16.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
16.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร [พระสูตรที่ 31].
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-04-2013&group=1&gblog=37

ความคิดเห็นที่ 9-16
GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 06:06 น.

ขอบพระคุณค่ะ
--------------------------------
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. นายทายบาล (ผู้รักษาป่า) ได้ห้ามพระพุทธเจ้าไม่ให้เข้าไปยังป่าโคสิงคสาลวัน
ซึ่งท่่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ กําลังทําความเพียรอยู่
เพราะไม่ทราบว่า พระองค์เป็นใคร (และพระองค์ทรงปกปิดพุทธานุภาพนั้นทั้งหมดไว้ในกลีบจีวร)
             ๒. พระผู้มีพระภาคเสด็จไปพบพระเถระทั้ง ๓ ด้วยพระองค์เองเพียงพระองค์เดียว เพราะ
             - จะทรงยกย่องพวกท่าน
             - จะทรงอนุเคราะห์หมู่ชนเกิดในภายหลัง (ให้ชนภายหลังตระหนักถึงอานิสงส์ของความสามัคคี)
             - ความหนักในพระธรรม
             ๓. พระเถระทั้ง ๓ บรรลุสมาบัติ ๙ ซึ่งระดับพระอนาคามีและพระอรหันต์เท่านั้นที่ทำได้
ในอรรถกถากล่าวว่า พวกท่านเป็นพระอรหันต์ บรรลุปฏิสัมภิทา เป็นพระขีณาสพ เสวยสามัคคีรส
อยู่ที่ป่านั้น
             ๔. อานิสงส์ของความสามัคคี ได้แก่ ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้โดยเร็วพลัน
             ๕. สมาบัติ ๙ คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญ
             โดยสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ ๙) ประณีตที่สุด
             ๖. ทีฆปรชนยักษ์ ได้ประกาศว่าเป็นลาภของชาววัชชี ที่มีพระพุทธเจ้าและพระเถระนี้
มาพักอยู่ เสียงประกาศได้แพร่ต่อกันไปจนถึงพรหมโลก
             ๗. ผู้ที่มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงพระเถระทั้ง ๓ นี้ (ผู้เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว)
จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน
             ๘. ทีฆปรชนยักษ์เป็นเทวราชองค์หนึ่ง ในจํานวนยักษ์เสนาบดี 28 องค์
             ๙. พระผู้มีพระภาคทรงปล่อยให้ภิกษุล้างพระบาท ก็เพื่อกําหนดฤดูของพระวรกาย และ
เพื่อให้จิตของภิกษุเหล่านั้นร่าเริง
              ๑๐. ผู้ที่บวชแล้วในศาสนานี้แต่ยังเลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนา ๒๑ ไม่เรียกว่า เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตน
              ผู้ที่ใคร่ประโยชน์ตน คือ ถ้าบวชแล้ว ต้องละอเนสนา ๒๑ ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล
เรียนพระพุทธวจนะ อธิษฐานธุดงค์พอสบาย ถือกรรมฐานที่ชอบใจในอารมณ์ ๓๘ ละบ้านเข้าป่า
ยังสมาบัติให้เกิด เที่ยวทำวิปัสสนากรรมฐาน จึงจะเรียกได้ว่า เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตน
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10#อเนสนา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาริสุทธิศีล_4
             ๑๑. พระเถระทั้ง ๓ คือ อนุรุทธะ นันทิยะและกิมพิละ ทรงบรรพชาจากราชสกุล
โดยพระอนุรุทธะมีอายุมากที่สุด
-------------------------------
             2. คำถามที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสถามพระเถระทั้ง 3 รูปนี้
พระองค์ทรงตรัสถามพระเถระทั้ง 3 รูปนี้หรือไม่ ในพระสูตรใด?
             ไม่เข้าใจคำถามค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-17
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 11:51 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
--------------------------------
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876
6:05 AM 4/25/2013
             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ตอบคำถามได้ดีครับ
             2. คำถามที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสถามพระเถระทั้ง 3 รูปนี้
พระองค์ทรงตรัสถามพระเถระทั้ง 3 รูปนี้หรือไม่ ในพระสูตรใด?
             ไม่เข้าใจคำถามค่ะ
             พระผู้มีพระภาคเคยได้ตรัสคำถามเหล่านี้ต่อพระเถระทั้ง 3 รูปนี้
มาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยตรัสคำถาม อยู่ในพระสูตรใด?
             คำถามข้อ 2 นี้เพื่อดูว่า คุณ GravityOfLove ได้อ่านลิงค์
ในอรรถกถาหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 9-18
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 12:53 น.

             คำถามชุดที่ 2 ในพระสูตรชื่อว่า จูฬโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876

             1. การที่เทวดาฟังเสียงแล้ว กล่าวต่อๆ จนถึงพรหมโลกนี้
             คุณ GravityOfLove ได้เคยพบมาก่อนในพระสูตรอื่นหรือไม่
และพระสูตรใด?

             2. พระเถระทั้ง 3 รูป ออกบิณฑบาตและกลับมา ไม่พร้อมกัน
             รูปใดกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านก่อนเป็นรูปแรก รูปนั้นย่อม
ปูลาดอาสนะตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้
             ข้อนี้ ย่อมรู้ได้ว่าเป็นรูปแรก โดยสังเกตุจากอาสนะยังไม่ได้
ปูลาด น้ำฉันน้ำใช้ และถาดสำรับยังไม่ได้ตั้งไว้.
             รูปที่สองและรูปที่สาม จะรู้ว่าไม่ได้เป็นรูปแรก โดยสังเกตุจาก
อาสนะปูลาดแล้ว น้ำฉันน้ำใช้และถาดสำรับตั้งไว้แล้ว.
             รูปที่สามย่อมเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉัน เก็บน้ำใช้ เก็บถาดสำรับ
กวาดโรงภัต.
             รูปที่สองและรูปที่สาม มีอะไรเป็นเครื่องสังเกตุว่า เป็นรูปที่สองหรือ
เป็นรูปที่สาม เพราะเหตุว่า รูปที่สองยังไม่ต้องเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉัน เก็บน้ำใช้
เก็บถาดสำรับ กวาดโรงภัต.

ความคิดเห็นที่ 9-19
GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 12:58 น.

             ตอบคำถามข้อที่ ๒
             พระผู้มีพระภาคเคยได้ตรัสคำถามเหล่านี้ต่อพระเถระทั้ง 3 รูปนี้
มาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยตรัสคำถาม อยู่ในพระสูตรใด?
             ตอบว่า เคยตรัสถามในอุปักกิเลสสูตร ตอนนั้นพวกท่านยังเป็นพระปุถุชน
บำเพ็ญสมณธรรมในป่าปาจีนวงส์ ตอนนั้นก็มีความสามัคคี พร้อมเพรียงกัน
             ...
             [๔๔๖] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดัง
นี้ว่า ดูกรอนุรุทธ เธอพอทน พอเป็นไปได้หรือ พวกเธอไม่ลำบากด้วยเรื่อง
บิณฑบาตบ้างหรือ ฯ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=6017&Z=6311

             ไม่ได้อ่านจริงๆ ด้วยค่ะ ลืมค่ะ
             อ่านแล้วก็สงสัยว่า ทำไมพระสูตรไม่ลำดับเวลาไป เพราะเป็นมัชฌิมนิกายเหมือนกัน

ความคิดเห็นที่ 9-20
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 13:09 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามข้อที่ ๒
             พระผู้มีพระภาคเคยได้ตรัสคำถามเหล่านี้ต่อพระเถระทั้ง 3 รูปนี้
มาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยตรัสคำถาม อยู่ในพระสูตรใด?
             ตอบว่า เคยตรัสถามในอุปักกิเลสสูตร ตอนนั้นพวกท่านยังเป็นพระปุถุชน
บำเพ็ญสมณธรรมในป่าปาจีนวงส์ ตอนนั้นก็มีความสามัคคี พร้อมเพรียงกัน
             ...
             [๔๔๖] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดัง
นี้ว่า ดูกรอนุรุทธ เธอพอทน พอเป็นไปได้หรือ พวกเธอไม่ลำบากด้วยเรื่อง
บิณฑบาตบ้างหรือ ฯ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=6017&Z=6311

             ไม่ได้อ่านจริงๆ ด้วยค่ะ ลืมค่ะ
             อ่านแล้วก็สงสัยว่า ทำไมพระสูตรไม่ลำดับเวลาไป เพราะเป็นมัชฌิมนิกายเหมือนกัน
12:57 PM 4/25/2013

             บอกไว้นานพอสมควรแล้วว่า ในอรรถกถาจะมีลิงค์ไปยังเนื้อความ
ที่เกี่ยวข้อง จึงถือโอกาสตรวจสอบดูว่า ได้อ่านตามลิงค์บ้างหรือไม่?
             ลิงค์ที่ไปยังเนื้อความ ขอให้คลิกอ่านด้วย จะอ่านคร่าวๆ ก่อนก็ได้
เพื่อให้พอรู้ว่า เนื้อความนั้นๆ มีใจความหลักอย่างไร?
             พระสูตรในแต่ละพระสูตรนั้น ไม่ได้เรียงตามลำดับเวลา เพราะ
หากเรียงตาลำดับเวลา พระสูตรชื่อมหาปรินิพพานสูตร ก็คงยังไม่ได้ศึกษา.
             คำถามชุดที่ 2 อย่าลืมครับ.

ความคิดเห็นที่ 9-21
GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 13:26 น.

             มหาปรินิพพานสูตร คุณฐานาฐานะเคยบอกว่า เพราะเนื้อความพระสูตรยาว
จึงอยู่ในทีฆนิกาย จึงได้ศึกษาก่อน ตรงนี้ก็ไม่ติดใจสงสัยค่ะ
----------------------------------------
             ตอบคำถามชุดที่ 2 ในพระสูตรชื่อว่า จูฬโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876

             1. การที่เทวดาฟังเสียงแล้ว กล่าวต่อๆ จนถึงพรหมโลกนี้
             คุณ GravityOfLove ได้เคยพบมาก่อนในพระสูตรอื่นหรือไม่
และพระสูตรใด?
             เคยพบในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
             ...
                        [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้
บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ
ใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
             เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
             เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
             เทวดาชั้นยามา ...
             เทวดาชั้นดุสิต ...
             เทวดาชั้นนิมมานรดี ...
             เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ...
             เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม
             ...
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=355&Z=445
-------------------------------------------
             2. พระเถระทั้ง 3 รูป ออกบิณฑบาตและกลับมา ไม่พร้อมกัน
             รูปใดกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านก่อนเป็นรูปแรก รูปนั้นย่อม
ปูลาดอาสนะตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้
             ข้อนี้ ย่อมรู้ได้ว่าเป็นรูปแรก โดยสังเกตุจากอาสนะยังไม่ได้
ปูลาด น้ำฉันน้ำใช้ และถาดสำรับยังไม่ได้ตั้งไว้.
             รูปที่สองและรูปที่สาม จะรู้ว่าไม่ได้เป็นรูปแรก โดยสังเกตุจาก
อาสนะปูลาดแล้ว น้ำฉันน้ำใช้และถาดสำรับตั้งไว้แล้ว.
             รูปที่สามย่อมเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉัน เก็บน้ำใช้ เก็บถาดสำรับ
กวาดโรงภัต.
             รูปที่สองและรูปที่สาม มีอะไรเป็นเครื่องสังเกตุว่า เป็นรูปที่สองหรือ
เป็นรูปที่สาม เพราะเหตุว่า รูปที่สองยังไม่ต้องเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉัน เก็บน้ำใช้
เก็บถาดสำรับ กวาดโรงภัต.

             ตอบว่า นับจำนวนบาตรที่ถูกล้างเก็บแล้ว

ความคิดเห็นที่ 9-22
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 13:38 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
             มหาปรินิพพานสูตร คุณฐานาฐานะเคยบอกว่า เพราะเนื้อความพระสูตรยาว
จึงอยู่ในทีฆนิกาย จึงได้ศึกษาก่อน ตรงนี้ก็ไม่ติดใจสงสัยค่ะ
             รับทราบครับ. เป็นว่าไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับเวลา
             สารบัญพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒
//84000.org/tipitaka/read/?index_10
----------------------------------------
             ตอบคำถามชุดที่ 2 ในพระสูตรชื่อว่า จูฬโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876

             1. การที่เทวดาฟังเสียงแล้ว กล่าวต่อๆ จนถึงพรหมโลกนี้
             คุณ GravityOfLove ได้เคยพบมาก่อนในพระสูตรอื่นหรือไม่
และพระสูตรใด?
             เคยพบในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
...
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=355&Z=445

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

             2. พระเถระทั้ง 3 รูป ออกบิณฑบาตและกลับมา ไม่พร้อมกัน
             ...
             รูปที่สองและรูปที่สาม มีอะไรเป็นเครื่องสังเกตุว่า เป็นรูปที่สองหรือ
เป็นรูปที่สาม เพราะเหตุว่า รูปที่สองยังไม่ต้องเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉัน เก็บน้ำใช้
เก็บถาดสำรับ กวาดโรงภัต.

             ตอบว่า นับจำนวนบาตรที่ถูกล้างเก็บแล้ว
             ตอบคำถามได้ดีเช่นกัน แต่ควรใช้คำว่า
คงจะนับจำนวนบาตรที่ถูกล้างเก็บแล้ว
น่าจะนับจำนวนบาตรที่ถูกล้างเก็บแล้ว

ความคิดเห็นที่ 9-23
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 14:18 น.

             พระพุทธดำรัส :-
             ถ้ากษัตริย์ทั้งมวลมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไป
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่กษัตริย์ทั้งมวล ตลอดกาลนาน ถ้าพราหมณ์ทั้งมวล ...
ถ้าแพศย์ทั้งมวล ... ถ้าศูทรทั้งมวลมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึง
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ศูทรทั้งมวล ตลอดกาลนาน
             ถ้าโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ตลอดกาลนาน ...
//localhost/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6696&Z=6876

             คำถามเบาๆ ในพระสูตรชื่อว่า จูฬโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6696&Z=6876
             การระลึกถึงพระภิกษุผู้มีศีลเป็นต้น ด้วยความเลื่อมใส
ย่อมเป็นประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ผู้ระลึกนี้
             นัยนี้เคยได้พบในพระสูตรอื่นหรือไม่ พระสูตรใด?


ความคิดเห็นที่ 9-24
GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 14:25 น.

             เคยพบในอากังเขยยสูตร ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
             ...
             [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ
ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใส ของญาติและ
สาโลหิตเหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูน
สุญญาคาร.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1024&Z=1135

ความคิดเห็นที่ 9-25
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 14:32 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
             เคยพบในอากังเขยยสูตร ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1024&Z=1135

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬโคสิงคสาลสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6696&Z=6876

             พระสูตรหลักถัดไป คือมหาโคสิงคสาลสูตร [พระสูตรที่ 32].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             มหาโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6877&Z=7105
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=369

             มหาโคปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7106&Z=7246
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=383

ความคิดเห็นที่ 9-26
GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 19:26 น.

             มหาโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=6877&Z=7105&bgc=floralwhite&pagebreak=0
             กรุณาอธิบายค่ะ

             ๑. เจโตสมถะ

             ๒. ท่านพระอานนท์ตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ
สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้น
สดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น ภิกษุ
นั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย
ท่านพระสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

             ๓. ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนานี้ กล่าว
อภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพัก
ด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-27
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 22:12 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             มหาโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=6877&Z=7105&bgc=floralwhite&pagebreak=0
             กรุณาอธิบายค่ะ

             ๑. เจโตสมถะ คือความสงบแห่งจิต หรือจิตที่มีความมั่นคง มีสมาธินั่นเอง.
             ๒. ท่านพระอานนท์ตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ
สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้น
สดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น ภิกษุ
นั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย
ท่านพระสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
             แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ
มิใช่เพียงแค่คาดเดา.
             ๓. ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนานี้ กล่าว
อภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพัก
ด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย
             ขอบพระคุณค่ะ
7:26 PM 4/25/2013
             ท่านพระมหาโมคคัลลานะสรรเสริญธรรมสากัจฉา การสนทนาธรรม.
             โดยนัยก็คือ พระเถระทั้งหลายแสดงนัยตามปฏิภาณของท่านเอง อันเป็นสุภาษิต.

ความคิดเห็นที่ 9-28
GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 22:49 น.

ขอบพระคุณค่ะ
ข้อ ๓ ถ้าพูดเป็นภาษาธรรมดาว่าอย่างไรคะ

ความคิดเห็นที่ 9-29
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 22:56 น.  

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
ข้อ ๓ ถ้าพูดเป็นภาษาธรรมดาว่าอย่างไรคะ
10:49 PM 4/25/2013
             น่าจะเป็นคำว่า มีปกติชอบสนทนาธรรมที่ลึกซึ้ง.
             ภาษาชาวบ้านทั่วไปน่าจะเป็นคำว่า มีอัธยาศัยชอบถามตอบในเรื่องที่มีนัยลึกซึ้ง.

ย้ายไปที่



Create Date : 25 มิถุนายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 23:03:31 น.
Counter : 1100 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog