happy memories
Group Blog
 
<<
กันยายน 2560
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
26 กันยายน 2560
 
All Blogs
 
พระมหาพิชัยราชรถ




"ล้ำค่า"
ศิลปิน สังวร นัดทะยาย
เทคนิค สีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด ๑๒o x ๙o ซม.
พระบรมสาทิสลักษณ์จากบล็อก นิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ ๑ (๒)



รักในดวงใจนิรันดร์







ส่งพระขวัญ


พระขวัญเกล้า ชาวไทย ได้ปกเกศ
พระขวัญเขต เกษตรกษัตริย์ รัชสมัย
พระขวัญแดน แผ่นดินทอง ก้องเกริกไกร
พระขวัญไอ- ศูรยา ประชารัฐ


พระขวํัญฝน หลวงหล่นพราย เป็นสายน้ำ
พระขวัญความ เย็นฉ่ำคลาย หายแล้งจัด
พระขวัญข้าว ชาวนาไทย พืชไร่ชัด
พระขวัญตริ ดำริตรัส จัดโครงการ

พระเสด็จ ทั่วแดนด้าว เยี่ยมเหล่าราษฎร์
พระบำราศ บำรุงสุข ทุกสถาน
พระประดิษฐ์ ทรงคิดค้น เครื่องกลการ
พระทรงงาน ปานเสโท ธ รินลง

พระศรัทธา ศาสนาสุด พุทธวัจน์
พระมนัส น้อมผนวช บวชเป็นสงฆ์
พระแข่งขัน รางวัลได้ เรือใบทรง
พระดำรง รากภาษา นานาชน

พระรังสรรค์ วรรณคดี เป็นศรีชาติ
พระมหา- ชนกนาถ ศาสตร์นุสนธ์
พระเชิดชู อุตสาหะ วิริยะดล
พระช่วยชน ในชาติงาม ด้วยความเพียร

พระทรงนำ ล้ำปรัชญา มาให้ใช้
พระจอมไท้ ธรรมทศพิธ สถิตเสถียร
พระทรงฉัตร อัจฉริยภาพ ทาบเทพเธียร
ส่งพระสุด สมุทรเกษียร สู่...สวรรคาลัย


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า พ.อ.เยี่ยม พลอยบุศย์ (นายเชิงชาย)
จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ๔ สิงหาคม ๒๕๖๐









หากได้มาเยือนที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” จะต้องไม่พลาดที่จะเข้าชม “โรงราชรถ” ที่นับเป็นจุดที่มีประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก เพราะที่นี่เปรียบเหมือนเป็นสถานที่บันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญสำหรับคนไทยตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน





โรงราชรถปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


"โรงราชรถ”


       
จากหลักฐานหนังสือ “เรื่องกรุงเก่า” กล่าวว่า มีโรงใส่พระมหาพิชัยราชรถอยู่ริมกำแพงคั่นท้องสนามหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ ภายนอกประตูพระราชวัง ชั้นกลาง และจากหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๓๘๖ กล่าวว่ามีโรงราชรถเก่าอยู่ที่ริมตึกดิน ทางทิศตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง และได้ย้ายพระมหาพิชัยราชรถไปที่โรงราชรถใหม่ ซึ่งอยู่ที่ใดไม่ปรากฏ     



  


ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ย้ายพระมหาพิชัยราชรถมาไว้ที่พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และได้ตั้งให้เป็นโรงเก็บราชรถสำคัญ ๒ โรง โดยให้อยู่ในความดูแลของกรมพระตำรวจ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังบวรสถานมงคล ให้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ซึ่งปัจจุบันก็คือ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” นั่นเอง 






สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา ให้สร้างโรงราชรถขึ้นใหม่ลักษณะเป็นโรงหลังคาทรงจั่ว ๒ หลัง เชื่อมต่อกันด้วยมุขขวาง ภายในเปิดโล่งถึงกันโดยตลอด แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์โรงราชรถขึ้นใหม่ โดยต่อเติมมุขหน้า และใช้เป็นที่เก็บรักษาและจัดแสดงราชรถสำคัญของแผ่นดิน รวมทั้งเครื่องประกอบในการพระราชพิธีพระบรมศพและพระศพในปัจจุบัน วัตถุจัดแสดงที่สำคัญคือ





ความสวยงามของพระมหาพิชัยราชรถ


“พระมหาพิชัยราชรถ”



“พระมหาพิชัยราชรถ” มีนามหมายถึง “ชัยชนะอันยิ่งใหญ่” เป็นมงคลนาม ลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบกขนาดใหญ่ มีขนาดกว้าง ๔.๘๐ เมตร ยาว ๑๘ เมตร (เฉพาะตัวรถ ๑๔.๑๐ เมตร) สูง ๑๑.๒๐ เมตร หนัก ๑๓.๗๐ ตัน ใช้กำลังพลชักลากจำนวน ๒๑๖ คน      

สร้างด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกตกแต่งด้วยชั้นเกรินประดับกระหนกเศียรนาค กระหนกท้ายเกริน และรูปเทพพนมโดยรอบ โดยใช้สำหรับอัญเชิญพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมชนก พระราชชนนี พระอัครมเหสี และพระมหาอุปราช ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง






เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างพระมหาพิชัยราชรถขึ้นเพื่อใช้ทรงพระบรมโกศ ถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ณ พระเมรุมาศ เป็นครั้งแรก พระมหาพิชัยราชรถนี้เคย มาใช้งานมาแล้ว ๒๐ ครั้ง อาทิ ใช้อัญเชิญพระบรมศพของรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๕, สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า), สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (พระพี่นาง) เป็นต้น และการใช้งานครั้งสุดท้ายคือ เชิญพระโกศพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕





เวชยันตราชรถ


“เวชยันตราชรถ”



“เวชยันตราชรถ” มีนามหมายถึง "รถของพระอินทร์" ลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบกพิมานขนาดใหญ่ มีขนาดกว้าง ๔.๘๕ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สูง ๑๑.๗๐ เมตร หนัก ๑๒.๒๕ ตัน จำหลักตกแต่งลวดลายวิจิตร สร้างขึ้นพร้อมกับพระมหาพิชัยราชรถ ในปี พ.ศ. ๒๓๓๙ โดยใช้พระมหาพิชัยราชรถในการทรงพระบรมอัฐิ และเวชยันตราชรถใช้เป็นรถพระที่นั่งรอง จากนั้นใช้ในการพระศพสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าสืบมาถึงรัชกาลที่ ๖






เมื่อครั้งพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๖๘ และพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สยามินทราธิราช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ (รัชกาลที่ ๘) พระมหาพิชัยราชรถชำรุดไม่พร้อมต่อการอัญเชิญพระบรมศพ จึงได้เชิญเวชยันตราชรถออกใช้การแทน แต่ให้ขนานนามราชรถตามหมายกำหนดการว่าพระมหาพิชัยราชรถ





พระโกศจันทน์ทรงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
       
       
การใช้งานครั้งสุดท้ายคือ เชิญพระโกศพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ จนกระทั่งในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงได้มีการบูรณะพระมหาพิชัยราชรถครั้งใหญ่และเชิญออกใช้การอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง





ราชรถน้อย ๑ ใน ๓ องค์ ที่จัดแสดงอยู่ในโรงราชรถ


“ราชรถน้อย”



นอกจากราชรถที่กล่าวมาภายในโรงราชรถยังมี "ราชรถน้อย" อีกสามองค์ ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙ พร้อมพระมหาพิชัยราชรถและเวชยันตราชรถ ลักษณะคล้ายกับพระมหาพิชัยราชรถ แต่มีขนาดย่อมกว่ามาก โดย องค์ที่หนึ่งใช้เป็นราชรถที่สมเด็จพระสังฆราชประทับ ทรงสวดนำกระบวนพระมหาพิชัยราชรถ       
       
ราชรถน้อยองค์ที่สองเป็นราชรถโยงผ้าจากพระบรมโกศ จัดเป็นราชรถตาม จากนั้นเป็น ราชรถน้อยองค์ที่สาม ใช้เป็นรถสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ประทับ เพื่อทรงโปรยทานพระราชทานแก่ประชาชนที่มาเฝ้ากราบพระบรมศพตามทางสู่พระเมรุมาศ ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ยกเลิกประเพณีโยงผ้าและโปรยทาน ปัจจุบันจึงคงใช้ราชรถน้อยเป็นรถพระสงฆ์อ่านพระอภิธรรมนำราชรถทรงพระบรมโกศ





เกรินบันไดนาค


“เกรินบันไดนาค”


       
“เกรินบันไดนาค” คืออุปกรณ์ที่ใช้อัญเชิญพระโกศขึ้นหรือลงราชรถและพระเมรุมาศ โดยการหมุนกว้านให้เคลื่อนไปตามรางเลื่อนไม้จำหลักรูปนาค เกรินมีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ขอบฐานแกะสลักลายปิดทองประดับกระจก ท้ายเกรินเป็นพื้นลดระดับลงมา ซึ่งเป็นที่สำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลาขึ้น นั่งประคอง พระโกศพระบรมศพ  





สัตว์หิมพานต์ ที่ใช้สำหรับประดับบันไดขึ้นพระเมรุ
     
       

มีลักษณะคล้ายท้ายสำเภา ด้านข้างบุผ้าตาดทอง มีราวทั้ง ๒ ข้างตกแต่งเป็นรูปพญานาค จึงเรียกว่า เกรินบันไดนาค ประดิษฐ์ขึ้นโดย สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ใช้ครั้งแรกในงานพระเมรุ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) พ.ศ. ๒๓๕๕





ยานมาศสามลำคาน


“ยานมาศสามลำคาน”


       
“ยานมาศสามลำคาน” เป็นยานที่มีคานหามขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้จำหลักลวดลายลงรักปิดทอง มีพนักโดยรอบ ๓ ด้าน และมีคานหาม ๓ คาน จึงเรียกว่า ยานมาศสามลำคาน ใช้คนหาม ๒ ผลัด ผลัดละ ๖๐ คน ใช้สำหรับอัญเชิญพระโกศพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวังขึ้นสู่ราชรถ และใช้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพเวียนรอบพระเมรุ        
       
นอกจากราชรถสำคัญของแผ่นดินและเครื่องประกอบในการพระราชพิธีพระบรมศพที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นนี้ ภายในโรงราชรถยังมีวัตถุจัดแสดงที่สำคัญของแผ่นดินอีกหลายสิ่งเก็บรักษาไว้ อาทิ แบบจำลองพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระโกศจันทน์ทรงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, พระสัปตปฎลเศวตฉัตร ที่ใช้ประดับยอดพระเมรุ, สัตว์หิมพานต์ ที่ใช้สำหรับประดับบันไดขึ้นพระเมรุมาศ




               

การเคลื่อนขบวนพระบรมศพในงานพระราชพิธีครั้งนี้ ยังคงยึดถือตามแบบโบราณราชประเพณีในการใช้ราชรถเคลื่อนพระบรมศพมายังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง การเตรียมการราชรถราชยานนี้จึงเป็นหน้าที่ของกรมสรรพาวุธ
   
สูงสุดของการรับราชการ นอกจากการทำงานเพื่อแผ่นดินแล้ว คงเป็นการทำงานถวายแด่สถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นในงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช งานสำคัญของปวงชนชาวไทยทุกคน จึงเป็นงานที่ทุกหน่วยงานทุกฝ่ายต่างรวมใจมาทำงานในทุกส่วนอยางเต็มที่ ราชรถองค์ต่าง ๆ ถือเป็นงานสำคัญในงานพระราชพิธีครั้งนี้ เพราะจะเป็นราชพาหนะเคลื่อนพระบรมศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยมีกรมสรรพาวุธทหารบก หน่วยงานที่เคยรับหน้าที่ในการบูรณะฏิสังขรณ์และประกอบสร้างราชรถในงานพิธีพระศพและพระบรมศพครั้งก่อน ๆ ได้รับเกียรติอันสูงสุดมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง




     

ในงานบูรณะราชรถเพื่อประกอบพระราชพิธีพระบรมศพครั้งนี้มีการบูรณะองค์ราชรถหลายองค์ อาทิ พระมหาพิชัยราชรถ หมายเลข ๙๗๘๐ เวชยันตราชรถ หมายเลข ๙๗๘๑ และราชรถน้อย หมายเลข ๙๗๘๒ - ๙๗๘๓ พร้อมด้วยส่วนประกอบอื่น ๆ อาทิ พระยานมาศ และเกรินบันได ซึ่งจากการติดตามงานของเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกอย่างใกล้ชิด ทำให้งานมีความคืบหน้าไปตามแผนการที่วางไว้

ด้วยสาเหตุที่พระมหาพิชัยราชรถ เป็นราชรถองค์สำคัญที่ถูกสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ราวปีพ.ศ. ๒๓๓๘ อีกทั้งยังใช้ในงานพระราชพิธีมาหลายงาน ทำให้ชิ้นส่วนของราชรถชำรุด กรมสรรพาวุธทหารบกจึงมีการนำวิศวกรรมยายนต์ มาปรับใช้เพื่อให้การใช้งานราชรถมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยืดอายุการใช้งานอีกด้วย แต่ยังคำนึงหลักสำคัญคือไม่ให้ผิดจากโบราณราชประเพณี     

ภายหลังจากงานบูรณะ งานจัดสร้างราชรถโดยผู้เชี่ยวชาญด้านงานช่างจนแล้วเสร็จ ราชรถองค์ต่าง ๆ จะได้ถูกส่งต่อไปยังกรมศิลปากร ผู้ชำนาญด้านงานศิลป์ ในการประดับตกแต่งให้งดงามและสมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กษัตริย์ผู้เป็นที่รักของพสกนิกรชาวไทย







ภาพและข้อมูลจาก
wikipedia.org
manager.co.th
posttoday.com.com
bangkokbiznews.com







บีจีจากคุณญามี่ กรอบจากคุณ KungHangGerman

Free TextEditor




Create Date : 26 กันยายน 2560
Last Update : 27 กันยายน 2560 23:32:18 น. 0 comments
Counter : 3619 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณRinsa Yoyolive, คุณโอพีย์, คุณtuk-tuk@korat, คุณtoor36, คุณClose To Heaven, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณสองแผ่นดิน, คุณmoresaw, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณmambymam, คุณหอมกร, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณ**mp5**, คุณชีริว, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณกะว่าก๋า, คุณSai Eeuu, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณnewyorknurse, คุณอุ้มสี


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.