กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
20 ปีแห่งความล้มเหลวของจีเอ็มโอ สารพันเหตุผลที่เราต้องปกป้องพืชพรรณอาหารของไทย

Blogpost โดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

20 ปีมาแล้วที่เราได้ยินคำสัญญาอันสวยหรูจากอุตสาหกรรมจีเอ็มโอ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตร การลดปริมาณการใช้สารเคมี การแก้ปัญหาความอดอยาก หรือเป็นทางออกให้กับการเกษตร แต่ 20 ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเพียงลมปาก ก่อนที่ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์อาหารของเราจะกลายเป็นอื่นไป ถึงเวลาที่เราจะมาทำความรู้จักข้อเท็จจริงของจีเอ็มโอและความล้มเหลวต่อคำกล่าวอ้าง ซึ่งในรายงาน “20 ปี แห่งความล้มเหลว จีเอ็มโอกับคำสัญญาลม ๆ แล้ง ๆ” นี้ คือ การพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างทั้งหมด

หนึ่งในกระแสการขับเคลื่อนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมที่มาแรงในปัจจุบันนี้ คือกระแสคนไทยไม่เอาจีเอ็มโอ #ThailandNoGMO กับการคัดค้านที่เกิดขึ้นทั่วประเทศต่อ ร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพที่เต็มไปด้วยช่องโหว่เมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา ส่งผลให้รัฐบาลต้องยกเลิกการพิจารณาร่าง และการห้ามการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอ จึงเป็นที่มาของการเปิดเผยรายงาน “20 ปี แห่งความล้มเหลว จีเอ็มโอกับคำสัญญาลม ๆ แล้ง ๆ” พร้อมกับการพูดคุยโดยผู้เชี่ยวชาญวงการเกษตรอินทรีย์ คุณวัชรพล แดงสุภา ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับคุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ จากมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) คุณนคร ลิมปคุปตถาวร ผู้ก่อตั้ง “ศูนย์เรียนรู้เกษตรในเมือง สาขาเจ้าชายผัก” และคุณโจน จันได  ผู้ก่อตั้งพันพรรณศูนย์เรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์  เพื่อถกกันถึงคำโฆษณาชวนเชื่อจากอุตสาหกรรมจีเอ็มโอ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นมายาคติซึ่งส่งผลกระทบอันใหญ่หลวง

20 ปี แห่งความล้มเหลวของจีเอ็มโอ โดยกรีนพีซ

พืชพรรณอาหารของไทย ความหลากหลายของครัวโลกที่ไม่ต้องพึ่งพืชดัดแปลงพันธุกรรม

รายได้จำนวน 16,560 ล้านบาท (349 ล้านยูโร) ถึง 85,860 ล้านบาท (1,811 ล้านยูโร) คือมูลค่าการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยอาจะสูญเสียหากตลาดโลกยุติการสั่งซื้อข้าวจากไทยเนื่องจากการปฏิเสธข้าวที่มีการปนเปื้อนจีเอ็มโอนี่คือตัวเลขที่น่าคิดว่าจะคุ้มเสี่ยงไหมกับการที่ไทยจะผันตัวไปสู่การเป็นครัวของโลกที่ถูกตราว่าเป็นพืชพรรณที่มาจากจีเอ็มโอ เพราะความภาคภูมิใจของคนไทยคือ พืชพรรณอาหารอันหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

กรณีของข้าวสีทองซึ่งเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่อ้างสรรพคุณว่าให้เบตาแคโรทีน หรือวิตามินเอ แต่อันที่จริงแล้ว การที่เราจะได้รับปริมาณวิตามินเอที่เพียงพอจากข้าวสีทองนั้นเราจะต้องกินข้าวให้ได้ปริมาณมากถึง 30 จานต่อวัน ซึ่งยากที่จะเป็นไปได้ แต่ทางออกที่หาได้ง่ายคือการบริโภคผักพื้นบ้าน เช่น ฟักทอง และตำลึง ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายและสามารถหาได้ทั่วไป

เป้าหมายของพืชจีเอ็มโอนั้นคือการผลิตเพื่อป้อนระบบอุตสาหกรรม ไม่ใช่การผลิตเพื่อเป็นอาหารมนุษย์ จีเอ็มโอเป็นมุ่งผลิตพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (ข้าวโพด) หรือเครื่องนุ่งห่ม (ฝ้าย) ดังนั้นผู้ที่ต้องการพืชดัดแปลงพันธุกรรม คือ ผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่

“คำมั่นสัญญาลม ๆ แล้ง ๆ เพิ่มขึ้น แต่ความนิยมของพืชจีเอ็มโอนั้นตรงกันข้าม แม้ว่าจะมีการผลักดันอย่างหนักตลอด 20 ปีที่ผ่านมาโดยกลุ่มผลประโยชน์อุตสาหกรรมที่ทรงอำนาจ แต่เทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรมกลับได้รับการยอมรับในเพียงไม่กี่ประเทศและเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิด โดยพื้นที่ปลูกพืชจีเอ็มโอมีเพียงร้อยละ 3 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั่วโลก แท้ที่จริงแล้วข้อมูลจากอุตสาหกรรมจีเอ็มโอแสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกพืชจีเอ็มโอทั้งโลกกระจุกตัวอยู่เพียง 5 ประเทศเท่านั้น และเกือบ 100 % ของพืชจีเอ็มโอเหล่านี้เป็นพืชเพียง 2 ชนิดเท่านั้น หนึ่งคือพืชต้านทานยากำจัดวัชพืช และสองคือพืชที่ผลิตพิษฆ่าแมลง ในขณะที่ทุกภูมิภาคทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยก็ปฏิเสธพืชจีเอ็มโอ ผู้บริโภคในยุโรปไม่กินอาหารจีเอ็มโอ และข้าวโพดจีเอ็มโอเป็นพืชจีเอ็มโอชนิดเดียวที่มีการปลูกในยุโรป ส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียยังปลอดพืชจีเอ็มโอ อินเดียและจีนมีพื้นที่ปลูกพืชจีเอ็มโอ แต่ส่วนใหญ่เป็นพืชที่ไม่ใช่อาหารนั่นคือฝ้าย และมีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นในทวีปแอฟริกาที่ปลูกพืชจีเอ็มโอ กล่าวง่าย ๆ คือ พืชจีเอ็มโอไม่ได้เลี้ยงคนทั้งโลก” นายวัชรพล แดงสุภา ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพืชจีเอ็มโอ ที่พิสูจน์แล้วว่าสรรพคุณของจีเอ็มโอเป็นเพียงมายาคติ คือ

  • พืชจีเอ็มโอเพิ่มปริมาณการใช้ยากำจัดศัตรูพืช
    เกือบทั้งหมดของพืชจีเอ็มโอถูกผลิตมาเพื่อสร้างพิษกำจัดศัตรูพืชหรือทนต่อการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชบางอย่าง ศัตรูพืชและวัชพืชมีการพัฒนาให้ต้านทานต่อพิษเหล่านี้ ทำให้เกิดแมลงและวัชพืชที่ดื้อยา ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีอยู่ตลอดเวลา

  • พืชจีเอ็มโอไม่สามารถผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงคนได้ทั้งโลก
    ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพืชจีเอ็มโอไม่สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตและยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรมขนาดเล็ก ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหาร

  • ไม่มีความเห็นร่วมกันในทางวิทยาศาสตร์ว่าพืชจีเอ็มโอปลอดภัย
    แม้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพพยายามสร้างความมั่นใจถึงความปลอดภัยของพืชจีเอ็มโอให้แก่ผู้บริโภค แต่นักวิทยาศาสตร์อิสระกว่า 300 คน ได้โต้แย้งในประเด็นนี้ นอกจากนี้ พันธุวิศวกรรมยังเป็นเทคโนโลยีที่เป็นภัยที่นำความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ และส่งผลกระทบอันไม่คาดคิดและไม่อาจย้อนคืนได้ต่อสิ่งแวดล้อม

  • พืชจีเอ็มโอไม่สามารถเอาตัวรอดได้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากเป็นการปลูกพืชที่มีลักษณะที่เหมือนกัน ไม่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะความหลากหลายทางชีวภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการเอาตัวรอดต่อวิกฤตโลกร้อน ดังที่มีตัวอย่างในบ้านเราคือโมเดล ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวทางพระราชดำริ

“จีเอ็มโอยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยนักวิทยศาสตร์กว่า 300 คนทั่วโลก ลงนามว่ายังไม่ปลอดภัยมีการใช้วิจัยกับสัตว์เพียง 90 วันก็บอกว่าปลอดภัยแล้ว ซึ่งสั้นมาก และนักวิจัยอิสระไม่สามารถทดลองได้ เนื่องจากติดปัญหาลิขสิทธิ์ อาจมีการกรณีฟ้องเกิดร้องขึ้นหากนำมาทำวิจัย ดังนั้นเราควรใช้หลักปลอดภัยไว้ก่อนสำหรับจีเอ็มโอ” นายวัชรพล แดงสุภา กล่าวเสริม

ปลอดภัยไว้ก่อน หลักการเดียวในการต่อกรกับจีเอ็มโอ

“ตอนนี้มีปลูกจีเอ็มโอในไทยแล้วประมาณ 4 ชนิด โดยมีร้อยละ 30 เป็นมะละกอ รองลงมาคือ ฝ้าย และข้าวโพด  ซึ่งมีการหลุดรอดจากแปลงทดลองและไม่เคยควบคุมการปนเปื้อน สุดท้ายคือถั่วเหลือง ที่พบเจอแม้ไม่เคยอนุญาตให้มีการทดลอง ถึงจะมีสัดส่วนน้อยไม่ถึงร้อยละ 1 แต่ที่เราประหลาดใจมาก คือเราพบพริกจีเอ็มโอ โดยที่น่าคิดคือ เทคโนโลยีทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีของต่างชาติทั้งสิ้น” นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีกล่าว “การป้องกันสำหรับผู้บริโภควิธีเดียว คือการติดฉลาก แต่ที่ดีที่สุดคือ การประกาศไม่ให้นำเข้า หรือไม่ให้ปลูกเลย ดังเช่นประเทศนอร์เวย์ และรัสเซีย ที่ประกาศปฏิเสธอย่างชัดเจน รวมถึง 16 ประเทศ และ 3 เขตการปกครองในยุโรปก็แบนจีเอ็มโอในปัจจุบัน”

ในวงเสวนาวันนี้ผู้เชี่ยวชาญทุกคนต่างลงความเห็นว่า หลักการปลอดภัยไว้ก่อน คือหลักการเดียวที่ใช้ในการปฏิเสธจีเอ็มโอ

ความล้มเหลวของจีเอ็มโอคือการพิสูจน์ว่าไม่ได้ผลจริง ไม่ได้เพิ่มผลผลิต และใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น และเป็นสารที่อันตรายร้ายแรง เช่น ไกลโฟเซตที่อาจก่อมะเร็ง รวมถึงสิ่งการปนเปื้อนที่เกิดขึ้นในไทย กล่าวคือ การบอกว่าจะควบคุมการทดลอง แต่กลับพบว่ามีการปนเปื้อนไปทั่ว นั่นหมายความว่า เรายังไม่สามารถวางใจจีเอ็มโอได้  ตราบใดที่ยังไม่สามารถควบคุมกระบวนการทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่การทดลอง

“เราไม่เสี่ยงได้ไหม เราจะไปเสี่ยงกับการคาดเดาทำไม เพราะจีเอ็มโอไม่มีความแน่นอน ยังไร้ข้อพิสูจน์ยืนยัน และยังต้องทดลองดัดแปลง ผลกระทบที่คาดเคียงก็เป็นผลกระทบที่ยังไม่ทราบแน่นอน คนทำจีเอ็มโอคิดว่าตนเองควบคุมธรรมชาติได้ แต่ก็มีข้อผิดพลาดจากการสุ่มหรือการเดาได้ ซึ่งหากเกิดการปนเปื้อนแล้วนั้นจะไม่มีทางแก้ไขคืนได้” คุณนคร ลิมปคุปตถาวร ผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรในเมือง สาขาเจ้าชายผัก กล่าวถึงความไม่แน่นอนของจีเอ็มโอ

นอกจากนี้ คุณโจนยังได้บอกเล่าประสบการณ์ที่ได้สอบถามกับเกษตรกรปลูกพืชจีเอ็มโอ ที่รัฐไอโอวา สหรัฐอเมริกา ว่า “ปลูกจีเอ็มโอดีกว่าปลูกพืชธรรมดาอย่างไร”คำตอบที่ได้มาคือ ไม่มีทางเลือก เกษตรกรจำเป็นต้องปลูกจีเอ็มโอหากต้องการปลูกข้าวโพด ถ้าไม่ปลูกจะโดนฟ้อง และไม่สามารถปลูกพืชพันธุ์พื้นบ้านได้อีก ราคาพืชจีเอ็มโอก็ไม่ต่างจากพืชธรรมดา โดยสหรัฐอเมริกาปลูกพืชจีเอ็มโอมากที่สุด แต่อยู่ได้เพราะการอุดหนุนจากรัฐบาล เป็นคำถามที่น่าเศร้าว่า เกษตรกรจะสามารถอยู่ในระบบการเกษตรแบบนี้ได้อีกนานเท่าไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไทยที่รัฐฯยังไม่มีเงินอุดหนุน คนปลูกจะกินอะไร เพราะไม่สามารถปลูกกินเองได้ เนื่องจากต้นทุนแพงกว่าตลาด

20 ปีแห่งความล้มเหลวของจีเอ็มโอ

"เมืองไทยเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่ทำไมเราจึงกระเสือกกระสนที่จะเป็นจีเอ็มโอ ของที่เรามีเยอะมาก แต่ทำไมถึงอยากกินข้าวโพดจีเอ็มโอ จีเอ็มโอไม่ใช่อาหาร แต่เป็นอาวุธของระบบล่าอาณานิคมยุคใหม่ ต่างประเทศใช้เมล็ดพันธุ์เป็นอาวุธ เพื่อให้ผืนดินที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ของเขาต้องจ่ายเงินให้ กฎหมายสิทธิบัติทำให้การปล้นธรรมชาติถูกกฎหมาย เรายึดครองชีวิตพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ซึ่งนั่นหมายถึงการยึดครองชีวิตคนทั้งโลก" คุณโจน จันได กล่าว

ผลประโยชน์จากจีเอ็มโอที่แท้จริงไม่ใช่ของเกษตรกรและผู้บริโภค แต่อยู่ในมือของผู้ผลิตเพียงไม่กี่บริษัท ดังที่ นายวัชรพล แดงสุภา กล่าวว่า “เมล็ดพันธุ์ 87% ทั่วโลกเป็นของมอนซานโต้ และมอนซานโต้ได้รับ 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการฟ้องร้องเจรจากรณีละเมิดลิขสิทธิ ถือเป็นการผูกขาดที่ต้องระวังให้ดี และเป็นสิ่งที่เกษตรกรชาวไทยจะต้องเผชิญกับการผูดขาดเช่นนี้หากประเทศไทยเปิดรับจีเอ็มโอ ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงเพียงหยิบมือ คือเจ้าของอุตสาหกรรมจีเอ็มโอเพียงแค่ไม่กี่บริษัท ไม่ใช่เกษตรกรหรือชาวนา”

ทางออกของความมั่นคงทางอาหารที่แท้จริง คือ เกษตรกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นการปลูกแบบผสมผสาน สร้างผลผลิตได้มากขึ้น และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ มีการขับไล่และอารักขาพืชจากแมลงตามธรรมชาติ ในทางกลับกันจีเอ็มโอไม่ได้เพิ่มปริมาณผลผลิตดังคำอ้าง แต่ทำให้ผลผลิตคงที่ จากนั้นหากศัตรูพืชและแมลงปรับตัวได้ ผลผลิตก็จะลดลง นั่นคือข้อเท็จจริงของจีเอ็มโอ ศัตรูตัวร้ายที่จะทำลายความอุดมสมบูรณ์หลากหลายของผืนแผ่นดินไทย ท่ามกลางคำกล่าวอ้างเพียงไม่กี่ข้อหลัก ๆ ของจีเอ็มโอในอดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ผลลัพธ์ก็คือ จีเอ็มโอได้พิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นว่า คำอ้างเหล่านั้นเป็นเพียงแค่มายาคติชวนเชื่อของอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชน ที่ผู้บริโภคและเกษตรกรทุกคนต้องร่วมกันตระหนักรู้ ทำการศึกษาพิจารณาข้อมูล ควบคู่ไปกับการปฏิเสธจีเอ็มโอ สนับสนุนเกษตรกรรมเชิงนิเวศที่ยั่งยืน เพื่อปกป้องผืนดินอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเรา ให้ยังคงเป็นของประชาชน ของลูกหลาน เป็นอธิปไตยทางอาหารของชาวไทย ไม่ใช่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งดังที่จีเอ็มโอพยายามจะแปรเปลี่ยนผืนแผ่นดินไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม:



Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2559 12:29:19 น. 0 comments
Counter : 995 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com