เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

Review: Huawei Honor 6 Plus สมาร์ทโฟนเน้นกล้องคู่ โดดเด่นทุกสภาพแสง



       ทุกวันนี้เรื่องกล้องถ่ายภาพบนสมาร์ทโฟนกลายเป็นประเด็นหลักในการแข่งขันด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่แพ้เรื่องของสเปกเครื่องที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วเช่นกัน

       และแบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่างหัวเว่ย (Huawei) หลังจากได้กลับมาปลุกชีพตลาดสมาร์ทโฟนราคาประหยัดในหลายประเทศ ในครั้งนี้หัวเว่ยหันมาจับสมาร์ทโฟนระดับกลางตระกูล Honor มาปรับแต่งสร้างจุดขายใหม่ด้วยการเลือกพัฒนากล้องถ่ายภาพด้านหลังแบบกล้องคู่ (Dual Camera) พร้อมฟีเจอร์คุณภาพสูงใช้งานได้จริง และที่สำคัญราคาจับต้องได้กับชื่อใหม่ Huawei Honor 6 Plus เพื่อหวังเจาะตลาดผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ชื่นชอบการถ่ายภาพแต่ไม่ต้องการสมาร์ทโฟนราคาแพงเกินไป

การออกแบบ




       เริ่มจากเรื่องการออกแบบ สำหรับ Honor 6 Plus หัวเว่ยตั้งใจเลือกใช้วัสดุงานประกอบจากอลูมิเนียมขัดเงาเพื่อความหรูหราและแข็งแรง ตัวเครื่องมีให้เลือก 3 สี ได้แก่ ขาว ทองและดำ จอสัมผัส TFT-LTPS ทำให้ขอบจอบางเพียง 2.8 มิลลิเมตรและบริโภคพลังงานต่ำ ขนาดหน้าจอ 5.5 นิ้ว ความละเอียด 1,920x1,080 พิกเซล ความหนาแน่นพิกเซลอยู่ที่ 403 พิกเซลต่อตารางนิ้วครอบทับด้วยกระจกจอ Corning Gorilla Glass 3 ส่วนกล้องหน้าความละเอียด 8 ล้านพิกเซล

       ด้านขนาดตัวเครื่องกว้างxยาว อยู่ที่ 150.5x75.5 มิลลิเมตร หนา 7.5 มิลลิเมตร น้ำหนักอยู่ที่ 165 กรัม และที่พิเศษคือหัวเว่ยเลือกใช้วัสดุผลิตเครื่องจากไฟเบอร์กลาสน้ำหนักเบาซ้อนทับกัน 6 ชั้น สามารถกันกระสุนได้




       มาดูด้านหลังของตัวเครื่อง มองเผินๆพื้นผิวสัมผัสเหมือนถูกแกะลายไว้ให้ดูหรูหราแต่เมื่อสัมผัสจริงลวดลายเหล่านั้นจะถูกครอบทับด้วยไฟเบอร์กลาสคล้ายกระจก

       เหนือโลโก้ Honor ขึ้นไปจะเป็นที่อยู่ของกล้องหลังคู่ที่หัวเว่ยตั้งชื่อว่า “Eagle Eye” ความละเอียด 8 ล้านพิกเซลทั้งสองตัว ถัดไปจะเป็นไฟแฟลช LED แบบคู่ และด้านใต้ข้างรายละเอียดรุ่นรหัสตัวเครื่องซึ่งเขียนเป็นภาษาจีนจะเป็นที่อยู่ของลำโพง Internal Speaker




       สำหรับปุ่มกดและช่องเชื่อมต่อต่างๆรอบตัวเครื่องเริ่มจากขวามือของตัวเครื่องจะเป็นที่อยู่ของปุ่มเพิ่มลดระดับเสียงและปุ่มเปิดปิดตัวเครื่อง ถัดมาเป็นช่องใส่ซิมการ์ดแบบคู่ (Dual Sim) โดยช่องที่ 1 จะเป็น Micro Sim เป็นช่องใส่ซิมหลักเพราะรองรับ 2G/3G และ 4G LTE ทั้งหมด ส่วนช่องใส่ซิมที่ 2 จะเป็น Nano Sim รองรับเฉพาะ 2G และแชร์กับช่องใส่การ์ดความจำ MicroSD (รองรับความจุสูงสุด 128GB) โดยถ้าผู้ใช้ต้องการใส่ซิมที่ 2 ก็จะใส่การ์ดความจำไม่ได้




       ส่วนด้านบนและล่างของตัวเครื่อง เริ่มจากด้านบนจะเป็นช่องเสียบหูฟัง/Smalltalk ขนาด 3.5 มิลลิเมตร ถัดไปเป็นช่องยิงแสงอินฟาเรดเพื่อใช้ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและสุดท้ายเป็นช่องไมโครโฟนตัดเสียงรบกวนตัวที่สอง

       ด้านล่าง - จะเป็นที่อยู่ของพอร์ต MicroUSB และไมโครโฟนหลักเท่านั้น

สเปก




       สเปก Honor 6 Plus จัดว่าอยู่ในระดับกลาง โดยหัวเว่ยเลือกใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม 32 บิต HiSilicon Kirin 925 Octa-core แบ่งเป็น 4 แกนแรกความเร็ว 1.8GHz และ 4 แกนหลังความเร็ว 1.3GHz พร้อม Micro Core ความเร็ว 230MHz ที่จะเปิดใช้อัตโนมัติเมื่ออยู่ในโหมดสแตนบายเพื่อประหยัดพลังงาน

       ด้านสเปกกราฟิกชิปเลือกใช้ Mali T628 MP4 แรม 3GB พื้นที่เก็บข้อมูลในตัวเครื่อง 32GB เหลือใช้งานจริงประมาณ 25.44GB ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ KitKat 4.4.2 ครอบทับด้วย Emotion UI 3.0 แบบเดียวกับที่หัวเว่ยเลือกใช้ใน Ascend G7

       ในส่วนการรองรับเครือข่าย รองรับ 2G 3G และ 4G LTE ทุกเครือข่ายในไทย บลทูธรองรับเวอร์ชัน 4.0 Low Energy, WiFi รองรับมาตรฐาน b/g/n, มี NFC และ GPS รองรับทั้ง A-GPS และ GLONASS ส่วนแบตเตอรี หัวเว่ยให้มาใหญ่ถึง 3,600mAh แต่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนเองได้

User Interface และฟีเจอร์เด่น



       เริ่มจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟสกันก่อน ทีมงานขอไม่อธิบายเจาะลึกรายละเอียดของแอปพลิเคชันทั้งหมด เนื่องจาก Emotion UI 3.0 ที่ทำงานบนแอนดรอยด์ KitKat 4.4.2 จะมีการทำงานและฟีเจอร์คล้ายกับ Ascend G7 ที่เคยรีวิวไปแล้ว เพราะฉะนั้นทีมงานจะขอกล่าวถึงเฉพาะจุดเด่นสำคัญที่พบเจอได้จาก Honor 6 Plus เป็นหลัก




       เริ่มจากเรื่องแรก ”ระบบประหยัดพลังงานและระบบจัดการสิทธิ์เข้าถึงแอปพลิเคชัน” ที่กลายเป็นจุดขายสำคัญของหัวเว่ยยุคใหม่ไปแล้ว โดยระบบจัดการพลังงาน (Battery Saver) จะเข้ามาจัดการการเปิดปิดแกนหน่วยประมวลผลอัตโนมัติเพื่อลดการทำงานของซีพียูเมื่อใช้งานทั่วไป นอกจากนั้นระบบยังอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเลือกโปรไฟล์ประหยัดพลังงานได้ตามต้องการด้วย

       ส่วนระบบจัดการสิทธิ์เข้าถึงแอปพลิเคชันถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถปิดเปิดการเข้าถึงระบบของแอปพลิเคชันทั้งหมดที่มีในเครื่องได้ รวมถึงยังสามารถใช้สำรวจอัตราการบริโภคดาต้าอินเตอร์เน็ตของแต่ละแอปฯที่มีในเครื่องและสั่งเปิดปิดการทำงานของ Background Apps ได้อย่างอิสระ




       นอกจากนั้นในส่วนของการตั้งค่ายังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ปรับแต่งตั้งแต่ Navigation Button (ปุ่มย้อนกลับ โฮม เรียกเมนู) ไปถึง Gestures, Motion Control และสามารถวาดตัวอักษรเพื่อแทนคำสั่งเปิดแอปฯระหว่าหน้าจอปิดอยู่ได้


หน้าตาฟิล์มกันรอยที่มาพร้อม Navigation Button ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับ Huawei Honor 6 Plus โดยเฉพาะ


       และพิเศษกว่านั้น สำหรับผู้ใช้ที่ถวิลหา Navigation Button แบบปุ่มสัมผัสจริงก็สามารถหาฟิล์มป้องกันรอยหน้าจอที่มาพร้อม Navigation Buttons มาติดหน้าจอและเปิดใช้งานระบบเพิ่มการสัมผัส เพียงเท่านี้ Navigation Buttons เดิมจะหายไปและผู้ใช้สามารถกดจากฟิล์มที่ติดตั้งเพิ่มได้ทันที



       มาถึงฟีเจอร์จุดขายหลักของ Honor 6 Plus ก็คือกล้องถ่ายภาพและซอฟต์แวร์ควบคุมที่หัวเว่ยพัฒนาขึ้นเอง อย่างที่ทราบกันดีว่าสเปกกล้องทั้งสามตัว (หลังแบบคู่และกล้องหน้า) มีความละเอียดเท่ากันคือ 8 ล้านพิกเซล แต่กล้องหลังแบบคู่จะเลือกใช้เลนส์จากโซนี่พร้อมรูรับแสง f2.0 และเซนเซอร์รับภาพ Sony Exmor แบบ CMOS BSI



       ส่วนซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของกล้อง เริ่มจากกล้องหลังแบบคู่ “Eagle Eye” หัวเว่ยเลือกพัฒนาซอฟต์แวร์ได้น่าสนใจมาก เพราะในโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติปกติ กล้องหลังทั้งสองตัวจะทำงานสอดประสานกันโดยให้ตัวหนึ่งเป็นกล้องหลักและอีกตัวเป็นกล้องเก็บรายละเอียดต่างๆ ทำให้ความละเอียดภาพสูงสุดจะทำได้ถึง 13 ล้านพิกเซล



       มาถึงอีกหนึ่งความสามารถพิเศษของซอฟต์แวร์กล้องที่สามารถดึงประสิทธิภาพของกล้องหลังคู่ออกมาได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากที่สุดก็คือ โหมด Wide Aperture (รูรับแสงกว้าง) ที่ใช้หลักการทำงานแบบเดียวกับ HTC One M8 และ M9 Plus ก็คือใช้กล้องหลังทั้งสองแทนตาซ้ายและขวาเพื่อทำให้ภาพเกิด Depth of field (หน้าชัดหลังเบลอ) ขึ้นและผู้ใช้สามารถเลือกจุดโฟกัสของภาพได้ภายหลัง รวมถึงสามารถปรับจำลองรูรับแสงตั้งแต่ f0.95-f16 ได้เหมือนการปรับรูรับแสงจากกล้อง DSLR


ถ้ายังอ่านไม่เข้าใจหลักการทำงานของ Wide Aperture ลองรับชมคลิปวิดีโอนี้ดู



ตัวอย่างโหมด Wide Aperture ปรับจำลองรูรับแสง f0.95



ตัวอย่างโหมด Wide Aperture ปรับจำลองรูรับแสง f4



ตัวอย่างโหมด Wide Aperture ปรับจำลองรูรับแสง f16 ชัดทั้งภาพ




       สุดท้ายกับโหมดถ่ายภาพ ”Super Night” ที่หลายคนกล่าวขวัญเป็นอย่างมากเมื่อช่วงหัวเว่ยพาสื่อมวลชนทดสอบถ่ายภาพกลางคืนรอบเกาะรัตนโกสินทร์ เพราะโหมดดังกล่าวจะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถตั้งความไวแสง (ISO) และชัตเตอร์สปีดตั้งแต่ 1/4 วินาทีไปจนนานสุด 32 วินาทีเพื่อให้ได้ภาพกลางคืนที่สวยงาม ปราศจากสัญญาณรบกวนต่างๆ

       ส่วนถ้าผู้ใช้ไม่รู้เรื่องการปรับค่ากล้อง ก็สามารถเลือกถ่ายโหมดดังกล่าวแบบอัตโนมัติได้ โดยระบบจะทำการวัดแสงและปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เอง

เพราะฉะนั้นใครที่กำลังคิดอยากลองโหมด Super Night จำเป็นต้องใช้มีขาตั้งกล้อง ไม่เช่นนั้นภาพที่ได้จะไม่คมชัดเนื่องจากโหมดดังกล่าวจะเน้นความเร็วชัตเตอร์ต่ำเป็นหลัก

IMG_20150526_185735

ตัวอย่างภาพ Super Night Mode : ชัตเตอร์ 5.7 วินาที : ISO100


IMG_20150523_205720

ตัวอย่างภาพ Super Night Mode : ชัตเตอร์ 17.3 วินาที : ISO100


IMG_20150526_190504

ตัวอย่างภาพ Super Night Mode : ชัตเตอร์ 10.6 วินาที : ISO100


IMG_20150526_190933

ตัวอย่างภาพ Super Night Mode : ชัตเตอร์ 8.2 วินาที : ISO100


ทดสอบประสิทธิภาพ




       มาถึงการทดสอบประสิทธิภาพ Honor 6 Plus สามารถทำคะแนนผลทดสอบได้ค่อนข้างดี ระบบสัมผัสหน้าจอลื่นไหล การใช้งานทั่วไป เช่น เล่นโซเชียล ท่องเว็บไซต์ถือว่าทำได้ดีทั้งหมด แต่จะติดปัญหาเรื่องซีพียู Kirin ที่บางเกมยังรองรับไม่สมบูรณ์นักทำให้อาจพบอาการกระตุกระหว่างเล่นหรือบางเกมระหว่างเล่นเกิดอาการภาพกราฟิกล้ม เช่น Modern Combat 5 เป็นต้น

       ในส่วนเรื่องมัลติมีเดีย เช่น การรับชมภาพยนตร์และฟังเพลงถือว่าทำได้ดีจะติดอยู่เรื่องเดียวก็คือลำโพงด้านหลังที่มีโอกาสถูกบดบังเมื่อวางเครื่องลงกับโต๊ะ



       มาถึงเรื่องแบตเตอรีกับการบริโภคพลังงาน ถึงแม้หัวเว่ยจะให้แบตเตอรีความจุมากถึง 3,600mAh แต่คะแนนที่ได้เมื่อทดสอบผ่านแอปฯ Geekbench ถึงได้ตกต่ำเหลือเพียง 4 ชั่วโมง 2 นาที 30 วินาที พร้อมคะแนน 2,425 คะแนนเท่านั้น ซึ่งเมื่อนำไปคำนวณหาเวลาใช้งานทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 10 ชั่วโมงเท่านั้น

       ด้วยคะแนนที่แปลกประหลาดขนาดนี้ ทีมงานจึงขอทดสอบใช้งานจริงเป็นเวลาหนึ่งวันเต็มและก็พบกับความจริงว่า ถ้าใช้งานทั่วไปแบบเชื่อมต่อ 4G LTE เน้นตอบไลน์ เข้าแอปฯโซเชียล และสแตนบายหน้าจอเป็นหลัก แบตเตอรีระดับ 3,600mAh สามารถพา Honor 6 Plus ทะลุหนึ่งวันสบายๆ แต่เมื่อใดก็ตามที่นำไปเล่นเกมจนเครื่องเริ่มร้อน แบตเตอรีจะถูกบริโภคลดลงค่อนข้างรวดเร็วทีเดียว และนี่ก็คงเป็นเหตุผลที่เมื่อทดสอบกับ Geekbench แล้วคะแนนถึงตกต่ำขนาดนี้

IMG_20150520_151915


IMG_20150521_133312


IMG_20150521_140113


IMG_20150521_160738


IMG_20150521_202329


IMG_20150522_111037


IMG_20150522_111945


IMG_20150524_221513


IMG_20150526_113024


IMG_20150527_155615




       มาถึงการทดสอบสุดท้ายกับกล้องถ่ายภาพทั้งหน้าและหลัง ถ้าไม่นับเรื่องฟีเจอร์และโหมดถ่ายภาพที่หัวเว่ยทำได้ยอดเยี่ยมแต่มองเรื่องคุณภาพของไฟล์ภาพเมื่อใช้งานปกติ ต้องเรียนตามตรงว่่าคุณภาพภาพถ่ายที่ได้ถือว่าทำได้ตามมาตรฐานสมาร์ทโฟนกล้องชัดทั่วไป ไม่ได้โดดเด่นจนน่าจับตามอง แถมการถูกตั้งเป้าหมายให้เป็นสมาร์ทโฟนเน้นกล้องแต่กลับไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว OIS มาให้ ก็ทำให้การถ่ายในที่แสงน้อยทำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะโหมดวิดีโอที่ดูธรรมดามาก

       ส่วนฟีเจอร์ Wide Aperture ที่ถือเป็นฟีเจอร์สร้างสรรค์ เอาเข้าจริงถือว่าใช้งานยากเพราะถ้าเล็งถ่ายภาพไม่ดี ระยะไม่ได้ ภาพที่อยากให้เกิดหน้าชัดหลังเบลอจะดูหลอกตาเหมือนทำผ่านซอฟต์แวร์ตัดต่อรูปทันที

       ก็คงจะเหลือแต่โหมด Super Night ที่ถือว่าไม่มีข้อติแต่อย่างใด เพราะผลลัพท์ของภาพที่ได้ถือว่าทำได้ดีมากแถมระหว่างม่านชัตเตอร์กำลังเปิดค้าง ผู้ใช้ยังสามารถมองเห็นผลลัพท์ภาพที่ได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย พวกชื่นชอบการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ยามค่ำคืนน่าจะชื่นชอบได้ไม่ยาก

ฟันธง! ความคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่เสียไป?



ข้อดี
       - วัสดุงานประกอบดีเลิศ
       - ความจำในเครื่องให้มาเริ่มต้น 32GB
       - ฟีเจอร์กล้องหลังคู่ Eagle Eye ทำได้น่าสนใจมาก โดยเฉพาะ Wide Aperture
       - โหมดถ่ายภาพ Super Night ทำได้ดี
       - หน้าจอคมชัด สัมผัสลื่นไหลดีมาก
       - กล้องหน้า 8 ล้านพิกเซลพร้อมโหมดเซลฟีตกแต่งหน้าใส
       - รองรับ 4G LTE

ข้อสังเกต
       - ไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว OIS ติดตั้งมาให้
       - แบตเตอรีและการจัดการพลังงานภายในยังทำได้ไม่ดี

ราคาเปิดตัว Huawei Honor 6 Plus อยู่ที่ 15,990 บาท สรุปภาพรวมเมื่อเทียบกับราคาแล้วถือว่าเป็นอีกหนึ่งสมาร์ทโฟนสเปกดีที่ตั้งราคามากำลังดี จุดเด่นหลักของ Honor 6 Plus คงอยู่ที่เรื่องกล้องหลังกับฟีเจอร์ที่ให้มาน่าสนใจ โดยเฉพาะโหมดถ่ายภาพกลางคืนพิเศษและ Wide Aperture ที่ยอมรับว่าน่าจะถูกอกถูกใจผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพ เพราะสามารถนำไปประยุกต์ปรับแต่งสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายด้วยสมาร์ทโฟนได้อย่างหลากหลาย

       แต่ทั้งนี้ถ้าผู้อ่านไม่ได้สนใจเรื่องฟีเจอร์กล้องคู่ Eagle Eye ไม่ได้ชอบละลายฉากหลังมากนักการบอกเมิน Honor 6 Plus และหันไปสนใจไฮเอนด์ตัวจริงอย่าง Huawei Ascend P8 ที่มีราคาใกล้เคียงกันก็อาจจะได้หลายสิ่งที่คุ้มค่ากว่า

Company Related Link :
Huawei Device



Create Date : 09 มิถุนายน 2558
Last Update : 9 มิถุนายน 2558 7:54:32 น. 0 comments
Counter : 857 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]