MY MEMORY
Group Blog
 
 
มกราคม 2559
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
20 มกราคม 2559
 
All Blogs
 
ว่าด้วยเรื่อง สิทธิสตรี

สิทธิสตรี คำนี้มีความหมายว่าอย่างไร ?

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 30 บัญญัติว่า "ชาย และหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน" ทั้งยังห้ามการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะ เหตุแห่งความแตกต่างในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งความแตกต่างระหว่างเพศ จึงถือเป็น หลักประกันความเสมอภาคระหว่างหญิงและชายในสังคมไทย

แม้กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎมายแม่บทจะได้ประกันความเสมอภาคและ ห้ามการเลือกปฏิบัติต่อสตรีไว้ และประเทศไทยจะได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาหลาย ฉบับที่เกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันยังมีข้อกำหนดตามกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ หลาย ประการที่มีลักษณะเลือกปฏิบัติต่อสตรีอย่างชัดแจ้ง อาทิกฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวและ การสมรส นอกจากนั้น สังคมไทยบางส่วนยังคงมีเจตคติ ค่านิยม แบบแผนทางความ คิด และการปฏิบัติที่ยอมรับความไม่เสมอภาค การจำกัดสิทธิ และการละเมิดสิทธิขั้นพื้น ฐานของสตรีในหลาย ๆ ด้าน โดยยกเหตุแห่งความแตกต่างทางสรีระและเกณฑ์การ กำหนดบทบาททางสังคมที่แตกต่างกันระหว่างสตรีและบุรุษเป็นข้ออ้าง

ดังนั้น จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บท ด้านสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ จะต้องกำหนดมาตรการคุ้มครองและป้องกันการละเมิดสิทธิ มนุษยชนของสตรี ทั้งในทางกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อปฏิบัติทางสังคมให้ครอบคลุม ประเด็นต่าง ๆ อย่างรอบด้าน

1. สิทธิสตรีที่ยังไม่เท่าเทียมกับบุรุษด้านกฎหมาย

1.1 สภาพปัญหา

มีข้อกฎหมายที่กำหนดสิทธิสตรีไม่เท่าเทียมกับบุรุษหลายประการ ซึ่งปรากฏ อยู่ในกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้

1.1.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ชายมีสิทธิเรียกค่า ทดแทนจากผู้ที่ร่วมประเวณีหรือข่มขืนหญิงคู่หมั้นได้หากชายนั้นรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิง นั้นมีคู่หมั้นแล้ว แต่กฎหมายไม่ให้สิทธิหญิงในการเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่ร่วม ประเวณีกับคู่หมั้นของหญิงในลักษณะเดียวกัน

1.1.2 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ชายเท่านั้นเป็นฝ่าย ให้ของหมั้นและสินสอด แต่ไม่ได้กำหนดให้หญิงเป็นฝ่ายให้ของหมั้นและสินสอดแก่ชาย ในลักษณะที่เท่าเทียมกัน

1.1.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดเหตุหย่าระหว่างหญิง และชายไม่เท่าเทียมกัน โดยให้สามีฟ้องหย่าภรรยาได้ในกรณีที่ภรรยามีชู้ แต่ภรรยาไม่ สามารถฟ้องหย่าสามีได้ในกรณีสามีมีชู้ ภรรยาจะฟ้องหย่าได้ต่อเมื่อสามีอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่องหญิงอื่นฉันท์ภรรยา

1.1.4 พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 กำหนดบังคับให้ภรรยา ใช้ชื่อสกุลของสามี ไม่ได้บังคับให้สามีใช้ชื่อสกุลของภรรยา และไม่ให้สิทธิภรรยาในการ เลือกใช้ชื่อสกุลของตนเอง รวมทั้งไม่ให้สิทธิสามีในการเลือกใช้ชื่อสกุลของภรรยา

1.1.5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้บุตรมีสิทธิใช้ชื่อ ของมารดา ได้เฉพาะกรณีเป็นบุตรนอกสมรส หรือไม่ปรากฏตัวบิดา กฎหมายไม่ให้สิทธิ ครอบครัวในการตกลงกันเลือกให้เด็กใช้ชื่อสกุลของมารดา

1.1.6 พระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำหน้านามสตรี พ.ศ. 2460 กำหนด บังคับให้หญิงที่ยังไม่ทำการสมรสใช้คำนำหน้านามว่า นางสาว และเมื่อสมรสแล้วหรือ มีสามีแล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้คำว่า นาง แต่ชายใช้คำว่า นาย ตลอดชีวิต โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อแสดงสถานภาพการสมรสหรือการมีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส

1.1.7 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ให้สิทธิหญิงต่างด้าวที่ สมรสกับชายไทยขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ แต่ตัดสิทธิชายต่างด้าวที่สมรสกับหญิง ไทยในการขอถือสัญชาติไทยตามภรรยา

1.1.8 ประมวลกฎหมายอาญากำหนดเรื่องการข่มขืนกระทำชำเราว่าเป็น กรณีชายข่มขืนหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาเท่านั้น ทำให้สามีมีสิทธิข่มขืนภรรยาได้โดยไม่ต้องรับ ผิดทางอาญา และทำให้ชายที่ถูกข่มขืนไม่สามารถแจ้งความดำเนินการคดีในฐานะผู้เสีย หายได้ ซึ่งปัจจุบันได้มีแนวความคิดในการขยายความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราออกไป ให้ครอบคลุมมากขึ้น

1.1.9 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการ เลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ แต่ประเทศไทยยังตั้งข้อสงวนในเรื่องความเสมอภาค ระหว่างสตรีและบุรุษในด้านครอบครัวและการสมรส และการให้อำนาจศาลโลกในการ ตัดสินกรณีพิพาท

1.1.10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติรับ รองความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีกฎหมายห้ามการ เลือกปฏิบัติ เพื่อให้หลักการความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิงดังกล่าวมีผลใช้ บังคับอย่างเป็นรูปธรรม

1.2 สาเหตุของปัญหา

สังคมไทยส่วนหนึ่งมีความเชื่อเจตคติและค่านิยมที่ยอมรับความไม่เสมอ ภาคระหว่างสตรีและบุรุษว่าเป็นสิ่งปกติในสังคม โดยหยิบความแตกต่างทางกายภาพ ระหว่างสตรีและบุรุษมาเป็นข้ออ้างในการเลือกปฏิบัติต่อสตรีและการธำรงไว้ซึ่งข้อได้ เปรียบของบุรุษเหนือสตรีในข้อกฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อกฎหมายเกี่ยวกับ ครอบครัวและการสมรส

1.3 ผลกระทบ

1.3.1 คู่หมั้นฝ่ายชายเท่านั้นที่เรียกค่าทดแทนได้จากชายอื่นที่ร่วม ประเวณีกับหญิงคู่หมั้นของตน แต่หญิงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่มาร่วม ประเวณีกับชายคู่หมั้นของตน

1.3.2 หญิงไม่มีสิทธิขอหมั้นและให้ค่าสินสอดกับชายโดยมีกฎหมายรอง รับ เช่นเดียวกับกรณีของชาย

1.3.3 สามีสามารถฟ้องหย่าภรรยาได้โดยอ้างเหตุหญิงมีชู้ได้โดยพิสูจน์ เพียงว่าหญิงไปร่วมประเวณีกับชายอื่น แต่หญิงภรรยาไม่สามารถฟ้องหย่าสามีโดยอ้าง เหตุชายมีชู้ได้แม้มีหลักฐานแน่ชัดว่าสามีไปร่วมประเวณีกับหญิงอื่นภรรยามีภาระต้อง พิสูจน์ว่านอกจากการ่วมประเวณีกับหญิงอื่นแล้ว สามียังได้อุปการะเลี้ยงดูและยกย่อง หญิงอื่นฉันท์ภรรยาอันเป็นเงื่อนไขในลักษณะนามธรรมและยากต่อการพิสูจน์ ทำให้ สามีฟ้องหย่าภรรยาได้ง่าย แต่การที่ภรรยาฟ้องหย่าสามีโดยเหตุเดียวกันนั้นทำไม่ได้

1.3.4 ภรรยาต้องถูกบังคับให้ใช้ชื่อสกุลของสามีโดยไม่มีสิทธิเลือกใช้ นามสกุลของตนและสามีก็ถูกจำกัดสิทธิกรณีที่ต้องการใช้ชื่อสกุลของภรรยา

1.3.5 ภรรยาไม่มีสิทธิให้บุตรสืบทอดชื่อสกุลของภรรยา แม้ว่าสามี จะให้ความยินยอมก็ตาม

1.3.6 หญิงต้องใช้คำนำหน้านามที่แสดงสถานะ การสมรส การมีสามี โดยไม่จดทะเบียนสมรส และการมีบุตรโดยไม่มีสามีทำให้เกิดปัญหาหลายประการ กับหญิงทั้งในด้านสังคมและการดำเนินชีวิตตามปกติ ในขณะที่คำนำหน้านามของชาย ไม่ได้แสดงสถานภาพการสมรส การมีภรรยาและการมีบุตรในลักษณะเดียวกับหญิง

1.3.7 กฎหมายสัญชาติทำให้ชายไทยที่แต่งงานกับหญิงต่างชาติไม่มี ปัญหาในการมีชีวิตอยู่ร่วมเป็นครอบครัว ในการหาที่อยู่ และในการครอบครองเป็น เจ้าของบ้านและที่ดิน เนื่องจากกฎหมายที่ดินห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และส่วนควบกับที่ดิน หญิงต่างชาติมีสิทธิแปลงสัญชาติตามสามีไทยจึงเป็นเจ้าของ ครอบครองที่ดินได้ แต่หญิงไทยที่แต่งงานกับสามีชาวต่างชาติประสบปัญหาในการใช้ ชีวิตอยู่ร่วมเป็นครอบครัว ในการหาที่อยู่ และในการครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในบ้านและ ที่ดินเพราะชายต่างชาติที่สมรสกับหญิงไทยไม่มีสิทธิแปลงสัญชาติเป็นไทย จึงต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายที่ดินในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตลอดชีวิต หญิงจึงครอบครองที่ดิน ที่เป็นสินสมรสมิได้ และหากได้ที่ดินมาเป็นสินสมรสในภายหลังต้องถูกกฎหมายบังคับ ให้ขายที่ดินนั้น

1.3.8 กฎหมายการข่มขืนกระทำชำเราซึ่งกำหนดความผิดเฉพาะกรณี ชายข่มขืนหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาเท่านั้น โดยไม่ได้คุ้มครองผู้เสียหายซึ่งเป็นภรรยาให้เทียบ เท่าบุคคลอื่น เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเนื้อตัวร่างกายของบุคคล

1.3.9 การตั้งข้อสงวนในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อ สตรีในทุกรูปแบบในเรื่องความเสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในด้านครอบครัวและการ สมรส ทำให้การเลือกปฏิบัติต่อสตรียังดำรงอยู่ต่อไป

1.3.10 การที่ไม่มีพระราชบัญญัติห้ามการเลือกปฏิบัติออกมารองรับบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญทำให้มีการเลือกปฏิบัติยังคงมีอยู่และไม่มีกฎหมายมาบังคับใช้ใน กรณีการเลือกปฏิบัติต่อสตรี

1.4 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

1.4.1 แก้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้หญิงเรียกค่าทดแทนจาก หญิงอื่น ที่ร่วมประเวณีกับชายคู่หมั้นของหญิงนั้นได้ในลักษณะเดียวกับชาย

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม)

1.4.2 แก้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ชายและหญิงมีสิทธิขอ หมั้นมอบของหมั้นและให้ชายและหญิงมีสิทธิให้ค่าสินสอดโดยมีกฎหมายรองรับได้โดย เท่าเทียมกัน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย)

1.4.3 แก้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้หญิงและชายมีสิทธิฟ้อง หย่าโดยสาเหตุที่เท่าเทียมกัน เมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าสามีหรือภรรยาไปร่วมประเวณีกับ ชายหรือหญิงอื่นโดยสมัครใจ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม)

1.4.4 แก้กฎหมายพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 ให้ชายและ หญิงเลือกใช้ชื่อสกุลของตนหรือของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยเท่าเทียมกัน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย)

1.4.5 แก้กฎหมายให้สิทธิบุตรในการเลือกใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา และให้คู่สมรสมีสิทธิตกลงกันให้บุตรใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดาได้

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ)

1.4.6 แก้พระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำหน้านามสตรี พ.ศ. 2460 หรือ เสนอกฎหมายเพื่อให้มีการแก้ไขการใช้คำนำหน้านามเพื่อให้การใช้คำหน้านามของชาย และหญิงเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย)

1.4.7 แก้กฎหมายสัญชาติให้หญิงและชายต่างชาติที่แต่งงานกับชายหรือ หญิงไทยมีสิทธิขอแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในด้านสภาวะ การดำรงชีวิต การถือครองทรัพย์สินและที่ดิน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย)

1.4.8 แก้กฎหมายการข่มขืนกระทำชำเรารวมทั้งบัญญัติคำนิยามให้ ครอบคลุมและเท่าเทียมกันทั้งสองเพศ และให้ครอบคลุมกรณีข่มขืนภรรยาด้วย

(สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติได้เสนอร่าง กฎหมายผ่านคณะรัฐมนตรีแล้วขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานกฤษฎีกา)

1.4.9 แก้กฎหมายครอบครัวที่ไม่เท่าเทียมกันและถอนข้อสงวนที่เกี่ยว ข้องในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ)

1.4.10 ออกกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติออกมารองรับบทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญเพื่อให้มีผลบังคับไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติต่อสตรี

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม)

2. สิทธิสตรีกับกระบวนการยุติธรรม

2.1 สภาพปัญหา

สตรีที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมยังได้รับการปฏิบัติไม่ เหมาะสม ไม่ได้รับการปกป้องดูแลและเคารพสิทธิมนุษยชนในส่วนที่เกี่ยวกับสตรีตาม ควร และบางกรณีเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนสตรีอย่างชัดเจน นอกจากนี้การดำเนิน การทางกฎหมายของสตรีก็ยังไม่ได้รับความสนใจและให้ความสำคัญจากบุคคลใน กระบวนการยุติธรรม

2.2 สาเหตุของปัญหา

2.2.1 สตรีที่ถูกสามีข่มขืนกระทำชำเราไม่สามารถป้องกันตัวได้ตลอด เวลาของการสมรส และรวมทั้งกรณีที่แยกกันอยู่หรือเลิกกันอย่างเด็ดขาดแล้ว แต่ไม่ได้จดทะเบียนหย่าเนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้กำหนดความผิดฐานข่มขืนกระทำ ชำเราภรรยาของตน

2.2.2 สตรีตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวเป็นจำนวนมาก บางรายถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บรุนแรง แต่เมื่อเข้าร้องทุกข์ดำเนินคดีตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมมักไม่ให้ความสำคัญในการดำเนินคดีอาญากับสามี ผู้ทำร้ายร่างกายอย่างจริงจัง โดยอ้างว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัวเท่านั้น

2.2.3 สตรีที่ตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิดทางเพศ เช่นการข่มขืน กระทำชำเราหรือการทำอนาจารไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจากเจ้าพนักงานในกระบวน การยุติธรรม ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมให้มีความเข้าใจและความเชี่ยวชาญใน การดำเนินคดีกับความผิดประเภทนี้โดยเฉพาะเพื่อลดความเจ็บปวดของสตรีจากกระบวน การยุติธรรม และในบางกรณีเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมกระทำการหรือใช้วาจา หรือท่าทีไม่เหมาะสมกับสตรี ผู้เสียหาย

2.2.4 กระบวนการสอบสวน การชี้ตัวผู้กระทำผิดและการสืบพยานในคดี ความผิดเกี่ยวกับเพศมีความไม่เหมาะสม เพราะสตรีผู้เสียหายต้องเล่าเหตุการณ์อันทำ ความเสียหายแก่ตนต่อหน้าสาธารณะและต้องเผชิญหน้ากับผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยตรง ไม่มีกระบวนการวิธีพิจารณาคดีเป็นกรณีพิเศษที่เหมาะสมกับสภาพของคดีและสภาวะ ของผู้เสียหายและไม่มีการจัดเจ้าพนักงานให้ได้รับการอบรมเพื่อให้ปฏิบัติต่อสตรีผู้เสีย หายอย่างเหมาะสม

2.2.5 การรายงานข่าวของสื่อมวลชนในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศที่สตรี เป็นผู้เสียหายไม่มีกฎหมายควบคุม ทำให้การรายงานข่าวมีผลเป็นการทำร้ายซ้ำเติม หญิงที่ตกเป็นเหยื่อจากการกระทำความผิด

2.2.6 การควบคุมผู้ต้องขังที่เป็นสตรีต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและ ความปลอดภัยของสตรีผู้ต้องขัง ดังมีกรณีผู้ต้องขังสตรีถูกข่มขืนบนสถานีตำรวจ

2.3 ผลกระทบ

2.3.1 สตรีที่ถูกสามีข่มขืนแต่ไม่สามารถป้องกันตนเองหรือดำเนินการ ตามกฎหมายได้ เช่น ภรรยาที่ถูกสามีข่มขืน หรือสามีข่มขืนภรรยาที่แยกกันอยู่หรือเลิก กัน โดยพฤตินัยแต่ไม่ได้จดทะเบียนหย่า ภรรยาไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายเพื่อ ป้องกันตนเองได้

2.3.2 การไม่สนใจดำเนินคดีที่มีการทำร้ายร่างกายในครอบครัว และในสังคมทำให้สภาพปัญหาและการทำร้ายรุนแรงขึ้นตามลำดับ จนเป็นผลต่อเนื่อง ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในบางกรณีสตรีที่ได้รับความกดดันจากการถูกทำร้ายอยู่เป็น ประจำและไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากแหล่งใดได้ จึงตัดสินใจยุติปัญหาด้วยความ รุนแรงและต้องตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา

2.3.3 กระบวนการยุติธรรมที่ไม่คำนึงถึงสภาวะจิตใจและความเจ็บปวด ของสตรีผู้เสียหาย และการที่ไม่มีมาตรการในการบำบัดเยียวยา ช่วยเหลือ รวมทั้งให้ การชดเชยแก่ผู้เสียหายทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เท่ากับเป็นการซ้ำเติมผู้เสียหาย อีกชั้นหนึ่ง ทำให้สตรีต้องทนเก็บความเจ็บปวดไม่แจ้งความทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะไม่ต้องการได้รับความเจ็บปวดซ้ำซาก ผู้กระทำผิดจะกระทำซ้ำเพราะได้ใจ เนื่อง จากเชื่อว่าสตรีไม่กล้าแจ้งความและตัวผู้กระทำผิดเองจะไม่ถูกลงโทษ

2.3.4 การเบิกความในศาลต่อหน้าสาธารณะและต้องเผชิญหน้าจำเลย เป็นผลให้ สตรีผู้เสียหายตัดสินใจไม่นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

2.3.5 การรายงานข่าวโดยเปิดเผยชื่อผู้เสียหายและเผยแพร่ภาพ และไม่ คำนึงผลกระทบที่ติดตามมาทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตส่วนตัวของสตรีผู้เสียหาย อย่างรุนแรง เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้หญิงตัดสินใจไม่แจ้งความร้องทุกข์ กับเจ้าหน้าที่

2.3.6 การคุมขังที่ไม่เหมาะสมและไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ต้อง ขังสตรีแสดงถึงความละเลยในการดูแลความปลอดภัยของผู้ต้องขัง ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่ผู้ต้องขังหญิงถูกละเมิดทางเพศ

2.4 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

2.4.1 แก้กฎหมายกำหนดให้การข่มขืนกระทำชำเราภรรยาเป็นความผิด ตามกฎหมายอาญา

2.4.2 กำหนดระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานอัยการสูง สุดให้ดำเนินการสอบสวนดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัวอย่างจริงจังเพื่อเป็นการ ระงับปัญหาแต่ต้น และเพื่อให้เป็นหลักฐานทางราชการว่า มีการทำร้ายร่างกาย ซึ่ง สามารถใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสตรีจาก ความรุนแรงและลงโทษเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ดำเนินคดีโดยไม่มี เหตุสมควร

2.4.3 จัดหน่วยงานพิเศษเพื่อสอบสวนคดีและดำเนินความผิดเกี่ยว กับเพศโดยเฉพาะ โดยมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรมและเข้าใจประเด็นปัญหาของสตรี จัดให้มีพนักงานสอบสวนหญิง พนักงานอัยการหญิง และผู้พิพากษาหญิง หรือจัดให้มี กระบวนการที่เหมาะสมในการดำเนินคดีข่มขืนกระทำชำเรา

2.4.4 แก้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อกำหนดวิธีการ พิจารณาคดีพิเศษที่เหมาะสมกับการพิจารณาคดีความผิดเกี่ยวกับเพศที่สตรีเป็นผู้เสีย หาย โดยเฉพาะการนำวิธีการสอบสวนโดยใช้วีดีทัศน์ การสืบพยานโดยใช้โทรทัศน์วงจร ปิด การชี้ตัวผู้ต้องหาโดยไม่ให้ผู้ต้องหาเห็นผู้เสียหายหรือพยานที่ชี้ตัว และอื่นๆ

2.4.5 ออกกฎหมายห้ามการรายงานข่าว ภาพ หรือข้อความใด ๆ ที่อาจ ทำให้บุคคลอื่นรู้จักตัว ชื่อ นามสกุล บิดามารดา สถานที่อยู่ สถานศึกษา หรือสถานที่ทำ งานของสตรีผู้เสียหาย

2.4.6 กำหนดกฎระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมราชทัณฑ์ให้ ดูแลความปลอดภัยของผู้ต้องขังสตรีอย่างเข้มงวด

2.4.7 จัดโครงการฝึกอบรมเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมโดย ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เจ้าพนักงานเข้าใจปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสตรี

2.4.8 สภาพปัญหาที่เกิดจากความกดดันที่สตรีได้รับสะสมจากการถูก ทำรุนแรงมาเป็นเวลานาน ควรจะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาความผิด ตลอดทั้งการ กำหนดโทษสตรีที่ได้ถูกกระทำรุนแรงและตัดสินใจยุติปัญหาด้วยความรุนแรง

3. สิทธิสตรีกับการมีส่วนร่วมในการบริหารและการเมือง

3.1 สภาพปัญหา

3.1.1. จำนวนสตรีที่เข้าร่วมในการตัดสินใจระดับสูงในด้านบริหารและ การเมืองมีสัดส่วนน้อยมากในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ

3.1.2. สตรีที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารและการเมืองทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ ยังถูกกีดกันและปิดกั้นโอกาสที่จะได้มีส่วนร่วมในการ กำหนดนโยบายที่สำคัญๆ หรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างแท้จริง อีกทั้งยังถูกคุก คามทางเพศและล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว

3.2 สาเหตุของปัญหา

ปัจจุบันไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบใดๆ ที่ห้ามมิให้สตรีมีส่วนร่วมในการ บริหารและการเมืองหรือการเลื่อนระดับตำแหน่งทั้งหลาย แต่ในทางพฤตินัยยังมีการ กีดกันสตรีและมีสตรีที่มีส่วนร่วมในการบริหารและการเมืองเป็นจำนวนน้อย ด้วยสาเหตุ ต่างๆ คือ

3.2.1. ค่านิยมและเจตคติสังคมที่คิดว่าสตรียังมีความสามารถไม่เท่า บุรุษในเรื่องการบริหาร และการเมือง

3.2.2 ในเรื่องการบริหาร ยังมีแนวความคิดตามความคิดดั้งเดิม และ เป็นการนึกเอาเองว่าผู้หญิงจะเป็นผู้อ่อนแอ อ่อนไหวง่าย อารมณ์ไม่คงที่และมีลักษณะ เป็นผู้ตามมากกว่าผู้นำ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดมิได้เป็นไปตามผลการวิจัยและหลักวิชา

3.2.3. ในด้านการเมือง ยังมีแนวความคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรก และในทางปฏิบัติยังมีการใส่ร้ายป้ายสีเรื่องส่วนตัว ทำให้สตรีที่เข้าไปมีส่วนร่วมในทาง การเมือง มันตกเป็นเป้าของการโจมตีอย่างไม่เป็นธรรม อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวน การทางการเมืองที่กลายเป็นที่ยอมรับ ทำให้สตรีจำนวนหนึ่งขยาดและไม่ต้องการเข้ามา มีส่วนร่วมในการนี้และในลักษณะนี้

3.2.4. สตรีเป็นผู้มาทีหลังในด้านการเมือง อีกทั้งวัฒนธรรมองค์กรที่เป็น อยู่มักเอื้อต่อความก้าวหน้าของบุรุษมากกว่าสตรี ทำให้สตรีขาดความเชื่อมั่นที่จะกำหนด เป้าหมายชีวิตไปในทางการเมือง และไม่เห็นหนทางความก้าวหน้าในทางการเมือง

3.2.5. กลไก และกระบวนการทางการเมือง เช่น การตั้งเกณฑ์พิจารณา คัดเลือกบุคคลเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งหรือดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคการเมืองยังมี อคติต่อสตรีและในหลายกรณียังมีความไม่โปร่งใส

3.2.6 บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสำคัญต่อสัดส่วนหญิงชายในการ บริหารและการเมือง และไม่ตระหนักถึงผลดีและคุณค่าต่อประเทศจากการพยายาม ทำให้สัดส่วนหญิงชาย มีความใกล้เคียงกัน

3.3 ผลกระทบ

3.3.1. การที่สตรีขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการบริหาร ในระดับต่างๆ ทำให้สภาพปัญหา ความต้องการ ความเห็น และมุมมองของสตรีถูก ละเลยไปในกระบวนการพัฒนา ส่งผลให้สตรีไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจัดสรร โอกาส และทรัพยากรด้านต่าง ๆ

3.3.2. สืบเนื่องจากข้อ 3.3.1 เมื่อขาดการสะท้อนสภาพปัญหา ความ ต้องการ ความคิดเห็น และมุมมองของสตรีซึ่งเป็นประชากรครึ่งหนึ่งของสังคม จึงทำให้ การตัดสินใจด้านการพัฒนา การบริหาร และการเมืองไม่สมบูรณ์และไม่อาจบรรลุผล อย่างแท้จริง

3.3.3. การขาดการมีส่วนร่วมของสตรีในการบริหารและการเมืองจะ ปรากฏเป็นภาพด้านลบของประเทศในระดับนานาชาติ ทั้งนี้องค์การสหประชาชาติได้ทำ การประเมินสภาพและความก้าวหน้าของสตรีในด้านนี้เป็นระยะ และได้เผยแพร่ข้อมูลดัง กล่าวไปทั่วโลก

3.4 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

3.4.1. จัดการฝึกอบรมให้สตรีที่สนใจ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ได้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบริหารและการเมือง รวมทั้งวิธีการในการเข้ามามีส่วน ร่วมมากขึ้น และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติองค์กรสตรีภาคเอกชน สถานศึกษา สถาบันการเมือง พรรคการเมือง)

3.4.2. สำหรับตำแหน่งกรรมการระดับชาติที่สำคัญๆ ควรให้หน่วยงาน พิจารณาให้มีสตรีมีส่วนร่วมอยู่ด้วยทุกคณะ หากไม่สามารถทำได้จะต้องชี้แจงเหตุผล และข้อขัดข้องให้ชัดเจน เพื่อผู้เกี่ยวข้องจะสามารถนำปัญหาข้อขัดข้องนั้นไปพัฒนาแก้ ไขให้สามารถดำเนินการได้ต่อไป

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ทุกหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคเอกชน)

3.4.3. สำหรับตำแหน่งต่างๆ ทางการเมือง เช่น กรรมการพรรคการ เมือง คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการวิสามัญ ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา บุคคลในบัญชีรายชื่อในพรรค ฯลฯ ควรมีสตรีร่วมอยู่ด้วยใน สัดส่วนที่ เหมาะสม

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 3.4.1)

3.4.4. ใช้การกำหนดมาตรการพิเศษ โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 30 วรรค สี่ เพื่อให้สตรีมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการทุกระดับหรือองค์กร

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 3.4.1 และข้อ 3.4.2)

4. สิทธิสตรีกับความรุนแรง

ความรุนแรงต่อสตรีครอบคลุมถึงความรุนแรงทางกาย ทางเพศ และทาง จิตใจ รวมทั้งการล่วงเกินทางกายและทางเพศ การข่มขู่ การข่มขืน การทารุณ ทั้งที่เกิด ในสถานที่ส่วนตัว เช่น ภายในครอบครัว หรือที่สาธารณะอื่นๆ เช่น สถานที่ทำงาน และในชุมชน

4.1 สภาพปัญหา

4.1.1 จากรายงานทั้งทางภาคราชการและภาคเอกชน รวมทั้งจากสื่อมวลชนแสดงว่ามีสตรีตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

4.1.2 สตรีที่ถูกกระทำเป็นผู้เสียหายและมักไม่ได้รับความเป็นธรรมใน การ นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

4.1.3 สตรีที่ถูกกระทำได้รับความบาดเจ็บทั้งทางกายและจิตใจ ซึ่งใน หลายกรณียากต่อการฟื้นฟูและมีผลกระทบเชิงลบมากมาย รวมทั้งการสูญเสียชีวิตด้วย

4.1.4 การที่สตรีได้รับความกดดันเพราะถูกทำร้ายและถูกกดดันทางจิต ใจมาโดยตลอด ทำให้สตรีบางรายตัดสินใจยุติปัญหาด้วยความรุนแรง

4.2 สาเหตุของปัญหา

4.2.1 โครงสร้างเชิงอำนาจในสังคมยังกำหนดให้บุรุษมีอำนาจเหนือสตรี และโครงสร้างเชิงอำนาจนี้ยังให้ความชอบธรรมต่อวัฒนธรรมในการใช้ความรุนแรงต่อสตรี ในทุกรูปแบบความสัมพันธ์ทั้งในครอบครัวและสังคม ดังจะเห็นได้จากการล่วงละเมิด ของนายจ้าง ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานในสถานที่ทำงาน สามี หรือบิดา รวมทั้งการ ละเมิดในสื่อมวลชน

4.2.2 สตรีเป็นจำนวนมากยังต้องพึ่งพาสามีในทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นเหตุให้สตรีต้องยอมจำนนและจำยอมต่อการจะถูกทำร้ายทารุณโดยไม่กล้าดำเนินคดี

4.2.3 สังคมส่วนหนึ่งยังมีค่านิยมที่ถือว่าเรื่องภายในครอบครัวเป็นเรื่อง ส่วนตัวซึ่งสังคมไม่ควรเข้ามาก้าวก่าย

4.2.4 เจ้าหน้าที่รัฐผู้ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและรักษากฎหมายมัก มีแนวความคิดที่มุ่งไกล่เกลี่ยคดีความรุนแรงต่อสตรี และมักไม่สนใจดำเนินการลงบัน ทึกประจำวันหรือนำผู้กระทำผิดมาลงโทษเมื่อสตรีเข้าแจ้งความดำเนินคดีเป็นเหตุให้ การทำร้ายทารุณเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าและสตรีผู้ถูกกระทำไม่สามารถดำเนินคดีได้เพราะ ขาดหลักฐาน นอกจากนี้กฎหมายอาญายังอนุญาตให้สามีข่มขืนภรรยาได้โดยไม่ต้อง รับโทษทางอาญา

4.2.5 การกระทำรุนแรงทางกายเกิดขึ้นเนื่องจากผู้กระทำไม่รู้จักวิธีแก้ปัญหาไปในเชิงสันติ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากประสบการณ์เก่าที่เคยเห็นมีการกระทำรุนแรงกันได้ หรือความไม่สามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง

4.2.6. การกระทำรุนแรงทางเพศส่วนหนึ่งเกิดจากการดื่มสุราหรือเสพสารเสพย์ติด ซึ่งผลักดันให้กระทำรุนแรงต่อสตรี

4.3 ผลกระทบ

4.3.1. สตรีที่ถูกกระทำรุนแรงไม่สามารถช่วยตัวเองได้และต้องทนทุกข์ ทรมานทั้งทางกายและจิตใจในการดำรงชีวิต เมื่อกายได้รับการบาดเจ็บและสุขภาพจิต ไม่ดี นอกจากจะมีผลกระทบเชิงลบต่อตัวสตรีแล้วยังอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อเนื่องถึง ผู้ที่อยู่รอบข้างได้

4.3.2. ความรุนแรงต่อสตรีเป็นการคุกคามต่อการดำรงชีวิตอย่างปลอด ภัย และมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ทั้งที่สตรีสมควรจะได้รับการปฏิบัติอย่างดีและ เหมาะสมเฉกเช่นบุคคลอื่นๆ ในสังคม

4.3.3. สตรีได้รับความกดดันเนื่องจากถูกกระทำรุนแรงและตัดสินใจ ยุติปัญหาด้วยความรุนแรง ต้องได้รับโทษหนักเกินสมควร โดยไม่มีการนำประวัติของ การถูกทำร้ายหรือกดดันทางจิตใจมาพิจารณาเป็นองค์ประกอบในการกำหนดโทษ

4.3.4. สตรีที่ถูกกระทำรุนแรงจะรู้สึกเสื่อมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ รู้สึกมีค่าน้อยลง และถือว่าการกระทำรุนแรงเป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์อย่างหนึ่ง

4.4 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

4.4.1. จัดบริการครบวงจรในที่แห่งเดียวโดยการประสานงานกันระหว่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สตรีที่ถูกกระทำรุนแรงในรูปแบบต่างๆ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติ (สกส) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลทุกแห่ง ศูนย์อนามัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ภาคเอกชน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ)

4.4.2. จัดทำแผนปฏิบัติการแม่บทเพื่อขจัดการกระทำรุนแรงต่อสตรี และเด็ก

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ข้อ 4.4.1)

4.4.3. พัฒนากฎหมาย กฎระเบียบ เกี่ยวกับการกระทำรุนแรงในครอบ ครัวโดยเฉพาะเพื่อคุ้มครองตลอดจนให้การบำบัดเยียวยาแก่ผู้เสียหาย และมีการลงโทษ ผู้กระทำรุนแรงในครอบครัวเป็นพิเศษ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ข้อ 4.4.1)

4.4.4. ดำเนินการให้มีมาตรการทางสังคมเพื่อการบำบัดและเยียวยาแก่ผู้ กระทำความรุนแรงเพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ข้อ 4.4.1)

4.4.5. ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย รวมทั้งจัดให้มีพนักงานสอบสวนหญิงเพิ่มเติม

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ข้อ 4.4.1)

4.4.6. จัดให้มีส่วนงานที่ดำเนินการคุ้มครองสตรีและเด็กในสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือผู้ถูกกระทำทารุณหรือถูกล่วงละเมิดในรูปแบบต่างๆ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ข้อ 4.4.1)

4.4.7. จัดฝึกอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจปัญหาเกี่ยวกับ การกระทำรุนแรง

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ข้อ 4.4.1)

4.4.8. ดำเนินการให้มีแหล่งช่วยเหลือ โดยเฉพาะที่พักพิงและที่แนะแนว ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ข้อ 4.4.1 และสื่อมวลชน)

4.4.9 รณรงค์ให้ชุมชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา ความรุนแรงต่อสตรี และร่วมกันขจัดการกระทำรุนแรงให้ลดน้อยลงหรือหมดไป โดยถือ ว่าเป็นปัญหาของสังคม ไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาครอบครัวเพียงด้านเดียว)

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ข้อ 4.4.7 และชุมชน)

5. สิทธิสตรีกับการค้ามนุษย์ทั้งในประเทศและข้ามชาติ และการถูก ปฏิบัติเยี่ยงทาส คำนิยามของการค้ามนุษย์

ปัจจุบันประชาคมโลกได้พิจารณาเห็นว่าการค้าหญิงและเด็กเป็นความรุน แรงและเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ที่ประชุมใหญ่ สหประชาชาติได้มีมติประณามปรากฏการณ์นี้ โดยให้คำจำกัดความการค้าหญิงและเด็ก ว่า

ขบวนการเคลื่อนย้ายมนุษย์ข้ามชายแดนอย่างผิดกฎหมายและซ่อนเร้นส่วนใหญ่จะเคลื่อนย้ายมนุษย์ จากประเทศที่กำลังพัฒนาหรือจากบางประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเปลี่ยนแปลง โดยมีจุดมุ่งหมายสุด ท้าย คือ บังคับให้หญิงและเด็กหญิงตกอยู่ในสภาพที่กดขี่และแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และทาง เศรษฐกิจ เพื่อผลกำไรของผู้จัดหานักค้ามนุษย์และขบวนการอาชญากรรม รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่ ผิดกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เช่น การบังคับใช้แรงงาน การหลอกให้แต่งงาน การจ้าง งานแอบแผงซ่อนเร้น และการหลอกเป็นบุตรธรรม

มติสหประชาชาติดังกล่าว ได้รวมรวมรูปแบบอื่นของการค้าหญิงและเด็กที่ ไม่ใช่เพื่อการค้าประเวณีไว้ด้วย

คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็กข้ามชาติ สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ให้คำนิยามของการค้ามนุษย์ไว้ดังต่อไปนี้

.......... การค้ามนุษย์ หมายถึง (การกระทำ)พฤติการณ์ที่บุคคล กลุ่มคน หรือองค์กร เป็น ธุระจัดหา ซื้อขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด รับ หน่วงเหนี่ยวหรือ กักขังซ่อนเร้น ซึ่งหญิงหรือเด็กโดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้ อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ทั้งนี้ไม่ว่าการ กระทำดังกล่าวข้างต้น จะได้กระทำภายในหรือนอกราชอาณาจักร และการกระทำดัง กล่าวมีผลทำให้หญิงหรือเด็กตกอยู่ในภาวะจำยอม กระทำการหรือยอมรับการกระทำ ใดอันมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น การค้าบริการทางเพศ การทำงานในสภาพที่ใช้แรง งานโดยทารุณโหดร้าย การขายเด็กให้เด็กเป็นขอทาน ฯลฯ

เนื่องจากในปัจจุบันการค้ามนุษย์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการย้ายถิ่นเพื่อ หางานทำดังนั้นเหยื่อจำนวนมากได้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานจากประเทศต้นกำเนิดเพื่อแสวง หางานทำด้วยการจัดการของนายหน้าและอื่นๆ แต่เมื่อถึงประเทศปลายทางก็พบว่าตน เองตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับแสวงหาประโยชน์จากการใช้แรงงาน จึงเกิดแนวคิดว่า คำ จำกัดความของการค้ามนุษย์ต้องรวมถึงสภาพการปฏิบัติเยี่ยงทาส และการเป็นแรงงาน บังคับไว้ด้วย

คำนิยามของการปฏิบัติเยี่ยงทาส

Slavery Convention 1926, Supplementary Convention on the Abolition of Slavery, the Slave Trade, and Institutions and Practices Similar to Slavery 1956 ได้ให้คำ นิยามเรื่องการเป็นทาสและการปฏิบัติเยี่ยงทาสไว้ดังต่อไปนี้

..........การเป็นทาส หมายถึง สถานภาพหรือสภาวะที่บุคคลหนึ่งตกอยู่ใต้อำนาจของการใช้สิทธิ ครอบครองเป็นเจ้าของ

ในการจัดทำรายงานเรื่องการค้าหญิงให้แก่ผู้ตรวจการสหประชาชาติเรื่อง ความรุนแรงต่อผู้หญิง องค์การพันธมิตรต้านการค้าหญิง (GAATW) ได้ให้คำจำกัด ความ เรื่องแรงงานบังคับและการปฏิบัติเยี่ยงทาสไว้ดังนี้

..........การบีบบังคับให้บุคคลทำงานหรือให้บริการ หรือการใช้ประโยชน์โดยมิชอบจากสถานภาพ ทางการกฎหมาย และ/หรือทางกายภาพของบุคคลใดๆ ก็ตาม โดยใช้วิธีการที่รุนแรงการใช้อำนาจ หน้าที่ หรือตำแหน่งที่เหนือกว่าไปในทางที่มิชอบ การตกอยู่ในภาวะหนี้สิน การหลอกลวงหรือบีบ บังคับต่างๆ

การค้ามนุษย์ในปัจจุบันถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและเป็นรูปแบบ หนึ่งของการค้าทาสยุคใหม่ ประเทศไทยขณะนี้เป็นทั้งต้นทาง ประเทศส่งผ่านและประเทศ จุดหมายปลายทางของการค้ามนุษย์ข้ามชาติ เหยื่อส่วนใหญ่ของการค้ามนุษย์เหล่านี้ เป็นผู้หญิงและเด็ก การค้าหญิงและเด็กเป็นส่วนหนึ่งของการย้ายถิ่นเพื่อแสงหาโอกาส ในการทำงาน

5.1 สภาพปัญหา

5.1.1. จำนวนสตรีที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการปฏิบัติเยี่ยงทาสมีมากขึ้นทั้งในประเทศและข้ามชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศ อื่น ๆ

5.1.2 มีสตรีที่ถูกแสวงหาประโยชน์ทั้งจากร่างกายและแรงงานอย่าง รุนแรง รวมทั้งมีการถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวและละเมิดสิทธิสตรีในรูปแบบต่างๆ

5.1.3 มีองค์กรอาชญากรรมและเครือข่ายอาชญากรดำเนินการเบื้องหลัง การบังคับค้าประเวณีและการค้ามนุษย์ ทั้งในประเทศและข้ามชาติ

5.1.4 สตรีที่ตกเป็นเหยื่อจากการถูกนำมาบังคับค้าประเวณีและการค้า มนุษย์ไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม

5.2 สาเหตุของปัญหา

5.2.1 มีเครือข่ายโยงใยและเป็นอาชญากรรมอย่างเป็นระบบ ในการนำ สตรีมาบังคับค้าประเวณีและการค้าหญิงข้ามชาติ

5.2.2 สตรีขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการหลอกลวงหรือกระบวน การการค้ามนุษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

5.2.3. ภาวะทางเศรษฐกิจ รวมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ความต้องการตอบ แทนคุณบิดามารดาผู้ปกครอง บริโภคนิยมและวัตถุนิยม และความต้องการแสวงหา โอกาสทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้สตรีต้องตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรง งาน และการปฏิบัติเยี่ยงทาส

5.2.4 ในบางกรณี จากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้บิดามารดาผู้ปก ครองมีส่วนผลักดันให้สตรีต้องตกเป็นเหยื่อของการบังคับค้าประเวณี การบังคับใช้แรง งานและการปฏิบัติเยี่ยงทาส

5.2.5 กลุ่มผู้ประกอบการและเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมมีส่วนสำคัญ ในการชักจูง หรือล่อลวงสตรีเข้าสู่วงจรการบังคับค้าประเวณีและการค้ามนุษย์ข้ามชาติ รวมทั้งตั้งใจเอารัดเอาเปรียบสตรีที่ตกเป็นเหยื่อ

5.2.6 ทัศนะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องและกฎหมายที่ไม่ส่งเสริมให้ใช้ดุล พินิจในการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ และในบางกรณีบุคลากรที่เกี่ยวข้องยัง แสวงหาผลประโยชน์จากผู้ตกเป็นเหยื่อด้วย

5.2.7 การขาดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมทั้งในด้านกระบวนการยุติธรรม และสังคม ทำให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อไม่ได้รับการช่วยเหลือ และยังถูกดำเนินคดีว่ามีส่วนใน การกระทำความผิดอีกด้วย

5.3 ผลกระทบ

5.3.1 สตรีที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ต้องมีชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก เพราะต้องเสี่ยงอันตรายรอบด้าน อาทิ การถูกกระทำรุนแรง ทารุณ การเสี่ยงอันตราย จากโรคต่าง ๆ รวมทั้งการถูกทำร้ายจิตใจ

5.3.2 สตรีอยู่ในสภาพที่ถูกละเมิดสิทธิ เช่น ถูกจำกัดเสรีภาพ ถูกเอา รัดเอาเปรียบ เป็นต้น

5.3.3 สตรีที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เหล่านี้มักขาดที่พึ่งพิง และ โดยทั่วไปมักไม่สามารถร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลหรือหน่วยงานใดได้ง่ายนัก

5.3.4 อาชญากรและองค์กรอาชญากรรมมีรายได้มหาศาลและเข้ม แข็งขึ้น

5.3.5 สตรีที่ถูกละเมิดสิทธิถูกซ้ำเติมโดยกระบวนการยุติธรรม โดยที่ ผู้กระทำผิดซึ่งเป็นตัวการสำคัญมักไม่ถูกลงโทษ

5.3.6 สภาพการทำงานของสตรีที่อยู่ในแรงงานบางประเภทขาดการคุ้มครองและสวัสดิภาพความปลอดภัย และเยาวสตรีได้รับผลกระทบด้านการไม่สามารถ พัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพถ้าเข้ามาอยู่ในสภาพการถูกค้ามนุษย์

5.4 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

5.4.1. ให้ดำเนินการตามแผนป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาสตรี และเด็กในธุรกิจการบังคับค้าประเวณีอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ซึ่งรวมทั้งการป้องกัน การคุ้มครอง การดำเนินการกับผู้กระทำผิด การแก้ไขเยียวยา และการให้มีอาชีพ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและ ประสานงานเยาวชนแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข ภาคเอกชน สถานทูต และองค์กรในต่างประเทศ)

5.4.2. ให้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์ต่อสตรีในการตัดสินใจมาค้าประเวณีหรือถูกส่งตัวข้ามชาติเพื่อขายแรงงาน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 5.4.1 และสื่อมวลชน)

5.4.3. ดำเนินการอย่างเคร่งครัดตาม "บันทึกข้อตกลงเรื่องแนวทาง ปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการกรณีการค้าหญิงและเด็ก ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2542" และดำเนินการให้เป็นระบบและต่อเนื่อง

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสาน งานสตรีแห่งชาติในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรม ประชาสงเคราะห์ คณะกรรมการประสานงานเรื่องเด็กต่างชาติ และเครือข่ายป้องกันและ แก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก)

5.4.4. ดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่แล้วอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งให้ ข้อมูลข่าวสารและฝึกอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐและของเอกชนเพื่อให้ทำงานมีผล จริงจัง

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 5.4.1)

5.4.5. จัดให้มีหน่วยงานในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อปราบปรามการ ค้ามนุษย์และดูแลคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรง งานและการปฏิบัติเยี่ยงทาส

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 5.4.1)

5.4.6. ดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิด เช่น ผู้ล่อลวง ผู้บังคับขู่เข็ญ ฯลฯ มาลงโทษ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 5.4.1)

5.4.7. หามาตรการดำเนินการกับองค์กรอาชญากรรมและอาชญากรรม ข้ามชาติอย่างจริงจังและเป็นระบบ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 5.4.1)

6. สิทธิสตรีกับการพัฒนาศักยภาพ ความสามารถและการศึกษา

ก. การไม่รู้หนังสือ

1. สภาพปัญหา

1.1. สตรียังมีอัตราส่วนการไม่รู้หนังสือเป็นสองเท่าของบุรุษ แม้ในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมา จะมีการปรับปรุงระบบจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสตรีมากขึ้น แต่ยังคง มีความแตกต่างของอัตราส่วนการไม่รู้หนังสือของหญิงชายเท่าเดิม

2. สาเหตุของปัญหา

2.1 สตรีขาดโอกาสเข้าศึกษาในสถานศึกษาเนื่องจากค่านิยมประเพณี ของสังคมทำให้เกิดการปฏิบัติต่อสตรีในการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะใน สมัยที่ยังไม่เน้นเรื่องความเสมอภาคของสตรี แม้ว่ากฎหมายไม่ได้ห้ามไว้แต่สังคมส่วน หนึ่งมักจะปฏิบัติอย่างมีอคติ เช่น ถ้าบิดามารดาไม่สนับสนุนโดยเฉพาะด้านการเงิน เพื่อการศึกษาแก่บุตรทุกคน บุตรหญิงมักจะไม่ได้เรียนเพื่อให้โอกาสบุตรชายได้รับ การศึกษาก่อน

2.2 ในบางครอบครัว บุตรชายสามารถเข้าศึกษาได้โดยผ่านการศึกษา ในวัด เช่น เป็นลูกศิษย์วัด สามเณร หรือภิกษุ ขณะเดียวกันสตรีขาดโอกาสนี้

2.3 สืบเนื่องจากบทบาทดั้งเดิมที่พันธนาการสตรีไว้กับความรับผิดชอบ ในบ้านและถือว่าเป็นหน้าที่ของสตรี ทำให้สตรีถูกเลือกปฏิบัติให้ดูแลครอบครัวแทนการ ออกไปเรียนหนังสือ

3. ผลกระทบ

3.1 ทำให้สตรีจำนวนมากไม่รู้หนังสือ ขาดกุญแจสำคัญในการพัฒนาตน เองด้านการศึกษาและการแสวงหาความรู้

3.2 ทำให้สตรีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจยึดอาชีพที่ไม่ต้องรู้หนังสือ นอกจาก นี้ยังไม่สามารถก้าวหน้าในอาชีพเท่าที่ควรเนื่องจากอ่านหนังสือไม่ออก

3.3 ทำให้สตรีถูกหลอกได้ง่ายเวลาทำนิติกรรม

4. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

4.1 ดำเนินการให้สตรีทุกคนที่ยังไม่รู้หนังสือได้อ่านหนังสือออก รณรงค์ เพื่อการรู้หนังสือของสตรีโดยใช้วิธีการที่เหมาะกับกลุ่มต่างๆ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยและสถาน ศึกษาต่างๆ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ภาคเอกชน)

ข. โอกาสในการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

1. สภาพปัญหา

1.1 โอกาสเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาของสตรีมีน้อยลงหลังจากจบ การศึกษาภาคบังคับประถมศึกษาปีที่ 6 และเมื่อเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ สตรีถูกเลือก ปฏิบัติให้เป็นผู้เสียสละเพื่อครอบครัว

2. สาเหตุของปัญหา

2.1 เนื่องมาจากค่านิยมที่เน้นชายเป็นใหญ่ และการสืบสกุลของบิดาทำ ให้เด็กผู้หญิงที่จบประถมศึกษาต้องออกจากโรงเรียนโดยที่ไม่ได้เรียนต่อ เพื่อรับผิดชอบ ภาระงานบ้าน และหารายได้ หากให้การศึกษาสูงเมื่อแต่งงานแล้วต้องเปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามีโดยหลายครอบครัวคิดว่าไปเป็นคนของครอบครัวสามี นอกจากนี้เมื่อเกิดวิกฤติ การณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้เด็กหญิงเป็นจำนวนมากไม่ได้เรียนหนังสือต่อถูกเลือกปฏิบัติ ให้ออกจากโรงเรียนเนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือต้องช่วยบิดามารดาทำงาน

3. ผลกระทบ

3.1 เป็นการสกัดกั้นมิให้เด็กหญิงมีความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านการ ศึกษาของตนเอง อันอาจกระทบต่อการประกอบอาชีพในระยะยาวต่อไป

3.2 เด็กหญิงอาจตกอยู่ในภาวะกลุ่มเสี่ยงที่อาจไปประกอบอาชีพที่ไม่พึง ประสงค์ได้

3.3 เป็นการสูญเสียทรัพยากรของชาติรูปแบบหนึ่ง

4. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

4.1 จัดหาทุนการศึกษาเพื่อให้เด็กหญิงมีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับนี้ มากขึ้น ทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบและนอกระบบ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาต่างๆ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ภาคเอกชน)

4.2 รณรงค์ให้บิดามารดาเข้าใจความสำคัญของการศึกษาของเด็กหญิง

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาต่าง ๆ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ภาคเอกชน)

4.3 พิจารณากฎหมายให้ขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 9 ปี เพื่อให้ คลุมถึงชั้นมัธยมปีที่ 3 โดยเร็ว และให้รัฐจัดเป็นสวัสดิการด้านการศึกษาให้เปล่าอย่าง แท้จริง

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เทศบาล เมืองพัทยา มหาวิทยาลัย)

4.4 ควรสอดแทรกหรือมีวิชาหญิงชายเพื่อชีวิตในระดับมัธยมศึกษาตอน ต้น

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงศึกษาธิการ)

ค. การศึกษาในระดับอุดมศึกษาและการศึกษาเฉพาะทาง

1. สภาพปัญหา

1.1 ยังมีการเลือกปฏิบัติด้วยวิธีการจัดสรรโควต้าหรือการจำกัดจำนวน การรับผู้เรียนให้ทั้งสำหรับสตรีและบุรุษ

1.2 สตรียังมิได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาเฉพาะทางอีก หลายแห่ง อาทิ โรงเรียนนายร้อยตำรวจและสถาบันทางการทหาร

1.3 โอกาสเข้าศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของสตรียังมีน้อย

2. สาเหตุของปัญหา

2.1 สังคมส่วนหนึ่งมีค่านิยมและเจตคติดั้งเดิมที่ยึดติดว่าสตรีต้องปฏิบัติ หน้าที่หรือมีทักษะ และมีความเชื่ออย่างผิด ๆ ว่างานบางอย่างสตรีทำไม่ได้ทำให้มีการ จำกัดโควต้าหรือตัดสิทธิในการเรียนบางสาขา

2.2 ประเพณี ค่านิยมที่ยึดติดกับบทบาทดั้งเดิมทางเพศของหญิงชาย ทำให้ผู้ปกครองและครูแนะนำสตรีให้เลือกเรียนตามบทบาทดั้งเดิม

2.3 ผู้บริหารสถาบันการศึกษาเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศมากกว่า การตัดสินจากความสามารถหรือความถนัด หรือยึดแนวประเพณีในการปฏิบัติเพื่อ กำหนดสาขาการเรียนการสอนตามบทบาทดั้งเดิมของสตรี

3. ผลกระทบ

3.1 การเลือกปฏิบัติ เป็นการจำกัดและริดรอนโอกาสของสตรีในการ พัฒนาศักยภาพและใช้ความรู้ตามที่ตนเองสนใจและถนัด

3.2 เป็นการไม่พัฒนาบุคลากรและทรัพยากรมนุษย์ตามปรัชญาการ พัฒนาคน

3.3 ทำให้ขาดมุมมองของสตรีในบางสาขาวิชา หรือตอกย้ำบทบาทดั้ง เดิมของสตรีให้ตรึงอยู่กับพันธนาการนั้น ๆ

4. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

4.1 ยกเลิกกฎระเบียบที่เลือกปฏิบัติต่อสตรีหรือบุรุษในการรับบุคคลเข้า ศึกษาให้สถานศึกษาทั้งหมด

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาต่างๆ กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาแห่งชาติ)

4.2 รณรงค์ให้บิดามารดา ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปรวมทั้งสตรีเอง ได้เข้าใจถึงความสำคัญของโอกาสในการเรียนรู้และการศึกษาที่ต้องเสมอกันระหว่างสตรี และบุรุษพร้อมทั้งการจัดบริการแนะแนวอาชีพที่สนองความต้องการของตลาดและความ ต้องการของบุคคล

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 2 และภาคเอกชน ภาคธุรกิจเอกชน)

4.3 จัดให้มีนโยบายสนับสนุนการเปิดหลักสูตร สตรีศึกษา ในสถาบัน อุดมศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โดยครอบคลุมมหาวิทยาลัยทั่ว ประเทศและโดยเฉพาะทั่วภูมิภาคเพื่อให้บัณฑิตสามารถนำความรู้ไปใช้ในงานพัฒนา

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการ)

4.4 สถาบันอุดมศึกษาควรมีการสอดแทรกเนื้อหาเรื่องบทบาทหญิงชาย ในรายวิชาต่าง ๆ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 4.3)

ง. การศึกษานอกระบบ

1. สภาพปัญหา

1.1 การฝึกอบรมระยะสั้นต่าง ๆ ยังเสนอหลักสูตรและวิธีการเรียนการ สอนที่ค่อนข้างมีลักษณะตอกย้ำบทบาทดั้งเดิมแก่สตรี

1.2 เมื่อสตรีได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เต็มที่และไม่มีมาตรการหรือช่องทางอื่นในการรองรับหรือขยายผลสตรีที่ได้รับการฝึก อบรมไปแล้ว

2. ผลกระทบ

2.1 สตรีส่วนหนึ่งลังเลที่จะไปตรวจหรือรับการรักษาด้านอนามัยเจริญ พันธุ์ โรคทางนรีเวช หรือโรคเฉพาะสตรี เพราะความอายทำให้การวินิจฉัยโรคล่าช้าและ การรักษาไม่ได้ผลเป็นผลเสียต่อสุขภาพของสตรี

2.2 ผู้รับบริการไม่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้านเกี่ยวกับประเภทของ บริการประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงทำให้ขาดโอกาสในการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่ ตรงกับความต้องการของตนเอง

2.3 การที่สตรีบางกลุ่มเข้าไม่ถึงความรู้และบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ โรคทางนรีเวช และโรคเฉพาะสตรีทำให้สตรีเหล่านี้ต้องประสบปัญหาต่างๆ เช่นปัญหา การคุมกำเนิดล้มเหลว หรือโรคติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น

2.4 ปัญหาความรุนแรงต่อสตรีไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ และการที่ไม่มีการบันทึกสาเหตุของอาการบาดเจ็บจากการถูกกระทำรุนแรง ทำให้สตรี ประสบปัญหาขาดหลักฐานในกรณีที่ต้องการดำเนินคดีกับผู้ทำร้ายร่างกาย

3. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

3.1 จัดให้มีแพทย์สตรีหรือผู้ให้บริการสตรีที่ได้รับการอบรมพิเศษใน เรื่องความละเอียดอ่อนของการให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ โรคทางนรีเวชและโรค เฉพาะสตรี

3.2 ผู้ให้บริการต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของบริการ ประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง ตลอดจนทางเลือกต่างๆ อย่างรอบด้านแก่ผู้มาขอรับบริการทุกกลุ่ม

3.3 มีการวางแผนและจัดมาตรการพิเศษเพื่อเข้าถึงกลุ่มสตรีที่มักถูก ละเลยในกระบวนการให้ความรู้และบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ที่ผ่านมา

3.4 จัดให้มีระบบการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ ความช่วยเหลือแก่สตรีที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงที่เข้ามารับการรักษาตัวในสถาน พยาบาลและมีการบันทึกสาเหตุอาการบาดเจ็บของสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงไว้เป็นหลัก ฐานด้วย

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงาน เยาวชนแห่งชาติ มหาวิทยาลัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ภาคเอกชน)

ข. กฎหมาย กฎ ระเบียบที่ละเมิดสิทธิสตรีด้านสาธารณสุข

1. สภาพปัญหา

1.1 แรงงานสตรีซึ่งเป็นแรงงานหลักในอุตสาหกรรมและงานบริการหลาย ประเภทยังไม่ได้รับการดูแลและคุ้มครองเท่าที่ควรในด้านสุขภาพและความปลอดภัยทำ ให้แรงงานสตรีบางส่วนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากทั้งมลพิษในสถานที่ทำงานและ อุบัติเหตุจากการทำงาน

1.2 แรงงานสตรีนอกระบบ เช่นสตรีในภาคเกษตรกรรมและสตรีผู้รับงาน มาทำที่บ้าน รวมทั้งแรงงานที่มีการจ้างงานแบบชั่วคราวและที่ไม่มีสัญญาจ้างงาน ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานสตรี ยังไม่ได้รับการคุ้มครองด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย ในการทำงาน

1.3 องค์กรที่ดูและเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งใน กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงแรงงานและสวัสดิ์การสังคม ยังขาดเอกภาพในการ ทำงานและขาดการประสานงานระหว่างองค์กร

2. สาเหตุของปัญหา

2.1 การดูแลเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานไม่เป็น นโยบายสำคัญของรัฐและหน่วยงานต่างๆ มิได้ให้ความสนใจอย่างจริงจัง

2.2 กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานและการประกันสังคม รวมทั้ง กองทุนเงินทดแทนไม่ครอบคลุมแรงงานที่เป็นการจ้างงานชั่วคราวที่ไม่มีสัญญาจ้างงาน และที่เป็นแรงงานนอกระบบซึ่งมีสตรีร่วมอยู่เป็นจำนวนมาก และในหลายกรณีกฎหมาย เหล่านี้มีความไม่สอดคล้องกัน

2.3 ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัย ทำให้จำนวนผู้ให้ บริการไม่ได้สัดส่วนกับปริมาณของแรงงานและลักษณะงาน

2.4 องค์กรที่ดูแลด้านอาชีวอนามัยยังทำงานแบบต่างคนต่างทำ และยัง ไม่มีแนวโน้มที่จะประสานงานและตกลงกันเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3. ผลกระทบ

3.1 แรงงานสตรีจำนวนหนึ่งต้องประสบปัญหาสุขภาพหรือทุพพลภาพ และต้องสูญเสียความสามารถในการทำงานและการใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ส่งผลให้ครอบ ครัวของแรงงานเหล่านี้ต้องได้รับผลกระทบด้วย

3.2 สังคมสูญเสียแรงงานสตรีซึ่งเป็นกำลังสำคัญในภาคการผลิตและ บริการและต้องรับภาระช่วยเหลือแรงงานที่ประสบปัญหาสุขภาพหรือทุพพลภาพจากการ ทำงาน

4. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

4.1 พัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวกับความ ปลอดภัยในการทำงานให้ครอบคลุมแรงงานสตรีกลุ่มต่างๆ ทั้งในระบบและนอกระบบ อย่างครบถ้วน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ ภาค เอกชน ภาคธุรกิจเอกชน)

4.2 ฝึกอบรมบุคลากรและจัดหาทุนเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านอาชีวอนามัยให้แก่บุคลากรให้เพียงพอกับลักษณะและปริมาณของแรงงาน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 4.1 และสำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ)

4.3 ส่งเสริมให้มีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลเรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยของแรงงาน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 4.2)

4.4 จัดเรื่องความปลอดภัยในสถานที่ทำงานและขอแรงงานเป็นเงื่อนไข สำคัญในการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและอื่นๆ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 4.2 และสำนักนายกรัฐมนตรี)

4.5 ส่งเสริมให้แรงงานสตรีกลุ่มต่างๆ รู้ถึงสิทธิของตนในอันที่จะได้รับ การคุ้มครองและได้รับสวัสดิการด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน

7. สิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

1. สภาพปัญหา

1.1 สตรีไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มด้อยโอกาสทางสังคม เช่นกลุ่มที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ยากจน อยู่ในชนบทที่ห่างไกล ฯลฯ ที่ประสบปัญหา ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องตามกฎหมายและ ปลอดภัยได้ ต้องหันไปรับบริการทำแท้งผิดกฎหมายและเสี่ยงอันตรายจากการยุติการตั้ง ครรภ์โดยบุคคลที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ทำให้มีสตรีจำนวนมากต้องได้รับบาด เจ็บหรือเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนอันเป็นผลมาจากการยุติการตั้งครรภ์

2. สาเหตุของปัญหา

2.1 ประมวลกฎหมายอาญากำหนดเงื่อนไขการยุติการตั้งครรภ์โดยชอบ ด้วยกฎหมายเฉพาะในกรณีที่สตรีถูกข่มขืนกระทำชำเรา หรือการตั้งครรภ์ที่อาจจะเป็น อันตรายต่อสุขภาพของมารดา ซึ่งในทางปฏิบัติมักจำกัดเฉพาะอันตรายต่อสุขภาพทาง กายเท่านั้น ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่แคบเกินไป

2.2 กฎหมายไม่อนุญาตให้สตรียุติการตั้งครรภ์แม้จะเป็นความต้องการ ของสตรีผู้ตั้งครรภ์เอง หลังจากทราบจากการตรวจทางการแพทย์ว่าทารกในครรภ์ที่จะ เกิดมานั้นมีโรคที่ไม่มีทางรักษาหรือต้องถึงความตายอย่างแน่นอน

2.3 มีปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยสตรีเอง หรือสตรีและบุรุษไม่พร้อมที่จะมีลูก

3. ผลกระทบ

3.1 สตรีที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์อย่างถูก ต้องตามกฎหมายและปลอดภัยได้ ต้องหันไปทำแท้งกับหมอเถื่อน และจำนวนมากต้อง บาดเจ็บ ทุพพลภาพหรือถึงขั้นเสียชีวิตจากวิธีการยุติการตั้งครรภ์ดังกล่าว

3.2 สตรีที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เนื่องจาก ข้อห้ามทางกฎหมาย ทำให้สตรีเหล่านี้ต้องให้กำเนิดบุตรในภาวะที่ตนเองไม่มีความ พร้อมในอันที่จะให้กำเนิดและเลี้ยงดูบุตรได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นปัญหาสืบเนื่อง ที่ส่งผลเสียทั้งต่อตัวสตรีเอง ต่อเด็กที่เกิดมา และต่อสังคมโดยส่วนรวม

3.3 ในกรณีที่ทารกในครรภ์มีโรคที่รักษาไม่หายและต้องถึงแก่ความตาย แต่สตรีผู้ตั้งครรภ์ไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เนื่องจากข้อห้ามทางกฎหมาย ทำให้ สตรีและครอบครัวต้องได้รับผลกระทบทางจิตใจ รวมทั้งต้องรับภาระด้านเศรษฐกิจ และการเลี้ยงดู

4. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

4.1 ให้ความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และบริการคุม กำเนิดแก่สตรีกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข กรมประชาสงเคราะห์ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงาน สตรีแห่งชาติ)

4.2 ปรับแก้กฎหมายให้มีการยุติการตั้งครรภ์โดยชอบด้วยกฎหมายได้ใน กรณีที่การตั้งครรภ์จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของมารดา และในกรณีที่ทารกที่จะเกิด มามีโรคที่รักษาไม่หายและจะถึงแก่ความตายอย่างแน่นอน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข กรมประชาสงเคราะห์ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรม การส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ)

4.3 ดำเนินการจัดปัจจัยเสี่ยงด้านสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมเพื่อป้อง กันมิให้สตรีอยู่ในภาวะตั้งครรภ์โดยไม่ปรารถนา

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ในข้อ 4.2)

8. สิทธิสตรีกับด้านเศรษฐกิจ

ก. โอกาสในการทำงานและความก้าวหน้าในอาชีพ

1. สภาพปัญหา

1.1 การประกาศรับสมัครงานยังมีการระบุเพศของผู้สมัครว่าต้องเป็นชาย หรือหญิงเพียงเพศใดเพศหนึ่ง ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยเหตุแห่งความต่างทางเพศ

1.2 ในทางปฏิบัติ สตรีจำนวนมากยังได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนการ ทำงานน้อยกว่าบุรุษ แม้แต่ในกรณีที่สตรีและบุรุษทำงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน

1.3 สตรียังได้รับโอกาสด้านความก้าวหน้าในอาชีพการงาน เช่น โอกาส ที่จะได้รับการฝึกอบรมและการเลื่อนตำแหน่ง น้อยกว่าบุรุษ

1.4 สตรีมีทางเลือกในการประกอบอาชีพน้อยกว่าบุรุษ โดยลักษณะงานที่ สตรีทำยังมีการกระจุกตัวอยู่ในภาคเกษตร ค้าขาย และบริการ หรือเป็นงานในสาขา วิชาชีพที่สอดคล้องกับการแบ่งบทบาทระหว่างเพศตามแนวคิดดั้งเดิมของสังคม

1.5 สตรีที่ประกอบอาชีพในแรงงานนอกระบบในรูปแบบต่างๆ ไม่ได้รับการส่งเสริมในการประกอบอาชีพและการคุ้มครองด้านแรงงาน

1.6 แม้ว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ชายและหญิงมีความทัด เทียมกันในการจ้างงาน ในทางปฏิบัติยังขาดการดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย

2.สาเหตุของปัญหา

2.1 การยึดติดในบทบาทดั้งเดิมของสตรีอย่างมีอคติ โดยมองว่าบุรุษคือ ผู้หาเลี้ยงครอบครัว ขณะที่สตรีไม่ใช่กำลังหลักในการหารายได้ให้ครอบครัว แต่มีบท บาทหลักอยู่ที่การทำงานบ้านและดูแลความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งปัจจุบัน สภาพได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว

2.2 สืบเนื่องจากการที่สตรีถูกคาดหวังให้ต้องรับภาระการทำงานบ้าน และดูแลครอบครัว ทำให้มีโอกาสน้อยกว่าบุรุษในด้านรับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง หรือเพิ่มพูนทักษะในการทำงานและการประกอบอาชีพ

2.3 ในด้านการเลื่อนตำแหน่งงาน สังคมยังยึดติดอยู่กับอคติเกี่ยวกับ ความเป็นหญิงและความเป็นชาย โดยเชื่อว่าสตรีมีความสามารถในการทำงานต่ำกว่าชาย หรือสตรีมักใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล สตรีจึงมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะกับการดำรงตำแหน่งผู้บริหารงานด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต้องมีการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ

2.4 ขาดการเอาจริงเอาจังในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครอง แรงงาน

3. ผลกระทบ

3.1 โดยเฉลี่ยสตรีมีรายได้ต่ำกว่าบุรุษ ซึ่งเห็นได้จากจำนวนผู้มีฐานะ ยากจน ซึ่งมีสัดส่วนของสตรีสูงกว่าบุรุษ

3.2 สตรีถูกจำกัดโอกาสด้านความก้าวหน้าในงานอาชีพ โดยเฉพาะ ในตำแหน่งงานบริหาร และในสาขาวิชาชีพที่ถูกกำหนดว่าเป็นวิชาชีพของบุรุษตาม แนวคิดการแบ่งบทบาทระหว่างเพศแบบดั้งเดิม

3.3 เมื่อสตรีมีรายได้น้อยกว่าบุรุษ รวมทั้งโอกาสน้อยกว่าในเรื่องความ ก้าวหน้าในงานอาชีพทำให้ครอบครัวและสังคมขาดแรงจูงใจที่จะลงทุนในการให้การ ศึกษาและพัฒนาศักยภาพในการทำงานของสตรี

3.4 สตรียากจนที่ประกอบอาชีพในแรงงานนอกระบบ นอกจากจะมีราย ได้ต่ำแล้วยังขาดความมั่นคงในการประกอบอาชีพ

4. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

4.1 มีมาตรการคิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานเพื่อขจัดการ เลือกปฏิบัติการกีดกัน รวมทั้งการเอารัดเอาเปรียบสตรีในด้านการทำงานและการ ประกอบอาชีพ เช่น การรับสมัครงานต้องไม่จำกัดเพศเพื่อเปิดโอกาสให้สตรีและบุรุษ ได้มีทางเลือกในการสมัครงานตามความสามารถได้เท่าเทียมกัน

4.2 มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้สตรีได้รับโอกาสในการฝึกอบรม เพิ่มพูนทักษะและพัฒนาความสามารถในการทำงานในสาขาอาชีพการงานที่หลากหลาย ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสทางความก้าวหน้าด้านอาชีพของสตรีด้วย และมีมาตรการพิเศษใน การส่งเสริมสตรีที่ประกอบอาชีพในแรงงานนอกระบบ

4.3 มีมาตรการส่งเสริมให้สตรีมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิและความ เสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในด้านการประกอบอาชีพและความก้าวหน้าในงานอาชีพ

ข. แรงงานสตรีอพยพ

1. สภาพปัญหา

1.1 แรงงานสตรีที่อพยพไปทำงานต่างประเทศและที่เข้ามาทำงานจาก ต่างประเทศ อย่างถูกต้องตามกฎหมายต้องเผชิญปัญหาด้านต่างๆ อาทิ ได้ค่าแรงต่ำ กว่าที่สัญญาไว้ถูกทำร้ายร่างกายและข่มขืนถูกทารุณทางจิตใจ ถูกเลิกจ้างก่อนหมด สัญญาจ้างงาน ถูกเอารัดเอาเปรียบด้านแรงงาน เช่น ถูกใช้ให้ทำงานนอกเหนือจาก ที่ระบุไว้ในสัญญา ชั่วโมงทำงานนานกว่า 14-16 ชั่วโมงต่อวัน และถูกละเมิดสิทธิอื่นๆ อันพึงมีพึงได้

1.2 สตรีถูกนำมาบังคับค้าประเวณี (โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับสตรีกับ การค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงานและการถูกปฏิบัติเยี่ยงทาส ซึ่งได้กล่าวไว้แล้ว)

1.3 มีสตรีที่เข้ามาทำงานจากต่างประเทศโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นจำนวนมาก

2. สาเหตุของปัญหา

2.1 สตรีต้องการรายได้ที่ดีกว่าที่ได้รับในภูมิลำเนา หรือเมื่ออาศัยอยู่ใน ประเทศภูมิลำเนาอาจไม่มีทางทำมาหากินด้วยสาเหตุต่างๆ

2.2 เครือข่ายการนำสตรีไทยออกจากประเทศ และนำสตรีต่างชาติเข้า มาในประเทศดำเนินการกันอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่รัฐไม่ สามารถดูแลได้จึงเกิดการฉ้อโกงและการผิดสัญญาขึ้นโดยปราศจากการควบคุม

2.3 ทางราชการยังมิได้เอาจริงเอาจังกับการหาแนวทางป้องกันและแก้ไข ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาการทำหนังสือเดินทางปลอม และการติดตามดำเนิน คดีกับผู้กระทำผิดต่อแรงงานสตรีอพยพ ฯลฯ

3. ผลกระทบ

3.1 สตรีถูกละเมิดสิทธิได้รับการปฏิบัติเยี่ยงทาส และได้รับความทุกข์ ทรมานในการดำรงชีวิต

4. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

4.1 ภาคราชการร่วมกับรัฐบาลของต่างประเทศและภาคเอกชนทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ดำเนินการป้องกัน ควบคุม แก้ไขภาวะการละเมิดสิทธิของ สตรีผู้เป็นแรงงานอพยพและดำเนินการติดตามคดีความเพื่อนำตัวผู้ละเมิดสิทธิของ แรงงานสตรีอพยพมาลงโทษตามกฎหมาย

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวง การต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ ภาคเอกชนในประเทศ และต่างประเทศ องค์กรการตำรวจสากล ชุมชนและองค์กรชุมชน)

4.2 ทบทวนและพัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบ ในการควบคุมและดูแล การส่งแรงงานสตรีไปทำงานนอกประเทศ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 1)

4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและองค์กรชาวบ้านเข้าร่วม ในกระบวนการแก้ไขปัญหาแรงงานสตรีอพยพอย่างจริงจังและครบวงจร

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ตามข้อ 1)

9. สิทธิสตรีกับการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.สภาพปัญหา

1.1 นโยบายและกฎหมายแบบแยกส่วนที่ควบคุมและรวมศูนย์อำนาจ โดยรัฐในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และไม่สนับสนุนแนวทาง การจัดการแบบ "สิทธิชุมชน" ที่เป็นความต้องการของประชาชน สร้างความขัดแย้งกับ ชุมชนและมีผลกระทบต่อสตรี

1.2 ชุมชนและสตรีขาดการมีส่วนรวมในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว

2. สาเหตุของปัญหา

2.1 ทิศทางการพัฒนาแนวนโยบายและกฎหมายที่ควบคุม โดยรัฐมุ่ง การพัฒนาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเชิงพาณิชย์ จึงได้เน้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก ซึ่งขยายไปในภาคต่างๆ โดยขาด การควบคุมการ จัดการมลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ และได้สร้างความขัด แย้งแก่ชุมชนและผลกระทบต่อชุมชนในประเด็นการใช้และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หลายต่อหลายแห่งทั่วทุกภาค

2.2 แบบแผนและค่านิยมระหว่างเพศที่สังคมยอมรับ และโครงสร้างการ บริหารของรัฐจำกัดบทบาทและโอกาสของผู้หญิง รวมทั้งการยอมรับผู้หญิงในการมีส่วน ร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3. ผลกระทบ

3.1 สตรีในชุมชนขาดความมั่นคงในชีวิตและสถานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมทั้งความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และทรัพย์สิน ขณะเดียวกันสตรีกลับต้อง เป็นผู้แบกภาระทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าในการประกอบอาชีพ ความมั่นคงทาง อาหาร และภาระในชีวิตประจำวันอื่นๆ

3.2 สตรีส่วนใหญ่ขาดโอกาสในการเข้าร่วมมีบทบาทในการจัดการ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.3 สตรีในชุมชนและคนงานสตรีต้องเสี่ยงและประสบปัญหาสุขภาพ ที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะและสารพิษต่างๆ ในชุมชนและในการทำงานจากโครงการ พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและโรงงานหลายประเภท เช่น โรงงานอิเลคทรอนิคส์ โรงงานทอผ้า ฯลฯ

4. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

4.1 ให้โอกาสสตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นในทุกระดับ ในฐานะผู้บริหาร ผู้กำหนดและวางแผน ปฏิบัติงานและประเมินผล รวมทั้งผู้รับผลประโยชน์ ในนโยบายและแผนปฏิบัติการของ รัฐที่เคารพสิทธิและการมีส่วนร่วมของชุมชน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต). องค์กรชุมชน คณะกรรมการ ต่างๆ ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม และประสานงานสตรีแห่งชาติ องค์กรเอกชน)

4.2 ให้สตรีเป็นกลุ่มเป้าหมายโดยตรงในการรับรู้และทักษะเกี่ยวกับการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.3 จัดให้มีกระบวนการที่สตรีสามารถได้รับการพัฒนาศักยภาพเพิ่ม พูนขึ้น เช่น การเข้าร่วมฝึกอบรม การเข้าร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

10. สิทธิสตรีกับสื่อมวลชน

มุมมองต่อสถานการณ์สตรีกับสื่อมวลชน แบ่งได้เป็น 3 ด้าน คือ เนื้อหา และภาพลักษณ์เกี่ยวกับสตรีที่นำเสนอในสื่อมวลชน สตรีในฐานะผู้ผลิตสื่อ และโอกาส ในการเข้าถึงสื่อของสตรีกลุ่มต่างๆ ทั้งในฐานะผู้รับสารและผู้ให้ข้อมูล ซึ่งแต่ละด้านมี สภาพและสาเหตุของปัญหาตลอดจนผลกระทบที่แตกต่างกัน

1. สภาพปัญหา

1.1 ในด้านเนื้อหา สื่อมวลชนบางส่วนยังนำเสนอเนื้อหาและภาพใน ลักษณะที่เป็นการละเมิดสิทธิของสตรีอย่างชัดเจน เช่นการเปิดเผยภาพถ่ายและข้อมูล ส่วนตัวของสตรีที่ตกเป็นผู้เสียหายในคดีทางเพศ และการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ของสตรีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในสังคมเพื่อมุ่งประโยชน์ด้านยอดขาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการบิดเบือนประเด็นและสาระในการนำเสนอข่าว เช่นการเขียนบรรยายเหตุการณ์ใน ข่าวคดีความผิดทางเพศหรือการข่มขืนอย่างละเอียดและเห็นภาพพจน์ หรือการเสนอข่าว การยุติการตั้งครรภ์ ผิดกฎหมายโดยขาดมุมมองของสตรีผู้ประสบปัญหา

1.2 สื่อมวลชนบางประเภทมักนำเสนอเนื้อหาและภาพลักษณ์เกี่ยวกับสตรี ตามแนวคิดแบบประเพณีนิยมดั้งเดิม เช่น การมองว่าสตรีเป็นเพศที่อ่อนแอ ชอบใช้ อารมณ์มากกว่าเหตุผล ไม่ได้มีบทบาทหลักในทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ขาดการนำเสนอเนื้อหาในแง่มุมที่จะช่วยส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วม ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของสตรี

1.3 ในด้านของผู้ผลิตสื่อ ปัจจุบันมีสตรีทำงานอยู่ในสื่อประเภทต่างๆ เป็น จำนวนมากกว่าหรือเท่ากับผู้ชาย แต่เมื่อสำรวจตำแหน่งงานแล้ว พบว่าสตรีที่อยู่ในตำ แหน่งงานระดับสูงหรือระดับผู้บริหารที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายและทิศทางการ ทำงานของสื่อยังค่อนข้างน้อย ขณะเดียวกันสตรีในวิชาชีพสื่อจำนวนมากยังไม่ตระหนัก ถึงความสำคัญของประเด็นสตรีในสื่อ

1.4 ในแง่ของโอกาสการเข้าถึงสื่อ ผลการวิจัยพบว่าสตรีหลายกลุ่มซึ่งเป็น สตรีส่วนใหญ่ของประเทศยังขาดโอกาสในการเข้าถึงสื่อ ทั้งในฐานะที่เป็นผู้รับสารและ ผู้ให้ข้อมูล สตรีเหล่านี้ได้แก่ สตรีที่อยู่ในชนบทห่างไกล สตรีที่ด้อยโอกาสทั้งในทาง เศรษฐกิจ การศึกษา งานอาชีพสตรีที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงและการคุกคามทางเพศ และสตรีที่เป็น หัวหน้าครอบครัว เป็นต้น

2. สาเหตุของปัญหา

2.1 ในด้านการนำเสนอเนื้อหาสื่อมวลชนยังขาดความตระหนักในเรื่องสิทธิ ของสตรีผู้ตกเป็นข่าว ตลอดจนขาดทักษะและความละเอียดอ่อนในการนำเสนอเนื้อหา ข่าวที่อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิและสร้างความเสียหายแก่ผู้ตกเป็นข่าว

2.2 การขาดมาตรการและการบังคับใช้กฎหมายที่จะเอาผิดกับสื่อมวลชนที่ นำเสนอเนื้อหาที่เป็นการละเมิดสิทธิของสตรีในสื่อ

2.3 สื่อมวลชนบางส่วนยังยึดติดกับค่านิยมและความรับรู้แบบประเพณี นิยมดั้งเดิมในเรื่องเกี่ยวกับบทบาทและความสัมพันธ์หญิงชาย ทำให้ขาดการนำเสนอ เนื้อหาด้านบทบาทของสตรีในปัจจุบันตามสภาพที่เป็นจริง และยังไม่เห็นความสำคัญ ของการนำเสนอเนื้อหาเพื่อการปรับปรุงบทบาทและสถานภาพของสตรี

2.4 ในฐานะผู้ผลิตสื่อ สตรีในวิชาชีพสื่อมวลชนยังต้องเผชิญกับอุปสรรค ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ เช่น การต้องรับภาระดูแลครอบครัวซึ่งส่งผลไปถึงโอกาส ในการฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะ ตลอดจนการที่สังคมยังมีอคติต่อสตรีที่จะก้าวขึ้น เป็นผู้บริหารหรือผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจระดับสูง

2.5 ในด้านโอกาสการเข้าถึงสื่อปัจจุบันยังขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อ เช่น รายการวิทยุและโทรทัศน์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยสร้างโอกาสในการเข้าถึงสื่อ สำหรับสตรีกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง ทั้งในด้านที่เป็นผู้รับสารและผู้ให้ข้อมูล

2.6 องค์กรสื่อมวลชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นความสำคัญของปัญหาการที่สตรี บางกลุ่มเข้าไม่ถึงสื่อและข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจเป็นเพราะสตรีเหล่านั้นไม่อยู่ใน กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของสื่อมวลชนกระแสหลัก

3. ผลกระทบ

3.1 การละเมิดสิทธิมนุษยชนของสตรีที่ตกเป็นข่าว โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเสีย หายในคดีความผิดทางเพศ ทำให้สตรีและครอบครัวต้องอับอายและได้รับผลกระทบ ทางจิตใจและสังคมติดตามมา และการบิดเบือนประเด็นและเนื้อหาสาระของข่าวบาง ประเภท เช่น ข่าวการข่มขืนยังอาจส่งผลเป็นการซ้ำเติมผู้เสียหายหรือยั่วยุให้เกิดการ เลียนแบบการกระทำความผิด ดังกล่าว

3.2 เนื้อหาและภาพลักษณ์เกี่ยวกับสตรีที่นำเสนอในสื่อมวลชนซึ่งยึดตาม แนวคิดแบบประเพณีนิยมดั้งเดิม ส่งผลเป็นการตอกย้ำอคติและความเข้าใจผิดของ สังคมเกี่ยวกับบทบาทของสตรี

3.3 ในด้านผู้ผลิตสื่อ การที่มีจำนวนสตรีในตำแหน่งบริหารที่ทำหน้าที่ กำหนดนโยบายของสื่อค่อนข้างน้อย ตลอดจนการที่สตรีในวิชาชีพสื่อเองยังขาดความ ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นสตรี ส่งผลให้สื่อมวลชนขาดมุมมองที่เป็นประโยชน์ แก่สตรีในกระบวนการกำหนดนโยบาย ทิศทางการทำงาน และเนื้อหาที่นำเสนอ

3.4 ในด้านของโอกาสการเข้าถึงสื่อ การขาดโครงสร้างพื้นฐานที่จะเอื้อให้ สตรีกลุ่มต่างๆ เข้าถึงสื่อได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้สตรีบางกลุ่มไม่ได้รับข่าวสารที่เป็น ประโยชน์กับตนเองและสตรีหลายกลุ่มขาดโอกาสในการสื่อสารเรื่องราว กิจกรรม และ ความคิดเห็นของตนผ่านทางสื่อ

3.5 ต่อเนื่องจากข้อ 3.4 การเข้าไม่ถึงสื่อและข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ทำให้สตรีจำนวนมากขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง ตลอดจนโอกาสในการเข้ามามี ส่วนร่วมทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองอย่างมีคุณภาพ

4. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

4.1 ออกกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรการเพื่อยุติการละเมิดสิทธิ มนุษยชนของสตรีในสื่อมวลชนทุกประเภท และดำเนินการเอาผิดกับสื่อมวลชนที่ยังมี พฤติกรรม ดังกล่าว

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : องค์กรวิชาชีพทางสื่อมวลชน สำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมและประสารงานสตรีแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม)

4.2 กำหนดวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการนำเสนอประเด็นข่าวที่มีความ ละเอียดอ่อนและอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิของสตรีผู้เสียหายหรือผู้ตกเป็นข่าว

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : องค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชน องค์กรผู้ผลิตสื่อ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ)

4.3 กำหนดมาตรการเสริมสร้างความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกเรื่องบทบาท และความสัมพันธ์หญิงชายให้กับองค์กรสื่อมวลชนตลอดจนผู้ปฏิบัติงานในสื่อต่างๆ

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : องค์กรวิชาชีพทางสื่อมวลชน สำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ )

4.4 มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้สตรีก้าวเข้าไปทำหน้าที่ในการ บริหารตลอดจนกำหนดนโยบายและทิศทางการทำงานของสื่อเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่ม มุมมองของสตรีในสื่อมวลชน

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : องค์กรวิชาชีพทางสื่อมวลชน และภาคเอกชน)

4.5 กำหนดนโยบายและมาตรการ ตลอดจนจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสื่อเพื่อส่งเสริมให้สตรีกลุ่มต่างๆ ได้มีโอกาสเข้าถึงสื่อทั้งในฐานะผู้รับข่าวสารและ ผู้ให้ข้อมูลอย่างทั่วถึง

(หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : องค์กรวิชาชีพทางสื่อมวลชน สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ และภาคเอกชน)



Create Date : 20 มกราคม 2559
Last Update : 20 มกราคม 2559 11:46:52 น. 0 comments
Counter : 2828 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

GREENBANGLE
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add GREENBANGLE's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.