16.9 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
16.8 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร

ความคิดเห็นที่ 9-97
GravityOfLove, 7 พฤษภาคม เวลา 19:21 น.

ความเพียร ๕ ประการ <<< คืออะไร?
ไม่ทราบค่ะ ตอนแรกคิดว่าคือ การบำเพ็ญทุกรกิริยา
กลับไปอ่านมหาสีหนาทสูตร ความเพียร (ทุกรกิริยา) มีองค์ ๔ เท่านั้น

ความคิดเห็นที่ 9-98
ฐานาฐานะ, 7 พฤษภาคม เวลา 19:41 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
ความเพียร ๕ ประการ <<< คืออะไร?
ไม่ทราบค่ะ ตอนแรกคิดว่าคือ การบำเพ็ญทุกรกิริยา
กลับไปอ่านมหาสีหนาทสูตร ความเพียร (ทุกรกิริยา) มีองค์ ๔ เท่านั้น
7:21 PM 5/7/2013

             บทว่า โน กายภาวนํ เขากล่าวหมายเอาการปฏิบัติตนให้ลำบาก
มีการทำความเพียร ๕ ประการเป็นต้น. นี้ชื่อกายภาวนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=405

             ตอบว่า ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ในข้อ 407 นั้น
นับเป็น 5 ประการเป็นต้นมีอะไรบ้าง?
//84000.org/tipitaka/read/?12/407
             แต่คำว่า มหาสีหนาทสูตร ความเพียร (ทุกรกิริยา) มีองค์ ๔ เท่านั้น
//84000.org/tipitaka/read/?12/177-181

ความคิดเห็นที่ 9-99
GravityOfLove, 7 พฤษภาคม เวลา 19:54 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-100
ฐานาฐานะ, 7 พฤษภาคม เวลา 23:09 น.  

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาสัจจกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7552&Z=7914

             พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬตัณหาสังขยสูตร [พระสูตรที่ 37].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7915&Z=8040
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=433

             มหาตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8041&Z=8506
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440

             มหาอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8507&Z=8743
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=459

             จูฬอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8744&Z=8866
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=479

ความคิดเห็นที่ 9-101
GravityOfLove, 8 พฤษภาคม เวลา 10:45 น.

             คำถามในจูฬตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7915&Z=8040
             ๑. ทำไมท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงมีความดำริว่า
             ท้าวสักกะนั้นทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงยินดี หรือว่าไม่ทราบก็ยินดี

             ๒. ทำไมท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลถามว่า
             พระองค์ย่อมทรงทราบว่า พระองค์เป็นผู้ตรัสความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา
โดยย่อแก่เทพผู้มีศักดิ์มากผู้ใดผู้หนึ่งบ้างหรือหนอ?

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-102
ฐานาฐานะ, 9 พฤษภาคม เวลา 07:13 น.  

GravityOfLove, 20 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามในจูฬตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7915&Z=8040
             ๑. ทำไมท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงมีความดำริว่า
             ท้าวสักกะนั้นทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงยินดี หรือว่าไม่ทราบก็ยินดี
             ตอบว่า การยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ของแต่ละบุคคลมีต่างชนิดกัน
เช่น บางคราวหรือบางคน
             ยินดีพระภาษิต เพราะเป็นพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค คือเลื่อมใสในพระศาสดา
             ยินดีพระภาษิต เพราะเป็นพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเข้าใจในอรรถของภาษิต
นั้นด้วย คือเลื่อมใสในพระศาสดาด้วย เข้าใจดีด้วย.

             ๒. ทำไมท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลถามว่า
             พระองค์ย่อมทรงทราบว่า พระองค์เป็นผู้ตรัสความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา
โดยย่อแก่เทพผู้มีศักดิ์มากผู้ใดผู้หนึ่งบ้างหรือหนอ?
             ขอบพระคุณค่ะ
10:45 AM 5/8/2013

             ตอบว่า สันนิษฐานว่า เป็นคำถามกว้างๆ นัยว่า เกริ่นถามว่า
             พระองค์แสดงความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาแก่เทพศักดาใหญ่บ้างหรือไม่หนอ?

ความคิดเห็นที่ 9-103
GravityOfLove, 9 พฤษภาคม เวลา 21:38 น.

ท้าวสักกะนั้นทราบความพระภาษิต (เข้าใจอรรถ) ของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงยินดี
หรือว่าไม่ทราบ ก็ยินดี (แม้ไม่ทราบอรรถ แต่ก็มีความยินดีเพราะเลื่อมใสในพระพุทธองค์)

เข้าใจอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่คะ
แล้วท้าวสักกะทรงเป็นแบบใดคะ

ความคิดเห็นที่ 9-104
ฐานาฐานะ, 9 พฤษภาคม เวลา 21:46 น.  

             เข้าใจอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่คะ
             ตอบว่า เข้าใจถูกต้องครับ
             แล้วท้าวสักกะทรงเป็นแบบใดคะ
             ตอบว่า ท้าวสักกะเป็นพระอริยบุคคล ก็เข้าใจในระดับของอริยบุคคล
             อีกประการหนึ่ง ยินดีเพราะเป็นภาษิตของพระศาสดา และจดจำได้ด้วย.
             คุณ GravityOfLove ลองอ่านอีกครั้ง แล้วทดลองจดจำโดยไม่เปิดตำรา
แล้วเขียนมาเทียบดู จะเห็นว่า เพียงจดจำก็ยังยาก.
             ท้าวสักกะยินดีพระภาษิตด้วย จดจำได้ด้วย และเพราะเป็นพระอริยบุคคลด้วย
ก็เข้าใจอรรถลึกกว่าปุถุชนอยู่แล้ว ด้วยมรรคผลที่ท่านบรรลุแล้ว แต่ยังไม่ถึงระดับพระสกทาคามี.

ความคิดเห็นที่ 9-105
GravityOfLove, 9 พฤษภาคม เวลา 22:18 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค          
             ๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7915&Z=8040&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา
(มหาอุบาสิกาวิสาขา ผู้เป็นดังว่ามารดาแห่งมิคารเศรษฐี) ในวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วทูลถามว่า
             กล่าวโดยย่อ (เพราะท้าวสักกะเร่งรีบจะไปเล่นกีฬา) ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร
             - ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา
             - มีความสำเร็จสูงสุด (ล่วงส่วน (อัจจันตนิฏฐะ) หมายถึงผ่านที่สุด
กล่าวคือความสิ้นไปและเสื่อมไปเพราะไม่มีธรรมเครื่องกำเริบอีก ได้แก่ ถึงพระนิพพาน)
             - มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบ (โยคะ) สูงสุด
(บรรลุธรรมที่สูงสุดอันปราศจากโยคะ ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา
หมายถึงบรรลุพระนิพพาน ชื่อว่า ผู้มีความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส)
             - ประพฤติพรหมจรรย์สูงสุด (เป็นพรหมจารีล่วงส่วน อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีสภาวะที่ไม่เสื่อมอีก)
             - มีที่สุดอันสูงสุด (มีที่สุดล่วงส่วน หมายถึงมีที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้ว)
             - เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ท้าวสักก&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โยคะ_4&detail=on

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า
             ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น
(หมายถึง ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ เป็นธรรมที่ไม่ควรยึดมั่นด้วยอำนาจ
ตัณหาและทิฏฐิ เพราะเป็นภาวะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะยึดถือได้)
             ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง
             ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง
             ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
             ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ สุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข
             ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง (อนิจจานุปัสสนา) พิจารณาเห็นความหน่าย
(วิราคานุปัสสนา) พิจารณาเห็นความดับ (นิโรธ) พิจารณาเห็นความสละคืน (โวสสัคคะ)
ในเวทนาทั้งหลายนั้น
             เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก
             เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น
             เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า
             ชาติสิ้นแล้ว
             พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว (ได้เป็นพระอเสขะ ส่วนพระเสขะ ๗ จำพวก
และกัลยาณปุถุชนชื่อว่า กำลังประพฤติพรหมจรรย์)
             กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว (ทำกิจมีความกำหนดรู้ เป็นต้น ในอริยสัจ ๔
ด้วยมรรค ๔)
             กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี

             [อรรถกถา]
             - วิราคะ ๒ คือ
             ๑. ขยวิราคะ คือ วิปัสสนาเป็นเครื่องเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความสิ้นไป เสื่อมไป
             ๒. อัจจันตวิราคะ คือ มรรคญาณเป็นเครื่องเห็นพระนิพพาน
             - นิโรธมี ๒ เช่นกัน คือ ขยนิโรธะและอัจจันตนิโรธะ
             - โวสสัคคะมี ๒ คือ
             ๑. ปริจจาคโวสสัคคะ คือ วิปัสสนาสละกิเลสและขันธ์ทั้งหลายด้วยสามารถแห่ง
ตทังคะและสมุจเฉทะ
             ๒. ปักขันทนโวสสัคคะ คือ มรรคแล่นไปสู่นิพพานโดยอารมณ์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เบญจขันธ์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อายตนะ_12
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธาตุ_18
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กิจในอริยสัจจ์_4

             ท้าวสักกะจอมเทพ ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหายไป
             ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ นั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ได้มีความดำริว่า
             ท้าวสักกะนั้นทราบความพระภาษิต (เข้าใจอรรถ) ของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงยินดี
หรือว่าไม่ทราบ ก็ยินดี (แม้ไม่ทราบอรรถ แต่ก็มีความยินดีเพราะเลื่อมใสในพระพุทธองค์)
             จึงไปปรากฎตัวที่ชั้นดาวดึงส์แล้วถามท้าวสักกะดังนี้ว่า
             ท้าวโกสีย์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถึงความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา
โดยย่อแก่ท่านอย่างไร แม้ข้าพเจ้าจักขอมีส่วนเพื่อจะฟังกถานั้น
             ท้าวสักกะตรัสว่า
             ตนมีกิจธุระมาก ทั้งธุระส่วนตัวและธุระของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์
ดังนั้นลืมพระภาษิตเสียแล้วอย่างรวดเร็ว
             ไม่เหมือนท่านที่ท่านฟังดี เรียนดี ทำไว้ในใจดี ทรงไว้ดีแล้ว
             แล้วตรัสชวนท่านพระมหาโมคคัลลาน์ไปเยี่ยมชมเวชยันตปราสาทอันใหญ่โต
และหรูหรา ที่สร้างเมื่อครั้งรบชนะพวกอสูร
             ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเวสวัณมหาราช นิมนต์ท่านพระมหาโมคคัลลาน์
ออกหน้า แล้วเข้าไปยังเวชยันตปราสาท
             ท่านพระมหาโมคคัลลาน์เอ่ยชมว่า
             เวชยันตปราสาทงดงามเหมือนสถานที่ของผู้ที่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อน
             แม้มนุษย์ทั้งหลายเห็นสถานที่ที่น่ารื่นรมย์ใดๆ แล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า งามจริง
ดุจสถานที่ที่น่ารื่นรมย์ของพวกเทพชั้นดาวดึงส์
             ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ได้มีความดำริว่า
             ท้าวสักกะนี้เป็นผู้ประมาทอยู่มาก ถ้ากระไร เราพึงให้ท้าวสักกะนี้สังเวชเถิด
             จึงบันดาลอิทธาภิสังขาร เอาหัวแม่เท้ากดเวชยันตปราสาทเขย่าให้สั่น
             ท้าวสักกะจอมเทพ ท้าวเวสวัณมหาราช และพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์
มีความประหลาดมหัศจรรย์ใจ
             ครั้นท่านพระมหาโมคคัลลาน์ทราบว่า ท้าวสักกะมีความสลดใจขนลุกแล้ว
(ด้วยความโสมนัสและความสลดใจ) จึงถามว่า
             พระพุทธองค์ตรัสสอนอย่างไรอีกครั้ง ครั้งนี้ท้าวสักกะทรงจำได้ จึงทรงเล่าให้ฟัง
             เมื่อท้าวสักกะทรงเล่าจบ ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ ชื่นชมยินดีภาษิตของท้าวสักกะ
แล้วหายไป มาปรากฏที่ปราสาทของมิคารมารดา ในวิหารบุพพารามเช่นเดิม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เวสสวัณ&detail=on

             เมื่อกลับมาแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลาน์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามว่า
             พระองค์ย่อมทรงทราบว่า พระองค์เป็นผู้ตรัสความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา
โดยย่อแก่เทพผู้มีศักดิ์มากผู้ใดผู้หนึ่งบ้างหรือหนอ?
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เรารู้อยู่
             แล้วตรัสเล่าเรื่องที่ท้าวสักกะมาเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาดังกล่าว
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้จบแล้ว
             ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

แก้ไขตาม #9-106

ความคิดเห็นที่ 9-106
ฐานาฐานะ, 10 พฤษภาคม เวลา 00:14 น.

             คำถามในจูฬตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7915&Z=8040

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. เนื้อความว่า ท้าวสักกะจอมเทพมีความสลดจิตขนลุกแล้ว ...
             คำว่า สลดจิต หรือสลดใจ นี้ คุณ GravityOfLove ควรสันนิษฐานว่า
ท้าวสักกะจอมเทพเกิดความสลดใจในฐานะอะไร?
             คำว่า สังเวช
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%E0%C7%AA

             3. เนื้อความว่า
             ครั้งนั้น พวกเทพธิดาผู้บำเรอของท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลาน์
หลีกไปแล้วไม่นาน ได้ทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ พระสมณะนั้น เป็น
พระผู้มีพระภาคผู้พระศาสดาของพระองค์หรือหนอ?
             คุณ GravityOfLove สันนิษฐานว่า พวกเทพธิดาเหล่านั้นถามเพราะไม่รู้
หรือว่ารู้แต่ถาม เพื่อโอกาสในการกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาค และพระเถระ.

ความคิดเห็นที่ 9-107
GravityOfLove, 10 พฤษภาคม เวลา 11:00 น.

             ตอบคำถามในจูฬตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7915&Z=8040

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ท้าวสักกะทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
             พระองค์ตรัสตอบโดยย่อว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
             เมื่อไม่ยึดมั่นย่อมรู้ยิ่ง ทราบชัด กำหนดรู้ในธรรมทั้งปวง
             เมื่อกำหนดรู้แล้ว ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง เห็นความหน่าย เห็นความดับ เห็นความสละคืน
ในเวทนาทั้งหลายนั้น
             เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่น
             เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น
             เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว

             ๒.  ธรรมทั้งปวง หมายถึง ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘

             ๓. พระอรหันต์เป็นผู้ที่ปราศจากโยคะ ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา

             ๔. พระมหาโมคคัลลานะ ขึ้นไปถามท้าวสักกเทวราช ถึงธรรมที่
พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ท้าวสักกะฟัง
             แต่ท้าวสักกะพาพระเถระเที่ยวชมปราสาท
             พระเถระจึงเอาหัวแม่เท้ากดเวชยันตปราสาท เขย่าให้หวั่นไหวทําให้
ท้าวสักกะและบริวารเกิดความสังเวช

             ๕. เรื่องย่อของนางวิสาขาและบุพพาราม

             ๖. เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงธรรมอยู่ อันบริษัทในที่สุดแห่งจักรวาลย่อม
ได้ยินพระสุรเสียงเป็นอันเดียวกัน แต่เลยที่สุดแห่งบริษัทแล้ว พระสุรเสียงจะไม่แผ่ไปภายนอก

             ๗. ท่านพระมหาโมคคัลลานะมักเที่ยวจาริกไปในเทวโลก

             ๘. เรื่องราวของท้าวสักกะ ตอนเป็นมฆะมาณพ

             ๙. กรณียกิจของท้าวสักกะนั้นน้อยไม่มาก แต่กรณียกิจของเทวดาทั้งหลายมีมาก

             ๑๐. ท้าวสักกะเป็นผู้พิจารณาตั้งแต่พื้นดินไปเพื่อต้องการต้นกัลปพฤกษ์และมาตุคามเป็นต้น
-------------------------------------------------------------
             2. เนื้อความว่า ท้าวสักกะจอมเทพมีความสลดจิตขนลุกแล้ว ...
             คำว่า สลดจิต หรือสลดใจ นี้ คุณ GravityOfLove ควรสันนิษฐานว่า
ท้าวสักกะจอมเทพเกิดความสลดใจในฐานะอะไร? (ไม่ค่อยเข้าใจคำถามนักค่ะ)
             คำว่า สังเวช
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%E0%C7%AA

             อรรถกถา
             ในบทว่า สพฺรหฺมจารี เม เอโส นี้ ความว่า พระเถระเป็นบรรพชิต
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร เป็นพระอัครสาวก
             แต่ท้าวสักกะเป็นผู้ครองเรือน แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านทั้งสองก็เป็นพรหมจารี
ด้วยอำนาจแห่งมรรคพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสอย่างนั้น.

             ตอบว่า ในฐานะที่ต่างก็เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มีพระภาคเช่นกัน
จึงรู้สึกโสมนัส (ดีใจ) ที่เห็นพระอัครสาวกสำแดงฤทธิ์ได้น่าอัศจรรย์ใจปานนี้
            แต่ตัวเองกลับเพลิดเพลินอยู่กับเทวสมบัติจนนึกพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคไม่ออก
เมื่อเกิดความสลดใจ จึงนึกขึ้นได้
-------------------------------------------------------------
             3. เนื้อความว่า
             ครั้งนั้น พวกเทพธิดาผู้บำเรอของท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลาน์
หลีกไปแล้วไม่นาน ได้ทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ พระสมณะนั้น เป็น
พระผู้มีพระภาคผู้พระศาสดาของพระองค์หรือหนอ?
             คุณ GravityOfLove สันนิษฐานว่า พวกเทพธิดาเหล่านั้นถามเพราะไม่รู้
หรือว่ารู้แต่ถาม เพื่อโอกาสในการกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาค และพระเถระ.
             อรรถกถา
             บทว่า อโห นูน เต โส ภควา สตฺถา ความว่า สพรหมจารีของพระองค์มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้.
             พวกนางปริจาริกาได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นในการเห็นอิทธิปาฏิหาริย์ของพระศาสดา
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็พระเถระนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาของพระองค์ น่าจะมีฤทธิ์มากแน่.

             ตอบว่า รู้แต่ถาม เพื่อโอกาสในการกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาค และพระเถระ.


ย้ายไปที่



Create Date : 25 มิถุนายน 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 6:40:20 น.
Counter : 559 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog