บริจาคดวงตา ชาติหน้าเกิดมาแล้วจะไม่มี ดวงตา


ยังมีคนอีกมากมายที่รอความหวังกับการมองเห็นทีดีขึ้น มีผู้รอบริจาคประมาณ 3 ,000 กว่าราย

ส่วนในกลุ่มของคนไข้ที่เราสามารถให้หรือบริจาคกระจกตาต่อปี ประมาณ 200-250 ราย ต่อปีเท่านั้นเอง

ในวันที่เรายังมีลมหายใจ อย่าลืมไปบริจาคอวัยวะ บริจาคร่างกันนะคะ

ให้ร่างที่กำลังจะหมดประโยชน์ได้เป็นประโยชน์กับคนอื่นได้ใช้ชีวิตต่อไป

ดวงตา ที่รับบริจาคเรานำไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง

ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่าดวงตาที่นำมาบริจาค เราไม่ได้นำเอาดวงตาทั้งดวงมาใช้ เราใช้เฉพาะส่วนหน้าสุดที่ใช้เฉพาะกระจกตาเท่านั้น เพราะฉะนั้นกลุ่มคนไข้ที่จะได้รับประโยชน์จากการทำผ่าตัดชนิดนี้จะเป็นกลุ่มคนไข้ที่มีความผิดปกติทางด้านหน้าที่เรียกว่า กระจกตา ถ้ามีความผิดปกติทางด้านอื่น เช่น จอประสาทตา หรือ เส้นประสาทตา เราจะไม่สามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยนดวงตาได้ ในส่วนของกระจกตา ก็จะมีโรคบางอย่าง เช่น เป็นแผลเป็นที่กระจกตา เป็นแผลติดเชื้อ มีความโค้งที่ผิดปกติ ซึ่งในกลุ่มคนไข้จะมีการมองเห็นที่ไม่ดี และถ้าได้รับการเปลี่ยนกระจกตาก็จะสามารถทำให้เขาสามารถกลับมามองเห็นที่ใกล้เคียงเหมือนปกติได้

146772885

ในปัจจุบันการบริจาค ดวงตา พบปัญหามากน้อยแค่ไหน

ปัญหาที่เราพบ ก็คือ กลุ่มคนไข้ที่แสดงความจำนงขอรับบริจาคตามีปริมาณค่อนข้างมาก จากตัวเลขล่าสุดของสภากาชาดที่มีคนไข้รอรับบริจาคดวงตา ประมาณ 3 ,000 กว่าราย ส่วนในกลุ่มของคนไข้ที่เราสามารถให้หรือบริจาคกระจกตาต่อปี ประมาณ 200-250 ราย ต่อปี ซึ่งจะเห็นว่ามีอัตราส่วนแตกต่างกันค่อนข้างมาก อัตรารอคิวในการรอผ่าตัดค่อนข้างนาน โดยเฉลี่ยประมาณ 5 ปีขั้นไป ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามความสำคัญของกลุ่มคนไข้ด้วย อาทิ คนไข้ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กระจกตา ในบางครั้งก็จะต้องมีการจัดคิวเร่งด่วนเข้ามาให้ ในกรณีคนไข้ที่ไม่มีความเร่งด่วนจึงจะตกอยู่ประมาณ 5 ปี ขึ้นไป

ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของผู้ป่วยที่รอรับ ดวงตา เกิดขึ้นจากสาเหตุใดบ้าง

ผู้ป่วยที่รอรับการบริจาคนั้น มีจาก 2 สาเหตุ

กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งในกลุ่มนี้เราพบว่าการพยากรณ์โรคมักไม่ค่อยดี โดยเฉพาะในกลุ่มนี้มักจะมีความผิดปกติของระบบอื่นๆร่วมด้วย

กลุ่มที่สอง ก็คือ กลุ่มที่เป็นในภายหลังซึ่งก่อนหน้าที่จะเป็นเคยมีการมองเห็นที่ดีมาก่อน เช่น มีอุบัติเหตุแล้วเกิดแผลเป็นเกิดขึ้นที่กระจกตา ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้มักจะมีการพยากรณ์โรคที่ดีกว่า ในระยะเวลาการรอ 5 ปี แพทย์จะมีการติดตามอยู่เป็นระยะให้แน่ใจว่า ทุกอย่างอยู่ในเกณฑ์ที่คงที่สามารถรอได้

ความเชื่อที่ว่าการบริจาคดวงตาแล้ว จะทำให้ชาติหน้าเกิดมาแล้วจะไม่มี ดวงตา

คุณหมอมีความเชื่อหรือทัศนคติเรื่องนี้ว่าอย่างไร

เรื่องนี้มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก เรามักจะได้ยินว่าคนส่วนใหญ่ที่ไม่นิยมบริจาคดวงตาเพราะกลัวว่าเกิดมาชาติหน้าแล้วจะไม่มีดวงตาใช้ จริงๆแล้วในพระพุทธศาสนาไม่ได้มีการบอกเรื่องนี้ไว้ ซึ่งมีประโยคหนึ่ง กล่าวว่า หลายๆครั้งที่มีการผ่าตัดบางอย่าง เช่น คนไข้ผู้หญิงบางคนต้องตัดมดลูก รังไข่ ออก ทำไมจึงไม่กลัวว่าเราจะไม่มีมดลูก ไม่มีรังไข่ หรือบางคนที่ต้องตัดไส้ติ่งออก จึงไม่กลัวว่าชาติหน้าจะไม่มีใส้ติ่ง หรือจะมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า ซึ่งในกรณีนี้ก็ไม่มีใครกลัว ก็จะเหมือนกันกับ

การบริจาคดวงตา คือ 1. เมื่อเราบริจาคดวงตา หมายถึง เราไม่ต้องการใช้มันแล้ว

2. ถ้าเราไม่บริจาคเราก็จะต้องเผาหรือฝังมันไปก็จะสูญเสียไปกับเรา แต่ถ้าบริจาคคนอื่นที่ได้รับไปจะมีโอกาสที่จะมองเห็นและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้เหมือนปกติ

ดังนั้น ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่สำคัญเราพยายามที่จะเปลี่ยนเพราะ ประโยชน์ในการบริจาคดวงตา เราถือเป็นกุศลอย่างมากที่จะทำให้ชีวิตของคนหนึ่งคนสามารถดำเนินต่อไปได้และสามารถบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

ในการบริจาคทั้งผู้รับและผู้ให้มีข้อจำกัดเรื่องใดบ้างหรือไม่

ในกลุ่มขอผู้บริจาคโดยทั่วไปถ้าไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงส่วนใหญ่เราจะรับไว้หมด สำหรับผู้รับบริจาคก็จะขึ้นอยู่กับจักษุแพทย์ เพื่อให้จักษุแพทย์เป็นผู้ตัดสินใจว่า สภาพตาแบบนี้ถ้าเปลี่ยนกระจกตาแล้วสามารถทำให้การมองเห็นดีขึ้นหรือไม่ ถ้าเกินการเปลี่ยนแล้วจะทำให้การมองไม่ดีขึ้นก็คงจะไม่ต้องเปลี่ยนกระจกตา

ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา ต้องใส่แว่น สามารถบริจาคดวงตาได้หรือไม่

กลุ่มคนไข้ทำการผ่าตัดกระจกมาแล้ว สามารถใช้ดวงตาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไข้ที่มีปัญหากระจกตาทะลุที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือเกิดการติดเชื้อในกรณีเราต้องการกระจกตาที่รีบด่วน เพื่อที่จะใช้มา อุดรอยรั่วที่กระจกตา ในกลุ่มนี้สามารถใช้กระจกตาได้ทุกชนิด สำหรับกลุ่มคนไข้ที่ไม่รีบด่วน เช่น เป็นแผลเป็น กลุ่มนี้แพทย์อาจจะพิจารณาใช้กระจกที่มีคุณภาพที่ดีกว่ากลุ่มแรก

ในกรณีของการบริจาคดวงตาจะเหมือนหรือแตกต่างจากการบริจาคอวัยวะส่วนอื่นๆหรือไม่

ขณะนี้ที่เราทำกันอยู่ไม่ได้พิจารณาถึง เลือด เพราะกระจกตาเป็นส่วนที่ไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยง เหมือนอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น ตับ หัวใจ ปอด ซึ่งจะมีการนำภูมิคุ้มกันมาค่อนข้างเยอะ ส่วนกระจกตาเป็นส่วนที่ใส แทบจะไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยง เพราะโอกาสที่จะไม่รับก็จะน้อยกว่าส่วนอื่น ปัจจุบันเราจึงยังไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการเข้ากันของเนื้อเยื่อเท่าไรนัก แต่ตามทฤษฎีแล้ว ถ้ามีการเข้ากันของเนื้อเยื่อแล้ว มันจะทำให้โอกาสสำเร็จของการทำผ่าตัดสูงขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องของผู้บริจาคและผู้รับบริจาคทำให้ไม่จำเป็นต้องรอ

ในเรื่องของการผ่าตัด ประสิทธิภาพของการมองเห็นจะเป็นอย่างไร

ขึ้นอยู่กับโรคที่คนไข้เป็น ถ้าเป็นโรคที่ไม่รุนแรงมาก โอกาสที่จะกลับมามองเห็นใกล้เคียงกับปกติ หรือบางรายอาจจะเหมือนปกติเลยได้ แต่ในบางรายที่เป็นมาก การที่เราเปลี่ยนดวงตาก็เนื่องมาจาก

  1. แพทย์ต้องการจะเก็บดวงตาให้กับผู้ป่วยเพื่อจะได้ไม่สูญเสียดวงตา
  2. เพื่อให้ความสามารถในการมองเห็นยังพอมีอยู่ได้บ้าง อาจจะกลับมาไม่เหมือนปกติ แต่อย่างน้อยก็จะสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในลักษณะปกติได้ บางรายอาจจะดีขึ้นเหมือนเดิม

อายุในการใช้งานของกระจกตาที่เปลี่ยนใหม่ จะแตกต่างจากเดิมที่มีอยู่หรือไม่

กระจกตาที่ใส่เข้าไปก็จะเหมือนของแปลกปลอม ซึ่งร่างกายคนเราจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ ซึ่งบริเวณของกระจกตาจะมีผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันค่อนข้างน้อย แต่ก็มีอยู่บ้าง นั่นหมายความว่า จะมีโอกาสที่ร่างกายจะปฎิเสธ กระจกตาที่เปลี่ยนใหม่ ถ้าร่างกายมีการปฏิเสธเนื้อเยื่อ จะทำให้กระจกตาขุ่นตัวเกิดขึ้น ในช่วงแรกก็จะให้ยาหยอดกดภูมิคุ้มกัน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร เพื่อให้แน่ใจว่า ร่างกายของเราจะไม่ปฎิเสธเนื้อเยื่อใหม่ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีโอกาสที่ร่างกายจะปฎิเสธ หรือไม่รับเนื้อเยื่ออันนี้ เราก็จะกลับมาให้ยากดภูมิต้านทานใหม่ เราดูว่ายาจะสามารถกดให้ภูมิต้านทานนี้ลดลง แล้วกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ก็คือ กระจกตาก็จะเสียไป ไม่สามารถใช้ได้

เมื่อผู้แสดงความจำนงบริจาคดวงตาเสียชีวิต และทายาทแจ้งให้ศูนย์ดวงตาไปดำเนินการนำดวงตาไปช่วยผู้ป่วยกระจกตาพิการเรียบร้อยแล้ว  ทายาทจะได้รับสิทธิพิเศษอะไรบ้าง
สภากาชาดไทยจะมอบสิทธิประโยชน์ให้กับทายาท ดังนี้
  1. จัดดอกไม้หรือพวงหรีดไปเคารพศพของผู้บริจาค
  2. ดำเนินการมอบเกียรติบัตรสภากาชาดไทยยกย่องเชิดชูความดีของผู้บริจาค
  3. ดำเนินการขอพระราชทานเพลิงเผาศพ หรือดินฝังศพ เป็นกรณีพิเศษให้ผู้บริจาค  เมื่อทายาทของผู้บริจาคมีความประสงค์
  4. ดำเนินการขอสิทธิสมาชิกกิตติมศักดิ์สภากาชาดไทยให้แก่ทายาทของผู้บริจาค ดวงตา 1 คน ซึ่งผู้ได้รับสิทธินี้จะได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการ สภากาชาดไทย เพื่อรับพระราชทานประกาศนียบัตร และเข็มสมาชิกกิตติมศักดิ์สภากาชาดไทย 
อยากทราบว่าเมื่อผู้บริจาคเสียชีวิตแล้ว มีการจัดเก็บดวงตาอย่างไร?
กระบวนการจัดเก็บดวงตาจากผู้บริจาค มีขั้นตอนดังนี้
  • ต้องรีบดำเนินการแจ้งศูนย์ดวงตาโดยเร็ว ไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมงหลังผู้บริจาคเสียชีวิต 
  • เจ้าหน้าที่ศูนย์ดวงตาจะสอบถามถึงสาเหตุการตาย ผู้เสียชีวิตด้วยโรคที่อาจติดต่อถึงผู้รับดวงตาได้ จะไม่ทำการจัดเก็บ 
  • เมื่อพิจารณาตามข้อ (2) แล้วเห็นว่าสมควรเก็บดวงตาได้จึงทำการจัดเก็บดวงตาผู้บริจาค
  • ทำการเจาะเก็บตัวอย่างโลหิตของผู้บริจาคมาส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวิเคราะห์โรคติดเชื้อต่าง ๆ
  • เมื่อผลวิเคราะห์ตัวอย่างโลหิตไม่พบการติดเชื้อ  จึงดำเนินการต่อไป
  • เตรียมกระจกตา แช่ในน้ำยาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Optisol)
  • จัดส่งกระจกตาให้จักษุแพทย์ เพื่อใชผ่าตัดให้กับผู้ป่วยกระจกตาพิการตามลำดับการจองตา

ผู้สนใจที่ประสงค์ จะบริจาคดวงตา สามารถติดต่อขอบริจาคได้ที่ใด

ศูนย์ดวงตาของสภากาชาด หรือ อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร ชั้น 7 สถานเสาวภา ถนนฮังรีดูนัง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศูนย์ดวงตาของสภากาชาด

ขอบคุณที่มาจาก : อ.นพ.สบง ศรีวรรณบรูณ์
ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คำถามอื่นๆ //www.redcross.or.th/forum/22/22232





Create Date : 17 มกราคม 2560
Last Update : 17 มกราคม 2560 13:53:28 น.
Counter : 800 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: nokyungnakaa วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:13:50:13 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

salinta
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



หมีชอบกินปลาแซลม่อนที่ว่ายทวนน้ำ...
All Blog