อรรถประโยชน์ ๓




การเจริญธรรมสัมมาปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบันและอนาคต

Wednesday,December 21, 2016

8:11 AM

---> อัตถะหรือ อรรถ ๓ (ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย, จุดหมาย, ความหมาย)

. ทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในโลกนี้, ประโยชน์ขั้นต้น)

. สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป)

. ปรมัตถะ (ประโยชน์สูงสุด, จุดหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน)

อัตถะ ๓ หมวดนี้ ในพระสูตรทั่วไปมักแสดงเฉพาะข้อ ๑ และข้อ ๒ โดยให้ข้อ ๒มีความหมายครอบคลุมถึงข้อ ๓ ด้วย (เช่น ขุ.อิติ.๒๕/๒๐๑/๒๔๒; อธิบายใน อิติ..๙๒) บางแห่งก็กล่าวถึงปรมัตถะไว้ต่างหากโดยเฉพาะ (เช่น ขุ.สุ.๒๕/๒๙๖/๓๓๘; ๓๑๓/๒๖๖; ขุ.อป. ๓๓/๑๖๕/๓๔๓)

ดูทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔, สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ ด้วย.

Nd1169, 178, 357; Nd226.

ขุ..๒๙/๒๙๒/๒๐๕; ๓๒๐/๒๑๗; ๗๒๗/๔๓๒; ขุ.จู.๓๐/๖๗๓/๓๓๓.

---> ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม (ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน, หลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น)

. อุฏฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงานประกอบอาชีพอันสุจริต มีความชำนาญรู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง ตรวจตรา หาอุบายวิธี สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี)

. อารักขสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตนไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย)

. กัลยาณมิตตตา (คบคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นที่อาศัยเลือกเสวนาสำเหนียกศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้ทรงคุณมีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา)

. สมชีวิตา (มีความเป็นอยู่เหมาะสม คือรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟูมฟายให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้)

ธรรมหมวดนี้เรียกกันสั้นๆว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือเรียกติดปากอย่างไทยๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ (อัตถะแปลว่า ประโยชน์ จึงมีประโยชน์ซ้ำซ้อนกันสองคำ)

A.IV.281.

องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๔๔/๒๘๙.

---> สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ (ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า,

ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย, หลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นสูงขึ้นไป)

. สัทธาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา)

. สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล)

. จาคสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ)

. ปัญญาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัญญา)

ธรรมหมวดนี้เรียกกันสั้นๆ ว่า สัมปรายิกัตถะ หรือเรียกติดปากอย่างไทยๆ ว่าสัมปรายิกัตถประโยชน์ (อัตถะ ก็แปลว่า “ประโยชน์” จึงเป็นคำซ้ำซ้อนกัน)

A.IV.284.

องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๔๔/๒๙๒.

Cr. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม รวบรวมและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์




Create Date : 21 ธันวาคม 2559
Last Update : 21 ธันวาคม 2559 18:52:18 น.
Counter : 1279 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
ธันวาคม 2559

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
21 ธันวาคม 2559
All Blog