ในภาษาญี่ปุ่นคำว่า “สุนัข” มักจะเกี่ยวกับการดูถูก

สวัสดีครับมาเจอกันอีกแล้ว หายไปนานนะครับทักไปอย่างนั้นแหละไม่รู้ว่าใครจะมาอ่านบล็อกผมหรือเปล่าก็ไม่รู้ แฮ่ะๆ อยู่ดีๆก็หัวเราะแฮ่ะๆ ออกมาทำให้นึกถึงน้องหมาน่ะครับน้องหมาหรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกันว่า อินุ (いぬ;犬) หรือ คนญี่ปุ่นบางคนเรียกว่า วันจัง (ワンちゃん) ซึ่งเป็นการเรียกตามเสียงเห่า กล่าวคือคนญี่ปุ่นได้ยินเสียงสุนัขเห่าว่า วัง! วัง!คำว่า “สุนัข” ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่าอย่างไรบ้างผู้เขียนจะขอหยิบยกมารวมเอาไว้พบสังเขป

คำว่า อินุ ใช้คันจิ ได้หลายตัวคือ 犬、狗เป็นต้น ในกรณีของปีจอใช้คันจิตัวนี้ เนื่องจากความหมายของสุนัขไม่ค่อยดีคล้ายในภาษาไทย กล่าวคือในภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ในลักษณะที่เป็นการดูถูกเช่นกัน ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคำต่อไปนี้1. 警察の犬 (けいさつのいぬ) แปลได้ว่า สุนัขของตำรวจ หมายถึง “คนที่เป็นสายให้ตำรวจ”หรือ คนที่เป็นสปายให้ตำรวจผู้เขียนมีความเห็นว่าคำนี้น่าจะมาจากการเรียกคนที่รับใช้ตำรวจในเชิงดูถูกจากผู้คนที่ไม่ชอบตำรวจนอกจากนี้คำๆ นี้ยังใช้เป็นคำประกอบคำนามได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น 2. 犬侍(いぬざむらい)ถ้าแปลตรงตัวจะได้ว่า ซามูไรหมา ซึ่งเป็นคำด่าทอซามูไรที่ประพฤติตนนอกรีตนอกกฎระเบียบ ไม่สบกับเป็นนักรบ หรือใช้ในความหมายว่าไร้ค่า ตัวอย่างเช่น 3.犬死に(いぬじに)แปลว่า “ตายอย่างเปล่าประโยชน์” หรือ “ตายฟรี”

ในสำนวนภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ “สุนัข” ในความหมายเชิงดูถูกเช่นกันตัวอย่างเช่น 1.犬に論語(いぬにろんご)แปลได้ว่า “อ่านคำสอนให้สุนัขฟัง”เป็นการเปรียบเปรยว่า ไม่ว่าจะอธิบายให้ฟังอย่างไรก็เปล่าประโยชน์ จากสำนวนนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่าสุนัขเป็นตัวแทนของสิ่งที่ไม่มีความรู้ ไม่มีวิจารณญาณแน่นอนอยู่แล้วว่าสุนัขฟังคำของคนไม่รู้เรื่อง แต่สำนวนนี้เป็นการเปรียบเทียบ (คน =สุนัข)ซึ่งเป็นการด่าทอคนในเชิงดูถูกว่าไม่มีความรู้หรือวิจารณญาณเช่นเดียวกันสุนัขเหมือนการอ่านคำสอนที่มีค่าให้กับสุนัขที่ไม่รู้เรื่องซึ่งเป็นการกระทำที่เปล่าประโยชน์ (มีสำนวนคล้ายกันเช่น สวดใส่หูม้า (馬の耳に念仏) ,ให้ไข่มุกกับหมู (豚に真珠)ให้เงินตรากับแมว(猫に小判) นอกเหนือจากนั้นยังมีคำที่คล้ายภาษาไทยคือ“สุนัขไม่รับประทาน” 2.犬も食わない(いぬもくわない)สำนวนนี้ไม่ได้มีความหมายเช่นเดียวกับภาษาไทยว่าไม่อร่อยจนสุนัขไม่กิน แต่มีความหมายว่า ไม่มีใครชอบ ไม่มีอยากเข้าไปยุ่งด้วยมีการใช้ว่า 夫婦喧嘩は犬も食わない。ผัวเมียทะเลาะกันไม่มีใครอยากเข้าไปยุ่งหรอกผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นการเปรียบเทียบสุนัขว่าเป็นสิ่งต่ำที่สุด แม้สุนัขยังไม่กินเป็นการเปรียบเปรยสิ่งตรงหน้าที่ต่ำกว่าสุนัขซึ่งเป็นการพูดเชิงดูถูก นอกจากนั้นยังมีสำนวนว่า 3. 犬も朋輩鷹も朋輩 (いぬもほうばいたかもはうばい) “ไม่ว่าจะสุนัขหรือเหยี่ยวคือพรรคพวก”หมายความว่า ถ้ารับใช้เจ้านายคนเดียวกัน แม้ชาติกำเนิดจะต่างกันก็เป็นพรรคพวกกันผู้เขียนมีความเห็นว่าการนำสุนัขและเหยี่ยวมาเปรียบเทียบกันคือการเปรียบเทียบที่ต่ำกับที่สูงซึ่งสุนัขเปรียบได้กับสิ่งที่อยู่ต่ำ เหยี่ยวเปรียบเทียบได้กับสิ่งที่อยู่สูง (หรือบางคนจะอาจคิดว่าเป็นเพียงการเปรียบเทียบสัตว์ต่างชนิดกัน)ไม่ว่าคนจะมาจากที่ต่ำหรือที่สูงเมื่อรับใช้เจ้านายคนเดียวจะอยู่ในฐานะที่เท่าเทียมและคำสุดท้ายคำว่า 4.犬の遠吠え(いぬのとおぼえ)แปลว่า “หมาหอน” หรือมักใช้ว่า 負け犬の遠吠え(まけいぬのとおぼえ)แปลว่า “หมาขี้แพ้ชอบหอน” แปลว่า คนขี้ขลาดทำเป็นปากเก่งแอบตำหนิหรือนินทาผู้อื่นจากคำนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่า การเปรียบเทียบสุนัขเป็นผู้แพ้หรือขี้ขลาด เป็นการกล่าวดูถูกคนอื่นว่าต่ำต้อยเช่นสุนัขขี้แพ้แล้วหอนเหมือนมีอำนาจเพื่อข่มผู้อื่นจากคำที่ยกมาทั้งหมดอาจพออนุมานได้ว่าคำว่า “สุนัข” ในภาษาญี่ปุ่นหรือสำนวนญี่ปุ่นมักจะแฝงความดูถูกเอาไว้เช่นเดียวกับภาษาไทยที่เปรียบเทียบสิ่งไม่ดีกับสุนัขเช่นกัน 




Create Date : 08 เมษายน 2557
Last Update : 8 เมษายน 2557 16:15:06 น.
Counter : 5105 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

shikamaru_san
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]