space
space
space
<<
มกราคม 2560
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
10 มกราคม 2560
space
space
space

ระบบปฎิบัติการ Windows


ระบบปฎิบัติการ Windows

Windows คืออะไร
      Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัท ไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-UserInterface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่ง ใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส  ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม มีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น .....

ระบบปฏิบัติการ WINDOWS NT

MICROSOFT WINDOWS NEW TECHNOLOGY

NT_31

เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการเครือข่าย ในระยะใกล้   (LAN : Local Area Network)   โดยจัดการด้านการติดต่อสื่อสาร  ระหว่างคอมพิวเตอร์  และการรักษาความปลอดภัยในเครือข่าย ได้เป็นอย่างดี ในระบบเครือข่ายจะมีผู้ใช้งานหลายคน วินโดวส์ NT จะทำการจัดทรัพยากรของระบบ ให้มีการใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด    รวมถึงการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ WINDOWS NT

NT2

           Windows NT ใช้ระบบไฟล์แบบ NT ( NTFS ) ซึ่งเป็นระบบไฟล์ที่รองรับการตั้งชื่อไฟล์ได้ยาวถึง 256 อักขระ และมีความสามารถในการติดตามการทำงาน ซึ่งหมายความว่าเมื่อระบบทำงานผิดพลาด Windows NT จะสามารถคืนค่าเดิมในสภาวะก่อนทำงานผิดพลาดกลับลงไปได้

การเชื่อมโยงข้อมูลของ Windows NT สนับสนุนตามข้อกำหนดระดับชั้นการเชื่อมโยงข้อมูลของมาตรฐาน IEEE 802.2 สำหรับระบบเครือข่ายทั้งแบบโทเคนริงและอีเธอร์เน็ต รวมทั้งข้อกำหนดโปรโตคอล SDLC ,โปรโตคอล X.25 / QLLC และ DFT (distributed function terminal)

นอกเหนือจากนี้ Windows NT รุ่น Advanced Server ยังมีคุณลักษณ์เด่นอื่นๆ อีกหลายประการ รวมถึงความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการเครือข่ายอื่นๆ

ประสิทธิภาพของ WINDOWS NT

Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบ 32 บิตที่สามารถทำงานหลายๆงานควบคู่กันไปได้ และยังสนับสนุนระบบหลายโปรเซสเซอร์ รวมทั้งการประมวลผลแบบสมมาตรที่เป็นการกระจายงานออกไปยังโปรเซสเซอร์ทั้งหลายให้ช่วยกันทำการประมวลผลอย่างได้สมดุล ซึ่งด้วยคุณลักษณ์ดังกล่าวนี้ทำให้บริษัททั้งหลายที่ต้องการระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถจัดซื้อซูเปอร์เซิร์ฟเวอร์ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์หลายๆตัวมาใช้งานร่วมกับ Windows NT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ 6 ตัวก็จะมีความเร็วสูงกว่าเครื่องที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ตัวเดียวขึ้นไปอีก 6 เท่าเป็นต้น

ภายใน Windows NT มีความสามารถในการทำระบบเครือข่ายแบบเท่าเทียมมาให้ด้วย กล่าวคือผู้ใช้ Windows NT สามารถแบ่งปันร่วมใช้ทรัพยากรอื่นๆกับผู้ใช้อื่นที่ใช้ Windows NT , Windows , DOS และ OS/2 ได้ด้วยนั่นเอง นอกเหนือจากนี้ใน Windows NT ยังใช้เทคนิคในการจัดการกับหน่วยความจำเป็นแบบแฟลต (flat) แทนที่จะใช้วิธีการแบ่งเพจ (page) อันทำให้การทำงานของ Windows NT มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้งานกับโปรแกรมกราฟิกซึ่งจะทำงานได้เร็วขึ้นมาก

ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นของ Windows NT ในความเป็นจริงแล้วเป็นผลพวงมาจากความต้องการทรัพยากรของตัว Windows NT เองที่ระบุเอาไว้ว่าต้องเป็นเครื่องที่ใช้หน่วยประมวลผลกลางเบอร์ 80486DX ของ Intel ขึ้นไป และต้องมีหน่วยความจำแรมอย่างต่ำ 12 เมกะไบต์และมีพื้นที่ว่างในการติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์อีก 100 เมกะไบต์ โดยนอกเหนือจากเครื่องที่ใช้ชิปของ Intel แล้ว Microsoft ยังได้ร่วมมือกับอีกหลายๆบริษัท ซึ่งรวมทั้ง Digital Equipment Corporation และ MIPS Computer Systems เพื่อให้สามารถนำ Windows NT ไปใช้งานบนเครื่องที่มีฮาร์ดแวร์แพล็ตฟอร์มต่างๆได้หลายแบบ

ารรักษาความปลอดภัยภายใต้ WINDOWS NT

ในการเข้าใช้งาน Windows NT นั้น ผู้ใช้จะต้องป้อนรหัสผ่านเพื่อแสดงการขอเข้าใช้ มิฉะนั้น 

Windows NT จะไม่อนุญาตให้เข้าใช้เซิร์ฟเวอร์ได้ โดยใน Windows NT จะมีโปรแกรม User Manager ที่ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับบัญชีผู้ใช้ โดยสามารถแบ่งระดับความสามารถในการเข้าถึงระบบเครือข่ายของผู้ใช้ต่างๆออกเป็นหลายๆระดับได้ด้วย นอกเหนือจากนี้ยังสามารถสร้างกลุ่มผู้ใช้และกำหนดสิทธิให้กลุ่มได้ กล่าวคือผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่มผู้ใช้เดียวกันก็จะมีสิทธิในการใช้ระบบเครือข่ายเท่าเทียมกัน

อีกคุณลักษณ์เด่นหนึ่งของ Windows NT คือโปรแกรม Event Viewer ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผู้บริหารระบบเครือข่ายใช้ในการตรวจดูสิ่งผิดปกติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย รวมทั้งการฝ่าฝืนต่างๆ ซึ่งจะมีข้อมูลแสดงวันที่ เวลา และรูปแบบการฝ่าฝืน รวมทั้งสถานที่ที่ผู้ฝ่าฝืนดำเนินการและชื่อของผู้ฝ่าฝืน ทุกครั้งที่จะเริ่มใช้งาน Windows NT ผู้ใช้จะต้องป้อนรหัสผ่านก่อนทุกครั้งด้วยการกดแป้น Ctrl-Alt-Del เหมือนการบูตเครื่องใหม่ เพื่อทำการป้อนชื่อและรหัสผ่านของตน

การรักษาความปลอดภัยภายใน Windows NT เป็นไปตามมาตรฐานการรักษาระดับ C2 ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากนี้ทาง Microsoft ยังได้แจ้งด้วยว่าจะเพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยใน Windows NT ให้สูงกว่านี้ขึ้นไปอีกในอนาคต

การรัน WINDOWS NT กับระบบปฏิบัติการเครือข่ายอื่น

Windows NT มีคุณสมบัติของการเชื่อมต่อโปรแกรมใช้งานหรือ API (application programming interface) อันเอื้ออำนวยให้ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการเครือข่ายอื่นๆ สามารถพัฒนาโปรแกรมไคลเอ็นต์บนผลิตภัณฑ์ของตนติดต่อกับ Windows NT ได้ง่ายขึ้น โดยทาง Novll ได้แจ้งว่าตนจะสามารถปล่อยซอฟต์แวร์ไคลเอ็นต์สำหรับ Windows NT ของตนตามออกมาได้อย่างทันทีทันใดที่ Windows NT ออกวางจำหน่าย

โปรโตคอลสแต็ก TCP/IP และโปรแกรมใช้งานเป็นไคลเอ็นต์ของ TCP/IP อย่างเช่น Telnet และ FTP มีให้มาด้วยแล้วใน Windows NT นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเราต์ TCP/IP อีกด้วย แต่เนื่องจาก Microsoft มิได้ให้โปรแกรมเซิร์ฟเวอร์สำหรับ Telnet และ FTP มาด้วย ดังนั้นสถานีงานของ UNIX จึงยังไม่สามารถเข้ามาใช้ Windows NT โดยตรงได้ในตอนนี้ แต่ทาง Microsoft ได้แถลงว่าจะเพิ่มลงไปด้วยใน Windows NT เวอร์ชันต่อไป นอกเหนือจากที่กล่าวมา Windows NT ยังสนับสนุนโปรโตคอลการจัดการระบบเครือข่ายอย่างง่ายที่เรียกว่า SNMP (simple network management protocol) อีกด้วย อันทำให้สามารถจัดการการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ Windows NT ด้วยโปรแกรมการจัดการระบบเครือข่าย SNMP ได้

Windows NT สามารถโต้ตอบและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ NetWare , Vines และ Sun NFS ได้ ทั้งที่แรกเริ่มที่ออกแบบขึ้นมานั้น ตั้งใจจะให้รองรับเฉพาะ LAN Manager แต่ก็ปรากฏว่าสามารถรับรองระบบเครือข่ายอื่นๆได้ด้วย ขึ้นอยู่กับว่าระบบเครือข่ายนั้นๆรองรับการ์ดเชื่อมต่อระบบเครือข่ายตามข้อกำหนดการเชื่อมต่อส่วนขับเครือข่าย NDIS (network driver interface specification) ของ Microsoft หรือไม่

นอกเหนือจากที่กล่าวมา Windows NT ยังรองรับไคลเอ็นต์ที่เป็นเครื่องแมคอินทอชอีกด้วย ซึ่งนั่นรวมถึงการรองรับ ApplpTalk File Protocol v2.1 และการรักษาความปลอดภัย AF ไว้ภายในด้วย โดยเครื่อง PC สามารถสร้างไฟล์ขึ้นมาแล้วเปลี่ยนเป็นไอคอนเฉพาะ และใส่รายละเอียดเพิ่มลงไป ผู้ใช้เครื่องแมคอินทอชจะสามารถดับเบิลคลิกไฟล์เหล่านี้ เปิดไฟล์ขึ้นด้วยโปรแกรมใช้งานที่เหมาะสมได้

ระบบการพิมพ์ของ Windows NT สามารถรองรับงานพิมพ์แบบโพสต์สคริปต์ทั้งหมดของเครื่องแมคอินทอชให้พิมพ์ไปยังเครื่องพิมพ์ของ Windows NT ได้ และสามารถส่งงานพิมพ์จากเครื่อง CP ไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ที่เชื่อมต่ออยู่กับ AppleTalk ได้

การเชื่อมต่อ WINDOWS NT เข้ากับโลกภายนอก

Windows NT มีส่วนบริการการทำเซิร์ฟเวอร์การเข้าใช้ในระยะไกลที่เรียกว่า Remote Access Server มาให้ด้วย ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวจะมีความสามารถในการให้ไคลเอ็นต์ระยะไกลที่ใช้อยู่บน DOS , Windows หรือ Windows NT สามารถหมุนโทรศัพท์เข้าติดต่อกับระบบเครือข่าย Windows NT และทำการลงบันทึกเข้า ( log in) ใช้งานระบบเครือข่ายได้ประหนึ่งเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายโดยตรง จะต่างอยู่บ้างก็ตรงความเร็วซึ่งค่อนข้างช้ามาก โดยเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวนี้สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มากถึง 64 การเชื่อมต่อ และมีการรักษาความปลอดภัยตามพื้นฐานการรักษาความปลอดภัยของ Windows NT เอง ซึ่งรวมถึงการใส่รหัสผ่านที่มีการเข้ารหัสข้อมูลตามมาตรฐาน DES (data encryption standard) และความสามารถในการเรียกกลับ (call – back) เพื่อป้องกันบุคคลไม่พึงประสงค์แอบแฝงเข้า โดยในการติดต่อสื่อสารระยะไกลนี้ Windows NT รองรับทั้งการใช้โปรโตคอล X.25 และ ISDN (integrated service digital network)

ข้อดี และ ข้อเสียของ WINDOWS NT

ข้อดี

1. มีความเชื่อถือได้สูง (Reliability) คือมีการป้องกันแก่นของระบบปฎิบัติการจากแอพพลิเคชั่นต่างๆที่จะเข้ามารบกวนการทำงานของ Windows NT

2. มีความปลอดภัยสูง (Security) NT Server นั้นมีระดับความปลอดภัยถึง ระดับ C2 คือให้รับรู้เฉพาะที่จำเป็น

3. ความยืดหยุ่นสำหรับการขยายตัว (Scalability) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบตามจำนวนโพรเซสเซอร์ที่เพิ่มขึ้นโดยรองรับสถาปัตยกรรม SMP

4. ความสามาถในการขยายตัว (Extensibility) เป็นแนวคิดของ Client/Server ที่มาจากระบบ UNIX เมื่อจะต้องนำมาประยุกต์ใช้กับงานเครื่อข่าย

และ แอพลิเคชั่นที่ใช้งานกับระบบฐานข้อมูล

5. ความเข้ากันได้ (Compatibility) สามารถทำงานได้ทั้งแอพลิเคชั่นชนิด 16 bit และ 32 bit

ข้อเสีย

1. ขาดความเข้ากันได้กับ อุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้กับอุปกร์ณ์ที่นอกเหนือจากที่ NT Server

2. ถ้าระบบขณะที่ทำงานเกิดเสียขึ้นมาการแก้ไขทำได้ยาก










Create Date : 10 มกราคม 2560
Last Update : 10 มกราคม 2560 17:29:18 น. 0 comments
Counter : 640 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 3545962
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3545962's blog to your web]
space
space
space
space
space