Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
สาเหตุและความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมกับการจัดการปัญหาน้ำท่วม

เทวฤทธิ์ มณีฉาย

การจัดการปัญหาน้ำท่วมนั้น สิ่งที่สำคัญของการจัดการปัญหาก็คือ ต้องรู้ว่าอะไรที่เราจะจัดการเสียก่อน นั่นก็คือปัญหาโดยเฉพาะสาเหตุของปัญหานั้นๆ คือต้องรู้สาเหตุและความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วม โดยสาหตุของน้ำท่วมนั้น สมบูรณ์ ลุวีระ (2539 : 215-216) ได้จำแนกประเภทของน้ำท่วมโดยดูตามลักษณะหรือสาเหตุของการเกิดได้ 3 ประเภท ดังนี้

1) น้ำท่วมที่เกิดเป็นประจำ หมายถึง สภาพที่น้ำท่วมบริเวณใดบริเวณหนึ่งเกือบทุกๆ ปี ในฤดูน้ำหลาก เนื่องจาก แหล่งน้ำในบริเวณนั้นไม่สามารถรับปริมาณน้ำที่ไหลสู่บริเวณนั้นได้เพียงพอ พื้นที่บริเวณนี้มักจะเป็นที่ราบลุ่มใกล้ปากแม่น้ำ

2) น้ำท่วมที่เกิดจากความผิดปรกติทางธรรมชาติ คือ น้ำท่วมในบริเวณพื้นที่ที่โดยปรกติแหล่งน้ำในบริเวณนั้นได้เพียงพอในฤดูกาลน้ำหลาก แต่เนื่องจากปรากฏการณ์ผิดปรกติทางธรรมชาติ เช่น ปริมาณฝนตกที่เกิดหนึ่งครั้งในรอบหลายๆ สิบปี หรือน้ำจากแหล่งน้ำอื่นๆ ไหลเข้าสู่แหล่งน้ำนั้นมากผิดปรกติ จนกระทั่งแหล่งน้ำไม่สามารถรับปริมาณน้ำนั้นได้ จึงเกิดสภาพน้ำไหลบ่าท่วมบริเวณพื้นที่ที่ไม่พบสภาพเช่นนี้บ่อยนัก

3) น้ำท่วมที่เกิดจากอุบัติเหตุ ปัจจุบันนี้ มนุษย์ได้พัฒนาแหล่งน้ำโดยการสร้างเขื่อนเพื่อให้เหนือเขื่อนมีสภาพเป็นอ่างเก็บน้ำสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อกิจการต่างๆ ในบางกรณี เนื่องจากเขื่อนเกิดสภาพชำรุดทรุดโทรม หรือ เนื่องจากปรากฏการณ์ผิดปรกติทางธรรมชาติมีปริมาณน้ำไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำมากเกินกว่าที่อ่างเก็บน้ำและเขื่อนจะสามารถรับได้ เขื่นจึงพังทลายทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำไหลสู่บริเวณท้ายน้ำของเขื่อน ท่วมพื้นที่ต่างๆ

ส่วนกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย(2541:1-2)กล่าวไว้ว่าสาเหตุของการเกิดอุทกภัย นั้นสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ สาเหตุจากธรรมชาติและสาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ ดังนี้

1) สาเหตุจากธรรมชาติ ได้แก่ ฝนตกหนัก น้ำท่าล้นตลิ่ง และอิทธิพลน้ำทะเลหนุน

- ฝนตกหนัก การเกิดอุทกภัยโดยทั่วไปมีสาเหตุสำคัญมาจากปริมาณฝนตกหนักมากเกินความสามารถในการระบายน้ำของพื้นที่หรือแม่น้ำลำคลองในบริเวณข้างเคียงไม่สามารถระบายได้ทันในปี 2538 มีพายุโซนร้อนหลายลูกพัดผ่านประเทศไทย ได้แก่ กี่ เฮลเลน เออร์วิ่ง โลอิส และนินา

- น้ำท่าล้นตลิ่ง ในปี 2538 ปริมาณน้ำท่าในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครลงสู่อ่าวไทย มีปริมาณมากเกินกว่าความสามารถของแม่น้ำเจ้าพระยาจะรับไว้ได้ ทำให้เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่ง หรือในลุ่มน้ำโขงในฤดูน้ำหลาก จังหวัดต่างๆ ที่อยู่ตามแนวชายแดน เช่น หนองคาย นครพนม มุกดาหาร จะได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำโขงล้นตลิ่งในบริเวณที่มีตลิ่งต่ำ ทำให้เกิน้ำท่วมเป็นประจำ

- อิทธิพลน้ำทะเลหนุน จากปากแม่น้ำขึ้นไปตามลำน้ำ ทำให้น้ำหลากในแม่น้ำระบายลงสู่อ่าวไทยได้ช้าลง เป็นเหตุให้น้ำท่วมขังยาวนานขึ้นโดยเฉพาะจังหวัดสมุทรปราการ, สุมทรสาคร,สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร จะได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุนเป็นประจำ

- อิทธิพลน้ำแม่น้ำหนุนจากแม่น้ำโขง พื้นที่ชุมชนในลุ่มน้ำโขงไหลย้อนเข้ามาในลำห้วยธรรมชาติ ทำให้การระบายน้ำได้ยากขึ้นตามบริเวณปากแม่น้ำต่างๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง

2) สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่การตัดไม้ทำลายป่า การพัฒนาชุมชนการทำลายคันป้องกันน้ำท่วมและ การสูบน้ำบาดาล

- การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณน้ำฝนไม่สามารถดูดซึมโดยลำต้น ใบ และรากได้ สำหรับบริเวณที่โล่งการไหลบ่าของน้ำผิวดินเร็วขึ้นเพราะไม่มีต้นไม้คอยชลอน้ำ ซึ่งทำให้อัตราการไหลสูงสุดของน้ำสูงขึ้น นอกจากนี้ฝนยังมีโอกาสที่จะชะเอาหน้าดินไปด้วย ซึ่งจะทำให้ความขุ่นของน้ำและตะกอนที่มากับน้ำมีมากขึ้นตามไปด้วย

- การพัฒนาชุมชน พื้นที่ชุมชนเมืองส่วนใหญ่จะมีผิวพื้นที่น้ำฝนซึมผ่านได้ยาก ทำให้น้ำฝนไหลไปสู่คลองระบายมากขึ้น ต่างกับพื้นที่ชนบทที่ฝนสามารถไหลซึมลงไปใต้ดินได้ รวมทั้งการพัฒนาชุมชนที่ไม่ถูกหลักวิชาทำให้ประสิทธิภาพการระบายน้ำเลวลง โดยการกีดขวางทางไหลของน้ำ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำออกนอกพื้นที่ชุมชนได้ก่อให้เกิดสภาพน้ำท่วมขัง นอกจากนั้นในพื้นที่ชุมชนส่วนใหญ่มักจะมีการสร้างบ้านเรือนอยู่ริมคลองซึ่งเป็นการก่อสร้างบ้านเรือนรุกล้ำลำน้ำสาธารณะ ทำให้ขนาดของลำน้ำแคบลง แล้วยังมีการทิ้งสิ่งปฏิกูลลงลำน้ำทำให้ลำน้ำตื้นเขินอีกด้วย

- การทำลายคันป้องกันน้ำท่วร ราษฎรที่อาศัยอยู่นอกคันป้องกันน้ำท่วมมักจุทำลายคันป้องกันน้ำท่วม ทำให้ปริมาณน้ำหลากทะลักเข้าไปในพื้นที่ชุมชน ถึงแม้ว่าหน่ายราชการที่เกี่ยวข้องจะทำหน้าที่ดูแลรักษาคันป้องกันก็ตาม

- การสูบน้ำบาดาล เป็นเหตุให้แผ่นดินทรุดตัวทำให้ระดับน้ำท่วมเพิ่มมากขึ้นและเวลาที่น้ำท่วมยาวนานขึ้น ซึ่งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้พยายามที่จะจำกัดการสูบน้ำบาดาล

ส่วนสำหรับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(www.environnet.in.th)กล่าวเกี่ยวกับสาเหตุของน้ำท่วมไว้ว่าน้ำท่วม เกิดจากระดับน้ำในทะเล มหาสมุทร และแม่น้ำสูงมาก จนท่วมท้นล้นฝั่งและตลิ่ง ไหลท่วมบ้านเรือน ด้วยความรุนแรงของกระแสน้ำ ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ในแต่ละปีเราจะได้ยินข่าวอยู่เสมอว่า มีอุทกภัยเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลก เช่น อินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ เป็นต้น ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนถูกทำลาย พาหนะต่าง ๆ เช่น รถยนต์จมอยู่ในน้ำจะพาโคลนตมเข้าไปทับถมในอาคารบ้านเรือน โรงงาน สูงเป็นสิบ ๆ เซนติเมตร จึงทำให้สิ่งของเสียหาย ในชนบททำให้พืชผล ไร่นา สัตว์เลี้ยงเสียหาย ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก ก่อให้เกิดโรคระบาด เกิดทุพภิกขภัยตามมา ซึ่งสาเหตุของอุทกภัยหรือน้ำท่วมสามารถสรุปได้ดังนี้

1) พายุหมุนโซนร้อน (Tropical Cyclones) หมายรวมถึงหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีกำลังแรง พายุดีเปรสชันที่จะพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น ตามลำดับ ความเสียหายที่เกิดจากพายุมาจากสาเหตุใหญ่ 3 ประการ คือ

ก. ลมพัดแรง (violent winds)
ข. น้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนักมาก (flood due to heavy rainfall)
ค. คลื่นพายุวัดฝั่ง (storm surge)

2) ร่องมรสุม (intertropical convergence zone) ใช้ตัวย่อ ICZ หรือ ITCZ , equaltorial trough หรือ monsoon trough) มีลักษณะเป็นแนวพาดขวางทิศตะวันตก-ตะวันออก ในเขตร้อนใกล้ ๆ อิเควเตอร์ ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นลงและพาดผ่านประเทศไทยช้ากว่าแนวโคจรของดวงอาทิตย์ประมาณ 1 เดือน ความกว้างของร่องมรสุมประมาณ 6-8 องศาละติจูด

3) ลมมรสุมมีกำลังแรง (stong monsoon) มรสุม คือลมประจำฤดู มาจากคำว่า mausim ในภาษาอาหรับ แปลว่า ฤดู ลมมรสุมเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำในฤดูหนาวและฤดูร้อน ในฤดูหนาวอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นทวีปเย็นกว่าอากาศเหนือพื้นที่มหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าจึงไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปสูงกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกันข้าม ประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุม ประเทศไทยจึงอยู่ในอิทธิพลของมรสุม 2 ฤดู คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดประมาณฤดูกาลละ 6 เดือน

3.1) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Monsoon) มรสุมนี้ก่อให้เกิดอุทกภัยได้ เนื่องมาจากเมื่อพัดจากมหาสมุทรอินเดียปะทะขอบฝั่งตะวันตกของภาคใต้ และเมื่อผ่านอ่าวไทยแล้วจะปะทะขอบฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย มรสุมนี้เริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และสิ้นสุดลงตอนต้นเดือนตุลาคม ในระยะเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แรงจัด ความเร็วของลมอาจจะสูงถึง 30 น๊อต เป็นระยะเวลาหลาย ๆ วัน คลื่นทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ใหญ่มาก เนื่องจากลมแรงจัดประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย มีช่วงระยะที่ลมเคลื่อนที่ไกลมาก คลื่นและลมจึงพัดพาน้ำทะเลในอ่าวเบงกอลมาสะสมทางขอบฝั่งตะวันตกของภาคใต้ตลอดฝั่ง ทำให้ระดับน้ำในทะเลตามขอบฝั่งสูงขึ้นมากจากระดับน้ำทะเลปานกลางในฤดูนี้และในระยะเดียวกัน ถ้าเกิดพายุดีเปรสชันขึ้นในอ่าวเบงกอลทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ ผลอันเกิดจากความกดอากาศต่ำในบริเวณพายุและผลอันเกิดจากฝนที่ตกหนักบนภูเขาและชายฝั่งรวมเข้าด้วยกันแล้ว จะทำให้เกิดระดับน้ำในทะเลและแม่น้ำสูงจนเป็นน้ำท่วมและเกิดอันตรายได้

3.2) มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast monsoon) เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งต้นพัดจากประเทศจีนและไซบีเรียผ่านทะเลจีนใต้ปะทะขอบฝั่งเวียดนาม ส่วนที่หลุดจากปลายแหลมอินโดจีนจะพัดผ่านอ่าวไทยตอนใต้ปะทะขอบฝั่งตะวันออกของภาคใต้ หรือฝั่งตะวันตกของอ่าวไทยตั้งแต่ใต้สงขลาลงไป มรสุมนี้มีกำลังแรงจัดเป็นคราว ๆ เมื่อบริเวณความกดอากาศสูงในประเทศจีนมีกำลังแรงขึ้น ลมในทะเลจีนใต้มีความเร็วถึง 30-35 น๊อต ( 52 กม. ถึง 64 กม.) แต่เนื่องด้วยมรสุมนี้ปะทะขอบฝั่งเวียดนามเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ลมมรสุมที่พัดผ่านเข้ามาในอ่าวนั้น มีช่วงระยะที่ลมเคลื่อนที่ไม่ได้ไกล จึงไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมากเป็นแต่เพียงคลื่นค่อนข้างใหญ่และระดับน้ำสูงกว่าปกติ แต่ก็ไม่สูงมากนัก ลมที่พัดแหลมญวนและทางใต้ลงไปจะทำให้เกิดผลทางขอบชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่ใต้สงขลาลงไปได้มากเช่นเดียวกัน คือ ทำให้เกิดคลื่นใหญ่มาก และระดับน้ำสูงจากปกติมากจนอาจจะเกิดเป็นน้ำท่วมได้

4) พายุฟ้าคะนอง พายุฝนหรือฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง ทำให้มีฝนตกหนักตอเนื่องกันนาน ๆ มีปรากฎการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบริเวณที่ราบเชิงเขา ใกล้ต้นน้ำลำธารในฤดูร้อนและฤดูฝน เมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักในป่าบนภูเขา น้ำฝนที่มีปริมาณมากที่ตกในป่าและบนภูเขาไหลอย่างรุนแรงลงสู่ที่ราบเชิงเขา ทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ น้ำป่าและน้ำจากภูเขาที่ไหลลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดน้ำท่วมในระยะเวลากะทันหัน หลังจากฝนตกหนักในชั่วระยะเวลาสั้นเช่นนี้ เรียกว่า น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) แต่ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หรือมากกว่าเพียงเล็กน้อย เมื่อน้ำได้ไหลลงสู่แหล่งน้ำลำธารเป็นส่วนมากแล้ว ระดับน้ำก็จะเริ่มลดลงโดยรวดเร็ว ในประเทศไทยจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับเทือกเขาสูง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เคยมีปรากฎการณ์เช่นนี้อยู่เสมอด้วยคลื่นน้ำขนาดใหญ่เคลื่อนที่มาอย่างรวดเร็วมาก โอกาสจะหลบหนีจึงมีน้อย นอกเสียจากจะได้วางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างเรียบร้อยแล้ว

5) น้ำทะเลหนุน (high tide) ในระยะเวลาของภาวะน้ำเกิด คือ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจากน้ำขึ้นปกติประมาณร้อยละ 20 เป็นเพราะโลกดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในแนวตรงกัน จะรวมแรงดึงดูดให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นที่เรียกว่า ภาวะน้ำเกิด น้ำทะเลจะหนุนให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นอีกมาก ถ้าเป็นระยะเวลาที่ประจวบระหว่างน้ำป่าและน้ำจากภูเขาไหลลงสู่แม่น้ำ จะทำให้อัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำลดลงมากหรืออาจจะหยุดไหล น้ำในแม่น้ำจึงไม่สามารถจะระบายลงสู่ทะเลได้ ถ้าระยะที่น้ำทะเลหนุนนี้เป็นระยะเวลาที่น้ำในแม่น้ำมีระดับสูงอยู่แล้ว ย่อมเกิดน้ำล้นตลิ่งท่วมขังบริเวณบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำได้ แต่ไม่มีกระแสน้ำเชี่ยวเกิดขึ้นด้วย อันตรายจึงมีน้อยมาก เว้นแต่ระยะเวลาที่น้ำล้นตลิ่ง (river flood) จะเนิ่นนานออกไปอีกหลายวัน ความสูญเสียก็อาจเพิ่มขึ้น

6) แผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เมื่อเกิดแผ่นดินไหวหรือเมื่อเกิดภูเขาไฟบนบกและภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด เปลือกของผิวโลกบางส่วนจะได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื่องกัน บางส่วนของผิวโลกจะสูงขึ้น บางส่วนจะยุบลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด จะทำให้เกิดคลื่นใหญ่ในมหาสมุทรและเกิดน้ำท่วมตามเกาะและเมืองชายฝั่งทะเลได้ ปรากฎการณ์นี้มีบ่อยครั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่องชายทะเลในประเทศญี่ปุ่น และหมู่เกาะฮาวาย ได้รับภัยอันตราย ซึ่งประเทศไทยก็เคยประสบจากแผ่นดินไหวที่บริเวณเกาะสุมาตราตรงจังหวัดอาเจะห์ สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมากเมื่อปลายปี 2547 ซึ่งคลื่นใหญ่นั้นมีชื่อเรียกว่า ซึนามิ (tsnami) เกิดจากแผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรือภูเขาไฟระเบิดในพื้นที่ท้องมหาสมุทร จึงเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยความเร็วประมาณ 600-1000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าถล่มชายฝั่งทะเล คลื่นชนิดนี้เป็นภัยธรรมชาติที่เกืดขึ้นเป็นประจำในแถบเมืองชายฝั่งทะเลในประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นจึงเรียกว่า ซึนามิ ลักษณะการเกิดเหมือนคลื่นพายุซัดฝั่ง

จากสาเหตุการเกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ไว้ข้างต้น จึงพอสรุป รูปแบบของอุทกภัยจากธรรมชาติได้ 5 ชนิด คือ

1) น้ำล้นตลิ่ง (river flood) เกิดจากน้ำทะเลหนุน
2) น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) เกิดจากฝนตกหนักเป็นเวลานาน บริเวณที่สูงต้นน้ำลำธาร ด้วยการเกิดพายุหมุนเขตร้อน ร่องมรสุม ลมมรสุมมีกำลังแรง หรือพายุฟ้าคะนอง
3) คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surges) เกิดจากพายุหมุนเขตร้อน
4) น้ำท่วมขัง (drainage flood) เกิดจากพายุหมุนเขตร้อน ร่องมรสุม ลมมรสุม หรือพายุฟ้าคะนอง
5) คลื่นซึนามิ (tsunami) เกิดจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินถล่ม

ส่วนกรมอุตุนิยมวิทยา(www.tmd.go.th)ได้สรุปสาเหตุของการเกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยในประเทศไทยไว้ว่าสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน มีสาเหตุมาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องมาจาก
1) หย่อมความกดอากาศต่ำ
2) พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น, พายุโซนร้อน, พายุใต้ฝุ่น
3) ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ำ
4) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
5) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
6) เขื่อนพัง

น้ำท่วมที่เกิดจากเหตุต่างๆ กันดังได้กล่าวมาแล้วนี้ ประกอบกับ ลักษณะของแหล่งน้ำในแต่ละพื้นที่มีลักษณะต่างกัน และปริมาณน้ำที่ไหลบ่าท่วมก็แตกต่างกัน ดังนั้น โครงการบรรเทาอุทกภัยจึงมัก จะต้องมีการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วย เพื่อให้โครงการให้ผลประโยชน์ที่ดีที่สุด ส่วนในเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมนั้นกรมอุตุนิยมวิทยา(www.tmd.go.th) ได้พิจารณาตามลักษณะของอุทกภัยว่ามีความรุนแรง และรูปแบบต่าง ๆ กันนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่โดยมีลักษณะดังนี้

1) น้ำป่าไหลหลาก หรือน้ำท่วมฉับพลัน มักจะเกิดขึ้นในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้ภูเขาต้นน้ำ เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้จำนวนน้ำสะสมมีปริมาณมากจนพื้นดิน และต้นไม้ดูดซับไม่ไหวไหลบ่าลงสู่ที่ราบต่ำ เบื้องล่างอย่างรวดเร็ว มีอำนาจทำลายร้างรุนแรงระดับหนึ่ง ที่ทำให้บ้านเรือนพังทลายเสียหาย และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

2) น้ำท่วม หรือน้ำท่วมขัง เป็นลักษณะของอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมาก ที่ไหลบ่าในแนวระนาบ จากที่สูงไปยังที่ต่ำเข้าท่วมอาคารบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาได้รับความเสียหาย หรือเป็นสภาพน้ำท่วมขัง ในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนัก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล

3) น้ำล้นตลิ่ง เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนหนักต่อเนื่อง ที่ไหลลงสู่ลำน้ำ หรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ำด้านล่าง หรือออกสู่ปากน้ำไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมเรือกสวน ไร่นา และบ้านเรือนตามสองฝั่งน้ำ จนได้รับความเสียหาย ถนน หรือสะพานอาจชำรุด ทางคมนาคมถูกตัดขาดได้

นอกจากนี้ยังได้แบ่งอันตรายและความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยหรือน้ำท่วมไว้ดังนี้
1) ความเสียหายโดยตรง
ก. น้ำท่วมอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก บ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงจะถูกกระแสน้ำที่ไกลเชี่ยวพังทลายได้ คนและสัตว์พาหนะและสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ำตาย

ข. เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดเป็นช่วง ๆ โดยความแรงของกระแสน้ำ ถนน และสะพานอาจจะถูกกระแสน้ำพัดให้พังทลายได้ สินค้าพัสดุอยู่ระหว่างการขนส่งจะได้รับความเสียหายมาก

ค.ระบบสาธารณูปโภค จะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ไฟฟ้า และประปา ฯลฯ
ง.พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย เช่น พืชผล ไร่นา ทุกประการที่กำลังผลิดอกออกผล อาจถูกน้ำท่วมตายได้ สัตว์พาหนะ วัว ควาย สัตว์เลี้ยง ตลอดจนผลผลิตที่เก็บกักตุน หรือมีไว้เพื่อทำพันธุ์จะได้รับความเสียหาย ความเสียหาย

2) ทางอ้อม จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยทั่วไป เกิดโรคระบาด สุขภาพจิตเสื่อม และสูญเสียความปลอดภัยเป็นต้น

ส่วนกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(www.environnet.in.th)ได้กล่าวเกี่ยวกับความรุนแรงและความเสียหายของน้ำท่วมไว้ว่าเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำและทะเลสูงขึ้นมากจนล้นฝั่งและตลิ่ง นอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแล้ว ถ้ายิ่งเป็นกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวหรือคลื่นที่ซัดถมจากทะเล ขึ้นมาบนฝั่งและถอยหลังไป จะมีอำนาจทำลายกวาดทุกสิ่งทุกอย่างลงทะเลไปหมด ยิ่งจะเป็นความเสียหายที่ไม่สามารถจะประเมินได้ อันตรายและความเสียหายอาจจะกล่าวได้ ดังนี้

1) อันตรายและความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน โดยตรง เกิดน้ำท่วมในบ้านเมือง โรงงาน คลังพัสดุ โกดังสินค้า บ้านเรือนไม่แข็งแรง อาจถูกกระแสน้ำไหลเชี่ยวพังทลาย หรือคลื่นซัดลงไปทะเลไปได้ ผู้คน สัตวพาหนะ สัตว์เลี้ยง อาจจมน้ำตาย หรือถูกพัดพาไปกับกระแสน้ำไหลเชี่ยว

- เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาดทั้งทางถนน ทางรถไฟ ชำรุดเสียหาย โดยทั่วไป รวมทั้งยานพาหนะ วิ่งรับส่งสินค้าไม่ได้ เกิดความเสียหายและชะงักงันทางเศรษฐกิจ

- กิจการสาธารณูปโภคจะได้รับความเสียหาย เช่น กิจการโทรเลข โทรศัพท์ การไฟฟ้า การประปา และระบบการระบายน้ำ เป็นต้น ท่าอากาศยาน สวนสาธารณะ โรงเรียน

- สิ่งก่อสร้างสาธารณสถานเกิดความเสียหาย เช่น สถานีขนส่ง ท่าอากาศยาน สวนสาธารณะ โรงเรียน วัด สถาปัตกรรม และศิลปกรรมต่าง ๆ

2) ความเสียหายของแหล่งเกษตรกรรม ได้แก่ แหล่งกสิกรรมไร่นา สัตว์เลี้ยง สัตว์พาหนะ ตลอดจนแหล่งเก็บเมล็ดพันธ์พืชยุ้งฉาง

3) ความเสียหายทางเศรษฐกิจ รายได้ของประเทศลดลง ผลกำไรจากภารกิจต่าง ๆ ถูกกระทบกระเทือน รัฐต้องมีรายจ่ายสูงขึ้นจากการซ่อมบูรณะซ่อมแซม และช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และเกิดข้าวยากหมากแพงทั่วไป

4) ความเสียหายทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ขณะเกิดอุทกภัยขาดน้ำดีในการอุปโภคบริโภค ขาดความสะดวกด้านห้องน้ำ ห้องส้วม ทำให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคอหิวาตกโรค รวมทั้งโรคเครียด มีความวิตกกังวลสูง โรคประสาทตามมา

5) ความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ ฝนตกที่หนัก น้ำที่ท่วมท้นขึ้นมาบนแผ่นดิน และกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม (landslides) ได้ นอกจากนั้นผิวหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์จะถูกน้ำพัดพาลงสู่ที่ต่ำ ทำให้ดินขาดปุ๋ยธรรมชาติ และแหล่งน้ำเกิดการตื้นเขิน เป็นอุปสรรคในการเดินเรือ

เอกสารอ้างอิง
กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย. 2541. รายงานการศึกษาวางแผนหลัก:โครงการศึกษาจัดทำแผนหลักการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน กลุ่มที่ 2 จำนวน 49 แห่ง. กรุงเทพฯ :สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และบริษัท พอล คอนซัลแตนท์ จำกัด
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550. ประเภทของภัยธรรมชาติ(ออนไลน์)สืบค้นจาก //www.environnet.in.th/evdb/info/diaster/disaster 03.html เมื่อ 1 ก.พ.2550
กรมอุตุนิยมวิทยา. 2548. หนังสืออุตุนิยมวิทยา(ออนไลน์)สืบค้นจาก //www.tmd.go.th/info /info.php?FileID=70 เมื่อ 1 ก.พ. 2550
สมบูรณ์ ลุวีระ. 2539. เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Create Date : 05 กรกฎาคม 2550
Last Update : 10 กรกฎาคม 2550 15:31:31 น. 27 comments
Counter : 5262 Pageviews.

 


โดย: itok IP: 125.24.132.100 วันที่: 19 กรกฎาคม 2550 เวลา:13:51:55 น.  

 
Hello,My Love


โดย: อาทิตย์ IP: 58.147.40.48 วันที่: 3 มกราคม 2551 เวลา:10:14:08 น.  

 
ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ


โดย: giffy IP: 158.108.192.207 วันที่: 9 มกราคม 2551 เวลา:17:44:51 น.  

 
ขอบคุณนะค่ะสำหรับข้อมูลนี้

ทามให้รายงานเดินทางไปไกลอีกหน่อย



โดย: modtanoy IP: 124.120.237.47 วันที่: 18 สิงหาคม 2551 เวลา:18:52:29 น.  

 
ขอบคุณ ผู้จัดทำ ขอบคุณผู้เผยแพร่ ขอบคุณผู้อนุเคราะห์ ขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้อง และสุดท้ายต้องขอขอบคุณคุณ เทวฤทธิ์ มณีฉาย ขอบคุณทุกคนอีกครั้ง ขอบคุณ

pacifist_pandit@hotmail.com


โดย: Pee Pee IP: 202.91.18.192 วันที่: 6 ตุลาคม 2551 เวลา:19:50:59 น.  

 
ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล


โดย: น้องเมย์ IP: 203.154.86.170 วันที่: 3 ธันวาคม 2551 เวลา:11:23:48 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลดีๆๆๆ


โดย: nurha IP: 222.123.148.87 วันที่: 23 ธันวาคม 2551 เวลา:13:19:36 น.  

 
ขอบคุณมากมายเลยครับ


โดย: ่jui IP: 125.24.196.179 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:15:30:35 น.  

 
ร่


โดย: ยะร85 IP: 118.173.119.252 วันที่: 10 สิงหาคม 2552 เวลา:20:24:06 น.  

 
ขอบคุน กัฟฟฟฟฟฟฟฟฟ :D


โดย: MOOK IP: 118.173.12.217 วันที่: 19 ธันวาคม 2552 เวลา:12:20:39 น.  

 
เจ๋ง


โดย: ขอบคุณมากๆเลยกร้าฟ...... IP: 118.173.244.114 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:08:33 น.  

 
ขอขอบคุณกร้าฟฟฟฟฟฟฟ


โดย: อาทิตย์ ไกรยรัตน์ IP: 118.173.244.114 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:26:02 น.  

 
ขอบคุณนะครับ สำหรับข้อมูล


โดย: ขอบคุณนะ IP: 124.122.32.173 วันที่: 29 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:48:15 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนี้น่ะค้าฟฟฟฟฟ


โดย: น้อง...... IP: 192.168.10.48, 202.183.204.146 วันที่: 29 มิถุนายน 2553 เวลา:14:56:01 น.  

 
ขอบพระคุณมากนะครับ
ขอบพระคุณหลายๆเด้อ


โดย: จีระศักดิ์ IP: 192.168.1.116, 110.164.247.210 วันที่: 20 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:45:37 น.  

 
ได้ข้อมูลไปเยอะเลยค่ะ

แต่ต้องไปแปลเป็นภาษาอังกฤษอีกเนี่ย

Teacherสั่งมา


โดย: โบวี่ IP: 110.49.59.216 วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:22:52:33 น.  

 
ขอบคุนมากๆๆเลยค่ะ
สำหรับข้อมูลที่ดี


โดย: yimsiam ^^ IP: 1.46.196.190 วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:21:20:06 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: ... IP: 118.173.209.214 วันที่: 12 กันยายน 2553 เวลา:14:26:17 น.  

 
*******************


โดย: Google IP: 182.93.185.26 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:23:47 น.  

 
ขอบคุณมากครับ


โดย: BanK IP: 182.232.205.86 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:05:31 น.  

 
ขอบคุณค่ะ
สำหรับข้อมูลดีๆ
ที่มีให้หนูทำส่งอาจารย์


โดย: Belle IP: 183.89.8.149 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา:17:14:15 น.  

 
ขอบคุณมากๆ เรียงความง่ายขึ้นมาก


โดย: ณัฐพงส์ IP: 118.172.201.184 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2553 เวลา:18:33:23 น.  

 
ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลดีดี


โดย: พรนิภา IP: 172.168.1.133, 119.42.81.151 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:59:26 น.  

 
ดีมากเลยครับ สำหรับข้อมูล
ขอบคุณมากมายครับ


โดย: ภูริวัจน์ IP: 223.207.10.150 วันที่: 2 ธันวาคม 2553 เวลา:11:52:31 น.  

 
ขอบคุณมากๆจะได้ไม่โดนครูตีแล้ว


โดย: มิร่าคุง IP: 223.207.183.244 วันที่: 26 ธันวาคม 2553 เวลา:20:41:15 น.  

 
แม่งห่วยแตก


โดย: ไม่มี IP: 61.90.76.156 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:21:04:23 น.  

 
GClub Royal เราคือ Web ผู้ให้บริการคาสิโน & SPort ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด GClub-Royal.com เรามีทีมงานมืออาชีพและมากด้วยประสบการณ์ GClub Royal เราคือศูนย์บริการคาสิโนชั้นนำของ Asia มากมายไว้คอยบริการท่าน เราได้คัดสรร คาสิโนออนไลน์ ที่ได้มาตราฐานและเป็นที่เชื่อถือของนักเล่นคาสิโนออนไลน์ เราเปิดบริการทั้ง บาคาร่า รูเลท ไฮโลว์ กำถั่ว สล็อตออนไลน์ Sport ออนไลน์ หวยออนไลน์ Web เดียวที่ท่านสามารถ สนุกได้กับทุกเกมส์ที่ท่านชื่นชอบและถนัด ท่านจะได้สนุกกับคาสิโนชั่นนำ เช่น GClub Royal1688 Ruby888 Holiday-Palace Savanvegas999 HTV999 Genting-Crown Reddragon88 Princess-Crown Asia855 และสำหรับคนที่ชื่นชอบหลงไหลกีฬาออนไลน์ เรามีบริการ Sportbetting ชั้นนำไว้คอยบริการ เช่น SBOBET IBCBET M8BET WinningFT STSBET นอกจากนี้ GClub Royal เรายังเปิดบริการใหม่ล่าสุด หวยออนไลน์ สำหรับคนที่ชอบเสี่ยงดวงทาง หวย ท่านจะได้ แทงหวยออนไลน์ รูปแบบใหม่ ราคาดีสัมผัสกับทุกเกมส์การเดิมพันที่ท่านชื่นชอบ กับเราได้แล้ววันนี้ กับ GClub-Royal.com เว็บที่ท่านเชื่อมั่น มั่นใจ เรายินดีบริการด้วยความเป็น
สนใจติดต่อได้ที่ 0807977770 - 6 ,0828634313-6,0821988880-6
//gclub-royal.com
//sbobet.gclub-royal.com
//ibcbet.gclub-royal.com
//holiday-palace.gclub-royal.com
//ruby888.gclub-royal.com
//royal1688.gclub-royal.com


โดย: gclub-royal IP: 113.21.246.41 วันที่: 4 มิถุนายน 2555 เวลา:12:45:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.