24.10 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
24.9 พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1]

ความคิดเห็นที่ 7-108
GravityOfLove, 10 ธันวาคม เวลา 21:25 น.

             คำถามมหาปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัว ว่าเป็นเรา
ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก
            ๒. ในบทว่า วิญฺญณกฺขนฺธสฺส นี้มีความว่า รูป ๓๐ ถ้วน และขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ โดยกำหนดอย่างสูง ย่อมเกิดแก่คัพภเสยยกสัตว์ทั้งหลายพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณก่อน นามรูปนั้นเป็นเหตุและปัจจัยแห่งการบัญญัติปฏิสนธิวิญญาณ. ในจักขุทวาร จักขุปสาทรูปกับรูปารมณ์ จัดเป็นรูปขันธ์ ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ จัดเป็นนาม. นามรูปนั้นเป็นเหตุและเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติจักขุวิญญาณ. ในวิญญาณที่เหลือมีนัยนี้เหมือนกัน.
             ๓. บทว่า สฏฺฐิมตฺตานํ ความว่า ภิกษุเหล่านี้ละกรรมฐานตามปกติเสียแล้ว พิจารณากรรมฐานใหม่อย่างอื่น ไม่ทำลายบัลลังก์ บรรลุพระอรหัตในที่นั่งนั่นแล.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-109
ฐานาฐานะ, 12 ธันวาคม เวลา 05:05 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
              คำถามมหาปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑. เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัว ว่าเป็นเรา
ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก
อธิบายว่า
              [๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มี
อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิต
ทั้งหมดในภายนอก ฯ

              [๑๒๘] กถํ  ปน  ภนฺเต ชานโต กถํ ปสฺสโต อิมสฺมิญฺจ สวิญฺญาณเก
กาเย  พหิทฺธา  จ  สพฺพนิมิตฺเตสุ  อหงฺการมมงฺการมานานุสยา น  โหนฺตีติ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=14&item=128&Roman=0

              คำว่า ในกายอันมีวิญญาณนี้ หมายถึง ในกายของภิกษุนั้นๆ (เป็นภายใน) นัยที่ 1.
              หมายถึง ในกายอันมีวิญญาณครอง ตัวอย่าง ร่างกายของมนุษย์เป็นกายมีวิญญาณครอง
แต่กองหินกองดิน เป็นของที่ไม่มีวิญญาณครอง นี้นัยที่ 2.
              คำว่า ในนิมิตทั้งหมดในภายนอก
              นัยที่ 1 สิ่งอื่นในภายนอก เช่น กองหินหรือกายผู้อื่น.
              นัยที่ 2 สิ่งอื่นอันไม่มีวิญญาณครอง เช่น กองหินเป็นต้น.
              กล่าวสรุป เป็นคำถามของพระภิกษุว่า
              รู้เห็นอย่างไร จึงจะละมานะ ทิฏฐิและตัณหาในธรรมภายใน (ของภิกษุผู้พิจารณา)
และธรรมภายนอก (ของผู้อื่นและ/หรือของภายนอก).

              อรรถกถาอานันทสูตร
              บทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา ได้แก่ กิเลสเหล่านี้ คือ ทิฏฐิคืออหังการ ๑ ตัณหาคือมมังการ ๑ อนุสัยคือมานะ ๑.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=471&p=1

              ๒. ในบทว่า วิญฺญณกฺขนฺธสฺส นี้มีความว่า รูป ๓๐ ถ้วน และขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ
โดยกำหนดอย่างสูง ย่อมเกิดแก่คัพภเสยยกสัตว์ทั้งหลายพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณก่อน
นามรูปนั้นเป็นเหตุและปัจจัยแห่งการบัญญัติปฏิสนธิวิญญาณ.
              ในจักขุทวาร จักขุปสาทรูปกับรูปารมณ์ จัดเป็นรูปขันธ์ ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ จัดเป็นนาม.
นามรูปนั้นเป็นเหตุและเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติจักขุวิญญาณ. ในวิญญาณที่เหลือมีนัยนี้เหมือนกัน.
อธิบายว่า เป็นการอธิบายถึงการที่นามรูปเป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ ของสัตว์ที่อุบัติในครรภ์.
              คำว่า รูป ๓๐ ถ้วน น่าจะหมายถึงมหาภูตรูป 4 และรูปอาศัย 24 แต่ไม่ทราบเหมือนกันว่า
ทำไมจึงเป็นจำนวน 30 ไปได้.
              คำว่า โดยกำหนดอย่างสูง คือไม่เกินจากนี้ แต่อาจน้อยกว่านี้ได้
ในกรณีสัตว์นั้นเกิดมาตาบอดตั้งแต่กำเนิด ก็จะไม่มีจักขุปสาทรูป,
หูหนวกก็จะไม่มีโสตปสาทรูปเป็นต้น.
              คำว่า รูป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=รูป

              ๓. บทว่า สฏฺฐิมตฺตานํ ความว่า ภิกษุเหล่านี้ละกรรมฐานตามปกติเสียแล้ว
พิจารณากรรมฐานใหม่อย่างอื่น ไม่ทำลายบัลลังก์ บรรลุพระอรหัตในที่นั่งนั่นแล.
อธิบายว่า เป็นการอธิบายข้อ 129 ช่วงท้าย
              พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
              กล่าวคือ อรรถกถาแสดงว่า พระเถระเห็นว่า พระภิกษุเหล่านั้นก็ตั้งใจศึกษา
ทั้งไม่เกียจคร้านในการบำเพ็ญสมณธรรม แต่ก็ยังไม่บรรลุมรรคผลเลย จึงพามาเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค โดยหวังอนุเคราะห์แก่พระภิกษุเหล่านี้.
              เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม ด้วยการตรัสตอบคำถามของพระเถระ
พระภิกษุเหล่านี้พิจารณาตามแนวทางของพระธรรมเทศนาแล้ว ไม่ละความเพียร
ก็บรรลุพระอรหัตในที่นั่งนั้นเอง.
              คำว่า ละกรรมฐานตามปกติเสียแล้ว น่าจะหมายถึงแนววิธีที่พิจารณาก่อนสดับ
พระธรรมเทศนานี้ อาจจะไม่ตรงหรือเหมาะกับอัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น.

ความคิดเห็นที่ 7-110
GravityOfLove, 12 ธันวาคม เวลา 10:25 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-111
GravityOfLove, 12 ธันวาคม เวลา 10:32 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
             ๙. มหาปุณณมสูตร ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา
วิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
             สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมี
จันทร์เพ็ญ วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             ๑. อุปาทานขันธ์ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์
สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้หรือ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้
             ภิกษุนั้นกล่าวชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว
แล้วทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า
             ๒. อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล
             ตรัสตอบว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล
(ในที่นี้หมายถึงมีตัณหาเป็นมูลเหตุ)
             ๓. ทูลถามว่า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่างเดียวกันหรือ
หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕
             ตรัสตอบว่า
             อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น จะอย่างเดียวกันก็มิใช่
อุปาทานจะอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็มิใช่
             ความกำหนัดพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแหละ เป็นตัวอุปาทาน
(ความยึดมั่น) ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น
             ๔. ทูลถามว่า
             ความต่างแห่งความกำหนัด พอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ พึงมีหรือ
             ตรัสตอบว่า มี แล้วตรัสว่า
             บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้
เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด
             อย่างนี้แหละ เป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
             ๕. ทูลถามว่า ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ได้ด้วยเหตุเท่าไร
             ตรัสตอบว่า
             รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม
เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นรูปขันธ์
             เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ๖. ทูลถามว่า
             อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
             ตรัสตอบว่า
             มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์
             ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์
             ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์
             ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์
             นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์
             ๗. ทูลถามว่า
             สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร
             ตรัสตอบว่า
             ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ
             (๑) ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง
             (๒) เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
             (๓) เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
             (๔) เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง
                  (๕) ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง
                  (๖) เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง
                  (๗) เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง
                  (๘) เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง
             (๙) ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง
             (๑๐) เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
             (๑๑) เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง
             (๑๒) เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง
                  (๑๓) ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง
                  (๑๔) เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง
                  (๑๕) เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง
                  (๑๖) เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
             (๑๗) ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
             (๑๘) เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
             (๑๙) เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง
             (๒๐) เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
             อย่างนี้แหละ สักกายทิฐิจึงมีได้
             ๘. ทูลถามว่า สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร
             ตรัสตอบว่า
             อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
             ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ไม่เล็งเห็นอัตตา
ในวิญญาณบ้าง
             อย่างนี้แหละ สักกายทิฐิจึงไม่มี
             ๙. ทูลถามว่า
             อะไรเป็นคุณเป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ
             ตรัสตอบว่า
             อาการที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในรูป
             อาการที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในรูป
             อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะ ในรูปได้ นี้เป็นทางสลัดออกในรูป
             เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ๑๐. ทูลถามว่า
             เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัว (มานานุสัย/มานะ)
ว่าเป็นเรา (อหังการ/ทิฏฐิ) ว่าของเรา (มมังการ/ตัณหา) ในกายอันมีวิญญาณนี้ และใน
นิมิตทั้งหมดในภายนอก
             ตรัสตอบว่า
             บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
             รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต
ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
             ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา (มมังการ/ตัณหา) ไม่ใช่เรา (มานานุสัย/มานะ)
ไม่ใช่อัตตาของเรา (อหังการ/ทิฏฐิ)
             เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ลำดับนั้น มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจว่า
             จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร
             พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย
จึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
             ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา
ใจมีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า
             จำเริญละ ...
             เราจะขอสอบถาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้ว
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
             พระผู้มีพระภาคตรัสถาม ภิกษุทั้งหลายทูลตอบ มีใจความดังนี้
             รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง
             สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
             สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ไม่ควรที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
             ตรัสว่า
             เพราะเหตุนั้นแหละ พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
             รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม
เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
             ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
             เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ตรัสทำนองเดียวกัน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
             เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
             และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ
๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น (เป็นพระอรหันต์)

[แก้ไขตาม #7-112]

ความคิดเห็นที่ 7-112
ฐานาฐานะ, 13 ธันวาคม เวลา 01:37 น.

GravityOfLove, 14 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
             มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค
             ๙. มหาปุณณมสูตร ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186&bgc=aliceblue&pagebreak=0
...
10:33 AM 12/12/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             ภิกษุนั้นกล่าว ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว
แก้ไขเป็น
             ภิกษุนั้นกล่าวชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว

             อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
ขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
             แก้ไขเป็น
             อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

             ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์
แก้ไขเป็น
             ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์

ความคิดเห็นที่ 7-113
ฐานาฐานะ, 13 ธันวาคม เวลา 01:38 น.

             คำถามในมหาปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 7-114
GravityOfLove, 13 ธันวาคม เวลา 09:03 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในมหาปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. อุปาทานขันธ์ ๕ มีฉันทะเป็นมูล ความกําหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕
นั่นแหละ เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น
             ๒. เหตุที่เรียกชื่อว่า ขันธ์ มีรูปขันธ์ เป็นต้น
             ๓. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติรูปขันธ์, ผัสสะ
เป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, นามรูปเป็น
ปัจจัยแห่งการบัญญัติ วิญญาณขันธ์
             ๔. สักกายทิฐิ จะมีและไม่มีได้อย่างไร
             ๕. คุณและโทษของขันธ์ ๕ และการสลัดออกในขันธ์ ๕
             ๖. เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มีอนุสัยคือ ความถือตัว
ว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก
             ๗. ทรงอธิบายว่า กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร

ความคิดเห็นที่ 7-115
ฐานาฐานะ, 13 ธันวาคม เวลา 20:50 น.

GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในมหาปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186
...
9:03 AM 12/13/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 7-116
GravityOfLove, 10 ธันวาคม เวลา 22:28 น.

             คำถามนอกพระสูตรหลัก
             ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น
             อภัยราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=1607&Z=1725&bgc=lavender&pagebreak=0
             หมายความว่า
             ทรงรู้กาละเทศะที่จะทรงพยากรณ์หรือคะ
             ทรงรู้ว่า เวลานี้เหมาะสม เวลานี้ไม่เหมาะ อย่างนี้หรือคะ

ความคิดเห็นที่ 7-117
ฐานาฐานะ, 10 ธันวาคม เวลา 22:43 น.

              ตอบว่า ทรงรู้ว่า เวลานี้เหมาะสม เวลานี้ไม่เหมาะครับ
              คำว่า กาละเทศะ เป็น 2 คำ คือ กาล (เวลา), เทศะ (สถานที่)

              ค้นคำว่า กาล*
กาลเทศะ [กาละ-] น. เวลาและสถานที่; ความควรไม่ควร. (ส.).
//rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

ความคิดเห็นที่ 7-118
GravityOfLove, 10 ธันวาคม เวลา 22:54 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-119
ฐานาฐานะ, 13 ธันวาคม เวลา 20:55 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาปุณณมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1980&Z=2186

              พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬปุณณมสูตร [พระสูตรที่ 10].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              จูฬปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=130

              อนุปทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2324&Z=2444
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=153

              ฉวิโสธนสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2445&Z=2669
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=166

              สัปปุริสสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2670&Z=2898
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=178

              เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2899&Z=3431
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=198

              พหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=234

ความคิดเห็นที่ 7-120
GravityOfLove, 13 ธันวาคม เวลา 21:13 น.

             คำถามจูฬปุณณมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=2187&Z=2323

             ตรงนี้อธิบายเนื้อความตอนใดในพระไตรปิฎกคะ
             บทว่า เทวมหตฺตตา ได้แก่ เทวดาชั้นกามาวจร ๖.
             บทว่า มนุสฺสมหตฺตตา ได้แก่ สมบัติแห่งตระกูลทั้ง ๓ (กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี).
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที



Create Date : 17 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:19:18 น.
Counter : 568 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog