Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
22 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
อำนาจอิหลักอิเหลื่อ

โดย เกษียร เตชะพีระ



หลังจากถูกอดีตนายกรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ แหย่เรื่อง "ปฏิวัติซ้อน" แหล่งข่าวนายทหารระดับสูงใน คมช.ก็เผยความในใจของประธาน คมช.และอดีตหัวหน้า คปค. ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ว่า
"ประธาน คมช.รู้สึกเฉยๆ กับข่าวปฏิวัติซ้อนเพราะไม่เชื่อว่ามีจริง ไม่มีทหารกลุ่มไหนกล้าจะทำปฏิวัติ รวมถึงไม่มีกำลังทหารโดยจะเอากำลังมาจากที่ไหน ดังนั้น การปฏิวัติทางทหารไม่มีทางเป็นไปได้โดยเฉพาะเตรียมทหารรุ่น 9 ยิ่งเป็นไปไม่ได้ แต่ยังมีสิ่งบอกเหตุและเป็นข้อกังวลใจของประธาน คมช. คือหากมีการปฏิวัติจริงก็จะเกิดจากพลังของประชาชนเท่านั้น..."
(มติชนรายวัน, 12 พ.ย.2549, น.16, เน้นโดยผู้เขียน)
ถ้านี่เป็นข้อกังวลใจของประธาน คมช.จริง ก็คงเป็นเรื่องลำบากอิหลักอิเหลื่อไม่น้อยเพราะพูดให้ถึงที่สุด อำนาจรัฐของท่านและคณะเกิดจากปากกระบอกปืนเป็นมูลฐาน ทว่า ก็ดังที่นายกรัฐมนตรีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ท่านเลือกเองเคยกล่าวเตือนไว้นานมาแล้วว่า
"ตอนนั้น (พฤษภาทมิฬ 2535-ผู้เขียน) ผมได้ให้ข้อคิดเห็นกับ พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี ผบ.ทบ.ว่า ถ้าเราใช้กระสุน ก็หมายถึงว่าการที่จะได้ความยอมรับจากประชาชนหมดไป เมื่อตัดสินใจใช้ก็หมายถึงว่าจบ แพ้แล้ว..."
(วาสนา นาน่วม, เส้นทางเหล็ก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์, 2546, น.133-34)
ตลกร้ายของสถานการณ์หลังรัฐประหาร 19 กันยาฯ จึงกลายเป็นว่า...

อำนาจที่ได้มาจากปืน เอาเข้าจริงกลับไม่สามารถยิงปืนนั้นได้!
ในทางกลับกัน อำนาจที่คงไว้ด้วยเงิน ก็ไม่สามารถใช้เงินนั้นได้เช่นกัน!
ในภาวะที่การนำทางการเมืองของอำนาจเก่าถูกปฏิเสธ แต่อำนาจใหม่กลับพะว้าพะวังลังเล ได้แต่พุ้ยน้ำตีกรรเชียงพยุงตัวประคองเรือหมุนเคว้งคว้างอยู่กลางวังวนคลื่นใต้น้ำไปวันๆ ด้วยอาการกล้าๆ กลัวๆ ว่าจะเลิกกฎอัยการศึกดีไหม? อดีตนายกฯทักษิณจะกลับมาเมื่อไหร่? นั้น อันที่จริงก็เป็นจังหวะโอกาสอันเหมาะที่เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนจะเสนอแนวทางการเมืองใหม่ของตนเพื่อเป็นทางเลือกทางออกต่อสาธารณะอย่างมีพลัง
ทว่า จนแล้วจนรอดก็ไม่ปรากฏข้อเสนออันเข้มแข็งออกมา เพราะภาคประชาชนเองก็ทะเลาะกันแหลกจนสัมฤทธิผลแตกเป็นเสี่ยงไปแล้วตอนนี้ แหะๆ
สังคมไทยจึงกำลังไหลล่องเลื่อนเปื่อนเรื่อยเปื่อยไป โลๆ เลๆ ว่าจะหันหัวเรือไปทิศไหน? จะมุ่งหน้าไปทางใด? สมานฉันท์หรือขุดรากถอนโคน? เศรษฐกิจพอเพียงหรือทุนนิยมโลกาภิวัตน์? อำมาตยาธิปไตยอุปถัมภ์หรือเสรีประชาธิปไตย? ศีลธรรมหรือกำไร? ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือระบอบที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่ไม่ประชาธิปไตย? ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรือความเป็นไทยแบบต่อต้านเผด็จการ? มีชัย ฤชุพันธุ์ หรือนวมทอง ไพรวัลย์?
รถถังมาเกยหรือแท็กซี่พลีชีพเข้าชน?
น่าจะเป็นการดีถ้าจะหยุดนิ่งสักนิดเพื่อทบทวนไตร่ตรองว่าโจทย์การเมืองที่เผชิญคืออะไร?
สิ่งที่เรียกว่า "ระบอบทักษิณ" ในแง่หนึ่งเป็นอาการแสดงออกของความตึงเครียดขัดแย้งระหว่าง ประชาธิปไตย กับ ทุนนิยม
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบอบเสรีประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนที่ออกแบบมาให้พลังอำนาจทางการเมืองของประชาชนเสียงข้างมาก เป็นตัวคอยคะคานถ่วงดุลอำนาจเศรษฐกิจของชนชั้นนายทุนใหญ่จำนวนน้อยในประเทศนั้น มันเริ่มเสียดุลไปภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ (ดูเพิ่มเติมใน Benjamin R.Barber, "Can Democracy Survive Globalization?," Government and Opposition, 35:3 (Summer 2000), 275-301)
เนื่องจากถึงจุดหนึ่ง อำนาจทุนใหญ่ผูกขาดในประเทศที่เชื่อมโยงกับกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์ ได้เข้าผนวกกลืนอำนาจการเมือง ด้วยการสะกดควบคุมอำนาจของเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตยตัวแทน และกดขี่สิทธิของเสียงข้างน้อย
ภาวะดังกล่าวนี้อยู่ในวิสัยที่พลังประชาสังคมฝ่ายค้านจะต่อต้านทัดทาน ค่อยๆ รวบรวมกำลังช่วงชิงขยายแนวร่วม เพื่อถ่วงคานปรับดุล [อำนาจทุน+อำนาจการเมืองเสียงข้างมาก] ในกรอบระบอบรัฐธรรมนูญเดิมได้หรือไม่? ต้องใช้เวลาอีกนานเท่าใด? จะทันท่วงทีไหมหรือจะสายเกินไป? จะถึงขั้นนองเลือดหรือเกิดระบอบ "ฮิตเลอร์" อย่างที่ขู่ๆ กันหรือเปล่า? นี่เป็นปัญหาที่สังคมไทยไม่ทันได้ตอบเพราะ คปค.ได้ปิดโอกาสในการตอบโดยตัดตอนการเมืองแบบเปิดทิ้งไปเสียก่อน และเสนอคำตอบสำเร็จรูปของตนเองให้แทน
แล้วอะไรคือคำตอบที่ คปค.เสนอให้สังคมไทยเล่า?
ถ้าโจทย์คือการที่ อำนาจทุน เข้าคุกคามครอบงำ ประชาธิปไตย ภายใต้ "ระบอบทักษิณ" แล้ว
คำตอบของ คปค.กับรัฐบาลสุรยุทธ์ ก็ได้แก่ [อำนาจนิยม+เศรษฐกิจพอเพียง] กล่าวคือ
1) ด้านหนึ่งก็พยายามรื้อฟื้นโครงสร้างอำนาจอันลดหลั่นเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันขึ้นมาใหม่ในทางการเมือง โดยอิงหลักการเรื่อง "ความเป็นไทย" ("ประชาธิปไตยแบบไทยๆ") และ "ความดี" เป็นอุดมการณ์ และมีระบบราชการกับเครือข่ายข้าราชการบริพารเป็นฐานเชิงสถาบัน
พูดอีกอย่างก็คือ คนไทยควรมีอำนาจไม่เท่ากัน คนไทยบางคนควรมีอำนาจมากกว่าคนไทยคนอื่น เพราะคนไทยเหล่านั้นมี "ความเป็นไทย" มากกว่าและ/หรือมี "ความดี" สูงส่งกว่าคนไทยคนอื่นและเมืองไทยนี้ดีแล้วที่เป็นเช่นนี้
ส่วนปัญหาการตรวจวัด "ความเป็นไทย" และ "ความดี" ของใครต่อใครนั้น ไม่ต้องห่วง มีผู้หลักผู้ใหญ่คอยให้บริการเป็นไม้บรรทัดชี้วัดการันตีตามมาตรฐาน TSO&MSO 2549 (Thainess Organization for Standardization & Morality Organization for Standardization 2549) อยู่แล้ว
(ดูเพิ่มเติมในสายชล สัตยานุรักษ์, "การสร้าง "ความเป็นไทย" กระแสหลักและ "ความจริง" ที่ "ความเป็นไทย" สร้าง", ฟ้าเดียวกัน, 3:4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2549), 40-67; และ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์, สัมภาษณ์ "คุยกับนักปรัชญา: เมื่อ "ความดี" และ "คนดี" ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง," เว็บข่าวประชาไท, 19 ตุลาคม 2549, //www.prachatai.com)
2) อีกด้านหนึ่งภายใต้คำขวัญ "สมานฉันท์", คปค.ได้ตัดตอนหรือลดทอน "การเมือง" โดยเฉพาะ "การเมืองภาคประชาชน" ลง (depoliticization) หรือนัยหนึ่งตัดตอนหรือลดทอนเงื่อนไขโอกาสแบบเปิดที่ประชาชนทั่วไปจะเข้าร่วมกระบวนการทางการเมืองเพื่อทะเลาะกันอย่างสันติในประเด็นปัญหาขัดแย้งสำคัญๆ ของบ้านเมืองลง ทั้งโดยประกาศคำสั่งที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพฉบับต่างๆ ของ คปค.และโครงสร้างองค์การร่างรัฐธรรมนูญที่ระบบราชการคัดสรรและจัดให้แบบ "คุณพ่อรู้ดี" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
3) ท้ายที่สุด แนวนโยบายเศรษฐกิจที่รัฐบาลนายกฯ พลเอก สุรยุทธ์ หยิบยกขึ้นมาต่อต้านทัดทานตีกรอบจำกัดแนวโน้มรวอำนาจเบ็ดเสร็จของทุนนิยมภาคใต้ "ระบอบทักษิณ" ก็คือเศรษฐกิจพอเพียง หรือนัยหนึ่ง
"การเอาคุณธรรมมาใส่ทุนนิยม ซึ่งก็คือหลัก 4 ป.ของท่านนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย 1.โปร่งใส 2.เป็นธรรม 3.ประหยัด และ 4.ประสิทธิภาพ" ตามคำอธิบายของโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกฯ และ รมว.อุตสาหกรรม (อ้างจาก วรินทร์ ตริโน, สัมภาษณ์พิเศษ "โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ วิถี "ทุนนิยม" ในกรอบ "พอเพียง"", มติชนรายวัน, 16 ตุลาคม 2549, น.11)
เราคงต้องรอดูว่าแนวทาง [อำนาจนิยม+เศรษฐกิจพอเพียง] ของ คปค.กับรัฐบาลสุรยุทธ์ จะแก้ไขหรือบรรเทาปมความขัดแย้งระหว่าง ประชาธิปไตย กับ ทุนนิยม ที่ "ระบอบทักษิณ" ผูกไว้ได้หรือไม่อย่างไร?
ระหว่างนี้ ผมขอแนะนำด้วยความปรารถนาดีว่าไม่ควรกลั้นใจ...

ที่มา //www.kitehost.com/puchai/5284/%22%CD%D3%B9%D2%A8%CD%D4%CB%C5%D1%A1%CD%D4%E0%CB%C5%D7%E8%CD%22.html


Create Date : 22 สิงหาคม 2550
Last Update : 22 สิงหาคม 2550 18:34:36 น. 0 comments
Counter : 857 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.