23.13 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.12 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-151
ฐานาฐานะ, 20 ตุลาคม เวลา 23:04 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ธนัญชานิสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10725&Z=11069

              พระสูตรหลักถัดไป คือวาเสฏฐสูตร [พระสูตรที่ 48].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              วาเสฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11070&Z=11248
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=704

              สุภสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11249&Z=11547
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=709

              สคารวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11548&Z=11877
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=734

ความคิดเห็นที่ 6-152
GravityOfLove, 23 ตุลาคม เวลา 07:02 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๔๘. วาเสฏฐสูตร ทรงโปรดวาเสฏฐมาณพ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=11070&Z=11248&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละใกล้บ้านอิจฉานังคลคาม
             สมัยนั้น พราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียงเป็นอันมาก คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์
โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสณีพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ และพราหมณ์มหาศาลเหล่าอื่นที่มี
ชื่อเสียง อาศัยอยู่ในอิจฉานังคลคาม
             วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ เที่ยวเดินเล่นอยู่ ได้สนทนากันว่า
             อย่างไรบุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์
             ภารทวาชมาณพกล่าวว่า
             บุคคลเป็นผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็น
ที่ถือปฏิสนธิอันบริสุทธิ์ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนด้วยชาติได้
             ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์
             (บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติ)
             วาเสฏฐมาณพกล่าวว่า
             บุคคลเป็นผู้มีศีล และถึงพร้อมด้วยวัตร
             ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์
             (บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม)
             เมื่อไม่อาจจะให้กันและกันยินยอมได้ วาเสฏฐมาณพจึงกล่าวว่า
             พระสมณโคดมศากยบุตรประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ
             กิตติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดมนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า
พระองค์เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ (พระพุทธคุณ ๙)
             เราเข้าไปเฝ้าพระองค์ แล้วทูลถามเนื้อความนี้กันเถิด
             พระองค์ทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น
             ภารทวาชมาณพรับคำวาเสฏฐมาณพ แล้วพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9

             วาเสฏฐมาณพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถา
             โดยแนะนำว่า ตนทั้งสองเป็นใคร อาจารย์เป็นใคร แล้วทูลถามว่า
คำพูดใครถูกต้อง

พราหมณ์ในพระพุทธศาสนา
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             วาเสฏฐะ เราจักพยากรณ์การจำแนกชาติของสัตว์ทั้งหลาย ตามลำดับ
ตามสมควรแก่ท่านทั้งสอง เพราะชาติเป็นคนละอย่างๆ
(เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีชาติกำเนิดแตกต่างกัน)
             ติณชาติและรุกขชาติ (หญ้าและต้นไม้) แม้จะปฏิญาณตนไม่ได้
(ไม่รู้ว่าพวกตนเป็นหญ้า เป็นต้นไม้) เพศของติณชาติและรุกขชาตินั้นก็สำเร็จด้วยชาติ
เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่างๆ (เพศสำเร็จมาแต่กำเนิด เพราะชาติกำเนิดแตกต่างกัน)
             ตั๊กแตน ผีเสื้อ ตลอดถึงมดดำและมดแดง ...
             สัตว์สี่เท้า ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ...
             สัตว์มีท้องเป็นเท้า สัตว์ไปด้วยอก สัตว์มีหลังยาว ...
             ปลา สัตว์เกิดในน้ำ สัตว์เที่ยวหากินในน้ำ ...
             นก สัตว์ไปได้ด้วยปีก สัตว์ที่ไปในอากาศ ...
             เพศอันสำเร็จด้วยชาติมีมากมาย ในชาติ (สัตว์) เหล่านี้ฉันใด
             เพศในมนุษย์ทั้งหลายอันสำเร็จด้วยชาติมากมาย ฉันนั้น หามิได้
คือ ไม่ใช่ด้วยผม ด้วยศีรษะ ฯลฯ ด้วยวรรณะ ด้วยเสียง (หามิได้)
             เพศอันสำเร็จด้วยชาติ (ของมนุษย์) ย่อมไม่เหมือนในชาติ (ของสัตว์)
เหล่าอื่น
             สิ่งเฉพาะตัวในสรีระ (ในชาติของสัตว์อื่น) นั้น ของมนุษย์ไม่มี
            (ทรงข่มวาทะของ ภารทวาชมาณพ ด้วยพระดำรัสถึงตรงนี้)
             ในหมู่มนุษย์ เขาเรียกต่างกันตามชื่อ
             ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการรักษาโคเลี้ยงชีวิต ผู้นั้นเป็นชาวนา
ไม่ใช่พราหมณ์
             ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปมากอย่าง ผู้นั้นเป็นศิลปิน ไม่ใช่พราหมณ์
             ผู้ใดอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีวิต ผู้นั้นเป็นพ่อค้า ไม่ใช่พราหมณ์
             ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นคนรับใช้ ไม่ใช่พราหมณ์
             ผู้ใดอาศัยของที่เขาไม่ให้เลี้ยงชีวิต ผู้นี้เป็นโจร ไม่ใช่พราหมณ์
             ผู้ใดอาศัยศาตราวุธเลี้ยงชีวิต ผู้นั้นเป็นทหาร ไม่ใช่พวกพราหมณ์
             ผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการงานของปุโรหิต ผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่การบูชา
ไม่ใช่พราหมณ์
             ผู้ใดปกครองบ้าน และเมือง ผู้นี้เป็นพระราชา ไม่ใช่พราหมณ์
             และเราก็ไม่เรียกบุคคลผู้เกิดในกำเนิดไหนๆ หรือเกิดจากมารดา
(เช่นใดๆ) ว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลถึงจะเรียกกันว่า ท่านผู้เจริญ (โภวาที)
ผู้นั้นก็ยังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวล (สังโยชน์) อยู่นั่นเอง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์_10

             เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ยึดมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้วไม่สะดุ้ง เราเรียกผู้นั้นผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง
ไม่ประกอบด้วยสรรพกิเลส ว่าเป็นพราหมณ์
             เราเรียกบุคคลผู้ตัดอุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ดังชะเนาะ ตัณหาดังเชือกหนัง
ทิฏฐิ ดังเชือกบ่วง พร้อมทั้งทิฏฐานุสัยประดุจปม มีอวิชชาดุจลิ่มสลักถอนขึ้นแล้ว
ผู้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดไม่ประทุษร้าย อดกลั้นคำด่า การทุบตีและการจองจำได้ เราเรียก
ผู้มีขันติเป็นกำลังดังหมู่พลนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             เราเรียกบุคคลผู้ไม่โกรธ ผู้มีองค์ธรรมเป็นเครื่องกำจัด มีศีล ไม่มีกิเลส
ดุจฝ้า ฝึกฝนแล้ว มีสรีระตั้งอยู่ในที่สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดไม่ติดในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำบนใบบัวหรือดังเมล็ดพันธุ์ผักกาด
บนปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดรู้ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ของตนในภพนี้เอง เราเรียกผู้ปลงภาระผู้ไม่
ประกอบแล้วนั้นว่าเป็นพราหมณ์
             เราเรียกบุคคลผู้มีปัญญาอันเป็นไปในอารมณ์อันลึก มีเมธาฉลาดใน
อุบายอันเป็นทางและมิใช่ทาง บรรลุประโยชน์อันสูงสุด ว่าเป็นพราหมณ์
             เราเรียกบุคคลผู้ไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ และบรรพชิตทั้งสองพวก ผู้ไปได้
ด้วยไม่มีความอาลัย (ตัณหา) ผู้ไม่มีความปรารถนา ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดวางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งเป็นสัตว์ที่หวั่นหวาด และมั่นคงไม่
ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์
             เราเรียกบุคคลผู้ไม่พิโรธตอบในผู้พิโรธ ดับอาชญาในตนได้ ในเมื่อสัตว์
ทั้งหลายมีความถือมั่น ไม่มีความถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดทำราคะ โทสะ มานะ และมักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ให้ตกไป
ดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดกล่าววาจาสัตย์ อันไม่มีโทษให้ผู้อื่นรู้สึกได้ อันไม่เป็นเครื่องขัดใจ
คน เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
             แม้ผู้ใดไม่ถือเอาภัณฑะที่เจ้าของไม่ให้ในโลก เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดไม่มีความหวังทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า เราเรียกผู้ไม่มีความหวัง
ผู้ไม่ประกอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดไม่มีความอาลัย ไม่มีความสงสัยเพราะรู้ทั่วถึง เราเรียกผู้บรรลุธรรมอัน
หยั่งลงในอมตธรรมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งสอง คือ บุญและบาปในโลกนี้ได้ เราเรียกผู้
ไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี ผู้บริสุทธิ์นั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             เราเรียกบุคคลผู้ปราศจากมลทิน บริสุทธิ์ผ่องใสไม่ขุ่นมัวดังดวงจันทร์
มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดล่วงอวิชชาประดุจทางลื่น หรือดุจหล่มอันถอนได้ยาก เป็นเครื่องให้
ท่องเที่ยวให้หลงนี้ได้ ข้ามถึงฝั่งแล้ว มีความเพ่งอยู่ ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย
ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น เราเรียกผู้นั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดละกามได้ขาดแล้ว เป็นบรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ เราเรียกผู้มีกาม
และภพสิ้นรอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดละตัณหาได้ขาดแล้ว เป็นบรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ เราเรียกผู้มีกาม
และภพสิ้นรอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดละกามคุณอันเป็นของมนุษย์ ล่วงกามคุณอันเป็นของทิพย์แล้ว
เราเรียกผู้ไม่ประกอบด้วยกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             เราเรียกบุคคลผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี (ความยินร้าย) เป็นผู้เย็น
ไม่มีอุปธิครอบงำโลกทั้งปวง ผู้แกล้วกล้านั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             (ความยินดี หมายถึงความพอใจอย่างยิ่ง ความยินดี ความสงบเย็นใน
เสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมที่เป็นอกุศล เทียบกับนัยของความยินร้าย
             ความยินร้าย หมายถึงความไม่ยินดีอย่างยิ่ง ความกระสัน ความดิ้นรน
ในเสนาสนะที่สงัดหรือในสภาวธรรมที่เป็นอธิกุศล (ดู. อภิ.วิ (แปล) ๓๕/๙๒๖/๕๘๐))
             ผู้ใดรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้
ไม่ข้อง ผู้ไปดี ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             เทวดา คนธรรพ์และหมู่มนุษย์ไม่รู้คติของผู้ใด เราเรียกผู้นั้นผู้มีอาสวะ
สิ้นแล้ว เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวลทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และท่ามกลาง เราเรียกผู้
ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่
ผู้ชำนะแล้วโดยวิเศษ ผู้ไม่หวั่นไหว อาบเสร็จแล้ว ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
             ผู้ใดรู้ญาณเครื่องระลึกชาติก่อนได้ เห็นสวรรค์และอบาย และบรรลุธรรม
เป็นที่สิ้นชาติ เราเรียกผู้นั้น ว่าเป็นพราหมณ์
              อันชื่อคือนามและโคตรที่กำหนดตั้งไว้นี้ เป็นแต่สักว่าโวหารในโลก
เพราะเกิดขึ้นมาตามชื่อที่กำหนดตั้งกันไว้ในกาลนั้นๆ
             ทิฏฐิอันนอนเนื่องอยู่ในหทัยสิ้นกาลนาน ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้
เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ก็พร่ำกล่าวว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติ
             บุคคลจะชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะชาติก็หาไม่ จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะชาติก็หาไม่
             ที่แท้ ชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะกรรม ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม
             เป็นชาวนา ศิลปิน พ่อค้า คนรับใช้ โจร ทหาร ปุโรหิต พระราชา
ก็เพราะกรรม
             บัณฑิตทั้งหลายมีปกติเห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก
ย่อมเห็นกรรมนั้นแจ้งชัดตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า โลกและหมู่สัตว์ย่อมเป็นไป
เพราะกรรม
             สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรม เหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไปฉะนั้น
            บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยกรรมอันประเสริฐนี้ คือ ตบะ พรหมจรรย์
สัญญมะ และทมะ
             (ชื่อว่า ตบะ เพราะธุดงควัตร ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะงดเว้นจาก
เมถุนธรรม ชื่อว่า สัญญมะ เพราะมีศีล สำรวม ชื่อว่า ทมะ เพราะฝึกอินทรีย์แล้ว)
             กรรม ๔ อย่างนี้ เป็นกรรมอันสูงสุดของพรหมทั้งหลาย ทำให้ผู้ประพฤติ
ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ ระงับกิเลสได้ สิ้นภพใหม่แล้ว
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3

             ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ ของบัณฑิต
ผู้รู้แจ้งทั้งหลาย
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ
กราบทูลว่า
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ ขอถึงพระองค์ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
             ขอเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

[แก้ไขตาม #6-153]

ความคิดเห็นที่ 6-153
ฐานาฐานะ, 25 ตุลาคม เวลา 02:48 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๔๘. วาเสฏฐสูตร ทรงโปรดวาเสฏฐมาณพ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=11070&Z=11248&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
...
7:02 AM 10/23/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยเรื่องการเว้นช่องว่าง และการตัดบรรทัด.
             เช่น
             บุคคลจะชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะชาติก็หาไม่จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะชาติก็หาไม่
             แก้ไขเป็น
             บุคคลจะชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะชาติก็หาไม่ จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะชาติก็หาไม่

             ผู้ใดตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้วไม่สะดุ้ง เราเรียกผู้นั้นผู้ล่วงกิเลสเครื่อง
ข้องไม่ประกอบด้วยสรรพกิเลส ว่าเป็นพราหมณ์
             แก้ไขเป็น
             ผู้ใดตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้วไม่สะดุ้ง เราเรียกผู้นั้นผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง
ไม่ประกอบด้วยสรรพกิเลส ว่าเป็นพราหมณ์

             เราเรียกบุคคลผู้ตัดอุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ดังชะเนาะ ตัณหาดังเชือก
หนัง ทิฏฐิ ดังเชือกบ่วง พร้อมทั้งทิฏฐานุสัยประดุจปม มีอวิชชาดุจลิ่มสลักถอนขึ้น
แล้ว ผู้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์
             แก้ไขเป็น
             เราเรียกบุคคลผู้ตัดอุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ดังชะเนาะ ตัณหาดังเชือกหนัง
ทิฏฐิ ดังเชือกบ่วง พร้อมทั้งทิฏฐานุสัยประดุจปม มีอวิชชาดุจลิ่มสลักถอนขึ้นแล้ว
ผู้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์

             เนื้อความว่า
             ความยินร้าย หมายถึงความไม่ยินดีอย่างยิ่ง ความกระสัน ความดิ้นรน
ในเสนาสนะที่สงัดหรือในสภาวธรรมที่เป็นอธิกุศล (ดู. อภิ.วิ (แปล) ๓๕/๙๒๖/๕๘๐))

             ผมได้ทำการค้นดูว่า ความยินร้าย ในอภิ.วิ (แปล) ๓๕/๙๒๖/๕๘๐
มีเนื้อความอย่างไร?
             พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๕
             พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             หน้าที่ ๕๘๐/๖๙๐ ข้อที่ ๙๒๖
             {๙๕๐} [๙๒๖]    อรติ    เป็นไฉน
             ความไม่ยินดี  กิริยาที่ไม่ยินดี  ความไม่ยินดียิ่ง  กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง  ความกระสัน
ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด  หรือในสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอธิกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่ง  นี้เรียกว่า  อรติ

             [๙๒๖] อรติ เป็นไฉน
             ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความกระสัน
ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอธิกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ
//www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd35-4.htm

             เทียบฉบับสยามรัฐ คือ ข้อ 950
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
             วิภังคปกรณ์ ข้อ ๙๕๐
//84000.org/tipitaka/read/?35/950

ความคิดเห็นที่ 6-154
ฐานาฐานะ, 25 ตุลาคม เวลา 02:56 น.

             คำถามในวาเสฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=11070&Z=11248

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. พราหมณ์เหล่านี้ คือจังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์
โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสณีพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์
             จากการศึกษามาแล้ว พราหมณ์ใดพบในพระสูตรใดบ้าง?
(เท่าที่พอรู้)

ความคิดเห็นที่ 6-155
GravityOfLove, 25 ตุลาคม เวลา 11:50 น.

             ตอบคำถามในวาเสฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=11070&Z=11248

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยกรรมอันประเสริฐนี้ คือ ตบะ พรหมจรรย์
สัญญมะ (ความสํารวม) และทมะ (ความฝึกตน) กรรม ๔ อย่างนี้ เป็นกรรมอัน
สูงสุดของพรหมทั้งหลาย ทําให้ผู้ประพฤติถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ ระงับกิเลสได้
สิ้นภพใหม่แล้ว
             ๒. จังกีพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านโอปาสาทะ
             ตารุกขพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านอิจฉานังคละ
             โปกขรสาติพราหมณ์อยู่ที่เมืองอุกกัฏฐะ
             ชาณุสโสณิพราหมณ์อยู่ที่กรุงสาวัตถี
             โตเทยยพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านตุทิ
             พราหมณ์ทั้ง ๕ เป็นพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าเสนทิโกศล
(ที.สี.อ. ๑/๕๑๙/๓๓๒, ม.ม.อ. ๒/๔๕๔/๓๐๙)
----------------------------------------
             2. พราหมณ์เหล่านี้ คือจังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์
โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสณีพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์
             จากการศึกษามาแล้ว พราหมณ์ใดพบในพระสูตรใดบ้าง?
(เท่าที่พอรู้)
             พราหมณ์ทั้ง ๕ ใน เตวิชชสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙
             ๑. จังกีพราหมณ์ ใน จังกีสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓
             ๓. โปกขรสาติพราหมณ์ ใน อัมพัฏฐสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙,
             ใน จังกีสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓
             ๔. ชาณุโสณีพราหมณ์ ใน ภยเภรวสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒

ความคิดเห็นที่ 6-156
ฐานาฐานะ, 25 ตุลาคม เวลา 14:02 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในวาเสฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=11070&Z=11248

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยกรรมอันประเสริฐนี้ คือ ตบะ พรหมจรรย์
สัญญมะ (ความสํารวม) และทมะ (ความฝึกตน) กรรม ๔ อย่างนี้ เป็นกรรมอัน
สูงสุดของพรหมทั้งหลาย ทําให้ผู้ประพฤติถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ ระงับกิเลสได้
สิ้นภพใหม่แล้ว
             ๒. จังกีพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านโอปาสาทะ
             ตารุกขพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านอิจฉานังคละ
             โปกขรสาติพราหมณ์อยู่ที่เมืองอุกกัฏฐะ
             ชาณุสโสณิพราหมณ์อยู่ที่กรุงสาวัตถี
             โตเทยยพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านตุทิ
             พราหมณ์ทั้ง ๕ เป็นพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าเสนทิโกศล
(ที.สี.อ. ๑/๕๑๙/๓๓๒, ม.ม.อ. ๒/๔๕๔/๓๐๙)
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=365
----------------------------------------
             2. พราหมณ์เหล่านี้ คือจังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์
โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสณีพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์
             จากการศึกษามาแล้ว พราหมณ์ใดพบในพระสูตรใดบ้าง?
(เท่าที่พอรู้)
             พราหมณ์ทั้ง ๕ ใน เตวิชชสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=8549&Z=9150
             ๑. จังกีพราหมณ์ ใน จังกีสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=10194&Z=10534
             ๓. โปกขรสาติพราหมณ์ ใน อัมพัฏฐสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙,
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1920&Z=2832
             ใน จังกีสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=10194&Z=10534
             ๔. ชาณุโสณีพราหมณ์ ใน ภยเภรวสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=517&Z=751
11:49 AM 10/25/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ชื่อพระสูตร ควรใส่ลิงค์ url ด้วย.

ความคิดเห็นที่ 6-157
ฐานาฐานะ, 25 ตุลาคม เวลา 14:14 น.

             วาเสฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=11070&Z=11248

             เพิ่มเติมว่า
             วาทะว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดา
และฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิอันบริสุทธิ์ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ
ไม่มีใครคัดค้านติเตียนด้วยอ้างถึงชาติได้
             ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์.

             น่าจะเป็นวาทะที่ค่อนไปทางเกียจคร้าน ไม่ต้องฝึกฝนอะไรๆ
คล้ายๆ ไม่เห็นคุณของศีล วัตร ความเพียร ฯลฯ เพียงแค่การเกิดในครรภ์
ของนางพราหมณี ก็เป็นพราหมณ์ได้แล้วตามวาทะนี้.

ความคิดเห็นที่ 6-158
ฐานาฐานะ, 25 ตุลาคม เวลา 14:14 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า วาเสฏฐสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=10725&Z=11069

              พระสูตรหลักถัดไป คือสุภสูตร [พระสูตรที่ 49].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              สุภสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11249&Z=11547
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=709

              สคารวสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11548&Z=11877
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=734

ความคิดเห็นที่ 6-159
GravityOfLove, 25 ตุลาคม เวลา 14:28 น.

ขอบพระคุณค่ะ
----------------
             คำถามสุภสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11249&Z=11547

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. ข้อ [๗๑๒]  -  [๗๑๓]
             ๒. พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อย่างนี้นั่นแหละ ก็
สมณพราหมณ์เหล่าไรนี้ ย่อมปฏิญาณญาณทัสนะวิเศษ ของพระอริยะอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรม
ของมนุษย์ ภาษิตนี้ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นภาษิต น่าหัวเราะทีเดียวหรือ
ย่อมถึงความเลวทรามทีเดียวหรือ ย่อมถึงความว่างทีเดียวหรือ ย่อมถึงความเปล่าทีเดียวหรือ
ถ้าเช่นนั้น มนุษย์จักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งชัดซึ่งญาณทัสนะวิเศษ ของพระอริยะอย่าง
สามารถยิ่งกว่าธรรมดาของมนุษย์ได้อย่างไร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
             ๓. ข้อ [๗๒๔]
             ๔. ข้อ [๗๒๖]
             ๕. [๗๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน
บ้านนฬการคามใกล้แต่ที่นี้ บ้านนฬการคามไม่ไกล ใกล้แต่ที่นี้มิใช่หรือ?
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 28 กรกฎาคม 2558 18:59:55 น.
Counter : 534 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
16 ธันวาคม 2556
All Blog