27.4 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
27.3 พระสูตรหลักถัดไป คือภัทเทกรัตตสูตร [พระสูตรที่ 31]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-03-2014&group=3&gblog=34

ความคิดเห็นที่ 6-42
GravityOfLove, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 10:40 น.

             ตอบคำถามในจูฬกัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7623&Z=7798

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. เหตุที่มนุษย์เกิดมา ปรากฏความเลวและความประณีตต่างกัน
             ๒. สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
             ๓. สุภมาณพ ถูกเรียกโดย โวหารนี้ แม้ในกาลเป็นคนแก่ และเรื่องราวของเขา
             ๔. พระสูตรนี้ มีอีกชื่อว่า สุภสูตร           
             ๕. กรรมมี ๔ ประเภทคือ อุปปีฬกกรรม อุปัจเฉทกกรรม (อุปฆาฏกกรรม/อุปฆาตกกรรม)
ชนกกรรม อุปัตถัมภกกรรม
             กรรม ๒ ประเภทข้างต้น เป็นอกุศลอย่างเดียว
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรม_12
-------------------
             2. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ นึกถึงพระสูตรใดบ้างที่ได้ศึกษามาแล้ว
ที่มีเนื้อความคล้ายกัน กล่าวคือ เรื่องกรรม และผลของกรรม.

             อัคคัญญสูตร
             ... ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล
นับว่าเป็นอกุศล เป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ เป็นธรรมไม่ควรเสพ
นับว่าเป็นธรรมไม่ควรเสพ ไม่ควรเป็นอริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรม
เป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียน ...
             ... ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล
นับว่าเป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ เป็นธรรมที่ควรเสพ
นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ควรเป็นอริยธรรม ควรนับว่าเป็นอริยธรรม
เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญ ...
//84000.org/tipitaka/read/?11/52-53

             กุกกุโรวาทสูตร
             [๘๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้
เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ดูกรปุณณะ
กรรมดำมีวิบากดำมีอยู่ กรรมขาวมีวิบากขาวมีอยู่ กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว มีอยู่
กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=1478&Z=1606#88top

             ฐานสูตร
             [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
ความแก่ไปได้ ๑ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑ เราจะต้องพลัดพรากจาก
ของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑ เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม
เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่ว
ก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=1649&Z=1741#57

             อาฆาตวินยสูตรที่ ๑
             [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่
ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความอาฆาต
พึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้น
ในบุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด
พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงถึงการ
ไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงนึกถึงความ
เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนให้มั่นในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็น
ของๆ ตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาท (ผู้รับผล) ของ
กรรมนั้น ดังนี้ ๑ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4329&Z=4341

             เนมิราชชาดก
             [๕๓๐]     ... เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์  ฉะนั้น
                          วรรณะทั้งปวงผู้ตั้งอยู่ในอธรรม ย่อมตกนรกเบื้องต่ำ วรรณะทั้งปวง
                          ย่อมหมดจด เพราะประพฤติธรรมอันสูงสุด.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=28&A=3442&Z=3860#530
------------------
             3. เมื่อจบพระสูตรนี้แล้ว สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้บรรลุธรรมอะไรบ้าง
หรือไม่?
             ได้ขอถึงไตรสรณะตลอดชีวิตค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-43
ฐานาฐานะ, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 21:52 น.

GravityOfLove, 10 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในจูฬกัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7623&Z=7798
...
10:39 AM 2/25/2014
10:59 AM 2/25/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ในข้อ 2. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ นึกถึงพระสูตรใดบ้างที่ได้ศึกษามาแล้ว
ที่มีเนื้อความคล้ายกัน กล่าวคือ เรื่องกรรมและผลของกรรม.
             พระสูตรชื่อว่า ลักขณสูตร แสดงผลของกุศลกรรม
ที่พระโพธิสัตว์ได้ทรงได้รับ ทั้งแสดงนัยว่า
             ผลของกรรม มีอาการคล้าย/เหมือนกรรมที่ทำ
//84000.org/tipitaka/attha/seek.php?text=คล้ายกรรม&t=b&b=11&bs=1

             ลักขณสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=11&A=3182

ความคิดเห็นที่ 6-44
ฐานาฐานะ, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 22:06 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬกัมมวิภังคสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7623&Z=7798

              พระสูตรหลักถัดไป คือ มหากัมมวิภังคสูตร [พระสูตรที่ 36].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มหากัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=598

ความคิดเห็นที่ 6-45
GravityOfLove, 25 กุมภาพันธ์ เวลา 22:15 น.

             คำถามมหากัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. [๕๙๙] ปริพาชกโปตลิบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่าน
พระสมิทธิดังนี้ว่า ดูกรท่านสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ-
*สมณโคดมดังนี้ว่า ...
             อรรถกถากล่าวว่า
             ก็ข้อนี้อันปริพาชกโปตลิบุตรนั้น ไม่ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์.
             แสดงว่า จริงๆ แล้วปริพาชกไม่ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ใช่ไหมคะ
             ๒. ทำไมปริพาชกถามว่า ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว
             ทำไมปริพาชกกล่าวว่า
             ในเมื่อภิกษุใหม่เข้าใจการระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้ว คราวนี้
พวกเราจักพูดอะไรกับภิกษุผู้เถระได้
             ๓. เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของโมฆบุรุษอุทายีนี้เถิด
เรารู้แล้วละ เดี๋ยวนี้แหละ โมฆบุรุษอุทายีนี้โพล่งขึ้นโดยไม่แยบคาย
             ๔. [๖๐๒] ... ดูกรอานนท์ โมฆบุรุษสมิทธิเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล
ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบแก่ปริพาชกโปตลิบุตร ก็แต่ว่าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น
นั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ใครเล่าจักรู้มหากัมมวิภังค์ของตถาคต ถ้าพวกเธอฟัง
ตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์อยู่ ฯ
             พูดเป็นภาษาธรรมดาว่าอย่างไรคะ
             ๕. [๖๑๖] ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล กรรมไม่ควร ส่องให้เห็นว่า
ไม่ควรก็มี ให้เห็นว่าควรก็มี และกรรมที่ควรแท้ๆ ส่องให้เห็นว่าควรก็มี ให้เห็น
ว่าไม่ควรก็มี ฯ
             แปลว่าอะไรคะ
             ๖. ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้น.
             ตอบว่า เพราะตรัสมุ่งถึงการเห็นสมาคมเท่านั้น.
             ๗. ญาณในการรู้ฐานะทั้ง ๗ อย่างนี้ ชื่อว่าญาณในมหากัมมวิภังค์ของพระตถาคต
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-46
ฐานาฐานะ, 26 กุมภาพันธ์ เวลา 19:48 น.

GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
              คำถามมหากัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027

              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. [๕๙๙] ปริพาชกโปตลิบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่าน
พระสมิทธิดังนี้ว่า ดูกรท่านสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ-
*สมณโคดมดังนี้ว่า ...
              อรรถกถากล่าวว่า
              ก็ข้อนี้อันปริพาชกโปตลิบุตรนั้น ไม่ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์.
              แสดงว่า จริงๆ แล้วปริพาชกไม่ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ใช่ไหมคะ

อธิบายว่า
              ปริพาชกโปตลิบุตร จะได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค หรือไม่นั้น กำหนดไม่ได้.
แต่สิ่งที่เขากล่าวมานั้น เป็นเรื่องไม่จริง กล่าวคือ
              1. ถ้าไม่เคยเข้าเฝ้าเลย ก็เป็นการกล่าวเท็จเต็มที่.
              2. ถ้าเคยเข้าเฝ้าและได้สดับเรื่องอื่นมา แต่กลับมากล่าวว่า ได้ฟังอย่างนี้
ก็ยังเป็นการกล่าวเท็จอยู่นั่นเอง.
              3. ถ้าเคยเข้าเฝ้าและได้สดับเรื่องนี้มา แต่บิดเบือนก็ตามหรือตีความผิดไปก็ตาม
ก็เป็นการกล่าวตู่ เป็นอกุศลอยู่นั่นเอง.
              อรรถกถากล่าวว่า ก็ข้อนี้อันปริพาชกโปตลิบุตรนั้น ไม่ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์.
น่าจะแสดงว่า เป็นกรณีที่ 1.

              ๒. ทำไมปริพาชกถามว่า ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว
              ทำไมปริพาชกกล่าวว่า
              ในเมื่อภิกษุใหม่เข้าใจการระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้ว คราวนี้
พวกเราจักพูดอะไรกับภิกษุผู้เถระได้
อธิบายว่า
              ที่ปริพาชกถามก็เพื่อให้จะรู้ว่า ท่านพระสมิทธิ มีการศึกษาประมาณเท่าไร?
เมื่อทราบว่า ยังเป็นภิกษุใหม่ ศึกษามายังไม่นาน ได้เห็นการตอบโดยนัยปกป้องพระศาสดา
ได้ถึงเพียงนี้ พระเถระผู้ศึกษามานาน ย่อมปกป้องพระศาสดาได้ยิ่งกว่านี้
เขาคงจะยิ่งไม่สามารถกล่าวตู่อะไรๆ อีกไม่ได้เลย หรือนัยว่า กล่าวลอยๆ ไม่ได้เลย.

              ๓. เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของโมฆบุรุษอุทายีนี้เถิด
เรารู้แล้วละ เดี๋ยวนี้แหละ โมฆบุรุษอุทายีนี้โพล่งขึ้นโดยไม่แยบคาย
อธิบายว่า
              ท่านพระอุทายีแสดงความเห็นออกมาโดยไม่เหมาะสมเลย
2 เรื่อง คือ ประเด็นไม่เหมาะสมด้วย ทั้งท่านพระอุทายีเหมือนจะคัดค้าน
พระดำรัสตำหนิว่า โมฆบุรุษสมิทธิ กล่าวคือ แก้ต่างให้ท่านพระสมิทธิ.
              เรื่องนี้ก็กล่าวถึงกรรมและวิบากของกรรมในแต่ละประเภท
แต่กลับไปกล่าวเหมารวมกล่าวเรื่องทุกขลักษณะ. (จึงผิดประเด็น)
              เช่น มีคนถามว่า ทำกรรมอะไรจึงมีปัญญามาก อะไรมีปัญญาน้อย
              กลับตอบไปว่า ไม่ว่ากรรมอะไรๆ ปัญญามากหรือปัญญาน้อย ก็ทุกข์ทั้งนั้น
ซึ่งเป็นการตอบนอกประเด็น หรือตัวอย่างที่เห็นบ่อยๆ ก็คือ
              ตอบว่า เรื่องของกรรมเป็นอจินไตย ไม่ควรคิด ดังนี้บ้าง.
              จัดว่า ตอบนอกประเด็นด้วย ทั้งแสดงว่า ตนเองศึกษามาน้อยด้วย
เพราะนัยของคำถามตอบนี้ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้แล้วในจูฬกัมมวิภังคสูตร

              ๔. [๖๐๒] ... ดูกรอานนท์ โมฆบุรุษสมิทธิเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล
ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบแก่ปริพาชกโปตลิบุตร ก็แต่ว่าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น
นั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ใครเล่าจักรู้มหากัมมวิภังค์ของตถาคต ถ้าพวกเธอฟัง
ตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์อยู่ ฯ
              พูดเป็นภาษาธรรมดาว่าอย่างไรคะ
อธิบายว่า
              การพยากรณ์ที่ควร ด้วยนัยที่แยกแยะดังนี้ :-
              ดูกรโปตลิบุตรผู้มีอายุ บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นสุข เขาย่อมเสวยสุข บุคคลทำกรรมชนิด
ที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกายด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นทุกข์
เขาย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลไม่ทุกข์ไม่สุข เขาย่อมเสวยอทุกขมสุข
<<<<
              ถ้าท่านสมิทธิพยากรณ์โดยนัยแยกแยะข้างต้นนี้ ชื่อว่าพยากรณ์ได้ดี
ก็แต่ว่า พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นนั้น เป็นคนโง่ (ถึงท่านสมิทธิพยากรณ์ไม่เหมาะ
ก็ไม่รู้ว่าไม่เหมาะ ถึงพยากรณ์ผิดก็ไม่รู้ว่าผิด)

              ๕. [๖๑๖] ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล กรรมไม่ควร ส่องให้เห็นว่า
ไม่ควรก็มี ให้เห็นว่าควรก็มี และกรรมที่ควรแท้ๆ ส่องให้เห็นว่าควรก็มี ให้เห็น
ว่าไม่ควรก็มี ฯ
              แปลว่าอะไรคะ
              น่าจะแปลว่า กรรมที่ไม่ควร (ไม่ควรทำ เพราะเป็นอกุศล)
ปรากฏว่า ไม่ควรทำก็มี ปรากฏว่า ควรทำก็มี
อธิบายว่า
              คำถามนี้ ต้องลำดับความจากอรรถกถาในช่วงท้าย
              กล่าวคือ ในอรรถกถาอธิบายเป็น 2 นัย
              ส่องให้เห็นว่า ควรเป็นต้น อะไรควร?
              กรรม หรือวิบาก
              คือ กรรมที่ทำไว้ปรากฎชัดแจ้งโดยมาก หรือว่าวิบากที่ปรากฏโดยนัยสุคติหรือทุคติ.
              นัยที่ 1
              อรรถกถา :-
              ก็ครั้นเมื่ออกุศลกรรมมีมาก อันบุคคลทำไว้แล้ว กรรมอันมีกำลังห้ามวิบากของกรรมที่ไม่มี
กำลังย่อมทำโอกาสให้แก่วิบากของตน กรรมนี้ ชื่อว่ากรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่าไม่ควร.
ส่วนบุคคลทำกุศลกรรมแล้ว ทำอกุศลกรรมในเวลาใกล้ตาย. อกุศลกรรมนั้นห้ามวิบาก
ของกุศลกรรม ทำโอกาสให้แก่วิบากของตน กรรมนี้ชื่อว่ากรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่าควร.

ครั้นเมื่อกุศลมากอันบุคคลแม้ทำไว้แล้ว กรรมมีกำลัง ห้ามวิบากของกรรมที่ไม่มีกำลัง
ย่อมทำโอกาสแก่วิบากของตน กรรมนี้ ชื่อว่ากรรมควรและส่องให้เห็นว่าควร.
<<<<
              ในย่อหน้าข้างต้นนี้ จับใจความได้จากที่ขีดเส้นใต้ว่า
              ส่องให้เห็นว่าควร คือ กรรมที่ทำโดยปรากฏชัด ในที่นี้คือกุศลกรรม
              นัยนี้ คือกรรมที่ทำ.
------------------------------------------ ------------------------------------------ ------------------------------------------
              นัยที่ 2.
              อรรถกถา :-
              กรรมใดย่อมส่องให้เห็น คือย่อมปรากฏโดยไม่ควร เพราะฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่าส่องให้เห็นว่าไม่ควร.
              พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลสี่พวก โดยนัยเป็นต้นว่า ในบุคคลสี่พวกนั้น บุคคลนี้ใดในโลกนี้ ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ดังนี้.
              ในบุคคลสี่พวกนั้น กรรมของบุคคลพวกที่หนึ่ง ชื่อว่ากรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่าไม่ควร. ก็กรรมนี้ ชื่อว่าไม่ควร เพราะเป็นอกุศล.
              กรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรกนั้น ชื่อว่าเป็นอกุศลปรากฏ เพราะความที่บุคคลพวกที่หนึ่งนั้นเกิดในนรก.
กรรมของบุคคลพวกที่สอง ชื่อว่ากรรมไม่ควร ส่องให้เห็นว่าควร. ก็กรรมนั้น ชื่อว่าไม่ควร เพราะเป็นอกุศล.
              ก็กรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในสวรรค์ของอัญเดียรถีย์ทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นกุศลปรากฏ
เพราะความที่บุคคลพวกที่สองเกิดในสวรรค์.
              กรรม ๒ อย่าง แม้นอกนี้ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน.
<<<<
              คำที่ขีดเส้นใต้ว่า
กรรมของบุคคลพวกที่สอง ชื่อว่ากรรมไม่ควร ส่องให้เห็นว่าควร.
              มาจากเนื้อความข้อ 613 อันเป็นบุคคลจำพวกที่ 2 คือ
              [๖๑๓] ดูกรอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิต
สัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
นี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อนๆ หรือในกาลภายหลัง
หรือว่ามีสัมมาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น เขาตาย
ไปจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติ
หน้า หรือในชาติต่อไป ฯ
<<<<
              ในย่อหน้าข้างต้นนี้ ประกอบกับข้อ 613 ที่ยกมานี้
              จับใจความได้จากที่ขีดเส้นใต้ว่า
              ส่องให้เห็นว่าควร คือ วิบากธรรม ในที่นี้คือสุคติโลกสวรรค์
              นัยนี้ คือวิบากธรรมที่ได้รับ.
------------------------------------------ ------------------------------------------ ------------------------------------------
              ๕. [๖๑๖] ดูกรอานนท์ ด้วยประการนี้แล กรรมไม่ควร ส่องให้เห็นว่า
ไม่ควรก็มี ให้เห็นว่าควรก็มี และกรรมที่ควรแท้ๆ ส่องให้เห็นว่าควรก็มี ให้เห็น
ว่าไม่ควรก็มี ฯ
              แปลว่าอะไรคะ
              แปลว่า กรรมที่ไม่ควรทำ ส่องให้เห็นว่าไม่ควรทำก็มี ให้เห็นว่าควรทำก็มี
และกรรมที่ควรทำแท้ๆ ส่องให้เห็นว่าควรทำก็มี ให้เห็นว่าไม่ควรทำก็มี ฯ
              กรรมไม่ควรทำ คือ อกุศลกรรม
              กรรมที่ควรทำ คือ กุศลกรรม
              ส่องให้เห็นว่าควรทำ คือส่องให้เห็นว่าควรทำ เพราะมีสุคติเป็นที่ไป
              ส่องให้เห็นว่าไม่ควรทำ คือส่องให้เห็นว่าไม่ควรทำ เพราะมีทุคติเป็นที่ไป.
              เช่น ในจำพวกที่ 2 ทำอกุศลกรรมชัดแจ้ง แต่ใกล้จะตาย ทำกุศลกรรมไว้มั่นคง
สมาทานหนักแน่น จึงได้อุบัติในสุคติ จึงได้นัยว่า
              กรรมที่ควร (กุศลกรรมที่มั่นคงที่ใกล้ตาย) แต่ที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่า
เขาทำอกุศลไว้มาก จึงเหมือนว่า ส่องไปก็เห็นว่า เขาทำอกุศลกรรม ดังในอรรถกถาว่า
              ส่วนบุคคลทำอกุศลแล้ว ทำกุศลในเวลาใกล้ตาย กุศลกรรมนั้นห้ามวิบากของอกุศลกรรม ทำโอกาสให้แก่วิบากของตน กรรมนี้ ชื่อว่ากรรมควรและส่องให้เห็นว่าไม่ควร.

              และจำพวกที่ 2 นั่นเอง โดยนัยที่ 2 คือ
              อกุศลกรรมเป็นกรรมที่ไม่ควรทำ แต่เพราะเขาทำกุศลกรรมก่อนตาย
จึงได้สุคติเป็นต้น จึงปรากฏเหมือนว่าควรทำกรรมนั้น กรรมที่ทำโดยมากนั้น
เพราะได้สุคติเป็นต้น จึงเหมือนว่า
              อกุศลกรรมที่ทำไว้มากซึ่งไม่ควรทำ แต่ปรากฏเหมือนว่า ควร
เพราะได้สุคติเป็นด้น ดังในอรรถกถาว่า
              กรรมของบุคคลพวกที่สอง ชื่อว่ากรรมไม่ควร ส่องให้เห็นว่าควร.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๖. ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้น.
              ตอบว่า เพราะตรัสมุ่งถึงการเห็นสมาคมเท่านั้น.
อธิบายว่า
              ในข้อนี้ อรรถกถาอธิบายคำว่า ทสฺสนํปิ โข อหํ อันมาในข้อ 601
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=601&Roman=0

              พระไตรปิฎกภาษาไทยว่า
              [๖๐๑] เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ แม้ความเห็นของปริพาชกโปตลิบุตร เรา
ก็ไม่ทราบชัด ไฉนเล่า จะทราบชัดการสนทนากันเห็นปานนี้ได้ โมฆบุรุษสมิทธิ
นี้แล ได้พยากรณ์ปัญหาที่ควรแยกแยะพยากรณ์ของปริพาชกโปตลิบุตรแต่แง่
เดียว ฯ
<<<<
              น่าจะมีนัยว่า การกล่าวของปริพาชกโปตลิบุตร ยังไม่ลงตัว
กล่าวคือ ปริพาชกโปตลิบุตร น่าจะแค่เปรย หรือพูดเคาะเท่านั้น
จึงไม่ควรจะไปสรุปอะไรกับปริพาชกโปตลิบุตร เพราะเขายังไม่ระบุ
ความเห็นอะไรๆ ให้มั่นคงเลย หากไปกล่าวว่า ท่านคิดอย่างนี้
ท่านเห็นอย่างนี้ ปริพาชกโปตลิบุตรก็เลี่ยงไปได้ว่า เราเห็นอย่างอื่นก็ได้
              ดังนั้น ไม่ควรคิดว่า เทศนาก็เป็นอย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 6-47
(ต่อ)
              ๗. ญาณในการรู้ฐานะทั้ง ๗ อย่างนี้ ชื่อว่าญาณในมหากัมมวิภังค์ของพระตถาคต
              ขอบพระคุณค่ะ

              สันนิษฐานว่า
              7 อย่างนี้ น่าจะมาจาก 4 อย่างคือกองแห่งกรรม และ 3 อย่างคือกองแห่งวิบาก
              กองแห่งกรรม 4 อย่าง ได้แก่
              1. ขณะหนึ่งๆ ที่บุคคลที่กรรมชั่ว เขาก็มีกรรมชั่วที่เคยทำมาก่อนแล้ว
และกรรมชั่วที่ทำในภายหลัง หรือการสมาทานมิจฉาทิฏฐิในเวลาใกล้ตาย.
              2. ขณะหนึ่งๆ ที่บุคคลที่กรรมชั่ว เขาก็มีกรรมดีที่เคยทำมาก่อนแล้ว
และกรรมดีที่ทำในภายหลัง หรือการสมาทานสัมมาทิฏฐิในเวลาใกล้ตาย.
              3. ขณะหนึ่งๆ ที่บุคคลที่กรรมดี เขาก็มีกรรมดีที่เคยทำมาก่อนแล้ว
และกรรมดีที่ทำในภายหลัง หรือการสมาทานสัมมาทิฏฐิในเวลาใกล้ตาย.
              4. ขณะหนึ่งๆ ที่บุคคลที่กรรมดี เขาก็มีกรรมชั่วที่เคยทำมาก่อนแล้ว
และกรรมชั่วที่ทำในภายหลัง หรือการสมาทานมิจฉาทิฏฐิในเวลาใกล้ตาย.

              กองแห่งวิบาก 3 อย่าง ได้แก่
              1. วิบากที่ให้ผลในชาตินี้
              2. วิบากที่ให้ผลในชาติต่อไป
              3. วิบากที่ให้ผลในชาติถัดๆ ไปต่อจากชาติหน้า.
              7 อย่างนี้ สันนิษฐานล้วนๆ.

ความคิดเห็นที่ 6-48
GravityOfLove, 26 กุมภาพันธ์ เวลา 20:56 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-49
GravityOfLove, 26 กุมภาพันธ์ เวลา 21:19 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
             ๓๖. มหากัมมวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกกรรมอย่างใหญ่
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=7799&Z=8027&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
             ปริพาชกโปตลิบุตร กล่าวกับท่านพระสมิทธิซึ่งอยู่ในกระท่อมในป่าว่า
             ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระสมณโคดมดังนี้ว่า
             กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรมเท่านั้น จริง
(กายกรรมไม่จริง วจีกรรมไม่จริง มโนกรรมเท่านั้นจริง)
             และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไรๆ นั้น มีอยู่
(หมายถึงนิโรธสมาบัติ/สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งเขาเรียกว่า อภิสัญญานิโรธ)
             ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า
             ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนั้น
             ปริพาชกโปตลิบุตร ถามว่า ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว
             ท่านพระสมิทธิตอบว่า ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา
             ปริพาชกโปตลิบุตรกล่าวว่า
             ในเมื่อภิกษุใหม่เข้าใจการระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้ว คราวนี้
พวกเราจักพูดอะไรกับภิกษุผู้เถระได้ (กล่าวลอยๆ ไม่ได้)
             ท่านสมิทธิ บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาจะเสวยอะไร
             ท่านพระสมิทธิตอบว่า เขาจะเสวยทุกข์
             ปริพาชกโปตลิบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้าน แล้วเดินจากไป
             ครั้นปริพาชกโปตลิบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระสมิทธิไปหา
ท่านพระอานนท์ แล้วเล่าเรื่องเท่าที่ได้สนทนากับปริพาชกโปตลิบุตรให้ฟัง
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า
             เรื่องนี้มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ เราทั้งสองไปเฝ้าพระองค์
แล้วกราบทูลเรื่องนี้ พระองค์ทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราพึงทรงจำไว้อย่างนั้น
             ท่านพระสมิทธิและท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องเท่าที่ท่านพระสมิทธิ ได้สนทนากับ
ปริพาชกโปตลิบุตรทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า
             แม้ความเห็นของปริพาชกโปตลิบุตร เราก็ไม่ทราบชัด (เขาแค่เปรย
หรือพูดเคาะเท่านั้น) ไฉนเล่า จะทราบชัดการสนทนากันเห็นปานนี้ได้
             โมฆบุรุษสมิทธิได้พยากรณ์ปัญหาที่ควรแยกแยะพยากรณ์แต่แง่เดียว
             ท่านพระอุทายี (โลลุทายี) กราบทูลว่า
             ก็ถ้าท่านพระสมิทธิกล่าวหมายทุกข์ดังนี้แล้ว ไม่ว่าการเสวยอารมณ์ใดๆ
ต้องจัดเข้าในทุกข์ทั้งนั้น (ท่านพระอุทายีแก้ต่างให้ท่านพระสมิทธิ)
             พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า
             อานนท์ เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของโมฆบุรุษอุทายีนี้เถิด
เรารู้แล้วละ เดี๋ยวนี้แหละ โมฆบุรุษอุทายีนี้โพล่งขึ้นโดยไม่แยบคาย
             อานนท์ เบื้องต้นทีเดียว ปริพาชกโปตลิบุตรถามถึงเวทนา ๓
ถ้าโมฆบุรุษสมิทธิผู้ถูกถามนี้ จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
             - บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา
ด้วยใจ อันให้ผลเป็นสุข เขาย่อมเสวยสุข
             - บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา
ด้วยใจ อันให้ผลเป็นทุกข์ เขาย่อมเสวยทุกข์
             - บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา
ด้วยใจ อันให้ผลไม่ทุกข์ไม่สุข เขาย่อมเสวยอทุกขมสุข
             เมื่อพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบ
             ก็แต่ว่าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นนั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด
(เพราะท่านพระสมิทธิพยากรณ์ผิด ก็ไม่รู้ว่าผิด)
             ใครเล่าจักรู้มหากัมมวิภังค์ของตถาคต
(จะเข้าใจมหากัมมวิภังค์ของตถาคตได้อย่างไรเล่า)
             ถ้าพวกเธอฟังตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์อยู่
(ถ้าตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์อยู่ เธอทั้งหลายควรฟัง)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรม_3
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัญญาเวทยิตนิโรธ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวทนา_3

             ท่านพระอานนท์ทูลขอพระองค์โปรดทรงจำแนกมหากัมมวิภังค์แก่พวกตน
             พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า
             บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
             (๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอา
สิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อเสียด
มักพูดคำหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด
อยู่ (อกุศลกรรมบถ ๑๐) ในโลกนี้
             เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี
             (๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ
มีความเห็นผิดอยู่ (อกุศลกรรมบถ ๑๐) ในโลกนี้
             เขาตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี
             (๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบอยู่ (กุศลกรรมบถ ๑๐) ในโลกนี้
             เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี
             (๔) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ
มีความเห็นชอบอยู่ (กุศลกรรมบถ ๑๐) ในโลกนี้
             เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อกุศลกรรมบถ_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10

             สมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวก
             ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ที่บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเจโตสมาธิ
(ทิพยจักขุสมาธิ) ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำอกุศลกรรมบถ ๑๐
ในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วิบาต นรกได้ ด้วยตาทิพย์
             สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
             ๑.๑ เป็นอันว่ากรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี
             ๑.๒ ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้
และผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น
             ๑.๓ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
             ๑.๔ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
             สมณะหรือพราหมณ์นั้น จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า

             ๒. ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ที่บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเจโตสมาธิ
ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้
และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้ ด้วยตาทิพย์
             สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
             ๒.๑ เป็นอันว่ากรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี
             ๒.๒ ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้
และผู้นั้นตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น
             ๒.๓ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
             ๒.๔ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
             สมณะหรือพราหมณ์นั้น จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า

             ๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ที่บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเจโตสมาธิ
ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้
และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้ ด้วยตาทิพย์
             สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
             ๓.๑ เป็นอันว่า กรรมดีมี วิบากของสุจริตมี
             ๓.๒ ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้ทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ในโลกนี้
และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น
             ๓.๓ เป็นอันว่า ผู้ใดทำกุศลกรรมบถ ๑๐ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
             ๓.๔ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด
             สมณะหรือพราหมณ์นั้น จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า

(มีต่อ)

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 26 มีนาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 18:39:06 น.
Counter : 671 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มีนาคม 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
31
 
 
26 มีนาคม 2557
All Blog