กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
โรงไฟฟ้าถ่านหินของอินเดีย ทยอยปิดเพราะขาดน้ำ



เขียน โดย บ็อบ เบอร์ตัน และ อาชิซ เฟอร์นานเดส

แม้ว่ารัฐบาลอินเดียจะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าถ่านหินอีกสองหรือสามเท่าตัว ภาคพลังงานของอินเดียกำลังเผชิญภาวะขาดแคลนน้ำ รายงานล่าสุดมีข้อมูลเตือนถึงวิกฤตที่หากยิ่งปล่อยไว้นานก็จะยิ่งเลวร้ายมากขึ้น

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา การผลิตไฟฟ้าถ่านหินฟารักกา (Farakka power station) ขนาด 2,100 เมกะวัตต์ ในเวสต์เบงกอล ต้องสั่งยุติเดินเครื่องกังหันห้าตัวจากทั้งหมดที่มีอยู่หกตัว เพราะไม่มีน้ำใช้ในการผลิต

อีกสองสามวันหลังจากนั้น ก็สั่งยุติการทำงานของเครื่องตัวที่หก ที่มีขนาด 500 เมกะวัตต์ การขาดแคลนน้ำทำให้ไม่มีแม้น้ำประปาเพียงพอให้คนงานที่ทำงานในโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใกล้ ๆ ใช้ เนื่องจากต้องผันน้ำมาป้อนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าให้ทั้งห้ารัฐซึ่งผู้ผลิตโครงข่ายพลังงานต่างแย่งชิงทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ ทั้งนี้มีการประเมินว่า จะไม่มีน้ำเพียงพอที่จะเปิดเครื่องผลิตไฟฟ้าถ่านหินได้จนถึงวันที่ 25 มีนาคม หรือ 13 วันหลังจากที่เครื่องแรกหยุดการผลิต

อ่านเพิ่มเติม
Investigation: Coal plants risk global water shortage
How coal is pushing China’s water supplies to the limit
India has a growing coal glut

โรงไฟฟ้าถ่านหินไรเชอร์ เธอร์มัล (Raichur Thermal Power Station)ในรัฐการ์นาตากาขนาด 1,720 เมกะวัตต์ ก็ประสบภาวะขาดน้ำเช่นกัน ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2559 และเริ่มปิดเครื่องไปแล้วหลายเครื่อง เมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินปิด จึงไม่มีการผลิตและเดินเครื่อง ถ่านหินที่นำเข้ามาจึงกองเพิ่มขึ้นและขาดแคลนที่เก็บถ่านหิน

วิกฤตน้ำในอินเดีย

ปัญหานี้ใหญ่กว่าแค่การต้องปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินฟารักกา และโรงไฟฟ้าถ่านหินไรเชอร์ แต่อินเดียได้ประสบภาวะยึดเกาะกับวิกฤตน้ำที่รุนแรงมากขึ้น

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการส่วนกลางด้านน้ำได้คำนวนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 91 แห่งทั่วประเทศ พบว่าเหลืออยู่เพียงร้อยละ 27 ของปริมาณการกักเก็บทั้งหมด หมายความว่า อินเดียมีปริมาณน้ำเหลืออยู่มากกว่าหนึ่งในสี่ แต่น้อยกว่าปริมาณเฉลี่ยของปริมาณน้ำกว่าทศวรรษที่แล้ว

การผันน้ำให้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นหลักจะส่งผลให้ราคาน้ำใช้เพื่อการบริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมอื่น ๆ แพงหรือไม่ หรือภาคพลังงานจำต้องมีมาตรการบังคับให้โรงไฟฟ้าถ่านหินใช้น้ำให้น้อย (หรือไม่ใช้) ในช่วงเวลาที่น้ำน้อยเช่นนี้

สาเหตุของภาวะขาดแคลนน้ำที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน ฟารักกา เป็นส่วนหนึ่งจากข้อเรียกร้องภายใต้สนธิสัญญาเกี่ยวกับน้ำของฟารักกา 1996 ที่ระบุให้ต้องแบ่งปันน้ำกับเพื่อนบ้าน เช่น บังคลาเทศ ปรากฎการณ์ที่ต้องปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเพราะการขาดแคลนน้ำ จึงไม่ใช่เรื่องใหม่

ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 เดือน

โรงไฟฟ้าถ่านหินพาร์ลี (Parli power station) ซึ่งมีกำลังผลิตขนาด 1,130 เมกะวัตต์ ในรัฐมหารัชตระ ก็ปิดไปแล้วตั้งแต่กรกฎาคม ปี 2558 เพราะน้ำไม่พอสำหรับการผลิต

ห้าปีก่อนหน้านั้นการไฟฟ้ามหาเจนโก (MahaGenco) ซึ่งรัฐบาลของรัฐมหารัชตระเป็นเจ้าของก็ต้องปิดหลายเครื่องผลิตที่โรงไฟฟ้าถ่านหินจันทราปุระ (Chandrapur Thermal Power Station) ที่มีกำลังผลิตขนาด 2,340 เมกะวัตต์ เนื่องด้วยผลกระทบจากภัยแล้ง

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าโซลาปุระ (Solapur power plant) ของเอ็นทีพีซี NTPC ในรัฐมหารัชตระ ก็ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากคำถามที่ไม่มีใครตอบได้ว่า จะเอาน้ำจากที่ไหนมาใช้ การขาดแคลนน้ำยังก่อภาวะฝืดทางการเงินของบริษัทผลิตไฟฟ้าด้วย

ถ่านหินและน้ำ:  ปัญหาระดับโลก

รายงานของกรีนพีซ ย้ำว่า หากรัฐบาลอินเดียยังจะผลักดันให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน วิกฤตน้ำที่เกิดขึ้นจะยิ่งย่ำแย่ลงไปอย่างชัดเจน รายงานฉบับเดียวกันนี้ ได้ประเมินว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 17 กิกะวัตต์ (หรือ 17,000 เมกะวัตต์) ที่มีการเสนอจะใช้ถ่านหินของอินเดียร้อยละ 40 ก็จะเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำอย่างมากถึงมากที่สุด ในหลายพื้นที่

ขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินในระบบหล่อเย็นแบบแห้งน่าจะเป็นไปได้มากกว่าในทางเทคนิค แต่มีต้นทุนแพงกว่าและใช้ถ่านหินเยอะกว่า และต้องการน้ำสำหรับเพิ่มไอน้ำ เพื่อหมุนใบพัด

กลุ่มประชาสังคมหลายกลุ่มได้หยิบยกวิกฤตน้ำในปัจจุบัน จากการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าถ่านหินมาหลายปีแล้ว รายงานเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 เรื่อง Thermal Power Plants on The Anvil: Implications And Need For Rationalisation ของบริษัท ปรายาส เอนเนอร์ยี กรุ๊ป (Prayas Energy Group) เป็นลางบอกเหตุถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินระบบหล่อเย็น ที่ใช้น้ำมากมหาศาลกว่าเดิมนั้น จะเป็นสาเหตุของ “การขาดแคลนน้ำครั้งมโหฬาร” ในแหล่งน้ำหลายแห่ง ในหลายพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเฉียบพลันและเห็นเด่นชัด

ในรายงานครั้งนั้น มีการเตือนถึงความผันแปรของปริมาณฝนประจำปี ที่ไม่สามารถยืนยันว่าปริมาณน้ำในรอบปีจะมีเพียงพอสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่  

ถึงเวลาของพลังงานหมุนเวียน

รัฐบาลของนายโมดิ ให้ความสนใจต่อการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ยังเหลืออยู่ และ เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน และปรับโครงสร้างการเงินของโรงไฟฟ้าที่ใกล้จะล้มละลาย โดยให้ความสนใจเพียงเล็กน้อยกับเค้าลางของวิกฤตน้ำ

การจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ค้างไว้ให้แล้วเสร็จนั้นดูท่าแล้วจะยิ่งเพิ่มความขัดแย้งภายใต้ภาวะการขาดแคลนน้ำแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ฤดูมรสุมของอินเดียถี่ขึ้นและคาดการณ์ไม่ได้เลย

หากวิกฤตน้ำยังคงดำเนินอยู่อย่างรุนแรงมากขึ้น ก็อาจเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยผลักดันให้รัฐบาลอินเดียเร่งให้มีการผลิตพลังงานหมุนเวียนโดยไม่ใช้น้ำ ให้เกิดขึ้นเร็วขึ้น

เวอร์ชั่นนี้เป็นฉบับแก้ไขจากบทความโดยองค์กร EndCoal
แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในเว็บไซต์ energydesk.greenpeace.org โดย บ็อบ เบอร์ตัน บรรณาธิการแห่ง CoalWire แถลงการณ์รายสัปดาห์ของภาคการพัฒนาอุตสาหกรรมถ่านหินทั่วโลก และ อาซิช เฟอร์นานเดส เจ้าหน้าที่รณรงค์อาวุโสของกรีนพีซ


ที่มา: Greenpeace Thailand


Create Date : 04 สิงหาคม 2559
Last Update : 4 สิงหาคม 2559 11:09:13 น. 0 comments
Counter : 1044 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com