กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
การเปลี่ยนแปลงของไทยยูเนี่ยนจากการผลักดันของคนทั่วโลก มีผลอย่างไรต่อมหาสมุทร



จากการทำงานรณรงค์อย่างต่อเนื่องของกรีนพีซในช่วงสองปีที่ผ่านมา และเสียงสนับสนุนจากคนทั่วโลกราว 700,000 คน ที่ร่วมกันผลักดัน ในที่สุด วันนี้เรามีข่าวดีมาบอก …

คนทั่วโลกสามารถโน้มน้าวให้บริษัทปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการอุตสาหกรรมของตนได้แล้ว

ไทยยูเนี่ยน อุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดในโลก เจ้าของแบรนด์ทูน่ากระป๋อง John West, Chicken of the Sea, Petit Navire, Mareblu, และ Sealect (ซีเล็คทูน่า) ได้ประกาศเจตนารมณ์มุ่งมั่นสร้างการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจของตน ซึ่งจะเป็นการดำเนินการที่ปกป้องแรงงานประมง ลดการทำการประมงแบบทำลายล้าง และสนับสนุนการประมงแบบยั่งยืนมากขึ้น การเดินหน้าครั้งนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญสำหรับบริษัทไทยยูเนี่ยน อีกทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณไปถึงอุตสาหกรรมประมงทั้งหมด ให้ปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติในอุตสาหกรรมของตนให้ดีขึ้นทั้งต่อมหาสมุทรและต่อแรงงาน

ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ไทยยูเนี่ยนเป็นบริษัทผลิตทูน่ากระป๋องอันดับหนึ่งของโลก โดยในทุก 5 กระป๋องจะมี 1 กระป๋องที่ผลิตขึ้นโดยไทยยูเนี่ยน กรีนพีซรณรงค์ผลักดันเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปลาทูน่าสร้างการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การทำรายงานการจัดอันดับปลาทูน่ากระป๋องตลอดหลายปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลด้านความยั่งยืนและเป็นธรรมของแบรนด์ปลาทูน่ากระป๋องต่าง ๆ รวมถึงการประเมินจากบริษัทอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และแบรนด์อื่น ๆ ที่รับซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทนั้น ๆ

เกือบสองปีที่กรีนพีซเริ่มงานรณรงค์ระดับโลก เรียกร้องให้ไทยยูเนี่ยนนำพาอุตสาหกรรมทูน่าออกจากวงจรของการใช้ทรัพยากรเกินศักยภาพ และการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมเพียงเพื่อแสวงหากำไร จากการร่วมมือขององค์กรเครือข่าย สหภาพ ประชาชนที่ใส่ใจถึงปัญหา และผู้สนับสนุนกรีนพีซ เราสามารถผลักดันให้บริษัทเดินหน้าสู่อนาคตที่สดใสกว่า เพื่อมหาสมุทร แรงงาน และทุกชุมชนที่ต้องพึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล

ไม่ว่าจะเป็นการใช้เรือออกปฏิบัติการเปิดโปงการประมงที่ทำลายล้างในมหาสมุทรอินเดีย ไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ต การประชุมของกลุ่มอุตสาหกรรม และที่หน้าสำนักงานใหญ่ ผู้คนหลายหมื่นทั่วโลกรวมถึงองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน สหภาพแรงงาน  ร่วมผนึกกำลังกับกรีนพีซ เรียกร้องให้ไทยยูเนี่ยนจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบ เมื่อเรารวมพลังกันเราสามารถผลักดันบริษัทต่าง ๆ ที่รับซื้อวัตถุดิบจากไทยยูเนี่ยน ให้บริษัทเหล่านั้นเลือกขายสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น และปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อช่วยเหลือแรงงานประมงและมหาสมุทรของเรา ซึ่งหนึ่งในนโยบายที่สำคัญคือ ความโปร่งใสในการดำเนินการขนถ่ายสินค้ากลางทะเล ซึ่งเป็นตัวการหลักที่เอื้อให้เกิดการกระทำผิดกฎหมาย และละเมิดสิทธิแรงงาน

ไทยยูเนี่ยนเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

จากการผลักดันอย่างต่อเนื่องของคนทั่วโลก บริษัทไทยยูเนี่ยนจะเริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจของตนทั่วโลก ดังนี้

  1. ลดจำนวนอุปกรณ์ล่อปลา(fish aggregating devices-FADs) ที่ใช้อยู่ทั่วโลกในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ.2563 ในขณะที่ เพิ่มผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋องที่มาจากการประมงที่ไม่ใช้อุปกรณ์ล่อปลา(fish aggregating devices-FADs)ขึ้นสองเท่าเข้าสู่ตลาดทั่วโลก ในเวลาเดียวกัน อุปกรณ์ล่อปลา(fish aggregating devices-FADs)เป็นวัสดุลอยน้ำที่สร้างระบบนิเวศขนาดเล็ก และส่งผลให้มีการจับสัตว์น้ำพลอยได้ อย่างเช่น ฉลาม เต่าทะเล และปลาทูน่าวัยอ่อน

  2. ปรับเปลี่ยนสัดส่วนที่มีนัยสำคัญของปลาทูน่าที่มาจากการประมงเบ็ดราว (longline caught tuna)เป็นปลาทูน่าที่มาจากการประมงด้วยเบ็ดตวัด (pole and line or troll-caught tuna) ภายในปี พ.ศ.2563 และดำเนินการตามข้อกำหนดอย่างเข้มแข็งเพื่อลดการการจับสัตว์น้ำพลอยได้(bycatch) กองเรือประมงเบ็ดราวทูน่ามีความเสี่ยงในการจับสัตว์ทะเลที่ไม่ใช่เป้าหมาย เช่น นกทะเล เต่าทะเลและฉลาม

  3. ขยายระยะเวลาห้ามการขนถ่ายสัตว์น้ำระหว่างเรือในทะเล (at-sea transshipment)ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก เว้นเสียแต่ว่าผู้จัดจําหน่ายวัตถุดิบ(suppliers)จะปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่อย่างเคร่งครัด  การขนถ่ายสัตว์น้ำระหว่างเรือในทะเล(at-sea transshipment)ช่วยให้เรือประมงออกเรือสู่ทะเลแต่ละครั้งเป็นเวลาหลายเดือนหรือนับปี และเปิดช่องให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย

  4. รับรองว่าจะมีผู้สังเกตการณ์อิสระบนกองเรือประมงเบ็ดราว (longline) ที่มีการขนถ่ายสัตว์น้ำระหว่างเรือในทะเล(at-sea transshipment) ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบและรายงานการละเมิดสิทธิแรงงานประมงที่อาจเกิดขึ้น และรับรองว่าจะมีการสังเกตการณ์โดยบุคคลหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมร้อยเปอร์เซ็นต์ ในกองเรือประมงเบ็ดราวทูน่าที่จัดส่งให้บริษัททั้งหมด

  5. มุ่งสู่ระบบการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบแบบดิจิตอล(Digital Traceability) อย่างเต็มที่ โดยสาธารณชนสามารถติดตามได้ว่าผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป่องของตนมาจากเรือประมงลำใดและใช้วิธีการประมงแบบใด

  6. พัฒนาข้อกำหนดการปฏิบัติที่ครอบคลุมในทุกกองเรือประมงตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้แน่ใจว่าแรงงานประมงจะไม่ถูกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม และไม่เป็นธรรม โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 นี้

ในปี พ.ศ.2561 จะเริ่มมีการตรวจติดตามที่เป็นอิสระโดยองค์กรผู้ให้การรับรอง(third party independent audits) และในขณะเดียวกัน กรีนพีซจะติดตามผลเชิงบวกที่จะเกิดขึ้น

บริษัทจัดซื้อปลาทูน่าอื่นละว่าไง?

ไทยยูเนี่ยนไม่อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้เพียงลำพัง ไม่เพียงแต่กองเรือประมงที่จัดหาปลาจะต้องปฏิบัติตามเจตนารมณ์นี้อย่างเคร่งครัดเท่านั้นถึงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้ แต่ผู้จัดซื้อและขายทุกคนจะต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน และตระหนักว่าการประมงปลาทูน่าอย่างไม่รับผิดชอบและไม่เป็นธรรมนั้นไม่เหมาะสม ให้การสนับสนุนการประมงที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประมงพื้นบ้านหรือประมงขนาดเล็ก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในนโยบายการจัดหาวัตถุดิบที่ถูกที่ควร ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเลือกว่าจะต้องเลือกซื้อปลาทูน่าแบบไหนถึงจะดี แต่ทุกผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าควรจะถูกจัดหามาอย่างรับผิดชอบ เพื่อเป็นการต่อกรกับวิกฤตการประมงเกินขนาด

เจตนารมณ์ของไทยยูเนี่ยนนั้นไม่เพียงเป็นการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมประมงเท่านั้น แต่เป็นผลจากการเคลื่อนไหวของคนทั่วโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อหยุดยั้งอุตสาหกรรมที่เหนือการควบคุม จากการทำร้ายระบบนิเวศทางทะเลและชีวิตของผู้คน เราจำเป็นต้องเรียกร้องให้บริษัทเหล่านี้รับผิดชอบและทำในส่วนที่เราสามารถทำได้ เพื่อลดวิกฤตมหาสมุทร

ซาราห์ คิง นักยุทธศาสตร์อาวุโสด้านมหาสมุทร กรีนพีซแคนาดา

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59831


 ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 21 กรกฎาคม 2560
Last Update : 21 กรกฎาคม 2560 17:03:57 น. 0 comments
Counter : 1076 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com