HR Management and Self Leadership
<<
มีนาคม 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
9 มีนาคม 2558

ข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง

เวลาที่เราพูดถึงเรื่องของการเลื่อนตำแหน่ง ท่านคิดว่าเราควรมีเกณฑ์อะไรบ้าง ที่ควรจะพิจารณาว่า พนักงานคนนี้ ควรจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งหรือไม่ โดยปกติการเลื่อนตำแหน่งนั้น องค์กรส่วนใหญ่มักจะมองว่าเป็นการให้รางวัลแก่พนักงานที่ทำผลงานได้ดี คำถามคือ การเลื่อนตำแหน่งเป็นการให้รางวัลจริงๆ หรือ

โดยทั่วไปการเลื่อนตำแหน่งก็คือ การที่พนักงานคนหนึ่งพร้อมที่จะรับผิดชอบในหน้าที่ที่สูงขึ้น โดยมีความรู้ และทักษะที่เพิ่มสูงขึ้น และพร้อมที่จะรับงานที่ยากมากขึ้น ดังนั้นการเลื่อนตำแหน่งจริงๆ ควรจะถูกมองว่าเป็นการคัดเลือกพนักงานภายในที่มีความเหมาะสมที่จะรับผิดชอบงานที่สูงขึ้นมากกว่าจะมองว่าเป็นการให้รางวัล

แต่อย่างไรก็ดี พนักงานส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกที่ดี เวลาที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น เพราะนั่นแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของพนักงาน และยังทำให้พนักงานรู้สึกถึงการได้รับการยอมรับจากนาย และจากองค์กรที่เราทำงาน ว่าสามารถที่จะทำงานที่ยากขึ้นได้จริงๆ

แต่ในทางปฏิบัติ การเลื่อนตำแหน่งในองค์กรบ้านเรายังมีปัญหาอยู่มาก เราลองมาดูกันว่าปัญหาที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง

  • เลื่อนตำแหน่งไปแล้วยังทำงานแบบเดิม ปัญหาแรกของการเลื่อนตำแหน่งในหลายๆ องค์กรก็คือ เรามองว่าการเลื่อนตำแหน่งเป็นรางวัลให้กับพนักงานที่มีผลงานที่ดี พอคิดแบบนี้ ก็เลยต้องมีการเลื่อนตำแหน่งให้กับพนักงานโดยมีการกำหนดเวลาว่าทุกๆ 3 ปี จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ประเด็นก็คือ ชื่อตำแหน่งถูกเปลี่ยนให้ดูดีขึ้น แต่งานสิครับ ยังคงเป็นงานเดิม เหมือนเดิมทุกอย่างเป๊ะๆ คำถามก็คือ แบบนี้ องค์กรจะได้อะไรจากการเลื่อนตำแหน่ง สิ่งที่องค์กรอาจจะได้ก็คือ พนักงานอยู่ทำงานนานขึ้น แต่สิ่งที่องค์กรไม่ได้ก็คือ มูลค่าเพิ่มในการทำงานของพนักงานคนนั้น ทั้งๆ ที่องค์กรก็จ่ายเงินเดือนสูงขึ้นให้กับพนักงานด้วยซ้ำไป
  • เลื่อนตำแหน่งไปตามสาย Managerial อย่างเดียว อีกปัญหาของการเลื่อนตำแหน่งก็คือ มองในด้านของตำแหน่งงานด้าน Managerial เป็นหลัก ก็คือ จากพนักงานก็ต้องไปเป็น Sup และต่อไปเป็น Sup ต่อไปเป็น Sr. Sup แล้วก็ต่อไปเป็น Asst. Manager เป็น Manager เป็น Sr. Manager ฯลฯ และที่สำคัญก็คือ พนักงานที่ดำรงตำแหน่งที่ว่ามา มักจะไม่มีลูกน้องที่ต้องให้บริหารสักคน แต่ชื่อตำแหน่งเป็นผู้จัดการแล้ว บางองค์กรมีปัญหาหนักกว่านี้อีก ก็คือ พนักงานทุกคนในองค์กรมีตำแหน่งเป็น Manager ทุกคน เพราะถูกเลื่อนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ตามอายุงานที่ตนเองทำงานในองค์กร
  • เกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งมักมองที่ผลงานเพียงอย่างเดียว พนักงานที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งมักจะถูกพิจารณาจากผลงานที่โดดเด่นมากๆ และด้วยผลงานที่โดดเด่นนี้เอง ก็เลยทำให้พนักงานคนนั้นได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเป็นระดับผู้จัดการ ปัญหาก็คือ พอพนักงานได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปเป็นผู้จัดการ เขาก็จะกลายเป็นผู้จัดการที่ไม่มีทักษะในการบริหารจัดการอะไรเลย เพราะเราพิจารณาแต่เพียงผลงานเพียงด้านเดียวเท่านั้น และก็กลายเป็นปัญหาของหลายองค์กรที่มีผู้จัดการที่ไม่สามารถที่จะบริหารพนักงานในทีมของตนเองได้เลย

ถ้าองค์กรของเราต้องการที่จะมีระบบการเลื่อนตำแหน่งที่ดี และไม่มีปัญหาตามมา สิ่งที่เราจะต้องทำก็คือ

  • กำหนดเส้นทางการเลื่อนตำแหน่งให้ชัดเจน ก็คือ โดยทั่วไปจะมีเส้นทางในการเลื่อนตำแหน่งแยกไปเป็น 2 ด้านหลักๆ ก็คือ ด้าน Managerial Track และ Professional Track ซึ่งในแต่ละเส้นทางก็จะเหมาะกับพนักงานแต่ละลักษณะที่แตกต่างกันออกไป และที่สำคัญก็คือ จะมีการวางแผนในการพัฒนาพนักงานที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน
  • มีการวางแผนสำหรับการเลื่อนตำแหน่ง ปกติการที่จะเลื่อนตำแหน่งให้กับพนักงานนั้น เราไม่ใช่ทำกันในทันที เช่น ปีนี้อยากเลื่อนใครก็ขอเลื่อน แต่จะต้องมีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้จัดการกับตัวพนักงานว่า เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานนั้น อยากโตในเส้นทางไหน ระหว่าง Managerial กับ Professional เพราะการเติบโตในแต่ละเส้นทางนั้น จะต้องถูกพัฒนาไปในทิศทางที่แตกต่างกันออกไป ใครที่อยากโตในสาย Managerial น้ำหนักในการพิจารณาอาจจะไม่ใช่แค่เพียงผลงานอย่างเดียว แต่จะต้องพิจารณาและพัฒนาเรื่องของทักษะในการบริหารจัดการทั้งด้านงาน และด้านคน แต่ถ้าพนักงานคนไหนที่ต้องการเติบโตในสายงานทางด้านวิชาชีพเฉพาะทาง ก็อาจจะพิจารณาจากผลงานมากหน่อย และความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการทำงานเป็นหลัก โดยไม่เน้นเรื่องของการบริหารจัดการ ซึ่งเกณฑ์เหล่านี้ จะต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนว่าในการที่จะเลื่อนตำแหน่งได้นั้นจะต้องผ่านเกณฑ์อะไรบ้าง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการพิจารณาเรื่องของการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานในองค์กรของเรา
  • มีการเอาข้อมูลในระบบบริหารผลงานมาใช้ อีกประเด็นของการเลื่อนตำแหน่งที่จำเป็นจะต้องมีก็คือ เราจะต้องเอาข้อมูลผลงานของพนักงานมาใช้ประกอบในการเลื่อนตำแหน่งด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางด้านผลสำเร็จของงานของพนักงาน ข้อมูลเรื่องของ Competency และ Potential ของพนักงานมาประกอบในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง โดยการเทียบกับเกณฑ์ในการเลื่อนตำแหน่งที่กำหนดไว้ ไม่ใช่นึกอยากจะเลื่อนใครก็เลื่อนไปเลย โดยไม่มีเหตุผลหรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

ประเด็นที่อยากจะย้ำก็คือ เรื่องของการเลื่อนตำแหน่งนั้นจะต้องมีการวางแผนกันอย่างดี ระหว่างผู้จัดการกับพนักงาน โดยเอา Career Path และเกณฑ์ในการเลื่อนตำแหน่งมาใช้ประกอบ โดยต้องมีการวางแผนในการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม ให้ได้ตามที่กำหนดไว้

แล้วการเลื่อนตำแหน่งขององค์กรเราก็จะมีคุณค่าต่อองค์กรและต่อตัวพนักงานมากขึ้นครับ




Create Date : 09 มีนาคม 2558
Last Update : 10 มีนาคม 2558 7:06:57 น. 0 comments
Counter : 3602 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]