กรกฏาคม 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
13 กรกฏาคม 2558

สนทนาการเมืองในวงเหล้า 1

  เพื่อนผมที่มีความเห็นต่างทางการเมืองกับผม เค้ายังมองประชาชนส่วนมาก เป็นปัญหาในระบบประชาธิปไตยอยู่ โดยเฉพาะ ชนชั้นล่าง ที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐอยู่ตลอดเวลา ทั้งเรื่องราคาสินค้าเกษตร ต้องให้ภาครัฐคอยเข้าไปช่วยอุ้ม ทำไมเกษตรกรช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ทั้งที่ทำเกษตรมานานมีที่ดินทำกิน มีผลผลิตทำไมไม่สร้างมูลค่าให้กับผลผลิตสินค้าของตนเอง ต้องคอยให้ภาครัฐ อุ้มราคาผลผลิตอยู่ เช่นโครงการจำนำข้าว

เรื่องนี้ผมจึงหยิบประเด็น OTOP ของสมัยทักษิน บริหารประเทศ ช่วงนั้น ภาครัฐกำลังสนับสนุนให้เกิดการสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตเกษตร โดยให้เกษตกรนำผลผลติมาพัฒนาเป็นผลิตภันฑ์ ผมเลยบอก นี่ไงมันเคยเกิดขึ้นแล้ว ชาวบ้านกำลังลืมตาอ้าปากได้ ยุคนั้นกำลังมีสินค้า OTOP เกิดหลายอย่างในชุมชน  และมี "เหล้าสาโท" ที่มีแสตมป์สุราจากกรมสรรพสานมิตร ถูกต้องตามกฏหมาย จนมาแย่งตลาด บริษัทใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมาอย่างยาวนานจนเกิดความไม่พอใจทักษินไง แล้วรัฐบาลอุ้มภาคเอกชนใหญ่ๆที่ประกอบกิจการโดยขาดทุนตลอดอย่างการบินไทย  ก็ไม่ต่างจาก การอุ้มประชาชนภาคเกษตรนะครับ ต่างกันตรงที่พนักงานเค้าเป็นชนชั้นกลางเท่านั้น

เรื่องหลักๆที่แนวคิดประชาธิปไตยโดนโจมตีจากเพื่อนผมคือ นิสัยของชาวบ้าน ตาสี-ตาสา ที่ขาดความรู้ มีความงมงาย ที่เราเห็นออกข่าวบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ขอหวย หรือเรื่องความเชื่อที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อนผมบอกว่า ก็เพราะ มีชาวบ้านที่มีความเชื่อแบบนี้เยอะเค้าจึงไม่ไว้ใจในคะแนนเสียงส่วนมาก ว่าเป็นเสียงที่มาจากคนที่มีคุณภาพจากการเลือกตั้ง เพราะชาวบ้านเมื่อยากจน การใช้เงินซื้อย่อมเป็นไปได้มาก

ผมใช้ข้อโต้แย้งว่า เพราะชาวบ้านขาดโอกาสในการศึกษา ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และชาวบ้านก็รู้ดีว่าวิธีการที่เค้าเป็นอยู่นั้นลำบากเพียงใด หลายคนยอมส่งเสียให้ลูกหลานเล่าเรียน เพื่อที่จะนำความรู้กลับไปพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ประชาธิปไตยมันต้องใช้เวลา มันคือกระบวนการที่ปรับตนเองโดยระบบของมันเอง โดยยึดโยงกับประชาชน มันก็ถูกต้องแล้วที่ เมื่อคนจน-คนมีการศึกษาน้อย เป็นคนส่วนมากของประเทศ ที่เค้าอยากมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเท่าเทียมกับคนอื่นๆ เค้าก็เลือกคนที่จะทำให้คนจนมีโอกาสเข้าถึงเงินทุน มีการศึกษา คนจนโดยรวมทั้งประเทศก็จะเริ่มมีฐานะความเป็นอยู่ มีการศึกษาที่ดีขึ้นตามลำดับไง เมื่อเค้าเป็นคนมีฐานะมากขึ้นมีเงินเหลือ มีความรู้แทนที่จะเล่นหวย ก็อาจมีเงินเหลือไปซื้อหุ้นเป็นนักลงทุนเหมือนคนรวย สังคมจึงจะเริ่มมีความเท่าเทียม ลดช่องว่างคนรวยคนจน มีความเสมอภาคไง

เพื่อนผมบอกว่า ก็อย่างนี้น่ะสิมันเป็นการเอาเปรียบคนที่มีฐานะดีหรือปล่าว ชาวบ้านไม่ได้เอาผลผลิตอะไรมาแลกความรวย เอาแต่รอพึ่งนโนบาย พึ่งโอกาสที่หยิบยื่นให้จากทางรัฐอย่างเดียว โดยเอาเงินภาษีคนรวยไปเลี้ยงคนจน

ผมบอกว่า มันก็เป็นไปตามหลักการนะครับ อย่างการเสียภาษี แบบอัตราก้าวหน้า ยิ่งรวยมากยิ่งเสียมาก เพราะคนรวยมีโอกาสมากกว่าคนจนถ้าคิดภาษีในอัตราเดียวกัน คนรวยก็จะรวยเอาๆเพราะเงินทุนที่มากกว่าก็เท่ากับมีโอกาสมากกว่า คนจนก็รวยยากกว่าเดิม ระบบนี้คิดมาแล้วเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และเป็นที่ยอมรับกันไม่งั้นภาษีไม่คิดแบบอัตราก้าวหน้าหรอก ยิ่งรวยมากยิ่งต้องคืนประเทศมากเท่านั้น

เพื่อนผมบอกว่า ผมไม่ยอมรับความเป็นจริง ไม่อยู่กับสิ่งที่เป็น เรื่องแบบนี้สเกลมันใหญ่เกินเราตัวเล็กเกินไม่สามารถจะแก้ไขได้ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วก็ต้องยอมรับมันดิว่ะเกิดมาก็เห็นรัฐประหารเป็นปกติและมันก็ผ่านไปได้นี่ และ ความจริงคือประเทศของเราไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มใบมาตั้งนานแล้วนี่ แค่ปรับตัวให้อยู่รอด ก็เคยเห็นใช่ไหมคนที่จนบางคนยังสู้ถีบฐานะตัวเองขึ้นมาให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นได้ แค่นี้ก็ดีแล้ว เห็นไหม มันเกี่ยวกับนิสัยคน ไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น

อืม...ผมไม่รู้จะพูดยังไงดี คือผมอยากเห็นความเป็นธรรมเกิดขึ้นในสังคมหว่ะ ก็พอรู้อยู่นะว่าบ้านเราไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มใบเหมือนอณาประเทศที่เค้าพัฒนาแล้ว ใจคุณไม่อยากให้ประเทศพัฒนาเท่าเทียมชาวบ้านเค้าหรอว่ะ สมมุติคุณยอมรับสภาพแบบนี้ ถึงตอนที่ชีวิตคุณไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่นคุณไปสมัครงานโดยกติกาคัดเลือกโดนคะแนนข้อสอบ คุณทำข้อสอบคัดเลือกได้คะแนนสูงที่สุด แต่ฝ่ายบุคคลรับเด็กเส้นแต่มีคะแนนสอบน้อยกว่าคุณ แต่เด็กเส้นรู้จักกับผู้จัดการ แบบนี้รับได้ใช่ไหมว่ะ

เพื่อนผมบอกว่า รับได้ ถือว่ามันมีความสามารถที่มันไม่มี คือความสามารถด้านคอนเน็กชั่นที่มันได้เปรียบ ไม่ถือว่ามันเป็นเด็กเส้นด้วย

ผมตอบ คุณต้องเข้าใจนะโว้ย ประเทศไทยถึงแม้ลึกๆ จะไม่ใช่ประชาธิปไตยเต็มใบ แต่ได้เอาคำว่าประชาธิปไตยมาอ้างเพื่อให้โลกยอมรับ เพื่อทำมาค้าขาย และประชาชนได้ลิ้มรส โอกาส อิสระภาพ ความเสมอภาคมาแล้ว มันเป็นรสชาติที่เค้าจำได้ไม่ลืม แม้ในบางช่วงเวลาน้อยๆก็ตาม เค้าโหยหามันอยู่ตลอดเวลา และกงล้อประชาธิปไตย ได้หมุนแล้ว มันจะหมุนต่อไป คนที่ต้องปรับตัวไม่ใช่ประชาชน แต่คือคนที่เคยมีอำนาจต่างหาก
                                          ---------------------------------------------------------------

การสนทนาเท่าที่จำความได้หลักๆก็ประมาณนี้ครับ นี่คือความคิดลึกๆ ของความคิดเห็นที่ต่างกันถึงแม้เราจะเห็นต่างกัน แต่ก็คุยกันด้วยเหตุผล ถึงแม้จะไร้ซึ่งบทสรุปก็ตาม ผมมีบทสรุปของผม เค้ามีบทสรุปของเค้า เราก็ยังเป็นเพื่อนกันอยู่เหมือนเดิม และนัดคุยกันได้บ่อยๆด้วยซ้ำ




Create Date : 13 กรกฎาคม 2558
Last Update : 13 กรกฎาคม 2558 17:07:11 น. 0 comments
Counter : 1199 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

individual
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add individual's blog to your web]