Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2560
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
17 กุมภาพันธ์ 2560
 
All Blogs
 
มาหาตัวการทำให้เกิดสิวในครีมทาหน้ากับ Comedogenic rate



อันที่จริง เนื้อหาหรือบทความเกี่ยวกับ Comedogenic rate หาไม่ได้ยากนัก แต่ก็ต้องบอกว่าที่มีอยู่นั้น มีการเข้าใจผิดกันไปเยอะพอสมควร บทความนี้ผมจะช่วยไขความกระจ่างเกี่ยวกับ Comedogenic rate จะได้นำไปพิจารณาใช้เลือกเครื่องสำอางได้อย่างถูกต้องกันนะครับ

ปล. บทความนี้ หากใครไม่อยากอ่านเวอร์ชันผู้ชายแข็งๆ ลองอ่านเวอร์ชันที่แฟนผมเขียนก็ได้นะครับ เนื้อหาคล้ายๆกัน ตามลิ้งนี้ครับ >>> Comedogenic Rate กับการเกิดสิวอุดตัน และการเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

Comedogenic rate คืออะไร?
หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ มันก็คือแนวโน้มที่สารตัวนั้นจะก่อให้เกิดสิว แต่หากเราสรุปแค่นี้ ก็ดูจะไม่ยุติธรรมกับเครื่องสำอางที่ใส่สารที่มี Comedogenic rate สูงๆ ดังนั้นจึงต้องอธิบายที่มาที่ไปของมันสักหน่อยครับ

คือ แนวคิดเกี่ยวกับ Comedogenic rate จริงๆมีมาตั้งแต่ปี 1972 แล้ว เริ่มต้นโดยคุณ คุณ Kligman และ Mills ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง ได้รายงานว่าเครื่องสำอางที่ขายๆกันเกินครึ่ง ก่อให้เกิดการอุดตันที่หูกระต่าย

แล้วหูกระต่ายมันเกี่ยวอะไรกับการเกิดสิว?
เกี่ยวสิครับ เพราะที่หูกระต่ายมีต่อมไขมันขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมากทำให้มีความไวต่อการอุดตันมากกว่าผิวคน สมัยนั้นยังไม่มีนโยบายเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการทดลองในสัตว์เหมือนสมัยนี้นะครับ ก็เลยทดลองในสัตว์กันได้เต็มที่ (อันที่จริง เรื่องการเลี่ยงทดลองในสัตว์ รวมถึงการเลี่ยงการใช้ส่วนผสมจากสัตว์ เริ่มมาจากเครื่องสำอางแบรนด์นึงเป็นผู้ปลุกกระแสครับ แล้วก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก จะบอกว่าเป็นการตลาด ก็เป็นการตลาดครับ แต่ในแง่มนุษยธรรมมันก็ช่วยชีวิตสัตว์โลกได้มากจริงๆ) ซึ่งการทดลองกับหูกระต่ายนี่แหละ เป็นที่มาของรายงานในตำนานเรื่อง Comedogenic rate ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

***เพราะฉะนั้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนในประเด็นต่างๆดังนี้ครับ
1. ตัวเลขที่เห็นทั้งหมด เป็นการทดลองในสัตว์ (กระต่าย) บนแนวคิดพื้นฐานที่ว่า ถ้าหูกระต่ายซึ่งไวต่อการอุดตัน มันไม่อุดตันเนี่ย ในคนก็น่าจะไม่เกิดการอุดตันด้วย แต่ไม่ใช่การทดสอบในคนจริงๆนะครับ

2. ตัวเลขที่เห็นทั้งหมด คิดโดยพื้นฐานว่า ถ้าเกิดการอุดตันแล้วก็น่าจะมีแนวโน้มในการก่อให้สิวได้ จึงเป็นที่มีของแนวโน้มการก่อให้เกิดสิว หรือตัวเลข Comedogenic rate ที่เราใช้กัน (มีบางคนบอกว่าสารตัวนี้ Comedogenic rate ต่ำ แต่อัตราการอุดตันสูง แสดงว่าเข้าใจผิดแล้วครับ ตีความหมายของ Comedogenic rate ผิดแล้ว เพราะ Comedogenic rate ค่าการอุดตันและเกิดสิวต้องสอดคล้องกันเสมอๆตามนิยามของมันครับ)

3. จาก 2 ข้อข้างต้น เราจึงไม่อาจอนุมานได้ว่า ถ้าใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารที่มี Comedogenic rate สูงแล้ว จะต้องเป็นสิวนะครับ การเป็นสิวมันมีเบื้องลึกเบื้องหลังลึกซึ้งกว่านั้น แต่ตัวเลข Comedogenic rate นั้นพอจะบอกได้ว่า ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องสิวอยู่แล้ว คุณควรจะหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่มี Comedogenic rate สูง (สูงคือมากกว่า 3 นะครับ ถ้า 1 หรือ 2 ถือว่าไม่ซีเรียส) โดยเฉพาะหากส่วนผสมนั้นใส่ในตำรับเป็นปริมาณมาก

4. ประเด็นเรื่อง Comedogenic rate ยังมีอีกหลายประเด็นย่อยๆที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่แน่ชัดและยังถกเถียงกันอยู่ถึงในปัจจุบันครับ

ถ้าเข้าใจกันแล้ว เราลองมาดู Comedogenic rate ของสารแต่ละตัวกันเลยครับ

กลุ่มน้ำมันและเนย (Oils & Butters)

น้ำมันอัลมอนด์ Almond Oil – 2
น้ำมันเมล็ดแอปริคอท Apricot Kernel Oil – 2
น้ำมันอาร์แกน Argan Oil – 0
น้ำมันอะโวคาโด Avocado Oil – 2
น้ำมันเบาบับ Baobab Oil – 2
น้ำมันโบราจ Borage Oil – 2
น้ำมันดอกดาวเรือง Calendula Oil – 1
การบูร Camphor – 2
น้ำมันละหุ่ง Castor Oil – 1
เนยโกโก้ Cocoa Butter – 4
เนยมะพร้าว Coconut Butter – 4
น้ำมันมะพร้าว Coconut Oil (from the meat or kernel) – 4
น้ำมันข้าวโพด Corn Oil – 3
น้ำมันเมล็ดฝ้าย Cotton Seed Oil – 3
น้ำมันนกอีมู Emu Oil – 1
น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส Evening Primrose Oil – 2
น้ำมันเมล็ดลินิน Flax Seed Oil – 4
น้ำมันเมล็ดองุ่น Grape Seed Oil – 2
น้ำมันฮาเซลนัท Hazelnut Oil – 2
น้ำทันเมล็ดกัญชง Hemp Seed Oil – 0
น้ำมันโจโจ้บา Jojoba Oil – 2
น้ำมันโจโจบาซัลเฟต Jojoba Oil Sulfated – 3
น้ำมันลินสีด Linseed Oil – 4
เนยมะม่วง Mango Butter – 0
น้ำมันแร่ Mineral Oil – 0 **** อ่านหมายเหตุ
น้ำมันตัวมิงค Mink Oil – 3
น้ำมันสะเดา Neem Oil – 1
น้ำมันมะกอก Olive Oil – 2
น้ำมันปาล์ม Palm Oil – 4
น้ำมันเมล็ดพีช Peach Kernel Oil – 2
น้ำมันถั่วลิสง Peanut Oil – 2
วาสลีน Petrolatum – 0 **** อ่านหมายเหตุ
น้ำมันทับทิม Pomegranate Oil – 1
น้ำมันเมล็ดฟักทอง Pumpkin Seed Oil – 2
น้ำมันโรสฮิป Rosehip Oil – 1
น้ำมันดอกคำฝอย Safflower Oil (not the cooking oil) – 0
น้ำมันเมล็ดไม้จันทน์ Sandalwood Seed Oil – 2
น้ำมันซีบัคธอร์น Sea Buckthorn Oil – 1
น้ำมันงา Sesame Oil – 2
เนยเชีย Shea Butter – 0
น้ำมันถั่วเหลือง Soybean Oil – 3
น้ำมันดอกทานตะวัน Sunflower Oil – 2
น้ำมันต้นกระทิง Tamanu Oil – 2
น้ำมันจมูกข้าวสาลี Wheat Germ Oil – 5
น้ำมันตับปลาฉลาม Shark Liver Oil – 3

กลุ่ม ไข Waxes

ขี้ผึ้ง Beeswax – 2
ไขแคนเดลิลล่า Candelilla Wax – 1
ไขคาร์นอบา Carnauba  Wax – 1
ไขเคเรซิน Ceresin Wax – 0
ไขอิมัลซิไฟเออร์เนชันเนลฟอร์มูล่า Emulsifying Wax NF – 2
ไขขนแกะ Lanolin Wax – 1

กลุ่มพืช Botanicals

สารสกัดสาหร่าย Algae Extract – 5
เจลว่านหางจระเข้ Aloe Vera Gel – 0
ดาวเรือง Calendula – 1
คาร์ราจีแนน Carrageenans – 5
ดอกคาโมไมล์ Chamomile – 2
สารสกัดจากดอกคาโมไมล์ Chamomile Extract – 0
ว่านหางจระเข้สกัดเย็น Cold Pressed Aloe – 0
สาหร่ายสีแดง Red Algae – 5

กลุ่ม Vitamins & Herbs

วิตามินซี Ascorbic Acid – 0
สารสกัดมันฮ่อดำ Black Walnut Extract – 0
วิตามินอี Tocopherol (Vitamin E) – 2
วิตามินเอ Vitamin A Palmitate – 2
โปรวิตามินบี 5 Panthenol – 0

กลุ่ม Antioxidants

เบต้าแคโรทีน Beta Carotene – 1
กรดไฮดรอกซีเบต้า BHA – 2

กลุ่ม Minerals

แอลจิน Algin – 4
กำมะถันคอลลอยด์ Colloidal Sulfur – 3
ดอกกำมะถัน Flowers of Sulfur – 0
เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ Potassium Chloride – 5
ขี้ผึ้งผสมผงกำมะถันเหลือง Precipitated Sulfur – 0
เกลือแกง Sodium Chloride (Salt) – 5
แร่หินสบู่ Talc – 1
ซิงค์สเตียเรต Zinc Stearate – 0

กลุ่ม Thickeners, Emulsifiers, Detergents

คาร์โบเมอร์ 940 Carbomer 940 – 1
ไฮดรอกซีโพรพิลเซลลูโลส Hydroxypropyl Cellulose – 1
ดินขาว Kaolin – 0
แมกนีเซียมอลูมิเนียมซิลิเกต Magnesium Aluminum Silicate – 0
โซเดียม ลอเรท ซัลเฟต Sodium Laureth Sulfate – 3
โซเดียม ลอริล ซัลเฟต Sodium Lauryl Sulfate – 5
ซอร์บิแทน โอลีเอท Sorbitan Oleate – 3

กลุ่ม Alcohol, Esters, Ethers, & Sugars

โพลิซอเบท 20 Polysorbate 20 – 0
โพลิซอเบท 80 Polysorbate 80 – 0
สเตอรอลเอสเทอร์ Sterol Esters – 0
บีเฮนดิล ไตรกลีเซอร์ไรด์ Behenyl Triglyceride – 0
บิวทีลีน ไกลคอล Butylene Glycol – 1
ซิเทียริว แอลกอฮอล์ Cetearyl Alcohol – 2
ไดเอทิลีนไกลคอลโมโนเมทิลอีเทอร์ Diethylene Glycol Monomethyl Ether – 0
กลีเซอรีน Glycerin – 0
กลีเซอริลสเตียร์เรทเอ็นเอสอี Glyceryl Stearate NSE – 1
กลีเซอริลสเตียร์เรทเอสอี Glyceryl Stearate SE – 3
กลีเซอริลไตรแคปพิลโลคาเพลท Glyceryl Tricapylo/Caprate – 1
กลีเซอรอลทรีไดไอโซสเตียร์เรท Glyceryl-3-Diisostearate – 4
เฮกซะเดซิลแอลกอฮอล์ Hexadecyl Alcohol – 5
ไอโซเซทิลสเตียร์เรท Isocetyl Stearate – 5
ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ Isopropyl Alcohol – 0
ลอร์เรท 23 Laureth 23 – 3
ลอร์เรท 4 Laureth 4 – 5
ออคทิล สเตียร์เรท Octyl Stearate – 5
โอเลท-10 Oleth-10 – 2
โอเลท-3 Oleth-3 – 5
โอเลอิลแอลกอฮอล์ Oleyl Alcohol – 4
โพลีเอทิลีนไกลคอล 400 Polyethylene Glycol 400 (PEG 400) – 1
โพลีเอทิลีนไกลคอล 300 Polyethylene Glycol 300 – 1
โพลีกรีเซอริลทรีไดไอโซสเตียร์เรท Polyglyceryl-3-Diisostearate – 4
โพรพิลีนไกลคอล Propylene Glycol – 0
โพรพิลีนไกลคอลโมโนสเตียร์เรท Propylene Glycol Monostearate – 4
แอลกอฮอล์ดีแนท SD Alcohol 40 – 0
ซอร์บิแทน ลอเรท Sorbitan Laurate – 1
ซอร์บิทอล Sorbitol – 0
สเตียเรท 10 Steareth 10 – 4
สเตียเรท 100 Steareth 100 – 0
สเตียเรท 2 Steareth 2 – 2
สเตียเรท 20 Steareth 20 – 2
จมูกข้าวกรีเซอไรด์ Wheat Germ Glyceride – 3

***หมายเหตุ เอาละ ผมเชื่อว่า หลายๆคนมาสะดุดตรง mineral oil ว่า เห้ย ทำไมมัน Comedogenic rate 0 วะ ไหนว่ามันอุดตัน มันไม่ดีไง แล้วมันจะเป็น 0 ได้ไง? ซึ่งผมขออธิบายดังนี้ครับ 

1. ต้องบอกว่าในรายงานเก่าๆ mineral oil ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันจริงๆครับ (แปลกไหม ผมก็ว่าแปลกดีครับ แต่ไม่ค่อยแปลกใจเท่าไร) ในสมัยก่อน mineral oil ถือว่าเป็นของถูกและดีตัวนึงครับ

2. กระแสเรื่อง mineral oil ไม่ดีและก่อให้เกิดการอุดตันนั้น พึ่งมาเริ่มมีจริงๆก็ 3 ปีหลังมานี้เองครับ ซึ่งก็พอมีรายงานการวิจัยต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่บ้าง แต่ก็ยังถือว่าไม่หนักแน่นพอ แต่ถึงอย่างนั้นก็มีการโปรโมทกระแสเรื่องนี้แรงมาก เหมือนกับมีใครจงใจจุดเรื่องนี้ให้ติด (แล้วก็ติดจริงๆ)

3. ปัญหาจริงๆของ mineral oil ที่เด่นชัดจริงๆในปัจจุบัน คือ mineral oil มันเป็นสารที่ได้มาจากกระบวนการสกัดปิโตรเคมีครับ ดังนั้น หากใช้ mineral oil เกรดต่ำ หรือมีกระบวนการผลิตที่ไม่ดี จะมี residual (residual ภาษาไทยเรียกอะไรผมไม่รู้ คำใกล้เคียงสุด น่าจะเป็น "สารตกค้าง') ที่เป็นพิษและอันตรายปนมาด้วย มีสารบางตัวก่อให้เกิดมะเร็งได้

สุดท้ายนี้ผมว่า mineral oil ในปัจจุบันโดนเคลมว่าเป็นผู้ร้ายมากเกินไปหน่อย ผมอยากให้ข้อสังเกตุว่า ถ้ามันเลวร้ายขนาดนั้นจริงๆ ทำไม mineral oil ถึงเป็น baby oil ไปได้

ใช่ครับ baby oil ที่เอาไว้ทาผิวเด็ก และที่หลายๆคนชอบว่าไม่แพ้ ไม่ระคายเคือง ราคาถูก ใช้แล้วดี มันคือ mineral oil เพียวๆเลย ถ้ามันเลวร้ายขนาดนั้นจริงๆ ทำไมแค่เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น baby oil ภาพลักษณ์มันถึงได้พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือขนาดนั้นไปได้ 

ส่วนตัว สำหรับผมแล้ว mineral oil จะดีหรือแย่ สำคัญที่เกรดและกระบวนการผลิตที่ใช้ครับ

สำหรับ Petrolatum เหตุผลเหมือนกับ mineral oil ครับ

จำโฆษณาวาสลีนทาใบไม้ได้ไหมครับ ที่เทียบกัน 2 อัน ระหว่างทากับไม่ทา แล้วปรากฏว่าอันที่ทาเขียวสดชุ่มชื้นเหมือนเดิม อันที่ไม่ทาเหี่ยวแห้งตายหมด แล้วเราก็รู้สึกว่ามันดีมาก ทั้งๆที่วาสลีนมันก็คือ Petrolatum นั่นแหละ แต่พอเราเปลี่ยนไปเรียกว่า Petrolatum ภาพน้ำมันปิโตรเลียมกลิ่นเวียนหัว ดูอันตรายก็โผล่มาในหัวเราทันที เห็นพลังของชื่อและการโฆษณาไหมครับ?




Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2560 2:43:31 น. 0 comments
Counter : 3700 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Jaslyn
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








Friends' blogs
[Add Jaslyn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.