นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เปลี่ยนน้ำใหม่ถ่ายน้ำสดลดการตายให้กุ้งปลา

วิถีชีวิตของเกษตรกรในชนบทที่ทำอาชีพเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลานั้นนอกจากจะต้องพิถีพิถันในเรื่องการคัดเลือกแหล่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่เชื่อถือได้แล้ว การกำหนดปริมาณการปล่อยปลาและกุ้งให้พอเหมาะพอดีกับขนาดของพื้นที่บ่อ(Scale) เพื่อป้องกันมิให้ประชากรกุ้งปลามีความหนาแน่นมากเกินไป (density) จนส่งผลให้เกิดความเครียดจากการแย่งกันใช้อากาศออกซิเจน ทรัพยากรและพื้นที่ในบ่อก็มีความสำคัญมากพอๆ กันปริมาณที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 3,000 – 5,000 ตัวต่อไรสำหรับปลา และ 50,000 – 80,000ตัวต่อไร่สำหรับกุ้ง ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการเลี้ยงให้ตลอดรอดฝั่งไม่ตายเดือนตายสองเดือนก่อนจับส่งผลให้เสียเงิน เสียเวลาและอารมณ์ของผู้เลี้ยง

การดูแลคุณภาพน้ำก็สำคัญ ในระยะแรกๆ อาจจะยังไม่ส่งปัญหาให้เห็นมากนักเพราะกุ้งและปลายังมีขนาดเล็กมีพื้นที่หากินค่อนข้างกว้าง แต่เมื่อเริ่มโตขึ้น ใหญ่ขึ้นพื้นที่หากินเริ่มน้อยลง (เพราะกุ้งปลาตัวโตขึ้น)ของเสียสิ่งขับถ่ายทั้งฉี่ทั้งมูลก็ตกค้างสะสมเพิ่มมากขึ้น เมื่อสิ่งปฏิกูลและของเสียเหล่านี้ (waste)บูดเน่าย่อยสลายก็จะก่อให้เกิดก๊าซพิษ ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ (hydrogen sulfide)มีเทน(methane)และก๊าซแอมโมเนีย (NH4+),ไนไตรท์ (NH3-) ส่งผลทำให้ความหนาแน่นของก๊าซของเสียเหล่านี้เพิ่มหนาแน่นออกซิเจนที่สิ่งมีชีวิตในน้ำอย่างจุลินทรีย์ โปรโตซัว สาหร่าย มีความต้องการสูงรวมทั้งกุ้งปลาก็ลดน้อยถอยลงไปตามสัดส่วน

ก๊าซของเสียเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะอยู่ในรูปของปุ๋ยที่ให้ไนโตรเจนส่งให้ผลให้พืช (สาหร่าย, แพลงค์ตอน) เจริญเติบโตงอกงามจนเกิดสีน้ำที่เขียวเข้มมากกว่าปรกติถ้าสาหัสมากหน่อยก็จะข้นหนืดเหนียว ปลาลอยหัว ตาบอด เกิดแผล กุ้งจะล่อง หนวดกุดหางแหว่ง เพราะหาออกซิเจนและถูกกลุ่มแบคทีเรียที่อาศัยในในโคลนในเลนเข้ากัดกินทำลายวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น (basic) ที่บางครั้งเกษตรกรอาจจะหลงลืมไปเพราะมัวฝักใฝ่ที่จะหาแต่ยาหรือสารเคมีเข้ามาป้องกันทำลายแพลงค์ตอนหรือพืชสาหร่ายนั่นก็คือการถ่ายน้ำใหม่เข้ามาแทนที่น้ำเก่าโดยค่อยถ่ายน้ำเก่าภายในบ่อออกทีละ 10เซนติเมตร แล้วเติมน้ำใหม่เข้ามาอีก 10 เซนติเมตรทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกระทั่งสีน้ำและความข้นหนืดเริ่มกลับมาเป็นปรกติจึงหยุดเหมาะสำหรับบ่อเลี้ยงกุ้งที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลองบึงหรือแหล่งชลประทานที่มีน้ำมากเพียงพอพูดถึงน้ำเก่าไปน้ำใหม่มาก็อดนึกถึงนักการเมืองไม่ได้ เมื่อไรจะมีน้ำใหม่ที่สดใสไม่โกงและเก่งเข้ามาเสียทีเนาะเมืองไทย?!?!

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 04 ตุลาคม 2555
Last Update : 4 ตุลาคม 2555 17:30:31 น. 0 comments
Counter : 1362 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]