในปัจจุบันการประกอบพิธีที่บริเวณดอนบวช คือการไปบวงสรวงศาลปู่ตาเพื่อเป็นการบอกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และจะกลับไปประกอบพิธีอุปสมบทที่โบสถ์วัดแจ้งสว่าง

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
บรรยากาศ “ขบวนแห่งนาคช้าง“
       ไฮไลท์เด่นของประเพณีบวชนาคช้างนั้น คือช่วงเวลาของการแห่นาคช้าง เพราะถือได้ว่าเป็นพิธีการที่ยิ่งใหญ่ โดยจะเริ่มต้นขบวนแห่กันที่ศูนย์คชศึกษา ขบวนนาคช้างจะประกอบไปช้างมากมายที่เป็นมาเป็นพาหนะสำหรับพระสงฆ์และนาคทุกคนของหมู่บ้าน โดยมีเหล่าญาติพี่น้องเพื่อนพ้องของนาคก็จะมาร่วมขบวนแห่ด้วยเช่นกัน ตลอดสองข้างทางจะทั้งชาวบ้านและนักท่องเที่ยวทุกคน มารอดูรอชมขบวนและรอเก็บเหรียญโปรยทานที่นาคจะโปรยลงมาจากหลังช้าง โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ตั้งหน้าตั้งตารอเก็บเหรียญโปรยทาน

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
บรรยากาศขบวนแห่คึกคัก
       อีกทั้งยังมีดนตรีบรรเลงเพลงตลอดระยะทางในการแห่ขบวนบวชนาคช้าง ซึ่งจะมีผู้คนมากม่ายมาเต้นมาฟ้อนนับได้ว่าเป็นบรรยากาศคึกคักน่าชม และแม้อากาศจะร้อนแค่ไหน ชาวบ้านทุกๆ คนก็ยังคงมีแต่รอยยิ้มของความสุขที่ได้ร่วมงานบุญ และความมุ่งมั่นอันเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่จะร่วมกันขบวนแห่ในครั้งนี้ เพื่อเดินทางไปยังดอนบวชซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านตากลางไปประมาณ 4 กิโลเมตร

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
แม้แดดจะแรงก็ไม่ท้อถอย
       นับได้ว่าประเพณีบวชนาคช้างนั้น เป็นประเพณีที่มีทั้งความสวยงามและยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์ที่ไม่สามารถชมได้ที่ไหน โดยเฉพาะในช่วงเวลาของขบวนแห่ที่ต้องมาเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้งหนึ่งใน และคู่ควรกับการอนุรักษ์รักษาไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็น ประเพณีพื้นบ้านอันงดงามที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้

“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
ขบวนแห่มุ่งหน้าสู่ “ดอนบวช”


“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
เหล่าช้างลงน้ำเพื่อคลายร้อนที่ “วังทะลุ”


“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
ทัศนียภาพบริเวณวังทะลุ จุดบรรจบของแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี


“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
นาคและช้างมารวมกันที่ “ดอนบวช”


“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
หมอช้างเป่าแตรเขาสัตว์ เริ่มต้นพิธีบวงสรวง “ศาลปู่ตา”


“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
บรรยากาศพิธี “บวงสรวงศาลปู่ตา”


“บวชนาคช้าง” วิถีผูกพันของคนกับช้าง ประเพณีงดงามยิ่งใหญ่ของชาวกูย (ชมคลิป)
หลังพิธีบวงสรวง ก็จะเดินทางกลับหมู่บ้านพร้อมกัน
**********************************************************************************************************************

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) สำนักงานสุรินทร์ (รับผิดชอบ จ.สุรินทร์,บุรีรัมย์,ศรีสะเกษ) โทร.0-4451-4447-8

       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

//www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000055079



Create Date : 19 พฤษภาคม 2557
Last Update : 19 พฤษภาคม 2557 22:39:12 น. 1 comments
Counter : 1902 Pageviews.  

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 20 พฤษภาคม 2557 เวลา:2:57:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]