ทุนของสังคมไทยเติบโตพร้อมความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจ



ทุนนิยม สามารถแปลตามความหมายนิยมทุน ดังนั้นตลาดการค้าเสรีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่บอกว่าตลาดสามารถมีการแข่งขันอย่างอิสระเสรีและเป็นธรรมจึงไม่อยู่จริง การเข้าและออกของผู้ค้าหรือผู้เข้าแข่งขันอย่างอิสระเข้า - ออกได้ตลอดเวลานั้นตามแนวคิดทฤษฏีก็ไม่เป็นจริง เพราะเมื่อขนาดของทุนที่ใหญ่กินส่วนแบ่งตลาดแล้ว ทุนรายย่อยๆ รายเล็กๆ ก็ย่อมล่มสลายไปจากระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุนทางเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ พร้อมแนวคิด "การประหยัดต่อหน่วย ('Economic Scale') ยิ่งทำให้ทุนรายย่อยที่มีต้นทุนต่ำทางเทคโนโนโลยีเหล่านี้ ไม่สามารถแข่งในระบบตลาดเสรีในระบบทุนนิยมได้

ดังนั้นประเทศที่พัฒนาแล้วในระบบทุนนิยมจึงพยายามสร้างกฏหมายคุ้มครองทุนรายย่อย ไม่ได้ปล่อยให้เป็นตลาดแข่งขันแบบเสรี หรือพยายามสร้างตลาดระดับรอง มาเพื่อรองรับธุรกรรมของกลุ่มทุนรายย่อย ที่เรียกว่ากฏหมายป้องกันการผูกขาดธุรกิจ แม้กระทั่งสหรัฐอเมริกาเจ้าลัทธิทุนนิยม แต่ปัญหาประเทศไทย คือทุนกับรัฐเป็นส่วนหนึ่งและส่วนเดียวกันตลอด ในสถานการณ์ยุคนี้ยิ่งสร้างอำนาจให้ทุนไทยเพิ่มขึ้น เมื่อ ทุน + รัฐ + ทหาร เป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกัน แถมเป็นโมเดลที่อันตรายต่อระบบเศรษฐกิจไทย ยิ่งกว่ายุคสฤษดิ์ และ ถนอม อันเป็นยุคที่ ทุน + รัฐ + ทหาร เป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ถามว่าพัฒนาทุนในยุคนี้ถึงสร้างปัญหาผูกขาดเศรษฐกิจ อันนำมาสู่ความเป็นไปได้ของการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจไทย ได้มากกว่ายุคสฤษดิ์ และถนอม ทั้งที่เป็นแบบสมการเดียวกัน สามารถอธิบายปรากฏการณ์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันที่ต่างกันออกไปดังนี้

ยุค สฤษดิ์ และ ถนอม ทุนพยายามจะเป็นคู่ร่วมผลประโยชน์กับรัฐ และทหาร ในแบบแบ่งปันผลประโยชน์หรือปันกำไรให้ จากการเอื้อประโยชน์จากรัฐและทหาร หรือ รัฐและทหารอยู่ในฐานะ "ผู้อุปถัมภ์" ทุน แต่พัฒนาการของทุนยุคนี้ ทุนจะพยายามเป็นผู้กำหนดนโยบายและทิศทางเศรษฐกิจ แล้วรัฐและทหารปฏิบัติตามนโยบายทุนที่กำหนด ดังนั้นขนาดทุนถูกใช้เป็นปัจจัยกำหนดชนชั้นในสังคมปัจจุบัน แทนเชื้อสาย ตระกูล หรือเราอธิบายง่ายๆ ว่าในยุคปัจจุบัน เครือข่ายอำนาจทุนมาแทนเครือข่ายอำนาจความสัมพันธ์ ดังนั้นทุนจึงมีบทบาทแห่งอำนาจนำในระบบ ทุน + รัฐ + ทหาร ต่างจากยุคสฤษดิ์และถนอม ที่ทหาร นำรัฐ แล้วมาถึงส่วนกลุ่มทุน ดังนั้นเมื่อทุนกำหนดทิศทางเศรษฐกิจ ทุนจะสร้างระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดเข้มข้น แล้วแปรเปลี่ยนสิทธิทำมากินของรัฐมาเป็นกรรมสิทธิทำมาหากินของเอกชน ดังเช่นโครงการประชารัฐ หรือ สัมปทานธุรกรรมเศรษฐกิจต่างๆ ผลลัพธ์ที่สะท้อนให้เห็นจึงสามารถบ่งชี้ว่าทุนทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

ดังนั้นทุนในระบบรัฐไทยในปัจจุบันจึงเป็นทุนที่มีความอันตราย โดยเฉพาะเป็นการเติบโตทุนผูกขาดในระบบตลาดหดตัว มีภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดในระบบ แถมมีอัตราสะสมหนี้ในครัวเรือนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จึงสามารถบ่งชี้นี้ได้ว่าการเติบโตของทุนนี้ ภายใต้สภาวะแวดล้อม ทุน + รัฐ + ทหาร เป็นส่วนเดียวกัน มาพร้อมกับการบั่นทอนของระบบเศรษฐกิจจุลภาคขึ้นเรื่อยๆ




Create Date : 25 พฤษภาคม 2559
Last Update : 25 พฤษภาคม 2559 0:16:11 น. 0 comments
Counter : 999 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

still solo one
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add still solo one's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com