แผนพัฒน์ #12 กับเบญจศีลเบญจธรรม


แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๙) ที่สภาพัฒน์กำลังขอความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในการร่างขึ้นมานั้น โดยความสำคัญย่อมเกี่ยวข้องกับวิถีการกินอยู่ทำมาหากินของคนในประเทศก็ดีเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยทางสังคมก็ดี และท้ายที่สุด คือมิติแห่งชีวิตจิตวิญญาณของเรา ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเมื่อว่ากันตามหลักการชีวิตด้านในที่ประกอบด้วยรูปนามขันธ์๕ มิใช่สัตว์ มิใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เราเขา ที่จะดำเนินไปอยู่อย่างผาสุกร่มเย็นร่วมกันทั้งที่เป็นส่วนตัวครอบครับ หน่วยงาน สังคม ประเทศชาติ ตลอดจนสังคมโลก น่าจะมีการบูรณาการประยุกต์ศาสนธรรมคำสั่งสอนในทางศาสนาด้วย อาทิคำสั่งสอนเรื่องเบญจศีลเบญจธรรม ฯลฯ
(เบญจศีลเบญจธรรม Cr. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ปยุตฺตเถร)

ศีล 5 หรือเบญจศีล (ความประพฤติชอบทางกายและวาจา, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, การควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน)

  1. ปาณาติปาตา เวรมณี (เว้นจากการปลงชีวิต, เว้นจากการฆ่าการประทุษร้ายกัน)
  2. อทินฺนาทานา เวรมณี (เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้, เว้นจากการลัก โกง ละเมิดกรรมสิทธิ์ ทำลายทรัพย์สิน)
  3. กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี (เว้นจากการประพฤติผิดในกาม, เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หวงแหน)
  4. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง)
  5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี (เว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท, เว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ)

ศีล 5 ข้อนี้ในบาลีชั้นเดิมส่วนมากเรียกว่า สิกขาบท5 (ข้อปฏิบัติในการฝึกตน) บ้างธรรม 5 บ้าง เมื่อปฏิบัติได้ตามนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีศีลคือเป็นเบื้องต้นที่จัดว่าเป็นผู้มีศีล คำว่า เบญจศีล ที่มาในพระไตรปิฎกปรากฏในคัมภีร์ชั้นอปทาน และพุทธวงส์ ต่อมาในสมัยหลัง มีชื่อเรียกเพิ่มขึ้นว่าเป็นนิจศีล (ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ) บ้าง ว่าเป็นมนุษยธรรม (ธรรมของมนุษย์หรือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์) บ้าง

D.III.235; A.III.203,275; Vbh.285. ที.ปา.11/286/247; องฺ.ปญฺจก.22/172/227;264/307; อภิ.วิ.35/767/388. 

เบญจธรรม หรือ เบญจกัลยาณธรรม (ธรรม 5, ธรรมอันดีงามห้าอย่าง, คุณธรรมห้าประการ คู่กับเบญจศีลเป็นธรรมเกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีล ผู้รักษาเบญจศีลควรมีไว้ประจำใจ)

  1. เมตตาและกรุณา (ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขความเจริญ และความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์) คู่กับศีลข้อที่ 1
  2. สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต) คู่กับศีลข้อที่ 2
  3. กามสังวร (ความสังวรในกาม, ความสำรวมระวังรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่[ห้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส) คู่กับศีลข้อที่ 3
  4. สัจจะ (ความสัตย์ ความซื่อตรง) คู่กับศีลข้อที่ 4
  5. สติสัมปชัญญะ (ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท) คู่กับศีลข้อที่ 5

ข้อ 2 บางแห่งเป็นทาน (การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่) ข้อ 3 บางแห่งเป็นสทารสันโดษ (ความพอใจด้วยภรรยาของตน) ข้อ 5 บางแห่งเป็นอัปปมาทะ (ความไม่ประมาท)เบญจธรรมนี้ท่านผูกเป็นหมวดธรรมขึ้นภายหลัง จึงมีแปลกกันไปบ้างเมื่อว่าโดยที่มาหัวข้อเหล่านี้ส่วนใหญ่ประมวลได้จากความท่อนท้ายของกุศลกรรมบถข้อต้นๆ.

ดูกุศลกรรมบถ 10; ศีล5.

ดูเพิ่มเติม ๑. เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร)

             ๒. สภาพัฒน์

 

 

 




Create Date : 04 กรกฎาคม 2560
Last Update : 4 กรกฎาคม 2560 13:25:04 น.
Counter : 1100 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2560

 
 
 
 
 
 
1
3
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog